พรอพอลิส

พรอพอลิส

ชื่อสามัญ Propolis

โครงสร้างพรอพอลิน

ประเภทและข้อแตกต่างของพรอพอลิส

พรอพอลิส (propolis) หรือกาวผึ้ง เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารที่ผึ้งงานที่มี อายุ 22 วัน ขึ้นไปรวบรวมมาจากยางไม้ตามส่วนต่างๆ ของพืช เป็นส่วนที่แตกของเปลือกไม้ ชั้นใบไม้ ใบอ่อน หรือ ยางที่เคลือบอยู่ บริเวณตาใบแล้วนำมาผสมกับเอนไซม์ในน้ำลายของผึ้งที่หลั่งออกมาจากส่วนหัว และส่วนท้อง สำหรับคำว่า "propolis" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดย pro หมายถึง ป้องกัน ส่วน -polis หมายถึง เมืองรวมแล้วหมายถึง ป้องกันเมือง ซึ่งคำว่าเมืองในที่นี้ก็ คือ รังผึ้งนั่นเองเพราะหน้าที่ที่สำคัญของพรอพอลิส สำหรับผึ้งก็คือ ใช้อุดรูรั่วที่รัง และป้องกันไม่ให้ศัตรูหรือเชื้อโรคเข้ามารุกรานในรังได้

โครงสร้างพรอพอลิน

            นอกจากนี้องค์ประกอบที่สำคัญของพรอพอลิสจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ เรซินของพืช สารหลั่งจากผึ้ง และส่วนประกอบอื่นๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น เรซินร้อยละ 50 ไขผึ้งร้อยละ 30 น้ำผึ้งหอมระเหยร้อยละ 10 ละอองเกสรดอกไม้ร้อยละ 5 และสารอื่นๆ ร้อยละ 5 ส่วนประเภทของพรอพอลิสนั้นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของพรอพอลิส ที่ผึ้งสร้างขึ้นตามภูมิประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด เนื่องจากชนิดของพืชที่ผึ้งเก็บยางเหนียวมาสร้างจะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศทำให้สารเคมีที่มีอยู่ในพรอพอลิสแตกต่างกันไปด้วย และฤดูที่ผึ้งเก็บพรอพอลิสก็มีส่วนทำให้องค์ประกอบทางเคมี ลักษณะทางกายภาพ และฤทธิ์ทางชีพภาพของพรอพอลิสเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งลักษณะภายนอกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ สี เช่น พรอพอลิสที่ได้จากประเทศไทย มีลักษณะสีน้ำตาลดำ ส่วนพรอพอลิสที่ได้จากประเทศบราซิลมีหลายสีตั้งแต่สีน้ำตาล สีเขียว จนถึงสีแดง เป็นต้น naringenin

