กระดึงช้างเผือก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กระดึงช้างเผือก งานวิจัยและสรรพคุณ 20 ข้อ


ชื่อสมุนไพร กระดึงช้างเผือก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ขี้กา, เถาขี้กา, ขี้กาแดง (ภาคกลาง), ขี้กาลาย, มะตูมกา (ภาคอีสาน), กระดึงช้าง, ขี้กาใหญ่, ขี้กาขม (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes tricuspidata Lour.
วงศ์ COCURBITACEAE


ถิ่นกำเนิดกระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือก จัดพรรณไม้เถาที่มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของอินเดียไปจนถึงทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย รวมถึงทางจีนตอนใต้แล้วจึงกระจายพันธุ์ไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กันพูชา มาเลเซีย รวมถึงทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคบริเวณป่าเบญจพรรณทั่วไป


ประโยชน์ของสรรพคุณกระดึงช้างเผือก

  • ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย
  • ใช้เป็นยาถ่าย
  • แก้ตับ
  • แก้ม้ามโต
  • แก้โรคเรื้อน
  • ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
  • แก้ไข้
  • ใช้บำรุงน้ำดี
  • แก้ดับพิษ
  • แก้เสมหะ
  • แก้โลหิต
  • ช่วยชำระเสมหะให้ตก
  • ช่วยฆ่าโรคไร เห็บ เหา
  • ใช้แก้หวัดคัดจมูก
  • แก้โรคผิวหนัง
  • แก้ฝีหนอง
  • แก้พิษตานซาง
  • แก้ตับปอดพิการ
  • ใช้ถ่ายเสมหะ
  • ช่วยขับพยาธิ 

กระดึงช้างเผือก

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้บำรุงร่างกาย แก้ตับ หรือ ม้ามโตถ่ายพยาธิโดยนำรากมาต้มกับน้ำ ดื่ม หรือ นำรากมาบดให้เป็นผลรับประทน แก้ตับ หรือ ม้ามโตก็ได้ ใช้แก้หวัดคัดจมูก โดยนำใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้บำรุงกำลัง แก้ไข้ โดยนำดอกมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้บำรุงน้ำดีดับพิษเสมหะ และโลหิต ชำระเสมหะให้ตกโดยนำเถากระดึงช้างเผือก มาต้มกับน้ำดื่ม ยาถ่ายใช้แก้พิษตาซาง แก้ตับปอดพิการ ถ่ายเสมหะ ขับพยาธิ โดยนำผลแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้พอกฝีแก้โรคผิวหนังโดยใช้ใบสดมาตำประกบ หรือ ทาบริเวณที่เป็น ใช้แก้โรคเรื้อนโดยใช้รากมาต้มผสมกับน้ำมันใช้ทาบริเวณที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของกระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือก จัดเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เลื้อยไปตามผิวดิน หรือ พืชพรรณไม้อื่นๆ ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมสันสีเขียวเข้ม เป็นร่องมีขนสั้นสีขาวสากมือ ขึ้นอยู่ทั่วไป แต่จะค่อยๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง และมีมือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับเป็นห่างๆ มีรูปร่างแตกต่างกันตั้งแต่รูปไข่กว้าง ไปจนถึงรูปเกือบกลมลักษณะของใบ มีลักษณะเป็นแฉก 3-7 แฉก ซึ่งแฉกกลางจะยาวที่สุด ใบมีขนขนาดยาว และกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ส่วนโคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจกว้างๆ ขอบใบหยัก และเว้าลึก 3-7 แห่ง ผิวใบด้านบนสากมือ ด้านล่างมีขน ส้นๆ สีขาว มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น ปลายเส้นใบยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้นๆ หลังใบเห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน และในส่วนก้านใบจะมีขนหรือเกือบเกลี้ยง

           ดอก ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบโดยเพศผู้ และเพศเมียอยู่ต่างต้นกันสำหรับดอกเพศผู้ จะออกเป็นช่อมีใบประดับรูปไข่กลับ และขอบใบประดับจะหยัก เป็นแฉกตื้นๆ กลีบดอกรูปหอกป้อม ขอบหยัก หรือ ฟันเลื่อยลึกแหลม มี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นฐานเพียงเล็กน้อย ขอบกลีบเป็นชายครุย มีเกสรเพศผู้ 3 อัน อับเรณูเชื่อมติดกันเป็นรูป S ส่วนดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกออกเหมือนดอกเพศผู้ กลีบดอกมีสีเหลืองอมชมพู มีลายเป็นเส้นสีแดงภายใน รังไข่มี 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก

