มะกา ประโยชน์ดีๆ สรรพรคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

มะกา งานวิจัยและสรรพคุณ 17 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะกา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ก้อง, ก้องแกบ (ภาคเหนือ), มาดกา, มะกาต้น, ขี้เหล้ามาดกา (ภาคอีสาน), สิวาลา (กระเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia ovata Decne
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bridelia siamensis Craib
วงศ์ EUPHORBIACEAE

ถิ่นกำเนิดมะกา

มะกา จัดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศไทยอีกชนิดหนึ่งโดยมีการกระจายพันธุ์เป็นวงศ์กว้างในทวีปเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย ศรีลังกา มังคลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณ ที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่งทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณมะกา

  • บำรุงธาตุไฟ
  • บำรุงธาตุเหลือง
  • บำรุงน้ำดี
  • แก้กษัย
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช้วยขับโลหิต
  • ถ่ายพิษตานซางตานขโมย
  • ถ่ายพิษไข้
  • ชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ
  • แก้สะอึก
  • ใช้เป็นยาระบาย
  • ขับระดู
  • ช่วยสมานลำไส้
  • ช่วยสมานแผล
  • แก้ไตพิการ
  • ช่วยฟอกโลหิต
  • ใช้ระบายอุจจาระธาตุ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะกา

ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน โดยใช้ใบแห้ง หรือ ใบสดปิ้งพอกรอบ ขนาด1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดิอด แล้วแช่ไว้นาน 10-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอน ใช้บำรุงธาตุไฟ บำรุงธาตุเหลือง น้ำดี ถ่ายพิษไข้ ถ่ายพิษตานซาง ขับเสมหะ ขับระดู แก้สะอึก แก้น้ำเหลืองเสีย โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้กษัยไตพิการ ขับเสมหะ ระบายอุจจาระธาตุ โดยใช้แก่นมาต้นกับน้ำดื่ม แก้กษัย โดยใช้ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เหง้าสับปะรด เถาคันแดง และรากต้นเสาให้อย่างละเท่ากัน มาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร แล้วใส่เหลือทะเล 1 กำมือ แล้วจึงนำน้ำมารับประทาน

ลักษณะทั่วไปของมะกา

มะกา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ หรือ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่กว้างมีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกลำต้น และกิ่งก้านเรียบเป็นสีน้ำตาล มีช่องอากาศเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไปแต่เมื่อลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว

           ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงวน หรือ เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2-8 เซนติเมตร ยาว 5-21 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบมน หรือ เว้าคล้ายหัวใจ ขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่น แผ่นใบบางเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่ามีเส้นแขนงใบละ 10-17 เส้น ปลายใบโค้งเชื่อนกันเป็นเส้นขอบใบมีก้านใบสั้น

           ดอก ออกเป็นช่อโดยจะออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีดอกย่อย 1-20 ดอก เป็นแบบแยกเพศร่วมต้น มีสีเขียวอมเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลืองถึงเหลืองอ่อน รูปรี กว้าง 0.7-1 มิลลิเมตร ยาว 0.5-1.2 มิลลิเมตร ปลายมนหรือเว้าบุ๋มเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ดอกเพศผู้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร ส่วนเพศเมียมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 4-6 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเหลืองอมเขียว รูปสามเหลี่ยมมีแต้มสีแดง

           ผล มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นรูปทรงกลมผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

           เมล็ด ค่อนข้างกลม มีสีแดงคล้ำถึงสีดำอมแดง มีขนาดความกว้าง 4.5-5 มิลลิเมตร ยาว 3.5-5 มิลลิเมตร

มะกา

มะกา

การขยายพันธุ์ของมะกา

มะกาสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่เนื่องจากเป็นไม้ป่าที่มีความสูงของลำต้นค่อนข้างสูงการขยายพันธุ์ในปัจจุบันจึงนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ดมากกว่าวิธีอื่น โดยมีวิธีการดังนี้ คัดเลือกเมล็ดจากผลสุกที่มีสีดำ โดยเก็บมาแช่น้ำแล้วขยี้เนื้อของผลออกแล้วนำมาล้างเอาแต่เมล็ดตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปเพาะในกระบะเพาะชำประมาณ 30-45 วัน จะขึ้นเป็นต้นกล้าสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร จึงแยกลงใส่ถุงเพาะชำ เก็บไว้ในเรือนเพาะชำ และคอยรดน้ำให้ชุ่มชื้น เมื่อต้นกล้ามะกา อายุ 6-12 เดือน ลำต้น และรากจะแข็งแรงพร้อมที่จะปลูก ให้นำต้นกล้าปลูกที่กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร แล้วกลบดินให้พูนต้น ปักไม้เพื่อพยุงต้นปลูกเชือกให้เรียบร้อย คลุมโคนต้นด้วยฟาง หรือหญ้าแห้งและคอยรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากใบและกิ่งของมะกา ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น Beta-sitosteryl hexadecanoate, stigmasteryl hexadecanoate campesteryl hexadecanoate, hentriacontane, triacontanol, friedelan-3-Beya-ol, Beta-sitosterol, stigmasterol, campesterol, Beta sitosterol-3-O-Beta-D-glucopyranoside, stigmasteryl-3-O-Beta-glucopyranoside, Campesteryl-3-O-Beta-D-glucopyranoside ส่วนสารสกัดน้ำพบกรดอะมิโน(amino acid) หลายชนิดเช่น alanine, arginine, isoleucine และ threonine เป็นต้น

