น้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลา

ชื่อสามัญ Cod liver oil

ประเภทและข้อแตกต่างน้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลา คือ น้ำมันที่ได้จากสารสกัดตับของปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาค็อด (Cod) ปลาทูน่า ปลาแมคคาเรล ปลาซาดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแฮลิบัท เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ ปลาที่นิยมนำมาสกัดจะเป็นปลาค๊อด ดังนั้นน้ำมันตับปลาจึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Cod liver oil”

            สำหรับลักษณะของน้ำมันตับปลา จะมีลักษณะคล้ายกับน้ำมันพืชโดยทั่วไป คือ ประกอบด้วยกรดไขมัน 3 โมเลกุล และกลีเซอรอล 1 โมเลกุล แต่กรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบมีความแตกต่างจากน้ำมันพืช โดยกรดไขมันในน้ำจากตับปลาจะประกอบด้วยกรด ไขมันไม่อิ่มตัวสูงมาก (highly polyunsaturated fatty acid) ที่มีจำนวนพันธะคู่มากกว่า 4 พันธะ อยู่ในสัดส่วนที่สูง และองค์ประกอบของน้ำมันตับปลา จะประกอบด้วยไตรกลีเซอร์ไรด์ เอสเทอร์ของกรดไขมัน กรดไขมันอิสระ สารให้สีไฮโดรคาร์บอน ฟอสฟิปิค และสเตอรอยด์ เป็นต้น

            ส่วนประเภทของน้ำมันตับปลา นั้น โดยมากแล้วมีองค์ประกอบของโมเลกุล และสารอาหารคล้ายกัน ทั้งหมดแต่จะมีแตกต่างกันในเรื่องแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาสกัด (ชนิดของปลาที่นำมาสกัด)

โครงสร้างน้ำมันตับปลา

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาน้ำมันตับปลา

ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่าน้ำมันตับปลา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดส่วนตับของปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาคอด, ปลาทูน่า, ปลาซาดีน, ปลานแมคเคอเรล, ปลาเฮอริ่ง และปลาแฮลินัท ฯลฯ ซึ่งโดยปกติแล้วตับปลาเป็นแหล่งสะสมของ วิตามินเอ และวิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้น ในน้ำมันตับปลาจึงมีปริมาณวิตามินเอ และวิตามินดี สูง

            นอกจากนี้น้ำมันตับปลาจึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดแรกๆ ที่ได้เข้ามามีบทบามวงการอาหารเสริมสุขภาพของไทย โดยมักจะพบได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปของแคปซูลซอฟด์เจล หรือ แบบชนิดน้ำ สำหรับวิธีการสกัดน้ำมันตับปลา นั้น จะมีวิธีที่เหมาะสมในการสกัดที่แตกต่างกัน โดยวิธีการสกัดน้ำมันจากตับปลาแบ่งออกเป็น การใช้ไอน้ำ ซึ่งจะใช้สำหรับสกัดตับของปลาชนิดที่มีน้ำมันในตับมาก และการใช้ตัวทำละลาย ซึ่งจะใช้สำหรับสกัดตับของปลาชนิดที่มีน้ำมันในตับน้อย

โครงสร้างน้ำมันตับปลา

ปริมาณที่ควรได้รับจากน้ำมันตับปลา

สำหรับการใช้น้ำมันตับปลา นั้นได้มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคมาเป็นเวลานานแล้ว โดยส่วนมากมักเป็นการนำไปใช้ในรูปแบบยาเสริมวิตามิน และวิตามินดี โดยปริมาณการใช้น้ำมันตับปลาเพื่อเสริมวิตามินเอ วิตามินดี และกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 แก่ร่างกายนั้นจะขึ้นอยู่กับคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์ แต่โดยทั่วไปไม่ควรรับประทานเกิน 30 มิลลิลิตร หากใช้เพื่อลดความดันโลหิต หรือ ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ไม่ควรบริโภคเกิน 20 มิลลิลิตรต่อวัน แต่ทั้งนี้ควรตรวจสอบระดับของวิตามินเอ และวิตามีดี ด้วยเพื่อป้องกันการบริโภควิตามินทั้ง 2 ชนิด มากเกินไป (วิตามินเอไม่ควรเกิน 1000 IU /วัน, วิตามินดีไม่ควรเกิน 5000/IU/วัน) ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ สำหรับหลักการใช้น้ำมันตับปลามาใช้ปฏิบัติมีดังนี้

  1. รับประทานตามฉลาก หรือ ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยไม่ควรใช้มากกว่าปริมาณที่กำหนด
  2. หลังการใช้ควรปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้ง และเย็น รวมถึงหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกแสงแดด
  3. หากลืมรับประทานตามเวลาที่กำหนด
  4. ในการรับประทานน้ำมันตับปลา ควรรับประทานน้ำมันปลาควรรับประทานพร้อมมื้ออาหารเพื่อลดการเกิดผลข้างเคียง และอาการที่ไม่พึงประสงค์