           ผล เป็นรูปทรงกลม หรือ รูปขอบขนาน เมื่อมีขนขึ้นปกคลุมประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลยังอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม มีลายทางเป็นเส้นสีขาว หรือ สีเขียวอ่อนตลอดผล เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงลายสีเหลืองเนื้อด้านในผลเป็นสีเขียว ด้านในผลมีเมล็ด สีเทา หรือ สีน้ำตาลจำนวนมาก และมีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเทาเมื่อแห้งจะโปร่งคล้ายฟองน้ำ ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแบน

กระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือก

การขยายพันธุ์กระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือกสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ซึ่งการขยายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ทั้งโดยที่ผลแก่ตกลงดินแล้วเมล็ดงอกขึ้นเป็นต้นใหม่ และที่นก หรือ สัตว์พันธุ์มาแทะกินผลสุกแล้วถ่ายมูลที่เป็นเมล็ดของกระดึงช้างเผือก ออกมาแล้วจึงงอกเป็นต้นใหม่ สำหรับการนำมาเพาะปลูกโดยมนุษย์นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการนิยมนำมาปลูกแต่อย่างใด


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของกระดึงช้างเผือก ในต่างประเทศระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญต่างๆ หลายชนิด เช่น ในผลพบสาร Cucurbitane glycosides cucurbitacin 2-o-b-glycoperanoside, 25-O-acetyl-cucurbitacin2-o-b-glycopyranoside, khekadaengside K khekadaengoside A-J, M-N, cucurbitacin J 2-o-glycopyranoside, cucurbitacin K 2-o-b-glycopyranoside octamor cucurbitane khekada engoside L.

           รากพบสาร trichotetrol palmitic acid, suberic acid, tetrahydroxypentacyclic triterpenoid, methyl palmitate, spinasterol, stigmas-7-en-3-beta-ol, bryonolic acid stigmas-7-en-3-beta-ol-3-o-beta-D-glycopyranoside, spinasteral-3-o-beta-D-glucopyranoside, glyceryl l-palmitate, glyceryl1-stearate, 23,24-dihydrocucuebitacin D, isocucuerbitacinB, cucuebitacin B, isocurbitacin D, 3-epi-isocucurbitacin B and D-glucose.

           ลำต้นพบสาร กลุ่ม cyloartane glycosides ได้แก่ cyclotricuspidosides A,B and C.

           ใบพบสาร cyclotichocantol, cycloeucalenol, cyclotricuspidoside A-C

           และในเมล็ดพบสาร n-Hexadecanoic acid, octadecanoic acid, Oleic acid, 9,12-octadecadienoic acid, 9-octadecanoic acid, methyl ester, cis-vaccenic acid, 9-octadecenoic acid, methyl ester, cis-vaccenic acid cis-10-nonadecenoic acid, n-hexylamine,9,12-octadecadienoic acid, butyl 9,12-octadecadienoate, Methyl 9,12-heptadecadienoate, 2-methyl-z,z3,13-octadecadienol 9-octadecanal

โครงสร้างกระดึงช้างเผือก

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระดึงช้างเผือก

มีรายงานผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาในต่างประเทศของสารสกัดกระดึงช้างเผือก จากส่วนต่างๆ ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังนี้

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีรายงานว่าสารสกัดจากส่วนเหนือดินของกระดึงช้างเผือกแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบของ lipopolysaccharide และกระตุนมาโครฟาจในหนูเม้าส์ที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบแบบเฉียบพลัน

           ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีรายงานการศึกษาระบุว่าสารสกัดเอทานอล เอทานอล และน้ำ สารสกัดน้ำจากส่วนราก ของกระดึงช้างเผือก (trochoanthes tricuspidata) แสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Klebisilla, Pseudomonas aeruginosa และมีรายงานระบุว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มของรากกระดึงช้างเผือก แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียให้เห็นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสารสกัดบิวทานอล อะซิโตน เมทานอล และน้ำของกระดึงช้างเผือก แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย streptococcus pyogenes ส่วนสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้ง Bacillus cereus Klebsiella pneumonia, Klebsiellaoxytoca, brevebacterium paucivorans ส่วนสารสกัดเอทานอลแสดงฤทธิ์ต้าน

           ฤทธิ์ถ่ายพยาธิ มีรายงานฤทธิ์ต้านพยาธิของสารสกัดจากส่วนเหนือดินของกระดึงช้างเผือกที่สกัดด้วยเอทานอล และน้ำพบว่าสารสกัดทั้งสองออกฤทธิ์มากกว่าเมื่อเทียบกับยาถ่ายพยาธิมาตราฐานอัลเบนดาโซล โดยฤทธิ์ของสารสกัดทั้งสองขึ้นอยู่กับขนาดยา และสารสกัดเอทานอลออกฤทธิ์มากกว่าสารสกัดน้ำ