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของพรอพอลิส

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า พรอพอลิสเป็นสารเหนียวที่ได้จากผึ้ง ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางยาตั้งแต่ยุคกรีกแล้ว ซึ่งวิธีการเตรียมสารสกัดพรอพอลิส ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในตำรับยาพื้นบ้าน มีขั้นตอนง่ายๆ เริ่มจากกำจัดไขภายนอกออกด้วยการนำไปแช่น้ำเย็น จากนั้นนำมาผึ้งให้แห้งหากมีไขภายนอกไม่มากนักก็ข้ามขั้นตอนแรกไปได้ ขั้นตอนที่สอง นำพรอพอลิสไปแช่ใน 70% เอทานอล ขั้นตอนสุดท้ายนำสารสกัดที่ได้ไปกรองเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนชิ้นเล็กๆ ออกไปให้หมด ซึ่งสารกสัดที่ได้อาจเรียกว่าบาลซัม (balsam) หรือ อาจจะใช้ตัวทำละลายชนิดอื่นที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายแทนเอทอนอลก็ได้ ส่วนพรอพอลิสรูปแบบที่บริโภคได้สะดวก โดยนำพรอพอลิสที่ได้ไปทำให้แข็งตัวก่อนแล้วค่อยบดเป็นผงจากนั้นนำไปบรรจุแคปซูล หรืออาจนำไปผสมกับอาหาร และเครื่องดื่ม เพื่อให้บริโภคง่ายขึ้นก็ได้ และสำหรับองค์ประกอบทางเคมีของพรอพอลิสนั้น ส่วนใหญ่จะพบเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ได้แก่ ฟลาโวนส์ (flavones) และฟลาวาโนนส์ (flavanones) เป็นต้น เนื่องจกาพรอพอลิส ได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังพบอนุพันธ์ของฟลาโวนอยด์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นไปได้เพราะสารต่างๆ ที่ผึ้งเก็บมาจากพืชอาจถูกเปลื่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีได้โดยอาศัยเอนไซม์จากน้ำลายของผึ้งระหว่างขั้นตอนการเก็บเรซินจากพืช และนอกจากสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์แล้ว ยังพบสารกลุ่มอื่น เช่น สารประกอบฟินอลิก (phenolic compounds) เอสเทอร์ (ester) คีโตน (ketone) ฟินอลิกแอลดีไฮ (pluenalic aid ehyd) สเตอรอล (sterol) และเทอร์ปีน (terpenes) เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะแตกต่างกันตามชนิดของพืชในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันดังตาราง

ชนิดของพรอพอลิส  ชนิดของพืช และสารสำคัญที่พบในพรอพอลิสแต่ละชนิด

พรอพอลิส ชนิดของพืช สารสำคัญ
European propolis(Poplar type) Populus Nigra Flavonoid aglycone, Phenolic acid, Phenolic ester
Brazillian propolis Baccharis dracunculiforia Prenylated derivatives ofp-coumaric acid,Prenylated derivatives of acetophenone,Dipertenes, Lignans, Flavonoid
Cuban propolis Clusia rosea Polyisoprenyted benzophenone
Taiwan propolis Not identified Prenylated flavonoid 
Japan propolis(Okinawa) Macaranga tanarius Prenylated flavonoid

พรอพอลิส

ปริมาณที่ควรได้รับจากพรอพอลิส

สำหรับปริมาณของพรอพอลิสที่ควรบริโภคต่อวันนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์การใช้ และการบริโภคที่แน่ชัดแต่อย่างใด แต่มีผลการศึกษาวิจัย เรื่องข้อมูลปริมาณการใช้พรอพอลิสในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ พบว่า ในการใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาสิว มีวิธีการใช้ คือ ป้ายลงบนสิวโดยตรง และทิ้งไว้ประมาณ 5-15 นาที ใช้เพื่อรักษาเริมชนิดที่ทำให้เกิดแผล ใช้ทายาทาพรอพอลิส 3%  5 ครั้งต่อวัน ใช้เพื่อรักษาการกระจายของเริม ให้ทายาทาพรอพอลิส 3% ที่แผล 4 ครั้งต่อวัน ส่วนการล้างปากหลังการศัลยกรรมช่องปาก ให้ใช้สารละลายที่มีพรอพอลิส น้ำเปล่า และแอลกอฮอล์ ส่วนการใช้รับประทานนั้น พรอพอลิสชนิดแคปซูล ควรรับประทาน 1-2 แคปซูลต่อวัน  และสำหรับพรอพอลิสแบบออร์แกนิค และแบบผสมน้ำผึ้งสดขนาดที่ควรใช้ทั่วไปคือ รับประทานครึ่งช้อนชา สองครั้งต่อวัน ทั้งนี้ขนาดการใช้อาหารเสริมชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย

ประโยชน์และโทษของพรอพอลิส

พรอพอลิสถูกนำมาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศในแถบยุโรป และแอฟริกามีการนำพรอพอลิส มาใช้ตั้งแต่อดีต โดยนำมาใช้สมานแผล และใช้รักษาการติดเชื้อในช่องปาก และลำคอ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวชาวกรีก โรมัน และอียิปต์รู้จักเป็นเวลานานแล้ว ส่วนในปัจจุบันมีการนำพรอพอลิสมาใช้เป็นสมุนไพร และในบางประเทศทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการกล่าวถึงสรรพคุณว่าสามารถใช้สมานแผล และรักษาผิวหนังต่างๆ เช่น เริม (herpes simplex) สิว (acne) และโรคสะเก็ดเงิน(psoriasis) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาชา (anaesthetic) และใช้รักษาโรคเหงือกอักเสบ (gingivitis) ได้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เครื่องอุปโภค บริโภค ก็มีการนำพรอพอลิสมาเป็นส่วนประกอบ เช่น สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผลิตภัณฑ์รักษาสิว หรือ ยาสระผล เป็นต้น

            นอกจากนี้ในทางการแพทย์ยังมีการศึกษาถึงประโยชน์ของพรอพอลิสในหลายๆ ด้าน โดยงานวิจัยบางส่วนชี้ว่าคุณสมบัติต้านเชื้อไวรัสของพรอพอลิส อาจเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยในการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีหูดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนสรรพคุณต้านการอักเสบก็อาจช่วยเร่งการสมานตัวของแผลได้ เช่น แผลเบาหวาน และแผลจากโรคเริม เป็นต้น ซึ่งอาจช่วยลดความเจ็บปวดจากการอักเสบต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปในตัวด้วย

           แต่ทั้งนี้ในการใช้ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เพราะพรอพอลิส อาจมีโอกาสปนเปื้อนสิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมได้ในระหว่างการสะสมพรอพอลิสของผึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก 43 ดังนั้นการตรวจสอบการปนเปื้อนของพรอพอลิสจึงจำเป็นมากเช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ซึ่งควรตรวจสอบให้ดีก่อนนำพรอพอลิสไปใช้

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องพรอพอลิส

มีผลการศึกษาวิจัยถึงปริมาณสารต่างๆ และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรอพอลิสที่ได้จากที่ต่างๆ ตามสภาวะและลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป ดังนี้

            มีการศึกษาพบว่าพรอพอลิสในภูมิประเทศที่แตกต่างกันมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย คือ พรอพอลิสจากประเทศไทยเขตอบอุ่น (temperate zone) ได้แก่ประเทศในแถบเอเชีย ยุโรป แอฟริกาเหนือ และอเมริกาเหนือ เป็นต้น จะมีองค์ประกอบหลักเป็นสารประกอบฟินอลิก และอนุพันธ์เนื่องจากผึ้งจะเก็บบางเหนียวจากพืชพวก poplar ซึ่งจะมีองค์ประกอบหลักเป็นสารดังกล่าว ส่วนพรอพอลิส จากประเทศในเขตร้อน (tropical zone) ได้แก่ ประเทศในแถบอเมริกาใต้ และแอฟริกาใต้ เป็นต้น จะมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างจากพรอพอลิสจากประเทศในเขตอบอุ่น เนื่องจากผึ้งไม่สามารถไปเก็บยางเหนียวจากต้น poplar ได้ เพราะพืชดังกล่าวเป็นพืชในเขตอบอุ่น พรอพอลิสจากประเทศบราซิลจากใบของ Baccharis dracunculifolia วงศ์ Compositae ซึ่งไม่ใช้พืชพวก poplar ดังนั้นองค์ประกอบทางเคมีจึงไม่ใช้ฟลาโวนอยด์อย่างที่พบในพรอพอลิสที่ได้จากพืชพวก poplar แต่เป็นอนุพันธ์ของสารที่มีหมู่พรีนิลมาเกาะ (prenylated derivatives) ได้แก่ prenylated p-coumaric acid และ diterpene เป็นต้น

