นนทรี ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

นนทรี งานวิจัยและสรรพคุณ 16 ข้อ

ชื่อสมุนไพร นนทรี
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สารเงิน (ภาคเหนือ), นนทรีบ้าน (ภาคกลาง), กระถินแดง, กระถินป่า (ภาคตะวันออก), ร้าง, ราง, ซ้าขม, คาวรุ้ง, อะราง (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K.Heyne
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Peltophorum ferrugineum Benth., Peltophorum inerme (Roxb.) Naves ex Villar, Peltophorum roxburghii (G.Don) Degener, Poinciana roxburghii G.Don, Inga pterocarpa DC.

ถิ่นกำเนิดนนทรี

นนทรี จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภาคตะวันออกและภาคใต้ของอินเดีย และประเทศเขตร้อนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ต่อมาจึงได้กระจายพันธุ์ไปยังบริเวณใหล้เคียงสำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามชายป่าเต็งรัง หรือ ป่าเบญจพรรณในภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตร เหนือระดับ

ประโยชน์และสรรพคุณนนทรี

  • ใช้กล่อมเสมหะ
  • ใช้กล่อมเลือด
  • ช่วยละลายเสมหะ
  • แก้บิด
  • แก้ไข้
  • แก้ท้องร่วง ท้องเสีย
  • ช่วยขับลมผาย
  • ช่วยขับโลหิต
  • ใช้สมานแผลสด
  • ช่วยปิดธาตุ
  • ขับโลหิตระดู
  • แก้ตะคริว
  • รักษากล้ามเนื้ออักเสบ
  • แก้ตะคริว
  • ใช้แก้โรคเจ็ด (โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง)
  • ผงรักษาโรคสะเก็ดเงิน

           นนทรี ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบหลายประการ เช่น เปลือกลำต้นถูกนำมาใช้ต้มย้อมผ้าให้สีส้มอมชมพู หรือ น้ำตาลอมชมพู ยอด และฝักก่อนมีรสชาตฝาดมันใช้เป็นอาหารประเภทผักเหมาะแกล้มน้ำพริกได้ เนื้อไม้นนทรีเป็นไม้เนื้อแข็งมันเลื่อมมีสีน้ำตาลอม สีชมพู เสี้ยนไม้ตรงหรือเป็นคลื่นบ้าง มีความหยาบปานกลางสามารถนำมาใช้เลื่อยผ่าตกแต่งได้ง่าย จึงมีการนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำพื้น เพดาน ฝา วงกบ หรือ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ภายในบ้านต่างๆ

           นอกจากนี้ยังมีการนำต้นนนทรี มาปลูกเป็นไม้ประดับ หรือ ให้ร่มเงาเนื่องจากทรงพุ่มหนาแตกกิ่งแขนงจำนวนมาก ช่วยให้เป็นร่มเงาบังแดดได้ดี ออกดอกดก เป็นช่อใหญ่ มีสีเหลืองสวยงาม และยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ อีกด้วย

นนทรี

นนทรี

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ช่วยละลายเสมหะ กล่อมเสมหะและโลหิต ช่วยปิดธาตุ รักษาโรคบิด แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย ช่วยขับลม ผายลม ขับโลหิต ขับระดูในสตรี โดยนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้เป็นยาสมานแผลสด ทำให้แผลหายเร็ว โดยใช้เปลือกต้นแห้งมาบดหรือฝนทาบริเวณที่เป็น
  • ใช้เป็นยาแก้โรคเจ็ด (โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง) โดยนำยอดหรือใบอ่อน 1 กำมือ ตำให้ละเอียดผสมกับไข่ขาว ไข่เป็น นำมาทาบริเวณที่เป็น แล้วใช้ผ้าพันทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วค่อยลอกออก
  • ใช้แก้กล้ามเนื้ออักเสบ แก้ตะคริวโดยนำเปลือกต้นมาเคี่ยวเข้าน้ำมันกับตัวยาอื่นๆ เช่น ไพล ขิง แล้วนำมานวดบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปของนนทรี

นนทรี จักเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 8-15 ม. ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอด เป็นรูปกลม หรือ รูปไข่เปลือกต้นมีสีเทาดำค่อนข้างเรียบ หรือ อาจพบแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ส่วนกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม และกิ่งแก่เกลี้ยง ใบออกเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ติดเรียงเวียนสลับแน่นตามปลายกิ่ง โดยช่อใบจะยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และมีใบย่อยออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 9-13 คู่ ซึ่งลักษณะของใบย่อยมีลักษระเป็นรูปขอบขนาน โคนใบมนเบี้ยวปลายใบมนหรืออาจหยักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้าง 0.5 เซนติเมตร แลยาว 1-2 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อนดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ มีสีเหลือง ซึ่งช่อดอกจะตั้งชี้ขึ้นบริเวณปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดยาว 20-30 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ห่อหุ้มกลีบดอกไว้ด้านนอกมีขน ขอบกลีบเกยทับกัน ส่วนดอกย่อยมีสีเหลืองโดจจะมีประมาณ 15-30 ดอกต่อ 1 ช่อดอก ดอกย่อยทรงกลมมีกลีบดอก 5 กลีบ มีลักษณะบางโคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย เมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน ผลออกเป็นฝัก มีลักษณะแบบเป็นรูปหอก มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร และยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายฝัก และโคนฝักเรียวแหลม ฝักสดมีสีเขียวเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดดอกลักษณะแบนลีบแหลมแข็ง เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลอมแดง เรียงขนางในฝักประมาณ 1-4 เมล็ด

นนทรี

นนทรี

การขยายพันธุ์นนทรี

นนทรีสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการดังนี้

           ก่อนอื่นต้องทำการเตรียมเมล็ดโดยนำเมล็ดแก่ของนนทรี แช่ในกรดซัลฟูริกเจือจาง 15-30 นาที แล้วนำมาแช่น้ำร้อนเดือด นาน 3-5 นาที และแช่ในน้ำเปล่าอีก 1 คืน จากนั้นแกะเมล็ดมาเพาะในถุงเพาะชำ โดยผสมดินลงในถุงเพาะชำ ถุงละ 1-2 เมล็ด ประมาณ 7-10 วัน จะงอกเป็นต้นอ่อนอายุประมาณ 6-12 เดือน จึงสามารถนำมาลงแปลงปลูก สำหรับการปลูกให้ขุดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากับกินก้นหลุม โดยควรปลุกห่างกัน 3-4 เมตรขึ้นไป และเมื่อนำต้นกล้าลงปลูกกลบดินปักไม้ผูกเชือก และในระยะแรกควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นเสมอ


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของนนทรี ระบุว่าสารสกัดเมทานอลจากใบของนนทรี พบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น peltopterins A, trans-ferulic acid, methyl ferulate, benzoic acid, vanillic acid, syringic acid, scopolin, isovanillic acid, stigmasterol, cyclotirucanenone, lupenone, kaempferol 3-O-α-l-rhamnoside, cycloeucalenol     

           นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยอีกฉบับหนึ่งระบุว่า สารสกัดนนทรี จากลำต้นพบสารออกฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้  Bergenin, Cincnonain, Lupool, Betulinic aci, gallic acid และ pyrogallic acid

โครงสร้างนนทรี

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของนนทรี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนดอกของนนทรีระบุว่า มีการศึกษาวิจัยสารสกัดปิโตรเลียมอิเทอร์ โดคลอโรมิเทนเอทีออะซิเดต และเมทานอลจากส่วนดอกของนนทรีต่อการต้านจุลชีพ พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเดตแสดงฤทธิ์สูงสุดต่อเชื้อ S. aureus และ E.aerogenes (IZ16.00±0.57 และ 15.33±0.32 มม. ตามลำดับ) ในขณะที่ไดคลอโรมีเทนพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ planticola และ E.aerogenes (IZ15.65±1.19 และ 14.66±0.66 มม. ตามลำดับ) ส่วนในการต่อต้านเชื้อราพบว่าเอทิลอะซิเดตแสดงฤทธิ์ต่อ T.rubrum และ P.crysogenum เมื่อเทียบกับมาตรฐาน (quercetin) นอกจานี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเมทานอลจากส่วนใบของนนทรี ระบุว่า มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด และถ่ายพยาธิ เป็นต้น


