เชอร์รี่ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

เชอร์รี่ งานวิจัยและสรรพคุณ 15 ข้อ

ชื่อสมุนไพร เชอร์รี่
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เชอร์รี่หวาน (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus avium Linn. (เชอร์รี่รสหวาน), Prunus cerasus Linn. (เชอร์รี่รสหวานอมเปรี้ยว)
ชื่อสามัญ Cherry
วงศ์ Rosaceae

ถิ่นกำเนิดเชอร์รี่

เชอร์รี่จัดเป็นผลไม้ในเขตหนาว (Stone fruit) โดยเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปออสเตรเลีย ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของเชอร์รี่ คือ ป่าประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ โดยทั่วไปเชอร์รี่ สามารถแบ่เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเชอร์รี่หวาน (Prunus aveum L.) และกลุ่มเชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว (Prunus cerasus L.) สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือของประเทศ บริเวณเชิงเขาที่มีอากาศหนาวเย็น

ประโยชน์และสรรพคุณเชอร์รี่

  1. ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กในการสร้างกระดูกรวมถึงการเจริญเติบโตของฟันและผิวหนัง
  2. ช่วยสร้างเซลล์กระดูกและฟัน
  3. ช่วยสร้างเซลล์ผิวหนัง
  4. ช่วยในการสมานตัวของแผล
  5. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง
  6. ลดการผลิตเมลานินช่วยให้ผิวขาวขึ้น
  7. ลดการเกิดริ้วร้อยบนใบหน้า
  8. ช่วยในการลดความเครียด 
  9. ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  10. ช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด
  11. ช่วยลดอาการอักเสบ
  12. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  13. ช่วยลดการติดเชื้อ
  14. ช่วยเสริมสร้างระบบประสาท
  15. ช่วยพัฒนาสายตาและเสริมสร้างการมองเห็น

เชอร์รี่

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

การใช้ประโยชน์ของเชอร์รี่ ส่วนใหญ่จะเป็นการรับประทานทั้งผลไม้สดและแปรรูปเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เช่น แคปซูลผงเชอร์รี่ หรือสารสกัดจากผลเชอร์รี่ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสกัดเอาสารออกฤทธิ์ที่สำคัญจากส่วนต่างๆ ของเชอร์รี่มาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์เช่น ครีมทาใบหน้า โลชั่นบำรุงผิว หรือเซรั่มบำรุงผิวหน้าและผิวกาย เป็นต้น ซึ่งปริมาณการใช้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสารออกฤทธิ์ที่เป็นส่วนผสมและสูตรผสมของแต่ละบริษัท


ลักษณะทั่วไปเชอร์รี่

เชอร์รี่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มขนาดเล็กถึงกลาง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มลำต้นกลม เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเนื้อแข็งเหนียว

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับใบ เป็นรูปไข่ สีเขียว ยาวรีกว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ขอบใบหยัก ก้านใบยาว

           ดอก ออกเป็นช่อ บริเวณซอกใบ ซอกกิ่ง และปลายกิ่ง แต่ละช่อ มีดอกย่อยโดยแต่ละช่อมีลักษณะเป็นรูปแตร กลีบดอกมีสีขาวหรือสีชมพู แล้วแต่สายพันธุ์ มีก้านช่อดอกยาว

           ผล เป็นผลเดี่ยว ออกเป็นพวง มีลักษณะทรงกลมเล็กๆ หรือ รูปแอปเปิ้ลเล็กๆ ผิวเปลือกเรียบลื่น มีก้านผลสีเขียยาว ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีส้มแดง สีแดงเข้ม หรือสีม่วง แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีเนื้อเป็นสีแดงนุ่มฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม รสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว ตามสายพันธุ์