            สำหรับพรอพอลิสจากประเทศคิวบา เป็นพรอพอลิสที่ไม่ได้มาจากพืชพวก poplar หรือ B. dracunculifolia แต่เป็นเรซินจากดอกของ Clusia rosea วงศ์ Guttiferae ทําให้สารเคมีจากพรอพอลิสของคิวบาแตกต่างจากที่กล่าวมา และสารที่สําคัญคือ สารพวก prenylated benzophenones ในส่วนพรอพอลิสที่เก็บจากประเทศไทยมีองค์ประกอบทางเคมีหลัก คือ ฟลาโวนอยด์ สารประกอบฟินอลิก และสารสกัดพรอพอลิสไทย มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อคคัสมิวแทนส์ (Streptococcus mutans) เชื้อแลคโตบาซิลัสคาเซไอ (Lactobacillus casei) และเชื้อสแตปไฟโรค๊อดคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) อีกทั้งยังไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อในของฟันมนุษย์ และสามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ได้

           นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของพรอพอลิสอีกหลายฉบับ ซึ่งระบุไว้ดังนี้

           ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน (Antioxidative activity) มีการศึกษาวิจัยพบว่านอกจาก สาร CAPE (Caffeic acid phenethyl oster) จะมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกแล้วยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้ด้วย โดยสามารถยับยั้งการเกิด reactive oxygen species (ROS) ได้อย่างสมบูรณ์ด้วยความเข้มข้นเท่ากับ 10 ไมโครโมลาร์ จะเห็นได้ว่าฤทธิ์ต้านออกซิเดชันน่าจะมีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านเนื้องอก เนื่องจาก ROS มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งได้โดยทำหน้าที่เป็นตัวนำรหัสลำดับที่สอง (secondary messenger) สำหรับวิถี signal transduction ในการเกิด proliferation ของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสารต้านออกซิเดชันจะไปลดปริมาณ ROS ลง นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงสารชนิดอื่นๆ ในพรอพอลิส โดยได้ศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันจากพรอพอลิสของประเทศบราซิลโดยใช้ 1,1-diphenyl-2- picrylhydrazyl (DPPH) free radical และ superoxide anion radical ในปฏิกิริยา xanthine / xanthine oxidase (XOD) และ a-nicotinamide adenine dinucleotide (NADPH) / phenazyne (PMS) โดยเทียบกันระหว่างสารสกัดเมทานอล และน้ำ พบว่าสารสกัดน้ำแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้ดีกว่าสารสกัดเมทานอล จากนั้นจึงนำสารสกัดน้ำไปแยกสารสำคัญได้สารที่เป็นอนุพันธ์ของ dicaffeoylquinic acid (22-25) ซึ่งสารเหล่านี้ออกฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้แรงกว่าสารต้านออกซิเดชัน เช่น วิตามินซี วิตามินอี และ caffeic acid เป็นต้นเมื่อทดสอบกับ DPPH และ superoxide anion radical จาก xanthine / XOD นอกจากนี้ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitrite ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำเซลล์ murine macrophages (J774.1) ด้วย lipopolysaccharide (LPS)35-37 ต่อมาได้มีรายงานการแยกสารที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่แรงกว่าวิตามินซีและวิตามินอีจากสารสกัดชั้นน้ำของพรอพอลิสของประเทศบราซิล ซึ่งสารดังกล่าวมีชื่อว่า propol  ที่เป็นสารในกลุ่มฟีนอลิก โดย propol สามารถยับยั้ง Cu2+ ที่กระตุ้นให้เกิด low density lipoprotein (LDL) oxidation ได้