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของนนทรี

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้นนทรีเป็นยาสมุนไพร โดยเฉพาะในรูปแบบการรับประทาน เนื่องจากตามสรรพคุณทางยาของนนทรี ระบุว่ามีฤทธิ์ขับโลหิต ขับระดูในสตรี ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้ ส่วนการใช้ในบุคคลทั่วไปก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณ ที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง นนทรี
  1. ราชันย์ ภู่มา. (2559). สารานุกรมพืชในประเทศ (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
  2. เดชา ศิริภัทร.นนทรีจากป่าสู่นาคร.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 278. มิถุนายน 2545.
  3. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า. (10)
  4. นนทรี. คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในทางเภสัชกรรมไทย เล่ม 1. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.กันยายน 2558. หน้า 82-83
  5. เต็ม สมิตินันท์. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ และพันธุ์พืช กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
  6. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า. (560)
  7. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “นนทรี (Non Si)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 149.
  8. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (402)
  9. นนทรี ประโยชน์และสรรพคุณนนทรี. พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  10. Ahmad F., Ali M., Alam P. New phytoconstituents from the stem bark of Tinospora cordifolia Miers. Nat. Prod. Res. 2010;24:926–934. doi: 10.1080/14786410802435679. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
  11. Lee C.K., Chang M.H. The chemical constituents from the heartwood of Eucalyptus citriodora. J. Chin. Chem. Soc. 2000;47:555–560. doi: 10.1002/jccs.200000074. [CrossRef] [Google Scholar]
  12. กรมวิชาการเกษตร. (2547). พรรณไม้หอในสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
  13. Islam M.S., Ali S., Rahman M., Islam R., Ali A., Azad A.K., Islam M.R. Antidiabetic, cytotoxic activities and phytochemical screening of Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne root. J. Med. Plants Res. 2011;5:3745–3750. [Google Scholar]
  14. Dandapat R., Jena B.S., Negi P.S. Antimutagenic and antibacterial activities of Peltophorum ferrugineum flower extracts. Asian Pac. J. Trop. Dis. 2012;2:S778–S782. doi: 10.1016/S2222-1808(12)60264-3. [CrossRef] [Google Scholar]
  15. Chung C.P., Hsia S.M., Lee M.Y., Chen H.J., Cheng F., Chan L.C., Kuo Y.H., Lin Y.L., Chiang W. Gastroprotective activities of adlay (Coix lachryma-jobi L. var. ma-yuen Stapf) on the growth of the stomach cancer AGS cell line and indomethacin-induced gastric ulcers. J. Agric. Food Chem. 2011;59:6025–6033. doi: 10.1021/jf2009556. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]
  16. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  17. Raj M.K., Balachandran C., Duraipandiyan V., Agastian P., Ignacimuthu S., Vijayakumar A. Isolation of terrestribisamide from Peltophorum pterocarpum (DC.) Baker ex. K. Heyne and its antimicrobial, antioxidant, and cytotoxic activities. Med. Chem. Res. 2013;22:3823–3830. [Google Scholar]
  18. Jain S.C., Pancholi B., Jain R. Peltophorum pterocarpum (DC.) Baker ex. K. Heyne flowers: Antimicrobial and antioxidant efficacies. J. Med. Plants Res. 2011;5:274–280. doi: 10.3923/rjmp.2011.274.280. [CrossRef] [Google Scholar]
  19. Teh C.H., Morita H., Shirota O., Chan K.L. 2,3-Dehydro-4α-hydroxylongilactone, a novel quassinoid and two known phenyl propanoids from Eurycoma longifolia Jack. Food Chem. 2010;120:794–798. doi: 10.1016/j.foodchem.2009.11.012. [CrossRef] [Google Scholar]
  20. Khan A.Q., Ahmed Z., Kazmi S.N.H., Malik A., Afza N. The structure and absolute configuration of cyclotirucanenol, a new triterpene from Euphorbia tirucalli Linn. Z. Naturforsch. B. 1988;43B:1059–1062. doi: 10.1515/znb-1988-0826. [CrossRef] [Google Scholar]
  21. Bizimenyera E.S., Githiori J.B., Swan G.E., Eloff J.N. In vitro ovicidal and larvicidal activity of the leaf, bark and root extracts of Peltophorum africanum Sond. (Fabaceae) on Haemonchus contortus. J. Anim. Vet. Adv. 2006;5:608–614. [Google Scholar]
  22. Lam S.K., Ng T.B. First report of an antifungal amidase from Peltophorum pterocarpum. Biomed. Chromatogr. 2010;24:458–464. doi: 10.1002/bmc.1312. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]