แคบ้าน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

แคบ้าน งานวิจัยและสรรพคุณ 24ข้อ
 

ชื่อสมุนไพร แคบ้าน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  ดอกแค,แค,แคแกง (ทั่วไป),แคดอกขาว,แคดอกแดง(ภาคกลาง),แก,ดอกแก,ดอกแกขาว,ดอกแกแดง(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์   Sesbania grandifloraDesv.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Sesbania grandiflora (L.) Pers
ชื่อสามัญ  Sesban, Sesban white dragon tree , Flamingo bill tree, Vegetable humming bird.
วงศ์   FABACEAE - LEGUMINOSAE

 

ถิ่นกำเนิดแคบ้าน

สำหรับแคบ้านเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวัน-ออกเฉียงใต้ เช่นในประ-เทศอินโดนีเชีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยนั้นถือว่าแคบ้านเป็น พืชพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปทั้งในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะพบ " แคบ้าน " ขึ้นตามป่าละเมาะหรือริมถนน รวมถึงมีการปลูกตามคันนาและบริเวณบ้านเรือนในชนบท ทั้งนี้แคบ้านเจริญเติบโตได้ดีทั้งในที่แห้งแล้งและชุ่มชื้นจึงสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่  ปัจจุบันมีการปลูกในทวีปแอฟริกา ประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐฟลอริดาและฮาวาย) ประเทศเม็กซิโกและประเทศแถบอเมริกาใต้  ส่วนในประเทศไทย ก็มีแหล่งที่มีการปลูกต้นแคเพื่อการค้าเช่นกัน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี และกรุงเทพฯ เป็นต้น

แคบ้าน
ประโยชน์และสรรพคุณแคบ้าน

  • ช่วยคุมธาตุในร่างกาย
  • ช่วยแก้อาการปวดฟัน
  • รักษารำมะนาด(โรคปริทันต์อักเสบ)
  • แก้บิด
  • แก้ท้องเดิน ท้องร่วง
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด
  • แก้ไข้หัวลม
  • แก้ปวด
  • ช่วยลดไข้
  • ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  • ใช้แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว
  • ช่วยให้ระบาย
  • แก้ฟกช้ำ
  • แก้มูกเลือด
  • แก้อักเสบ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยบรรเทาอาการไอ
  • แก้โรคตาบอดกลางคืน
  • ช่วยขับพยาธิ
  • รักษาโรคเก๊าท์
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • ช่วยบำรุงตับ
  • รักษาโรคโลหิตจาง


           แคคนไทยนิยมกินคือ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และฝักอ่อน ยอดอ่อน โดยทุกภาคกินแคเป็นผักและมักปลูกแคไว้ตามรั้วบ้านหรือสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งนิยมลวกน้ำร้อนใช้กินร่วมกับน้ำพริก ดอกอ่อนนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด มักจะเอาเกสรตัวผู้ออกจากดอกแคก่อนใช้ประกอบอาหารเพื่อลดความขม ชาวอีสานนิยมนำดอกและยอดอ่อนมานึ่ง หรือย่าง และนำดอกแคมาปรุงอาหารประเภทอ่อมได้อีกด้วย  ส่วนในต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเชีย ลาว และฟิลิปปินส์ ก็นิยมกินดอกและยอดอ่อนเช่นกัน โดยใช้กินสดหรือนึ่งในสลัดผัก ส่วนฝักใช้กินเหมือนถั่วฝักยาว นอกจากนี้ยังมีการนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกเช่น ใบนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ลำต้นนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูหรือใช้ทำฟีนได้ แคมีจุลินทรีย์ทีปมรากและเมื่อจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศผลิตเป็นปุ๋ย แคจึงเป็นพืชช่วยปรับปรุงดินอีกด้วย นอกจากนี้ในประเทศอินเดียยังมีการให้ใบอ่อนของแคเป็นอาหารเสริมบีตา-แคโรทีนอยด์ พบว่าบุคคลที่ขาดแคโรทีนอยด์ หลังจากได้รับอาหารเสริมใบอ่อนแคบ้าน (เรียกอะกาทิ-agathi) จะมีปริมาณแคโรทีนในซีรั่มเพิ่มในวันที่ 7