           ฤทธิ์ต้านเนื้องอก (Antitumor activity) ในคุณสมบัติในด้านความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity) นั้น มีการค้นพบสาระสำคัญจากพรอพอลิสที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ค่อนข้างมากนั่นก็คือ CAPE (caffeic acid phan ethyl ester) สารดังกล่าวมีสูตรโครงสร้างไม้ซับซ้อน และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดี โดยมีรายงานการวิจัยว่าได้มีการสกัดแยก CAPE จากพรอพอลิสของประเทศอิสราเอล พบว่าสาร CAPE ที่ได้มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด โดยกลไกการออกฤทธิ์ของ CAPE ต่อ nuclear factor ที่ชื่อ nuclear factor kappa beta (NF-kB) พบว่า CAPE จะกระตุ้นการทํางานของ NF-kB ได้โดยการยับยั้ง tumor necrosis factor (TNF) อย่างสมบูรณ์ซึ่งจะยับยั้งแบบ dose dependent และ time dependent29 ต่อมาในปี ค.ศ.2000 และ CAPE มีผลต่อการเกิด expression ของเอนไซม์ focal adhesion kinase (FAK) โดยมีผลลดการเกิดขบวนการ tyrosine phosphoryl-ation ของเซลล์มะเร็งลําไส้ของมนุษย์ และนอกจาก CAPE แล้ว ยังมีรายงานของสารชนิดอื่นที่แยกได้จากพรอพอลิส และมีคุณสมบัติที่เป็นพิษต่อเซลล์ได้แก่ สาร PMS1, 13Z-symphyoreticulic acid, 13E-symphyoreticulic acid  และ artepillin C  เป็นต้น

           ฤทธิ์ต้านจุลชีพ (Antimicrobial activity) การศึกษาพบว่ามีรายงานจำนวนมากที่กล่าวถึงการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของพรอพอลิสจากแหล่งต่างๆ และพรอพอลิสก็มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย รา โปรโตซัว และไวรัสได้ ซึ่งพรอโพลิสมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งตัวอย่างสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ ได้แก่ cupressic acid, acetylcupressic acid, imbricatoloic acid, communic acid  เป็นสารในกลุ่ม labdane-type diterpenes และ syringaldehyde เป็นสารประกอบฟินอลิก ซึ่งสารทั้งหมดแยกได้จากพรอพอลิสของประเทศบราซิล มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ ส่วนสารสำคัญที่สามารถยับยั้งเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ p-coumaric acid, 3-prenyl-4- dihydrocinnamolyoxycinnamic acid, และ artepillin C เป็นต้น ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารประกอบฟินอลิกที่แยกได้

ตัวอย่างรายงานการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลชีพของพรอพอลิส

พรอพอลิส

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory activity) มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการอักเสบของพรอพอลิส โดยได้ทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยอาศัยแบบจำลองการบวมน้ำของอุ้งเท้าหนูขาวใหญ่ที่ถูกเหนี่ยวนําด้วยคาราจีแนนพบว่าสารสกัดพรอพอลิสสามารถยับยั้งการบวมน้ำของอุ้งเท้าหนูขาวใหญ่ที่ถูกเหนี่ยวนําด้วยคาราจีแนนได้ที่ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และยังได้ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดพรอพอลิส โดยใช้แบบจำลองการทำให้หูหนูขาวเล็ก (mice) บวมน้ำจากการเหนี่ยวนำด้วย croton oil ซึ่งเป็นน้ำมันที่สกัดจาก Croton tiglium พบว่าสารสกัดพรอพอลิสสามารถออกฤทธิ์ได้เทียบเท่ากับยา indomethacin และสำหรับการศึกษาแบบ in vivo นั้น ในปี ค.ศ.1996 Mirzoeva และ Calder ได้นำสารสกัดเอทานอล และสารสำคัญจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพรอพอลิส ได้แก่ CAPE  (Caffeic acid phenethyl ester), caffeic acid, quercetin และ naringenin มาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยดูจากเมแทบอลิซึมของ arachidonic acid พบว่าสารสกัดเอทานอลของพรอพอลิสสามารถยับยั้ง เมแทบอลิซึมของ arachidonic acid ในวิถี lipoxygenase ระหว่างกระบวนการอักเสบได้ส่วนสารสำคัญนั้น พบว่า CAPE ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารอื่นที่นำมาทดลอง

           สำหรับการศึกษาทางพิษวิทยาของพรอโพลิสนั้นได้มีการทดลองเกี่ยวกับความเป็นพิษและอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยให้หนูขาวเล็ก (mice) กินพรอพอลิสจากประเทศเกาหลี พบว่าค่า LD 50 ที่ได้มากกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับความเป็นพิษของพอลพอลิสในปี ค.ศ.1998 ซึ่งสรุปไว้ว่าพรอพอลิสไม่ค่อยเป็นพิษในปริมาณ 1,440 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ในหนูขาวเล็ก ซึ่งการทดลองนี้ทำการทดสอบกับหนูขาวเล็กจำนวน 90 ตัว