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วนใบ และผลขอลกระดึงช้างเผือก พบว่าส่วนของผลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าใบนอกจากนี้มีรายงานจากสารสกัดคลอโรฟอร์มจากส่วนรากกระดึงช้างเผือกระบุว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเมื่อเทียบกับสารมาตราฐาน

           อีกทั้งยังมีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่าในส่วนของเนื้อผล (pericarp) ของกระดึงช้างเผือก หรือขี้กาแดง มีสารพิษ cucurbitacin 2 ชนิด คือ tricuspidatin, 2-o-Glucocucurbiyacin J. ซึ่งแสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งผิวหนังมนุษย์ (KB Cell) อีกด้วย


การศึกษาทางพิษวิทยาของกระดึงช้างเผือก

มีรายงานการศึกษาวิจัยด้านพิษวิทยาระบุว่าในส่วนเนื้อของผลกระดึงช้างเผือก พบสารพิษในกลุ่ม cucurbitacin 2 ชนิด คือ tricuspidatin, 2-o-Glucocurbitacin J.


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

จากการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาพบว่าส่วนเนื้อผลสดขงกระดึงช้างเผือกพบสารมีพิษ 2 ชนิด ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทาน หรือ นำเนื้อผลสดมารับประทานเป็นสมุนไพร เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายต่อสุภาพได้ สำหรับการใช้ส่วนอื่นๆ ของกระดึงช้างเผือก เป็นสมุนไพรก็ควรระมัดระวังในการใช้โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรใช้มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

เอกสารอ้างอิง กระดึงช้างเผือก   
  1. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. ขี้กาลาย (Khi ka Lai). หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 65.
  2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์. สมุนไพรไทย ตอนที่ 5. กรุงเทพฯ หจก. ชุติมาการพิมพ์ 2530 : 731
  3. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรือวรังษี, กัญจนา ดีสิเศษ. ขี้กาลาย. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. หน้า 81.
  4. เมล็ดขี้กาแดง. กระดานถาม-ตอบ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก  http://www.medplant.Mahodol.ac.th/user/replt.asp?id=6039.
  1. Duyfjes BE, Pruesapan K. The genus Trichosanthes L. (Cucurbitaceae) in Thailand. Thai Forest Bull (Botany). 2004;32:76– 109.
  2. Nadkarni KM. 1976. Indian Material Medica, Bombay Popular Prakashan Pvt. Ltd., 1, 1238.
  3. Khare CP. Indian Medicinal Plants An Illustrated Dictionary With 215 Pictures of Crude Herbs 123, 1/211. JanakPuri, New Delhi-110058, India; 2007. p. 671–2.
  4. Francis XT, Dhanasekaran G. In Vitro Antibacterial potential of Trichosanthes tricuspidata Lour. Against pathogenic bacteria. World J Pharm Pharm Sci. 2018;7(2):1436–41.
  5. Ahuja A, Jeong D, Kim MY, Cho JY. Trichosanthes tricuspidata Lour. methanol extract exhibits anti-inflammatory activity by targeting SYK, SRC and IRAK Kinase Activity. Evidence-Based Complement Altern Med. 2019;p. 1–14. doi:10.1155/2019/6879346.
  6. Kanchanapoom T, Kasai R, Yamasaki K, Kazuo Y. Cucurbitane, hexanorcucurbitane and octanorcucurbitane glycosides from fruits of Trichosanthes tricuspidata. Phytochemistry. 2002;59(2):215–28.
  7. Dubey BK. Evaluation of phytochemical constituents and anthelmintic activity of aerial part of Trichosanthes tricuspidata Lour. Int J Pharm Phytopharmacol Res. 2013;3(2):104–6.
  8. Saboo SS, Priyanka K, Thorat, Tapadiya GG. Evaluation of phytochemical and anticancer potential of chloroform extract of Trichosanthes tricuspidata Lour roots (Cucurbitaceae) using in- vitro models. Int J Pharm Pharm Sci. 2013;5(4):203–8.
  9. Jayakumar C, Devi VM, Reddy PDM, Sridar R. Oil extraction from Trichosanthes tricuspidata seed using conventional soxhlet apparatus. Asian J Chem. 2020;32(1):9–12.
  10. Kasai R, Sasaki A, Hashimoto T, Ohtani K, Yamasaki K. Cycloartane glycosides from Trichosanthes tricuspidata. Phytochemistry. 1999;51:803–8.