แตงโม ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
แตงโม งานวิจัยและสรรพคุณ 29 ข้อ
ชื่อสมุนไพร แตงโม
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น บะเต้า (ภาคเหนือ), บักโต (ภาคอีสาน), แตงจีน, ลูกแตง (ภาคใต้), ซีกวย (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citullus lanatus (Thumb). Matsum. & Nakai
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citullus vulgaris S chard L.
ชื่อสามัญ Watermelon
วงศ์ CUCURBITACEAE
ถิ่นกำเนิดแตงโม
แตงโมมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนทางใต้ของทวีปแอฟริกาโดยพบว่าเป็นพืชที่มีมาแต่ยุคโบราณก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งได้พบข้อความเกี่ยวกับแตงโม ที่มีอายุมากกว่า 4,000 ปีมาแล้วในอียิปต์ สำหรับประเทศไทย สันนิษฐานว่ารับแตงโมมาจากจีน โดยในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยามีเรื่องราวเกี่ยวกับแตงโมปรากฎอยู่ในสมัยสมเด็จพระเพทราชาเรียกว่า ผลอุลิต ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์ภาษาเขมร ส่วนในหนังสืออักราภิธานศรับท์ พ.ศ.2416 เรียกทั้งแตงโม และปูลิต (คงกลายมาจากอุลิต) ในปุจจุบันประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภาคของประเทศ
ประโยชน์และสรรพคุณแตงโม
- แก้บิด
- แก้ท้องร่วง
- แก้ร้อนใน
- แก้กระหายน้ำ
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้บวมน้ำ
- ช่วยปัสสาวะขัด
- แก้ปากและเล็บเป็นแผล
- แก้ปวดฟัน
- แก้ไตอักเสบ
- แก้ปวดเอว
- ใช้หล่อลิ่นลำไส้
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ช่วยขับเสลด
- แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- แก้อาเจียนเป็นเลือด
- แก้วิงเวียนนอนไม่หลับ
- แก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก
- แก้ไอเรื้อรัง
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
- ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
- ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัว
- ช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ
- ช่วยเส้นผมให้แข็งแรง
แตงโมจัดเป็นผลไม้ที่นิยมชนิดหนึ่งที่คนทั่วโลกนำมารับประทานเป็นผลไม้ เพราะมีรสชาติหวานอร่อยฉ่ำน้ำ ทำให้สดชื่นเมื่อได้รับประทาน และยังมีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำแตงโมปั่น ไวน์แตงโม แยมแตงโม และยังสามารถนำมาใช้พอกหน้า หรือ ทำเป็นทรีตเมนต์บำรุงผิว ดูดซับความมันบนใบหน้าได้อีกด้วย ส่วนผลอ่อน และยอดอ่อนของแตงโม ยังใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม ใช้ทำแกงเลียง และแกงส้ม ส่วนยอดอ่อนของแตงโม ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริกได้ นอกจากนี้เปลือกของแตงโมแก่ที่แยกออดแล้วยังใช้ดอง เป็นเครื่องเคียง หรือ ทำแกงส้ม ได้อีกด้วย ด้านเมล็ดแตงโมก็ปรากฎว่าได้รับความนิยมเช่นเดียวกันโดยที่คนไทยส่วนใหญ่คงรู้จกกันดี คือ เมล็ดก๋วยจี๊ ซึ่งทำมาจากเมล็ดแตงโมนั่นเอง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้การร้อนรุ่ม วิงเวียนนอนไม่หลับ โดยเมื่อนำแตงโม มารับประทาน หรือ นำมาคั้นเอาน้ำรับประทานก็ได้ ใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปากลิ้นเป็นแผล โดยนำเปลือกของแตงโม 10-30 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้บดเป็นผงผสมน้ำกินก็ได้ ใช้แก้ปวดฟันโดยนำเปลือกแตงโมมาเผาให้เป็นถ่านแล้วอุดฟันที่ปวด ใช้หล่อลื่นลำไส้ ลดความดันโลหิต แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับเสลด แก้ไอเรื้อรัง แก้อาเจียนเป็นเลือด ขับพยาธิ โดยนำเมล็ดแตงโม 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำดื่มหรือนำมาคั่วกินก็ได้ ใช้แก้บิด ท้องร่วง แก้ร้อนใน โดยนำราก หรือ ใบสด 60-90 กรัม มาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้ไตอักเสบ บวมน้ำ โดยใช้เปลือกแตงโมแห้งมาใหม่ๆ หนัก 40 กรัม