           เมล็ด มีลักษณะกลมเล็กสีน้ำตาล เมล็ดแข็ง

เชอร์รี่

เชอร์รี่

การขยายพันธุ์เชอร์รี่

เชอร์รี่เป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวที่มีความชื้นปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่ในปัจจุบันจะใช้วิธีการตอนกิ่งเนื่องจากจะได้ผลผิตเร็ว (ประมาณ 8 เดือน) และเชอร์รี่ยังเป็นไม้ผลที่ดูแลรักษาง่ายไม่ค่อยมีศัตรูธรรมชาติ โดยวิธีการตอนกิ่งสามารถทำได้เช่นเดียวกบการตอนกิ่งไม้ยืนต้นอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ส่วนระยะปลูกที่นิยมปลูกกันคือ ระยะ 3x3 และ ระยะ 4x4 เมตร โดยก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก จำนวน 3-5 กิโลกรัม/ต้น และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 จำนวน 300-400 กรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยในช่วงที่ต้องการให้ออกดอกออกผล ก็สามารถทำได้โดยใส่บริเวณรอบทรงพุ่มของเชอร์รี่ ในอัตรา 500 กรัมต่อต้น แล้วให้น้ำตามหลังจากนั้นประมาณ 35-45 วัน ก็จะออกดอกและติดผล

องค์ประกอบทางเคมีเชอร์รี่

มีรายงานการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของเชอร์รี่ ระบุว่าพบสารที่สำคัญหลายชนิด  เช่น Beta-carotene, lycopene, lutein, xeaxanthin, anthocyanin, gallic acid, P-coumaric acid, ferulic acid, Chlorogenic acid P-hydroxybenzoic acid, Quercetin เป็นต้น นอกจากนี้เชอร์รี่ยังมีคุณค่าโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่หวาน (สีแดง) 100 กรัม

พลังงาน

63

กิโลกรัม

คาร์โบไฮเดรต

16

กรัม

น้ำ

82.25

กรัม

น้ำตาล

12.8

กรัม

เส้นใย

2.1

กรัม

ไขมัน

0.2

กรัม

โปรตีน

1.06

กรัม

วิตามิน เอ

3

ไมโครกรัม

เบตาแคโรทีน

38

ไมโครกรัม

ลูทีนและเซแซนทีน

85

ไมโครกรัม

วิตามิน บี1

0.027

มิลลิกรัม

วิตามิน บี 2

0.033

มิลลิกรัม

วิตามิน บี 3

0.154

มิลลิกรัม

วิตามิน บี5

0.199

มิลลิกรัม

วิตามิน บี 6

0.049

มิลลิกรัม

วิตามิน บี 9

4

ไมโครกรัม

โคลีน

6.1

มิลลิกรัม

วิตามิน ซี

7

มิลลิกรัม

วิตามิน เค

2.1

ไมโครกรัม

แคลเซียม

13

มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก

0.36

มิลลิกรัม

แมกนีเซียม

11

มิลลิกรัม

แมงกานีส

0.07

มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส

21

มิลลิกรัม

โพแทสเซียม

222

มิลลิกรัม

โซเดียม

0

มิลลิกรัม

สังกะสี

0.07

มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่เปรี้ยว (สีแดง)

พลังงาน

50

กิโลแคลอรี่

คาร์โบไฮเดรต

12.2

กรัม

น้ำตาล

8.5

กรัม

เส้นใย

1.6

กรัม

ไขมัน

0.3

กรัม

โปรตีน

1

กรัม

วิตามิน เอ

64

ไมโครกรัม

เบตาแคโรทีน

770

ไมโครกรัม

ลูทีนและซีแซนทีน

85

ไมโครกรัม

วิตามิน บี1

0.03

มิลลิกรัม

วิตามิน บี2

0.04

มิลลิกรัม

วิตามิน บี3

0.4

มิลลิกรัม

วิตามิน บี5

0.143

มิลลิกรัม

วิตามิน บี6

0.044

มิลลิกรัม

วิตามิน บี9

8

ไมโครกรัม

โคลีน

6.1

มิลลิกรัม

วิตามินซี

10

มิลลิกรัม

วิตามินเค

2.1

ไมโครกรัม

แคลเซียม

16

มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก

0.32

มิลลิกรัม

แมกนีเซียม

9

มิลลิกรัม

แมงกานีส

0.112

มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส

15

มิลลิกรัม

โพแทสเซียม

173

มิลลิกรัม

โซเดียม

3

มิลลิกรัม

สังกะสี

0.1

มิลลิกรัม

โครงสร้างเชอรรี่

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของเชอร์รี่ 

มีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของเชอร์รี่ ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังนี้

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  มีการศึกษาวิจัยโดยให้ผู้สูงอายุ 37 คน ดื่มน้ำเชอร์รี่รสหวานอมเปรี้ยว โดยปริมาณ 480 มิลลิลิตร ต่อวัน ติดต่อกันนาน 12 พบว่าผู้ทดลองมีค่าความดันโลหิตตัวบน และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีลดลง อย่างมีนัยสำคัญ

           ฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพความจำ มีงานศึกษาวิจัยหนึ่งซึ่งให้ผู้สูงอายุ 37 คน ดื่มน้ำเชอร์รี่รสหวานอมเปรี้ยวเป็นประจำพบว่า ช่วยเพิ่มความจำและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ มีการทดสอบประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย (Superoxide dismutase SOD; catalase, CAT; glutayhione peroxidase; GPx) lipid peroxidation และคุณสมบัติต้านการอักเสบ ของน้ำผลไม้เชอร์รี่เปรี้ยวที่ได้จาก พันธ์ autochhonous โดยทดสอบศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในเนื้อเยื่อของหนูเม้าส์ (เลือด ตับ และสมอง) และคุณสมบัติต้านการอักเสบในไมโครฟาจที่กระตุ้นคอลลาเจน ซึ่งแบ่งหนูออกเป็นกลุ่มควบคุม (เลี่ยงด้วยอาหารเม็ด) และกลุ่มทดลองที่ 2 (เลี้ยงด้วยอาหารเม็ด) เติมน้ำเชอร์รี่ 10% และ 50% พบว่าหนูทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารเมดและน้ำเม็ดและน้ำเชอร์รี่ 10% และ 50% แสดงฤทธิ์ต้านของน้ำเชอร์รี่ ผ่าน ตับ เลือด และตับที่เพิ่มข้น และลดความเข้มข้นของ LPO และยังยับยั้ง COX-2

           ฤทธิ์รักษาภาวะนอนไม่หลับ  มีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้สูงอายุจำนวน 6 คน ที่มีปัญหานอนไม่หลับโดยให้ดื่มน้ำเชอร์รี่ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผลลัพธ์พบว่าสาระสำคัญจากน้ำเชอร์รี่ช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้นานกว่าเดิมและมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

เชอร์รี่

การศึกษาทางพิษวิทยาของเชอร์รี่

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงความเป็นพิษของเมล็ดเชอร์รี่พบว่ามีสารพิษในกลุ่มไซยาโนจินิคกลัยโคไซด์ (Cyanojinic glycosides)

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ผู้ที่มีอาการแพ้เชอร์รี่ ไม่ควรรับประทานเชอร์รี่ เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรงจนเสียชีวิตได้ มีรายงานว่าสาร เควอซิทิน (Quercetin) ที่พบในน้ำเชอร์รี่ เข้าไปทำปฏิกิริยากับ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ดังนั้น ผู้ที่กำลังใช้ยาจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคเชอร์รี่ การรับประทานเมล็ดของเชอร์รี่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สามารถเกิดพิษได้ เพราะการเคี้ยวหรือบด เมล็ด จะทำให้เกิดการผลิตไฮโดรเจนไซยาไนด์โดยอัตโนมัติ หากพิษค่อนข้างน้อยอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน วิตกกังวล และอาเจียนได้     
 

เอกสารอ้างอิง เชอร์รี่
  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และ ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. เชอร์รี่ในผลไม้ 111 ชนิด; คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 69.
  2. ดร.ภญ. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. ผักผลไม้...ที่ควรระวังในผู้ป่วยเรื้อรัง. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. พืชพิษ. ในรุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุลและคณะ (บรรณาธิการ). สมุนไพร: ยาไทยที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัททอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.
  4. เชอร์รี่ ผลไม้ที่กินง่ายและประโยชน์ที่ยิ่งกว่า. พบแพทย์ ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http:// www.pobpad.com
  5. Kelly D.S., Rasooly R., Jacob R.A., Kader A.A., Mackey B.E. Consumption of bing sweet cherries lowers circulating concentrations of inflammation markers in healthy men and women. Nutr 2006; 981-986.
  6. Kris eterton P., Eckel R.H., Howard B.V., St. Jeor S., Bazzarre T.L. Benefits of a Mediteranean-Style, National Cholesterol Education Program/American Heart Association Step I Dietary pattern on Cardiovascular Disease. Circulation. 2001; 103: 1823-1825.
  7. Torres N., Guevara-Cruz M., Velasques-Villages L.A., Tovar A.R. Nutrition and Authorosclrosis. Arch. Med. Res. 2015;48:408-426.