กร่าง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
กร่าง งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ
ชื่อสมุนไพร กร่าง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น นิโครธ,ไทรใบขนุน(ภาคกลาง),ฮ่างขาว, ฮ่างหลวง, ลุง , ไฮคำ(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benghalensis Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์Ficus altissima Blume.
ชื่อสามัญEast Indian fig, Banyan tree, Bargad tree
วงศ์MORACEAE
ถิ่นกำเนิด กร่างจัดเป็นพืชในวงศ์ขนุน (MORACEAE) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้บริเวณประเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล และศรีลังกา ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะพบได้มากในภาคเหนือ บริเวณป่าดิบชื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือตามโบราณสถาน ตามอาคารสถานที่ต่างๆ
ประโยชน์/สรรพคุณ
ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องเดิน แก้บิด โดยนำเปลือกต้นตากแห้งมาต้มหรือชงกับน้ำร้อนดื่ม
ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด ถ่ายมูกเลือด โดยนำเปลือกต้นและใบสดมาต้มกับน้ำดื่ม
ใช้บำรุงร่างกาย โดยนำเมล็ดทุบพอแตกต้มกับน้ำดื่ม
ใช้แก้บิดท้องเสีย แก้ท้องเดิน โดยนำน้ำยางมาชงน้ำร้อนดื่ม
ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องเดิน แก้บิดโดยนำเปลือกต้นตากแห้ง มาต้มหรือชงกับน้ำร้อนดื่ม
ใช้ห้ามเลือด โดยนำเปลือกต้นตำให้แหลกประคบบริเวณแผล
ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร โดยนำน้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
ใช้แก้หูด โดยนำน้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
ใช้แก้ไขข้ออักเสบ โดยนำน้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
ในอดีตนิยมนำต้นกร่างมาปลูกไว้ตามอาคารสถานที่วัดวาอาราม เพื่อความร่มเย็นในบริเวณที่ต่างๆ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนำมาปลูกกันแล้ว ส่วนรากอากาศมีการนำมาใช้ทำเชื่อกเนื่องจากมีความเหนียว นอกจากนี้ในต่างประเทศยังมีการนำเปลือกต้นชั้นในมาใช้ทำเยื่อกระดาษอีกด้วย
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้
- ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องเดิน แก้บิด โดยนำเปลือกต้นตากแห้งมาต้มหรือชงกับน้ำร้อนดื่ม
- ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด ถ่ายมูกเลือด โดยนำเปลือกต้นและใบสดมาต้มกับน้ำดื่ม
- ใช้บำรุงร่างกาย โดยนำเมล็ดทุบพอแตกต้มกับน้ำดื่ม
- ใช้แก้บิดท้องเสีย แก้ท้องเดิน โดยนำน้ำยางมาชงน้ำร้อนดื่ม
- ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องเดิน แก้บิดโดยนำเปลือกต้นตากแห้ง มาต้มหรือชงกับน้ำร้อนดื่ม
- ใช้ห้ามเลือด โดยนำเปลือกต้นตำให้แหลกประคบบริเวณแผล
- ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร โดยนำน้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
- ใช้แก้หูด โดยนำน้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
- ใช้แก้ไขข้ออักเสบ โดยนำน้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
ลักษณะทั่วไป กร่างจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เรือนยอดแผ่กว้างแตกกิ่งก้านหนาทึบแตกกิ่งห้อยลง มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นตั้งตรงขึ้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเรียบเกลี้ยงสีน้ำตาลกึ่งน้ำตาลดำ ลำต้นและกิ่งมักจะรากอากาศห้อยย้อยลงมามาก และเมื่อรากอากาศหยั่งถึงดินแล้วจะแทงเข้าไปในดินในส่วนรากอากาศที่มีค่อนข้างมากก็จะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน เจริญเป็นลำต้นต่อไปได้ และในทุกส่วนของลำต้นเมื่อเกิดแผลจะมียางสีขาวไหลออกมา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับบริเวณปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนานมีขนาดกว้าง 10-14 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร โคนใบมนโค้งกว้าง ขอบใบเรียบแผ่นใบมีสีเขียวเข้มหนาเป็นมัน มีเส้นแขนงของใบประมาณ 4-6 คู่ ด้านล่างใบมีสีอ่อนกว่าเมื่อใบยังอ่อนจะมีขนหนามาก ในส่วนของท้องใบ แต่เมื่อใบแก่ไม่มีขน ดอกออกเป็นช่อรวม โดยจะออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่งเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีขนาดเล็ก ซึ่งจะมีจำนวนมากดอกจะเจริญเติบโตอยู่ภายใต้ฐานรองดอกที่ขยายตัวโอบล้อมเป็นรูปำกลม โดยจะประกอบไปด้วยดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ดอกเพศผู้มีกลีบรวมชั้นเดียวจำนวน 4 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 1 อัน ส่วนดอกเพศเมียมีโคนกลีบเชื่อมติดกันส่วนปลายแยกเป็น 4 แฉก ผลเป็นผลรวมลักษณะรูปทรงกลมหรือรูปไข่ มีขนาดเล็กผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลมีสีเขียวเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้ม จนถึงสีเลือดหมู ภายในผลประกอบด้วยเนื้อบางๆ และมีเมล็ด 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ กว่างสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีอาทิเช่น การใช้เมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่งเป็นต้น แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันไม่นิยมนำกร่างมาปลูก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่มีความสูงมาก และมีรากอาการระโยงรยางค์ไม่เรียบร้อย และต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมาก ดังนี้ในปัจจุบันการขยายพันธุ์ของต้นกร่างนั้น จึงเป็นการขยายพันธุ์ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัยสัตว์มากินผลสุกแล้ว ถ่ายมูลออกมาทำให้เจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป
องค์ประกอบทางเคมี มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของส่วนต่างๆ รวมถึงสารสักดจากส่วนต่างๆ ของกร่างระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น
- ทั้งต้นพบ สาร lupeol, β-sitosterol, rutin, friedelin, taraxasterol, quercetin-3-galactoside, bengalenoside, benganoic acid
- แก่น พบสาร taraxasterol , tiglic acid , benzoic acid derivatives
- เปลือกต้น พบสาร leucopelargonidin, pelargonidin-3-rhamnoside และ pentatriacontan-5-one
- ใบ (Leaves)พบสาร quercetin-3-galactoside, rutin, β-sitosterol, friedelin
- เมล็ดพบสาร lectin
- น้ำยาง พบสาร bengalinoside, bengalenoside และ leucopelargonidin derivatives
ส่วนสารสกัดจากใบ พบสาร กลุ่ม flavonoids เช่น quercetin‑3‑galactoside, rutin สารกลุ่ม sterols เช่นβ‑sitosterol และ สารกลุ่ม triterpenoids ได้แก่ friedelin สารสกัดจากลำต้นและเปลือกพบสาร anthocyanidin derivatives เช่น leucodelphinidin‑3‑O‑rhamnoside, pelargonidin สาร pentatriacontan‑5‑one , β‑sitosterol glucoside, meso‑inositol นอกจากนี้ยังพบ leucocyanidin, pelargonidin derivatives.
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดส่วนเหนือดินของกร่างระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการดังนี้
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูทดลองแบบ carrageenan-induced pew oedema model พบว่าสารสกัดจากส่วนเหนือดินของกร่างมีฤทธิ์ลดการบวมอย่างมีนัยสำคัญและเมื่อนำสารสกัดดังกล่าวมาทำการทดสอบ ด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสักดมีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ดี โดยมีค่า IC50 32µg/ml
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเดิน มีรายงานผลการศึกษาวิจัยของสารสกัดเอธานอลจาก นิโครธ (Ficus bengalensis) พบว่า มีฤทธิ์ต่อต้านอาการท้องเดินได้ เมื่อทดลองในหนูขาวด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องเดินโดยใช้น้ำมันละหุ่ง PGE2 induced enteropooling และ charcoal meal test
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของกร่างยังมีฤทธิ์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ฤทธิ์ฆ่าพยาธิในลำไส้ ฤทธิ์แก้ท้องเสีย ฤทธิ์ปกป้องตับ และฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ต้านอาการแพ้ เป็นต้น
การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพิษวิทยาของสารสกัดจากรากอากาศของกร่าง ระบุว่าเมื่อให้สารสกัดเอทานอลจากรากอากาศทางปาก ในขนาด 5,000 mg/kg ในหนู Wistar ไม่พบการเสียชีวิต และความผิดปกติของพยาธิสภาพ ได้แก่ ระบบประสาท หัวใจ และไต แสดงให้เห็นว่าสารสกัดดังกล่าวมีความเป็นพิษต่ำมาก และค่า LD50 ของสารสกัดจากรากอากาศของกร่างมีมากกว่า 5,000 mg/kg.
ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง สำหรับการใช้กร่างเป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆนั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด/ปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
อ้างอิงกร่าง
- เอื้อมพร วิสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน.2552. ไม่ป่ายืนต้นของไทย.1,พิมพ์ครั้งที่2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด.กรุงเทพมหานคร.
- รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา เรียบเรียง หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.2538.
- พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ.หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.กร่าง.หน้า89.
- นิโครธ.ศูนย์วนวัฒนวิจัยภาคเหนือ.2555.พรรณไม้ในกระถางศูนย์วนวัฒนวิจัยภาคเหนือ.สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้.กรุงเทพฯ.
- Shukla, R., & Bhargava, A. (2016). Pharmacognostic and phytochemical studies of Ficus benghalensis leaves. International Journal of Pharmacognosy and Phytochemical Research, 8(7), 1080–1084.
- Kumar, R., & Singh, D. (2014). Qualitative phytochemical analysis of leaf buds of Ficus benghalensis. International Journal of Herbal Medicine, 2(2), 23–26.
- Jain, A., & Singh, V. (2013). Phytochemical evaluation and antimicrobial activity of stem bark of Ficus benghalensis. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 2(1), 85–88.
- Rani, P., & Khullar, N. (2004). Antimicrobial evaluation of some medicinal plants for their anti-enteric potential against multi-drug resistant Salmonella typhi. Phytotherapy Research, 18(8), 670–673.
- Jaiswal, D., Rai, P.K., Mehta, S., Chatterji, S., & Watal, G. (2009). Wound healing activity of Ficus benghalensis root extract on rat. Journal of Ethnopharmacology, 123(2), 494–497.
- Sharon, N., & Lis, H. (2004). Lectins: carbohydrate-specific proteins that mediate cellular recognition. Chemical Reviews, 104(2), 272–289.
- Shah, S.M., et al. (2015). Phytochemical screening and antioxidant activity of aerial root extract of Ficus benghalensis. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences, 7(9), 232–236.