 

ดอกแค

 

ลักษณะทั่วไปแคบ้าน 

แคบ้าน " จัดเป็นไม้เนื้ออ่อนและเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นมีความสูงประมาณ 3-10เมตร เป็นไม้โตเร็วและ มีกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นสีเทามีรอยขรุขระหนา  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ใบสีเขียว กว้างประมาณ 1-1.5เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-4เซนติเมตร โดยจะออกเรียงเป็นคู่ 30 – 50 ใบ ขนานกัน ดอก มีลักษณะคล้ายดอกถั่วฝักยาว ออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 2-4 ดอก ดอกมีสีขาวหรือสีแดง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และมีความยาวดอก 6-10ซม. กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือรูปถ้วย ผลเป็นฝักสีเขียนแบนยาว ประมาณ 8-15ซม. ฝักเมื่อแก่จะแตกออก และภายในมีเมล็ดแคอยู่มาก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด


การขยายพันธุ์แคบ้าน

แคบ้านสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด โดยการนำเมล็ดที่แก่จัดมาแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วจึงนำมาเพาะในกระบะเพาะหรือถุงดำ จนต้นกล้าออกสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร จึงนำลงปลูกโดยหลุมปลูกควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ประมาณ 30x30x30 เว้นระยะระหว่างต้นประมาณ 1.5 เซนติเมตร และระหว่างแถวประมาณ 2 เมตร และหลังจากปลูกเสร็จการปักหลักและมัดเชือกยึดกับต้นกล้าที่ปลูกไว้จนกว่าจะสูงประมาณ 1-1.5 เมตร และเมื่อต้นแคบ้านมีความสูงมากเกิน 2 เมตร ให้ตัดให้เหลือ 2 เมตร เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว สำหรับการเก็บเกี่ยวนั้น เมื่อต้นแคบ้านมีอายุได้ 3-4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ทั้งนี้ ต้นแคมีอายุราว 20 ปี แต่ถ้าเก็บใบกินบ่อยๆ จะแตกใบอ่อนบ่อยครั้งและต้นจะมีอายุสั้นลง

แคบ้าน
องค์ประกอบทางเคมี

ในดอกแคบ้านมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น flavonoid , Tannin , Triterpenoid saponin , canavanine , α-glucosidase , anthocyanin , gallic acid , caffeic acid , kaempferol , quercetin , rutin เป็นต้น นอกจากนี้ ดอกและยอดแคบ้านยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ของแคบ้าน (100 กรัม)

สารอาหาร

ยอด

ดอก

หน่วย

พลังงาน

โปรตีน

ไขมัน

คาร์โบไฮเดรต

แคลเซียม

ฟอสฟอรัส

เหล็ก

เบต้าแครอทีน

แมกนีเซียม

โพแทสเซียม

วิตามิน บี 1

วิตามิน บี 2

วิตามิน บี 3

วิตามิน บี 9

วิตามิน ซี

97

8.3

2.6

10.1

395

40

4.1

372.85

-

-

0.28

0.33

2

-

19

 

33

2.1

0.2

5.6

2

57

1.2

0.51

12

184

0.09

0.49

0.5

102

35

กิโลแคลลอรี่

กรัม

กรัม

กรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

ไมโครกรัม

    

รูปแบบองค์ประกอบทางเคมีของแคบ้าน
   
โครงสร้างแคบ้าน

                ที่มา : Wikipedia

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ โดยใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน) ใช้ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ หรือใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว  และอาจจะใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