ประโยชน์และโทษน้ำมันตับปลา 

น้ำมันตับปลามีองค์ประกอบของสารอาหารที่ทั้งในกลุ่มวิตามิน และไขมันที่ สำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินดี (ซึ่งมีในปริมาณสูง) และกรดไขมันชนิดไม่มีอิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 (Omega-3) ดังนั้นจึงมีกานำน้ำมันตับปลามาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีการระบุสรรพคุณ และประโยชน์ ดังนั้นใช้เป็นยาเสริมวิตามินเอ และวิตามินดีในผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินทั้ง 2 ชนิด ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย เพิ่มภูมิต้านทางแก่ร่างกาย บรรเทาอาการปวดข้อ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด บำรุงสมอง ช่วยสมานแผล ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับไตกลีเซอไรด์ ลดการอักเสบจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง ลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยระบุว่าน้ำมันตับปลา ยังช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งอีกด้วย ส่วนโทษของน้ำมันตับปลานั้นจะเกิดจากการรับประทานน้ำมันตับปลาในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งในน้ำมันตับปลาจะมีวิตามินเอ วิตามินดีสูง และในการรับประทานมากเกินไปนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากพิษของวิตามินเอได้ เช่น ผิวแห้ง ปวดศีรษะ หิวน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ผมร่วง มีผลต่อระบบประสาท และทำให้ตับถูกทำลายได้  และเช่นเดียวกันกับวิตามินเอ การรับประทานน้ำมันตับปลามากเกินไปนั้นก็อาจทำให้เกิดภาวะวิตามินดีสะสมมากเกินไป ซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อระบบเลือดได้

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องน้ำมันตับปลา

สำหรับการนำน้ำมันตับปลา มาใช้นั้น เริ่มจากความสนใจต่อกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า-3 หลังจากการศึกษาในชาวเอสกิโมแถบกรีนแลนด์ โดยพบว่าชาวเอสกิโมมีอัตราการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดต่ำ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาหารที่บริโภคจึงมีการศึกษาวิจัยต่อมาพบว่าสัตว์น้ำ และปลาทะเลที่ชาวเอสกิโมบริโภคในชีวิตประจำวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า 3 ปริมาณสูง และกรดไขมันไม่อิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า 3 นี้ยังสามารถป้องกันโรค และภาวะผิดปกติบางชนิดได้ เช่น โรคข้อ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผลเปื่อย และยังมีความสำคัญต่อการพัฒนะการของร่างกาย ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยหลายฉบับในระยะต่อมาแล้วจึงมีการนำตับปลามาสกัดเอาน้ำมันมาใช้รับประทานจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยในด้านประโยชน์ และสรรพคุณของน้ำมันตับปลา ระบุว่า

ฤทธิ์ชะลอการเกิดริ้วรอยของน้ำมันตับปลา 

น้ำมันตับปลา จะช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ และพัฒนาเซลล์ที่มีหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ผิวมีการเสื่อมช้าลง และกระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์ที่ตาย รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างสารสำหรับสังเคราะห์คอลลาเจน ใต้ผิวหนังทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล เป็นการช่วยชะลอวัยการเกิดริ้วรอยก่อนวัย

            ฤทธิ์ช่วยบำรุงสมอง น้ำมันตับปลา มีส่วนผสมของกรดโอเมก้า-3 ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง โดยเฉพาะในเด็กทารก หรือ ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาให้มีเซลล์สมองที่มากพอต่อการพัฒนาสมอง ดังนั้นเซลล์สมองที่สร้างขึ้นมานั้นก็มีความแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้เด็กมีพัมนาการที่ดี เรียนรู้ไว 

            ฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง น้ำมันตับปลามีองค์ประกอบของกรดไขมันที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สควาลีน (Squalene) วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระที่เข้ามาในร่างกายให้ไม่สามารถทำลายเซลล์ และป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ จึงส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้

            ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน น้ำมันตับปลา จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune System) โดยน้ำมันตับปลา จะเข้าไปจับกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดข้อ น้ำมันตับปลาที่มีองค์ประกอบที่เป็นน้ำมันจะเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื่นด้วยน้ำมันตามข้อต่อภายในร่างกาย เพื่อลดแรงกระทบกันระหว่างกระดูก และลดการอักเสบที่เกิดขึ้นตามข้อต่อจึงช่วยลดอาการปวดตามข้อ โดยเฉพาะอาการปวดจากโรคข้อต่ออักเสบ

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

  1. การใช้น้ำมันตับปลาในขนาดที่เหมาะสมนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงได้โดยผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป เช่น ทำให้รู้สึกอยากเรอ มีกลิ่นปาก ลมหายใจมีกลิ่นคาวปลา แสบร้อนกลางอก หรือ มีเลือดกำเดาไหล
  2. สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานน้ำมันตับปลา เพราะมีปริมาณของวิตามินเอสูง อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กทารกในครรภ์ได้
  3. เนื่องจากน้ำมันตับปลามีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ซึ่งอาจส่งผลให้มีเลือดออกง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ที่กำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด และผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้น้ำมันตับปลา

เอกสารอ้างอิง น้ำมันตับปลา
  1. รศ.ดร.พญ.นลินี จงวิริยะพันธุ์. ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา. คอลัมน์กินได้กินดี.นิตยสารวาไรตี้สุขภาพดี @Ramaฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2556.
  2. สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมัน และไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.
  3. น้ำมันตับปลา .พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.podpad.com
  4. วินัย ดะห์ลัน.2539.กรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า-3 บทบาทใหม่ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม.รายงานประจำปี 2536-2539.,สมาคมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย.
  5. Tressler,D.K.,and Lemon, J.M.1951.Marine Products of Commerce.New York:Reinhold Publishing Co.,Ltd.
  6. Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.
  7. Hall, G.M.1992.Fish Processing Technology.Londom:Blackie Academic&Professional.
  8. Dyerberg J.,Bang.J.,H.O.,Stofferson, E., Moncads ,S., and Vane, J.R. 1978.Eicosapantaenoic acid and prevention of thrombosis and atheroscosis.Lancet.2(8081).:117-119.