โครงสร้างมะกา

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะกา

มีรายงานผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะการะบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจเอาไว้ว่า

           ฤทธิ์ระบายท้อง มีการศึกษาฤทธิ์ระบายท้องกับผู้ป่วยโรคท้องผูกด้วยการใช้ใบแห้งขนาด 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แล้วแช่ไว้นาน 10-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลดี

          ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส มีรายงานผลการศึกษาโดยนำใบมะกา สด มาทำการสกัดด้วยเอทานอล 98% เป็นเวลา 3 วัน โดยนำสารสกัดที่ความเข้มข้น 100 µg/mL ในปริมาตร 10 µL มาทำการทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้อไข้หวัดใหญ่โดยมีวิธีการ NA inhibition assay ผลพบว่า % NA inhibition ของสารสกัดมี % NA inhibition type A สายพันธุ์ H1N1, type A สายพันธุ์ H3N2 และ type B โดยมีค่าเท่ากับ 21.35 2.71 23.43 2.85 16.64 4.01 ตามลำดับเมื่อใช้ยา oseltavivir 0.1 mg/ml เป็นตัวควบคุม ซึ่งมี % NA inhibition โดยมีค่าเท่ากับ 97.94 0.58 99.67 0.04 99.69 0.04 ตามลำดับ

          ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งปอด  มีการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอดของสารสกัดหยาบใบมะกาด้วย  etyl acetate โดยใช้วิธี MTT assay พบว่าสารสกัดหยาบจากใบมะกามีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด A549 โดยมีค่า 50% inhibition concentration ที่เวลา 24 48 72 ชั่วโมง เท่ากับ 28.84 5.14 22.02 2.34 17.39 1.88 µg/ml ตามลำดับ

          ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับ  มีรายงานผลการศึกษาวิจัยโดยนำสารสกัดใบมะกา ด้วย Ethanol ในอัตราส่วน 50 มิลลิกรัมต่อตัว ทำละลาน 150 มิลลิลิตร โดยสกัดด้วยการเขย่าด้วยเครื่อง orbital shaker ที่อุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง จากนั้นนำสารสกัดดังกล่าวมาทำการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ (Cytotoxicity activities) ชนิด HepG-2 โดยวิธี 3-4,5-Dimetyl-2-thiazolyl-2,5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้นระหว่าง 31.25 ถึง 500 µg/mL มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ชนิด HepG-2 ร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังมีการรายงานผลการศึกษาวิจัยอื่นๆ ระบุว่าสารสกัดของใบมะกามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบอีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยาของมะกา

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของมะการะบุว่า มีการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติ Vero cell โดยนำใบมะกามาสกัดด้วยทำละลาย 95% ethanol นาน 3-7 วัน และนำมาทำการแยกเป็น fraction ต่างๆ Ethanol hexane ethyl acetate aqueous aqueous ethyl acetate ผลพบว่าสารสกัดใบมะกา ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัดที่ทำให้เซลล์ตาย 50% cytotoxic concentration CC50 มีค่าเท่ากับ 39.72 22.12 89.13 11.09 707.95 µg/mL ตามลำดับ

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้มะกาเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมะกามีสรรพคุณขับระดู ในสตรีซึ่งอาจทำให้แท้งบุตรได้ นอกจากนี้การใช้ใบมะกาเป็นสมุนไพรอาจพบผลข้างเคียงได้ คือ ปวดท้อง และคลื่นไส้

เอกสารอ้างอิง มะกา
  1. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “มะก”. หนังสทอสมุนไพรไทยเล่ม1. หน้า 213.
  2. มะกา. คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในทางเภสัชกรรมไทย เล่ม 1. กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. กันยายน 2558. หน้า 192-194.
  3. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “มะกา . หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 148.
  4. บุญหลง ศรีบัว,จิราวรรณ เพชรจุ้ย, เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์. มะกา ( Bridelia ovata Decne) ใบไม้เป็นยา. ภาควิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
  5. “มะกา”. หนังสือสมุนไพรสวนสิริรุกขชาติ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 66.
  6. Juthathip P, Patompong K, Subhawat S, Bungorn S, Apichat T, Somcharoen S et al. Potential of Thai Herbal Extracts on Lung Cancer Treatment by Inducing Apoptosis and Synergizing Chemotherapy. MDPI 2020; 25: 1-30.
  7. Mali W, Takayuki N, Haruki Y, Surattana A, Chutichot M. Effects of Clinacanthus siamensis leaf extract on influenza virus infection. Microbiol Immu 2009; 53: 66-74. 8. 8)Hifza B, Penchatr DNA, Churat W, N. Monique P, Jisnuson S, Chantragan S. Inhibitory effect of Bridelia ovata Decne extract on HepG2 cell migration and invasion stimulated by fibroblast conditioned media. Naresuan Phayao J 2015; 8: 6-10.
  8. atesarin M, Chuanchom K, Yaowalak T, Nisachon S, Supatra P, Nitiphol R et al. Ethnomedicinal plants used by traditional healers in Phatthalung Province, Peninsular Thailand. JEE 2015; 1-20.
  9. Hifza B, Penchatr DNA, Churat W, N. Monique P, Jisnuson S, Chantragan S. Inhibitory effect of Bridelia ovata Decne extract on HepG2 cell migration and invasion stimulated by fibroblast conditioned media. Naresuan Phayao J 2015; 8: 6-10.
  10. Mali W, Sakulrat R. Anti-herpes simplex virus type 2 activities of some Thai medicinal plants. Thai J. Pharm. Sci 2006; 30: 19-27.