ใช้รักษารำมะนาดด้วยการใช้เปลือกแคนำมาต้มผสมเกลือให้เค็มจัดแล้วนำมาอม

ช่วยรักษาปากเป็นแผล แก้อาการร้อนในจนปากลิ้นเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแคชั้นในสุดที่มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ นำมาเคี้ยว 3-5นาทีแล้วคายทิ้ง โดยทาวันละ 2ครั้ง 

ช่วยแก้ตานขโมย ด้วยการใช้แคทั้งห้าส่วนอย่างละ 1กำมือ แล้วใส่น้ำพอท่วมยา หลังจากนั้นต้มให้เดือดประมาณ 5-10นาที แล้วนำมากินครั้งละ 1ช้อนโต๊ะ วันละ 3ครั้ง นานประมาณ 15วัน

ใช้ทำเป็นยาล้างแผลหรือใช้ ชะล้างบาดแผลสด ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเดือด 15นาที ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ล้างแผลวันละ 3ครั้ง

ช่วยรักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้เปลือกต้นแคแก่ ๆ นำมาตากแห้งแล้วฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ใช้ทาแผลเช้าเย็น จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น

           ส่วนประเทศอินเดียมีรูปแบบและขนาดวิธีการใช้แคบ้านเป็นสมุนไพร ดังนี้ รากสด 20กรัม เคี่ยวในน้ำ 1ลิตร 30นาที กรองเอารากออกดื่มแก้อาการอักเสบ  เทน้ำเดือด 1ลิตรท่วม  ใบสด 20กรัม ทิ้งไว้ 15นาทีกรองเอาใบแคออก ดื่มแก้โรคตาบอดกลางคืน ขับพยาธิ บรรเทาอาการลมบ้าหมูและโรคเกาต์  เทน้ำเดือด 1ลิตรท่วม  ดอกแคสด 20 กรัม ทิ้งไว้ 15นาทีกรองเอาดอกแคออก ดื่มแก้หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ และบำรุงตับ  ส่วนฝักสด 20กรัม เคี่ยวในน้ำ 1ลิตร 30นาที กรองเอาฝักออกดื่มเพื่อระบายท้อง บรรเทาอาการไข้ ปวด เลือดจาง ช่วยความจำและป้องกันการเกิดเนื้องอก ใบแคตำพอกบรรเทาอาการช้ำบวม น้ำคั้นรากแคเจือน้ำผึ้งใช้ขับเสมหะลดอาการไอ โดยสูตรจากประเทศอินเดียทั้งหมดนี้ จะใช้ดื่มก่อนอาหาร เช้า เย็น 1ชั่วโมงและก่อนนอน ซึ่งจะเตรียมแต่พอดื่มวันต่อวันเท่านั้น


การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ต้านเชื้อรา สารสกัดน้ำจากทั้งต้น ความเข้มข้น 0.3 มล./หลุม สารสกัดเฮกเซน สารสกัดเอทานอลและสารสกัดเอทิลอะซีเตทจากเปลือกต้น ไม่ระบุความเข้มข้น ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans

           ฤทธิ์ปกป้องตับ มีผลการศึกษาวิจัยของประเทศอินเดียพบว่า สารสกัดเอ-ทานอลของใบแคมีฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับในหนูทดลองที่ได้รับยาเกินขนาดโดยพบปริมาณเอนไซม์ แอสพาร์เทตทรานส์อะมิเนส อะลานีนทรานส์อะมิเนส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสต่ำในหนูที่รับยาและสารสกัดใบแคบ้าน ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวมีปริมาณสูงในหนูซึ่งรับยาเกินขนาดเนื่องจากตับถูกทำลาย
นอกจากนี้หนูที่ได้รับยาและสารสกัดใบแคมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอล ฟอสโฟไลพิด และกรดไขมันอิสระต่ำกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับยาอย่างเดียวและพบว่าสารสกัดใบแคทำให้ปริมาณสารต้าน อนุมูลอิสระในกระแสเลือดหนูกลับสู่สภาวะปกติ ขณะที่ปริมาณสารดังกล่าวในหนูที่รับยามีปริมาณต่ำผลการวิจัยนี้เป็นข้อสนับสนุนข้อมูลแพทย์ทางเลือกที่ใช้ใบแคบำรุงตับและแก้ความผิดปกติของตับได้อย่างดี