ร่วมกับรากหญ้าคา สด หนัก 60 กรัม ต้มกินแบ่ง 3 ครั้งใน 1 วัน ใช้แก้ท้องร่วงในฤดูร้อน แก้ร้อนรุ่ม กระวนกระสายใจโดยนำแตงโม 1 ผล หั่นเป็น 10 ส่วน แบ่งเอามา 1 ส่วน รวมกับกระเทียม 7 กลีบ ใช้กระดาษห่อ 7-9 ชั้น เอกดินพอกให้มิด ใส่กระบอกไม้ไผ่เผาให้แห้ง นำมาบดเป็นผงผสมน้ำกิน ใช้แก้ปวดเอว ยืดหดตัวไม่ได้ โดยใช้เปลือกแตงโมเขียวๆ มาตากให้แห้งในทีร่มบดเป็นผงผสมเกลือกิน ใช้แก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้แตงโมเนื้อในมาคั้นเอาน้ำใส่ขวดเก็บไว้ 3-4 เดือน จนมีรสเปรี้ยวเก็บเอาไว้ใช้แก้แผลถูกความร้อนลวก โดยใช้น้ำเหลือเย็นๆ ชะล้างบาดแผลให้สะอาดก่อน แล้วใช้สำลีชุบน้ำแตงโมเปรี้ยวนี้พอกแผลวันละหลายๆ ครั้ง แผลที่ถูกความร้อนลวกจนผิวหนังแดงเหมือยแดดเผา และแผลผิวหนังพุพองและลอกจะหายใน 1 อาทิตย์ ส่วนแผลผิวหนังหลุดลอกกินลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังจะหายใน 2 อาทิตย์
ลักษณะทั่วไปของแตงโม
แตงโม จัดเป็นพืชในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชล้มลุกประเภทไม้เถา ลำต้น หรือ เถามีสีเขียวปนเทามีขนสากๆ ขึ้นตามเถา และมีมือเกาะแยก 2-3 แขนง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับบริเวณข้อของเถาใบมีลักษณะเป็นแบบนิ้วมือใบสากเล็กน้อย มีรอยเว้าลึก 3 รอยข้างๆ มีรอยเว้าตื้นๆ ใบมีขนาดกว้าง 5-18 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร และมีก้านใบยาว 3-12 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ก้านดอกเล็กมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม มีกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่ม กลีบดอกมีสีเหลืองมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันมีเกสรเพศผู้ 3 อันสั้นๆ ส่วนดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่า รังไข่กลมมีขน ท่อรังไข่สั้น ปลายท่อมี 3 แฉก มีก้านดอกสั้น
ผล กลม หรือ ค่อนข้างกลมผิวเรียบหัวท้ายมนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร ผิวนอกสีเขียว หรือ สีเขียวอ่อน หรือ ลายสีเขียวอ่อนแก่สลับกัน เนื้อในผลเมื่ออ่อนมีสีขาวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง หรือ เหลืองรสหวานฉ่ำน้ำและมีเมล็ดมาก ส่วนเมล็ดสีน้ำตาลดำรูปรีแบน ผิวเรียบ
การขยายพันธุ์แตงโม
แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศทุกฤดูกาล และปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย และมีการระบายน้ำได้ดี สำหรับวิธีการขยายพันธุ์แตงโม นั้นสามารถทำได้โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยเริ่มจาก ไถพรวน หรือ ขุดย่อยดินร่วนโปร่งและลึก ให้ดินลึกและอุ้มความชื้นได้มากขึ้น ยังทำให้รากแตงโมแทรกตัวเองลงลึกไปในใต้ดินซึ่งจะช่วยให้รากหาอาหารและน้ำได้กว้างไกลยิ่งขึ้น จากนั้นทำการขุดหลุมเพื่อนำเมล็ดพันธุ์โดยในดินทรายขุดหลุมให้มีความกว้างยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนในดินเหนียวขุดหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ละเอียดคลุกเคล้ากับดินบน ใส่รองก้นหลุมๆ ละ 4-5 ลิตร เตรียมหลุมทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงลงมือหยอดหลุมละ 5 เมล็ด ในหลุมแต่ละหลุมควรให้มีระยะห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงนั้นควรให้ห่างจากกันประมาณ 2-3 เมตร หลังจากหยอดเมล็ดแล้วจึงรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อแตงโมงอกขึ้นมาและมีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2-3 ต้น โดนคัดเลือกเอาแต่ต้นแข็งแรงไว้จากนั้นดูแลต่อจนถึงเวลาเก็บเกี่ยว
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกส่วนเนื้อ และส่วนเมล็ดของแตงโม พบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น สาร cutrulline, Lycopene, Beta-cryptoxanthin, cucerbitacin E, Beta-carotene, ascorbic acid, folic acid เป็นต้น นอกจากนี้แตงโมยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของผลแตงโมดิบ (100 กรัม)
พลังงาน |
30 |
กิโลแคลลอรี่ |
คาร์โบไฮเดรต |
7.55 |
กรัม |
น้ำตาล |
6.2 |
กรัม |
เส้นใย |
0.4 |
กรัม |
ไขมัน |
0.15 |
กรัม |
โปรตีน |
0.16 |
กรัม |
28 |
ไมโครกรัม |
|
วิตามิน บี1 |
0.033 |
มิลลิกรัม |
วิตามิน บี2 |
0.021 |
มิลลิกรัม |
0.178 |
มิลลิกรัม |
|
วิตามิน บี5 |
0.221 |
มิลลิกรัม |
วิตามิน บี6 |
0.045 |
มิลลิกรัม |
8.1 |
มิลลิกรัม |
|
กรดโฟลิก |
3 |
ไมโครกรัม |
แคลเซียม |
7 |
มิลลิกรัม |
0.24 |
มิลลิกรัม |
|
แมกนีเซียม |
10 |
มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส |
11 |
มิลลิกรัม |
112 |
มิลลิกรัม |
|
สังกะสี |
0.10 |
มิลลิกรัม |
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของแตงโม
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของส่วนต่างๆ ของแตงโม ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการอาทิเช่น มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสาร citrulline ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบในน้ำแตงโม โดยพบว่าสาร citrulline สามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างอาร์จีนิน (arginine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้าง และซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าสาร citrulline จากน้ำแตงโมตามธรรมชาติโดยไม่ผ่านความร้อน จะถูกดูดซึมในลำไส้เล็กของร่างกายได้ดีกว่าการให้สาร L-citrulline ซึ่งอยู่ในรูปของสารสังเคราะห์ซึ่ง มีรายงานวิจัยพบว่าเมื่อให้อาสาสมัครรับประทานแตงโมวันละ 1,560 ก. (มี citrulline 2 ก.) ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ จะช่วยเพิ่มปริมาณอาร์จีนินในเลือดได้ถึง 22% และ citrulline ยังช่วยกระตุ้นการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อของอาสาสมัครที่รับประทานอาหารโปรตีนต่ำ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบหมุนเวียนของโปรตีนในร่างกายได้อีกด้วย และเมื่อให้นักกีฬาดื่มน้ำแตงโม 500 มล. (มี L-citrulline 1.17 ก.) หรือ ดื่มน้ำแตงโมที่เสริมสาร L-citrulline 4.83 ก. (มี L-citrulline 6 ก.) เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับเครื่องดื่มน้ำผลไม้รวม ก่อนการออกกำลังกาย 1 ชม. พบว่าน้ำแตงโมทั้ง 2 ชนิด จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัว และลดอาการปวดกล้ามเนื้อของนักกีฬาภายหลังจากออกกำลังได้ และยังมีรายงานผลการศึกษาเรื่องการดูดซึมของสาร L-citrulline ในเซลล์ Caco-2 โดยใช้น้ำแตงโมธรรมชาติที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ และน้ำแตงโมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ (80 °C, 40 วินาที) มาเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน L-citrulline ที่ละลายในน้ำ พบว่าสาร L-citrulline จะถูกดูดซึมได้สูงสุด เมื่ออยู่ในน้ำแตงโมและไม่ผ่านความร้อน ในส่วนของการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย (ergogenic effect) ของสารสำคัญ L-citrulline จากแตงโม (Citrullus lanatus) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ nitric oxide (NO) ที่พบว่ามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด (vasodilator) และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด (blood flow) รวมทั้งเพิ่มการหายใจระดับเซลล์ (mitochondrial respiration) และสารสำคัญ ellagitannins จากทับทิม (Punica granatum) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ urolithin A ที่พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีหน้าที่ในการกำจัดไมโทคอนเดรีย (mitochondria) โดยทำการศึกษาแบบ double-blind randomized crossover ในอาสาสมัครผู้ชายอายุเฉลี่ย 23.9±3.7 ปี จำนวน 19 คน ซึ่งให้ดื่มน้ำแตงโมที่ประกอบด้วยสารสำคัญ L-citrulline และสารสำคัญ ellagitannins จากทับทิม เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ดื่มน้ำที่แต่งสีเลียนแบบน้ำแตงโม และไม่มีสาร L-citrulline และ ellagitannins ก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้ออกกำลังกายอย่างหนัก (high-intensity exercise) ด้วยการนั่งย่อ (half-squat) รอบละ 8 ครั้ง เป็นจำนวน 8 รอบ ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำแตงโมที่มีสาร L-citrulline ขนาด 3.3 ก./200 มล. และสาร ellagitannins ขนาด 22.0 มก./200 มล. มีค่าดัชนีชี้วัดการทำลายของกล้ามเนื้อ ได้แก่ lactate dehydrogenase และ myoglobin รวมทั้งการออกแรงในระหว่างการออกกำลังกาย อยู่ในระดับคงที่ นอกจากนี้ยังมีผลในการลดระดับความเหนื่อย (rating of perceived exertion) และอาการปวดล้าของกล้ามเนื้อ (muscle soreness) หลังจากการออกกำลังกายอีกด้วย ส่วนเนื้อในแตงโมมี การศึกษาผลของแตงโมต่อระดับไขมัน ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และการอักเสบในหนูแรท โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมที่กินอาหารซึ่งทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic diet) อย่างเดียว กลุ่มที่ 2 กินอาหารเสริมด้วยผงแตงโม 0.33% กลุ่มที่ 3 กินอาหารและได้รับ dextran sodium sulphate (DSS) ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ และกลุ่มที่ 4 กินอาหารเสริมด้วยผงแตงโมและได้รับ DSS เป็นเวลา 30 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับผงแตงโม ระดับของไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลรวม low-density lipoprotein cholesterol และ C-reactive protein ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระรวม (total antioxidant capacity) และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ superoxide dismutase และ catalase เพิ่มขึ้น ขณะที่ thiobarbituric acid reactive substances ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นลดลง ผงแตงโมยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase, alkaline phosphatase และ lactate dehydrogenase ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย DSS ได้ นอกจากนี้ยังมีผลลดการแสดงออกของยีนของ fatty acid synthase, 3-hydroxy-3methyl-glutaryl-CoA reductase, sterol regulatory element-binding protein 1, sterol regulatory element-bindingprotein 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิสมของไขมัน รวมทั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า แตงโมจะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในหนูได้ โดยลดระดับไขมันในเลือด ลดการอักเสบ และเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ยังมีการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ ภาวะอ้วนทั้งหญิงและชาย มีดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25-40 กก./ม.2 จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบที่ให้รับประทานแตงโม 2 ถ้วย ปริมาณ 92 กิโลแคลอรี่/วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้รับประทานคุกกี้ไขมันต่ำ (Nabisco vanilla wafer cookies) ซึ่งมีปริมาณแคลลอรี่เท่ากับกลุ่มทดสอบ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ แล้วสลับการรักษา โดยมีระยะพัก (washout) 2-4 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่าการรับประทานแตงโมมีผลต่อการตอบสนองของความอิ่ม (ความรู้สึกหิว การบริโภคอาหาร ความต้องการรับประทานอาหาร ความรู้สึกอิ่ม) หลังจากรับประทาน 90 นาที ได้ดีกว่ากลุ่มที่รับประทานคุกกี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) กลุ่มที่รับประทานแตงโมมีผลต่อการลดน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย ค่าความดันของเลือดสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว และอัตราส่วนของรอบเอวต่อรอบสะโพก (waist-to-hip