           นอกจากนนี้ยังมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากกรใช้พรอพอลิส ในประเทศอิตาลี โดยรวบรวมตั้งแต่เดือน เมษายน ปี ค.ศ.2002 จนถึงสิงหาคม ปี ค.ศ.2007 พบว่ามีรายงานอาการที่คาดว่าเป็นปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากพรอพอลิสที่รายงานมายังศูนย์เฝ้าระวังเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของประเทศอิตาลีจำนวน 18 ราย โดยมีอาการแพ้ที่ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจจำนวน 16 ราย ส่วนอีก 2 รา ยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

โครงสร้างพรอพอลิส

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

            ในการใช้พอลพอลิสมีข้อควรระมัดระวังในการใช้ และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ในบุคคลเหล่านี้

  1. ผู้ที่แพ้น้ำผึ้ง หรือ แพ้ผึ้ง ควรระมัดระวังในการใช้พรอพอลิส เป็นพิเศษเพราะอาจมีโอกาสแพ้ พรอพอลิสได้เช่นเดียวกัน เพราะพรอพอลิสมีส่วนประกอบจากไขผึ้ง หรือ เอนไซม์ของผึ้ง ซึ่งอาจสังเกตอาการแพ้ได้จากการมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง
  2. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ เพราะสารเคมีในพรอพอลิส ทำให้การเป็นลิ่มเลือดช้าลง การรับประทานพรอพอลิสอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือดหรือเลือดแข็งตัวช้าลงในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  3. ผู้ป่วยโรคหืด เพราะอาจมีอาการแย่ลงหลังจากได้รับสารนี้
  4. ผู้ที่มีประวัติแพ้ละอองเกสร เพราะพรอพอลิสอาจมีละอองเกสรเป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพได้หลังการใช้