การศึกษาทางพิษวิทยา

การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดน้ำจากทั้งต้น ไม่ระบุขนาดและวิธีที่ให้ เป็นพิษต่อหนูถีบจักร ขณะที่ใบแค ไม่ระบุสารสกัด ขนาดและวิธีที่ให้ ไม่พบความเป็นพิษต่อหนูขาว สารสกัด 50% เอทานอลจากใบ ขนาด 10 ก./กก. ไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร เมื่อให้โดยการกรอกเข้าทางปาก และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 

พิษต่อเซลล์ สารสกัด 80% เอทานอลจากใบ เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ Hela โดยมีค่า CD50 เท่ากับ 30 มคก./มล.


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. การนำดอกแคบ้านมาใช้ทำเป็นอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อน จะช่วยลดความขมได้
  2. การรับประทานดอกแคบ้านในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้
  3. ในการใช้แคบ้าน เป็นยาสมุนไพรไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนดตามตำรับยาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือ ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้แคบ้านเป็นสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ แต่หากเป็นการรับประทานเพื่อเป็นอาหารในปริมาณไม่มากก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและโรคที่เป็นอยู่

 

เอกสารอ้างอิง

  1. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.ผักพื้นบ้านอาหารต้านโรค เล่ม.1 พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.หน้า 39-40
  2. รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ.แคดับพิษร้อนถอนพิษไข้.คอลัมน์เรื่องเด่นจากปก.นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่335.มีนาคม2550
  3. ดร.วิจิตรา เหลืองตระกูล.รายงานการวิจัย การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของดอกแคและการใช้ประโยชน์เชิงอาหารเพื่อสุขภาพ.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประจำปีงบประมาณ 2559.
  4. แค.สมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. ราชันย์ ภู่มา และ สมราน สุดดี. (บรรณาธิการ). (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ส้านักงานหอพรรณไม้ ส้านักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.https://medthai.com/ดอกแค/
  6. แคดอกขาว แคดอกแดง.กลุ่มยาลดไข้ ลดความร้อน.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.rspg.or.th/
  7. Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P.  Study on toxicity of Thai medicinal plants.  Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.
  8.   Fojas FR, Barrientos CM, Capal TV, et al.  Preliminary phytochemical and pharmacological studies of Sesbania     grandiflora (L.) Pers.  Philippines J Sci 1982; 111(3/4):157-81.
  9. GOWRI, S. 2010. Free radical scavenging and antioxidant activity of leaves from agathi (Sesbania grandiflora) (L.) Pers. American-Eurasian Journal of Scientific Research, 5 (2), 114-119
  10. Srinivasan D, Nathan S, Suresh T, Perumalsamy PL.  Antimicrobial activity of certain Indian medicinal plants used in folkloric medicine.  J Ethnopharmacol 2001; 74:217-20.
  11. Devadatta SC, Appanna RC.  Availability of calcium in some of the leafy vegetables.  Proc Indian Acad Sci Ser B 1954;39:236-42.
  12. Mackeen MM, Ali AM, El-Sharkawy SH, Manap MY, Salleh KM, Lajis NH, Kawazu K.  Antimicrobial and cytotoxic properties of some Malaysian traditional vegetables (Ulam).  Int J Pharmacog 1997;35(3):174-8.
  13. Moesdarsono M, Yulinah E, Kusmardiyani S.  Antimicrobial activity of various extracts prepared from Sesbania  grandiflora bark.  International Congress and 49th Annual Meeting of the Society of Medicinal Plant Research,  Erlanger, Germany, 2-6 September 2001:108.