กาหลง ประโยชน์ดีๆ และสรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย
กาหลง งานวิจัยและสรรพคุณ 13 ข้อ
ชื่อสมุนไพร กาหลง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เสี้ยวน้อย, เสี้ยวดอกขาว (ภาคเหนือ), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), กาแจ๊กูโด (นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata Linn
ชื่อสามัญ Orchid tree
วงศ์ LEUMINOSAE-CAESALPINIACEAE
ถิ่นกำเนิดกาหลง
กาหลงจัดเป็นพืชป่าชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อนของทวีปเอเชียซึ่งคาบเกี่ยวหลายประเทศตั้งแต่ อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยคนไทยรุ้จักคุ้นเคยกับกาหลงมานานหลายร้อยปีแล้ว ดังปรากฎอยุ่ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ และในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.2416 ของหมอปรัดเลโดยให้คำอธิบายไว้ว่า "กาหลง" ต้นไม้ไม่สู้โต ดอกขาวบ้านเป็นสี่กลีบ ไม่สู้หอม ใช้ทำยาบ้าง และในปัจจุบันสามารถพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณของทุกภาคของประเทศ
ประโยชน์และสรรพคุณกาหลง
- ช่วยลดความดันโลหิต
- แก้ปวดศีรษะ
- แก้อาเจียนเป็นเลือด
- แก้สมหะพิการ
- แก้เลือดออกตามไรฟัน
- แก้ไอ้
- ช่วยขับเสมหะ
- แก้ปวดศีรษะ
- แก้บิด
- รักษาแผลในจมูก
- แก้โรคสตรี
- แก้เสมหะ
- แก้ลักปิดลักเปิด
รูปแบบแและขนาดวิธีใช้กาหลง
ใช้แก้บิด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ โดยใช้รากแห้งหรือเปลือกต้นแห้ง 10-20 กรัม มาต้มกับน้ำครึ่งลิตรดื่ม ใช้แก้ลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ แก้โรคในสตรี โดยใช้เปลือกต้น หรือ เนื้อไม้มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ลดความดันโลหิต แก้ปวดศีรษะ และเลือดออกตามไรฟัน โดยนำดอกกาหลง สดมารับประทานครั้งละ 3-5 ดอก เป็นประจำ
ลักษณทั่วไปของกาหลง
กาหลง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบดอกเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวแบบเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือ รุปรีกว้างปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ ทำให้ปลายใบแหลมเป็นแฉกสองข้างโคนใบมนเว้าเป็นรุปหัวใจขอบใบเรียบโดยใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อนหลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนละเอียดสีขาวมีเส้นใบออกจากโคนใบอย่างเห็นได้ชัดประมาณ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลมและมีก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ส่วนหูใบลักษณะรียวแหลมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีแท่งยางค์เล็กๆ อยุ่ระหว่างหูใบ ดอกออกเป็นแบบช่อกระจะสั้นๆ บริเวณส่วนลำต้นและออกตรงข้ามกับใบที่อยุ่ปลายกิ่ง โดยจะมีดอกย่อยช่อละ 3-10 ดอก โคนก้านดอกมีใบประดับรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมขนาดเล็ก 2-3 ใบ ดอกเมื่อตูมเป็นรูปกระสวย ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เมื่อดอกบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โดยจะติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 เซนติเมตร ยาว 2.5-4 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม และแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ รูปรี หรือ รูปไข่กลับสีขาวมักมีขนาดไม่เท่ากันกลีบดอกมีลักษณะปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตรก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร มีเกสรเพศผุ้ 10 อัน ซึ่งก้านชูอับเรณูแต่ละอันจะยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 เซนติเมตร มีอับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มิลลิเมตร และมีก้านชูเกสรเพศเมียยาว 1 เซนติเมตร รังไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มิลลิเมตร มีก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 เซนติเมตร ฝักมีลักษณะแบน กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และยาว 10 เซนติเมตร เมื่อฝักยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดำ ด้านในฝักมีเมล็ดอยู่เรียงกันตามยาวเป็นช่องๆ มีฝักละ 10 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กรูปแบนหรือเป็นรูปขอบขนาน
การขยายพันธุ์กาหลง
สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยวิธีเพาะเมล็ดและการตอนกิ่งแต่ในปัจจุบันมักนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ดมากกว่าโดยมีวิธีการ คือ เริ่มจากนำเมล็ดที่แก่จัดที่แก่จัดที่ได้จากฝักสีดำของกาหลงมาตัดตรงปลายออกเล็กน้อยแล้วนำไปแช่ลงในถ้วยที่ใส่น้าอุ่นไว้เพื่อให้เมล็ดพองตัวขึ้นมาประมาณ 1 วัน จากนั้นนำเมล็ดลงในกระถางที่เตรียมดินปลูก (โดยจะใช้เป็นดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมัก) แล้วรดน้ำให้ชุ่มหน้าดิน หว่านเมล็ดลงไปในกระถางที่เตรียมไว้สำหรับปลูก โดยให้ส่วนสันที่เราขลิบออกตอนแรกคว่าหน้าลงไปในดิน แล้วค่อยๆ กดให้เมล็ดลึกลงไปเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกที หลังจากนั้นรอจนกว่าใบจริงเริ่มงอกแล้วจึงค่อยย้ายลงไปในแปลงปลูก สำหรับการดูแลรักษานั้น เนื่องจากกาหลง เป็นไม้ป่าจึงดูแลรักษาง่าย เป็นพืชทนแล้งได้ดี ชอบแสงแดดแบบเต็มวันและชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดีในปัจจุบันนิยมปลูกอยุ่ 2 สายพันธุ์ คือ กาหลงขาวและกาหลงแดง
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของกาหลงระบุไว้ว่าในใบพบสารสำคัญดังนี้ palmitic acid, gallic acid และ ursolic acid ส่วนลำต้นพบสารกลุ่ม pnenolics, saponins, flavonoids, anthocyanoside และ steroids ฯลฯ ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบของกาหลง ที่มีลักษณะสีเหลืองเขียวมีกลิ่นฉุนพบสารสำคัญ เช่น Phytol, B-caryophyllene, a-Humulene, Caryophyllene oxide, a-Cadinol, Octacosane, a-Muurolol, Farnesol
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกาหลง
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของกาหลง ระบุว่า มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านอาการท้องร่วง ต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ ต้านพยาธิ และมีฤทธิ์ป้องกันตับ อีกด้วย
การศึกษาทางพิษวิทยาของกาหลง
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในการเก็บดอกกาหลงมาใช้ประโยชน์นั้น ควรระวังบริเวณใบ และกิ่งของต้นกาหลงเนื่องจากบริเวณจะมีขนอ่อนๆ ขึ้นอยู่ ซึ่งหากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังได้ สตรีมีครรภ์และเด็กไม่ควรใช้กาหลงเป็นสมุนไพร เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยด้านความเป็นพิษรวมถึงยังไม่มีหลักฐานใดที่ระบุได้ว่า สมุนไพรชนิดนี้จะไม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หากจะใช้กาหลง เป็นสมุนไพร ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพร ชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่พอเหมาะที่กำหนดไว้ในตำรับตำราต่างๆ รวมถึงไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน จนเกินไปเพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
เอกสารอ้างอิง กาหลง
1.ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์ “กาหลง (Kalong) “ หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1 หน้า 47.
2.เดชา ศิริภัทร.กาหลง; มิใช่หลงเฉพาะเพียงกา.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 305. กันยายน 2547
3. ราชบัณฑิตยสถาน.2538 อนุกรมวิธานพืช อักษร ก.กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์
4. Nag Sadipa, Anirban Paul Ritu Parna Da Phytocmical analysis of some medici International Journals of Scicen and Publications 3( 4 ) ;1648-1651.
5. Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1984. Flora of Thailand ( Vo 1.4:1 ) . Bangkok;TISTR Press.
6. Phansri K, Sarnthima R, Thammasisrirak S, Boo Khammuang S. 2011. Antibacterial activity acuminate L, seed protein exteact with low activity against human erythrocytes. Cl Journal of Science 38 ( 2 ) ;242-251.
7. J.M.Duarte-Almeida, G. Negri and A, Salatino, Biochem. Syst. Ecol..32, 747 ( 2004 )
8. Sebastian D, 2018 . Pharmacognostic standaedization and bioassay-guided fractionation of Bauhinia acuhinia acuninata in relation to anti-lung cancer activity. University Madras.
9. V.Vasudevan, J, Mathew, S. Bady. Chemicat Composition of Essential Oil of Bauhinia acuminate Leaves. Asian Joumal of Chemistry; 24 ( 4 ). 2329-2330. ( 2013 )
10 .Islam MN, Fahad AB, 2014. In-vivo Antidiarrheal an In-vitro
11. Khan MF, Shilpi RI, Rashid R, Rashid MA. 20 antiox idant, cytotoxic and membrane activities of Bauhinia acuminate L, I Pharmaceutical Journal, 17(1);99-101.
12. Islam M, Fahad M, Hossain M, Mamun M, Ferdous M, 2014 In vitro Cytotoxic and thrombolytic activity of methanolic extract of Bauhinia acumina Leaves. UK Journal of Pharmaceutical and Bioscine ces, 2(2);4-6.