ratio) (p ≤0.05) ส่วนกลุ่มที่รับประทานคุกกี้มีผลเพิ่มความดันโลหิตและไขมันของร่างกาย (p < 0.05) กลุ่มที่รับประทานแตงโมมีภาวะเครียดจากการออกซิเดชันต่ำกว่า ที่สัปดาห์ที่ 4 ของการทดสอบ (p = 0.034) และมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันโดยรวมเพิ่มขึ้น (p=0.003) จากผลการทดสอบนักวิจัยสรุปว่าการรับประทานแตงโมมีผลในการช่วยลดน้ำหนักตัว ลดค่าดัชนีมวลกาย และลดความดันโลหิตได้ผลดีกว่าการรับประทานคุกกี้ไขมันต่ำ ซึ่งอาจจะมีผลในการช่วยปรับปรุงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ในส่วนของเปลือกนั้นได้ มีการทดสอบฤทธิ์ในการควบคุม lipid peroxidation ในเนื้อเยื่อ หน้าที่ของ thyroid การเผาผลาญไขมันและน้ำตาลกลูโคสในหนูแรทพบว่า สารสกัดเมทานอลจากเปลือกของมะม่วง แตงไทย และแตงโม ขนาด 200, 100 และ 100 มก./กก. เมื่อให้หนูแรทกินเป็นเวลา 10 วัน มีผลยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในเนื้อเยื่อตับ ไต และหัวใจ เพิ่มระดับของ triiodothyronine (T3) และ thyroxin (T4) ในเลือด และเมื่อให้สารสกัดทั้ง 3 ร่วมการยา propylthiouracil (PTU) ซึ่งเป็นยาที่มีผลทำให้เกิดภาวะ hypothyroid ก็มีผลเพิ่มระดับของ T3 และ T4 เช่นกัน นอกจากนี้พบว่า สารสกัดจากเปลือกแตงโม มีผลในการลดระดับของ cholesterol และ low-density lipoprotein-cholesterol (LDL-C) ในขณะที่สารสกัดจากเปลือกแตงไทย มีผลลด triglycerides และ very low-density lipoprotein-cholesterol (VLDL-C) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดเมทานอลจากเปลือกของมะม่วง แตงไทย และแตงโม มีผลกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในระดับเนื้อเยื่อได้ นอกจากนั้นในสารสกัดเปลือกแตงโมยังมีฤทธิ์ต้านหลอดเลือดแข็งตัว ลดไขมัน และน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ทั้งนี้ยังมีรายงานระบุว่า มีการทดสอบพบว่าเนื้อแตงโมสีแดงมีสาร citrulline น้อยกว่าเนื้อแตงโมสีเหลืองและสีส้ม [7.4, 28.5 และ 14.2 มก./ก. น้ำหนักแห้ง (dry weight) ตามลำดับ] และยังพบว่าเปลือกแตงโมมีสาร citrulline มากกว่าเนื้อแตงโม [24.7 และ 16.7 มก./ก. น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ] แต่เปลือกแตงโมมีสาร citrulline น้อยกว่าเนื้อแตงโมเล็กน้อย [1.3 และ 1.9 มก./ก. น้ำหนักเปียก (fresh weight) ตามลำดับ] ซึ่งความแตกต่างนี้มีสาเหตุเนื่องจากในเปลือกประกอบด้วยความชื้น 95% แต่เนื้อแตงโมประกอบด้วยความชื้นถึง 90%
การศึกษทางพิษวิทยาของแตงโม
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ตามตำราแพทย์แผนจีนและตำรายาไทยได้ระบุถึงผู้ที่มีอาการต่อไปนี้ไม่ควรรับประทานแตงโม เช่น ผู้ที่มีกระเพาะปัสสาวะ ม้ามไม่แข็งแรง ผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย ผู้ที่มีอาการท้องร่วงง่าย ผู้ที่มีอาการลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด และผู้ที่เพิ่งหายจากอาการป่วยหนัก นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือ ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ควรรับประทานแตงโมในปริมาณมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ เนื่องจากแตงโมมีค่าดัชนีน้ำตาล หรือ ไกลซีมิกสูง หลังรับประทานเข้าไปอาจทำให้น้ำตาลในเลือดแปรปรวน หรือ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยาก และผู้ที่แพ้พืชในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) ไม่ควรรับประทานแตงโมเพราะเป็นพืชในวงศ์เดีวกันโดยอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ ซึ่งสามารถสังเกตุได้จากอาการเช่น ลมพิษ ปากบวม หน้าบวม หายใจลำบาก หากพบอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานแตงโมและพบแพทย์ทันที
เอกสารอ้างอิง แตงโม
- ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ. แตงโม. คอลัมน์ สมุนไพร น่ารู้. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 3. กรกฎาคม 2522.