เอกสารอ้างอิง พรอพอลิส
  1. ศิริวรรณ อธิคมกุลชัย.พรอพอลิส:ของขวัญจากธรรมชาติ.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพปีที่ 3.ฉบับที่ 2.พฤษภาคม-สิงหาคม 2551.หน้า 256-295
  2. อัฏฐพร ปรึกษากร และคณะ.ผลของสารสกัดหยาบพรอพอลิสไทยต่อการคงสภาพความมีชีวิตของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของฟันมนุษย์.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติ 2559.15ม กราคม 2559.ณ.อาคารพจน์สารส์น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.10 หน้า
  3. ภัทราเพช พูกคล้าย.ญญรัตน์ เชื้อสะอาด.การศึกษาคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระในพรอพอลิส รายงานการศึกษาวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2553.215 หน้า
  4. Propolis สารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ.พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.pobpad.com
  5. พัทยา พรหมมิ และ สุพรรณี รักษาพล. 2549. การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระของพรอพอลิส . แพร่ :วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ.
  6. Sosa S, Baricevis D, Cinco M, Padovan D, Tubaro A, Della LR. Preliminary investigation on the antiinflammatory and anti-microbial activities of propolis. Pharmaceut PharmacolLett 1997;7:168-171.
  7. Bankova V, Christov R, Kujumgiev A, Macucci MC, Popov S. Chemical composition and antibacterial activity of Brazilian propolis. Z Naturforsch 1995;50:167-172.
  8. Matsuno T. A new clerodane diterpenoid isolated from propolis. Z Naturforsch 1995;50:93-97.
  9. Monti M, Berti E, Carminati G, Cusini M. Occupational and cosmetic dermatitis from propolis. Contact Dermat 1983; 9:163.
  10. Marcucci MC, Bankova VS. Chemical composition, plant origin and biological activity of Brazillian propolis. Curr Top Phytochem 1999;2:115-123
  11. Menniti-Ippolito F, Mazzanti G, Vitalone A, Firenzuoli F, Santuccio C. Surveillance of suspected adverse reactions to natural health products: the case of propolis. Drug Saf 2008;31(5):419-423
  12. Ghisalberti EL. Propolis: a review. Bee World 1979;60: 59-84.
  13. Burdock GA. Review of the biological properties and toxicity of bee propolis. Food Chem Toxicol 1998;36: 347-363
  14. Weyant MJ, Carothers AM, Bertagnolli ME, Bertagnolli MM. Colon cancer chemopreventive drugs modulate integrin-mediated signaling pathways. Clin Cancer Res 2000;6:949-956.
  15. Bankova V, Boudourova KB, Popov S, Sforcin M, Funari SRC. Seasonal variations of the chemical composition of Brazillian propolis. Apidologie 1998;29:361-367.
  16. Chaipanha P. Effect of Thai propolis crude extracts on the cytotoxicity and proliferation of human dental pulp cells, in vitro [Master Thesis in Restorative Dentistry]. Khon Kaen: The Graduate School, Khon Kaen University; 2013 [in Thai].
  17. Matsushige K, Basnet P, Kadota S, Namba T. Potent free radical scavenging activity of dicaffeoyl quinic acid derivatives from propolis. J Trad Med 1996;13:217-228.
  18. Macucci MC. Propolis: chemical composition, biological properties and therapeutic activity. Apidologie 1995; 26:83-99.
  19. Park YK, Alencar SM, Aguiar CL. Botanical origin and chemical composition of Brazilian propolis. J Agric Food Chem 2002;50:2502-2506.
  20. Siripatrawan U, Vitchayakitti W, Sanguandeekul R. Antioxidant and antimicrobial properties of Thai propolis extracted using ethanol aqueous solution. Int J Food SCi Tech 2013; 48: 22-27.
  21. Mirzoeva OK, Calder PC. The effect of propolis and its components on eicosanoid production during inflammatory response. Prostaglandins, Leukotrienes Essent Fatty Acids 1996;55:441-449.
  22. Hashimoto T, Aga H, Tabuchi A, et al. Anti-Helicobacter pylori compounds in Brazilian propolis. Nat Med 1998; 52:518-520.
  23. Bankova VS, Popov SS, Marekov NL. A study on flavonoids of propolis. J Nat Prod 1983;46:471-474.
  24. Cirasino L, Pisati A, Fasani F. Contact dermatitis from propolis. Contact Dermat 1987;16:110-111.
  25. Park EH, Kim SH, Park SS. Anti-inflammatory activity of propolis. Arch Pharmacol 1996;19:337-341.
  26. Natarajan K, Singh S, Burke TR, Grunberger D, Aggarwal BB. Caffeic acid phenethyl ester is a potent and specific inhibitor of activation on nuclear transcription factor NF-kB. Proc Natl Acad Sci USA 1996;93:9090-9095.
  27. Cuesta RO, Frontana UBA, Ramirez AT, Cardenas J. Polyisoprenylated benzophenones in Cuban propolis; biological activity of nemorosone. Z Naturforsch 2002; 57c:372-378.
  28. Athikomkulchai S, Awale S, Ruangrungsi N, Ruchirawat S, Kadota S. Chemical constituents of Thai propolis. Fitoterapia 2013; 88: 96-100.
  29. Dobrowolski JW, Vohara SB, Sharma K, et al. Antibacterial, antifungal, antiamoebic, anti-inflammatory and antipyretic studies on propolis bee products. J Ethnopharmacol 1991;35:77-82.
  30. Grunberger D, Bannerjee R, Eisinger K, et al. Referential cytotoxicity on tumor cells by caffeic acid phenethyl ester isolated from propolis. Experientia 1988;44:230-232.
  31. Greenaway W, May J, Scaybrook T, Whatley FR. Identification by gas chromatography-mass spectrometry of 150 compounds in propolis. Z Naturforsch 1991; 46c:111-121.