- นันทวัน บุญประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร (บรรณาธิการ). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2541.
- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. แตงโม ในผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 77-80
- เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา,เกตุอร ราชบุตร. การปลูกแตงโม. เอกสารเผนแพร่ความรู้. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 10 หน้า
- เปลือกมะม่วง แตงไทย แตงโม มีฤทธิ์ต้านภาวะ hypothyroidism. ข่าวเคลื่อนไหวสมุนไพร สำนักงานสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- เดชา ศิริภัทร. แตงโม. คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 212. ธันวาคม 2539.
- ผลของการรับประทานแตงโมต่อการตอบสนองความอิ่ม และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุรไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย (Nutritive values of Thai foods). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2535.
- กนกพร อะทะวงษา. แตงโม. ผลไม้คลายร้อน. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ผลไม้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย (ergogenic effect) ของสารสำคัญจากแตงโมและทับทิม. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- แตงโมช่วยลดการอักเสบและต้านอนุมูลอืสระ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- Tarazona-D?az MP, Alacid F, Carrasco M, Mart?nez I, Aguayo E. Watermelon juice: potential functional drink for sore muscle relief in athletes. J Agric Food Chem 2013;61(31):7522-8.
- Cutrufello PT, Gadomski SJ, Zavorsky GS. The effect of l-citrulline and watermelon juice supplementation on anaerobic and aerobic exercise performance. J Sports Sci. 2015;33(14):1459-66.
- Collins JK, Wu G, Perkins-Veazie P, Spears K, Claypool PL, Baker RA, Clevidence BA. Watermelon consumption increases plasma arginine concentrations in adults. Nutrition 2007;23:261–6.
- Shirai M, Hiramatsu I, Aoki Y, Shimoyama H, Mizuno T, Nozaki T, et al. Oral L-citrulline and transresveratrol supplementation improves erectile function in men with phosphodiesterase 5 inhibitors: a randomized, double-blind, placebo-controlled crossover pilot study. Sex Med. 2018;6(4):291-6.
- Bahri S, Zerrouk N, Aussel C, Moinard C, Crenn P, Curis E, Chaumeil JC, Cynober L, Sfar S. Citrulline: from metabolism to therapeutic use. Nutrition 2013;29(3):479-84.
- Rimando AM, Perkins-Veazie PM. Determination of citrulline in watermelon rind. J Chromatogr A. 2005;1078(1-2):196-200.
- Jourdan M, Nair KS, Ford C, Shimke J, Ali B, Will B, et al. Citrulline stimulates muscle protein synthesis at the post-absorptive state in healthy subjects fed a low-protein diet. Clin Nutr 2008;3(suppl):11–2
- Cormio L, De Siati M, Lorusso F, Selvaggio O, Mirabella L, Sanguedolce F, et al. Oral L-citrulline supplementation improves erection hardness in men with mild erectile dysfunction. Urology. 2011;77(1):119-22.