รู้เองไว้ไม่เสียหลายกับไคโตซาน

รู้เองไว้ไม่เสียหลายกับไคโตซาน

 

            อันที่จริงแล้วเรื่องราวของไคโตซาน ณ.ตอนนี้ก็เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกแล้วเพราะว่านักวิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆก็ได้ทำงานศึกษาวิจัยในเรื่องราวต่างๆของไคโตซานเพื่อที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในการใช้ประโยชน์อื่นๆ นอกจากสรรพคุณหลักๆที่เราได้รู้จักกันมาแล้ว แต่ถ้าหากจะกล่าวถึงบิดาแห่งไคโตซานแล้วต้องยกให้กับ ดร.ชิกิฮิโร่ ฮิราโน่ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเพราะได้ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องไคโตซานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 200 งานวิจัย ซึ่งนั้นก็เพียงพอที่จะทำให้เขาสามารถตอบได้ทุกข้อสงสัยและทุกรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวของไคโตซานได้อย่างชัดเจน ส่วนในเรื่องราวของการศึกษาวิจัยไคโตซานจากทั่วโลกนั้น ก็มีอยู่มากมายหลายงานวิจัย เช่น ในปี 2007 มีการศึกษาวิจัยในประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อการศึกษา ในเรื่องการลดน้ำหนัก ในเชิงระบาดวิทยาพบว่า กลุ่มที่รับประทานไคโตซานมีน้ำหนักลดลงถึง 1.7 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับประทานไคโตซาน รวมถึงงานวิจัยในประเทศฟินส์แลนด์ ซึ่งมีการวิจัยในมนุษย์ 100 คน โดยแต่ละคนมีน้ำหนักตัวต่างกันแต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 80 กิโลกรัม ต่อคน พบว่าไคโตซานสามารถลดปริมาณไขมันในร่างกายของผู้ทดลองได้ถึง 8% ภายใน 4 สัปดาห์ อีกทั้งความดันโลหิต และน้ำหนักของผู้ทดลองก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน ในเรื่องความปลอดภัยของไคโตซานนั้น มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ระบุว่าไคโตซานมีความปลอดภัยต่อมนุษย์ และหน่วยงานทางด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาก็ให้การรับรองว่า ไคโตซานนั้นปราศจากสารพิษและสารที่จะนำให้เกิดมลภาวะอีกด้วย  ทางด้านข้อแนะนำอื่นๆที่จำเป็นต้องรับรู้ก่อนการบริโภคไคโตซานก็คือ เนื่องจากไคโตซานเป็นสารที่ทำการสังเคราะห์มาจากเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสัตว์ทะเลทั้งนั้น ดังนั้นในการจะนำสารไคโตซานมาบริโภคนั้นผู้ที่แพ้อาหารทะเลจึงควรงดบริโภครวมถึงสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือเมื่อเรารับประทานไคโตซานมากจนเกินไป จะเกิดการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค ดังนั้นจึงควรรับประทานเท่าที่จำเป็นและไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ รวมถึงต้องรับประทานวิตามินที่กล่าวมาข้างต้นเสริมเข้าไปด้วย และในปัจจุบันนั้น ไคโตซานมีรูปแบบต่างๆออกมาจำหน่ายมากมาย เช่น 1.ไคโตซานแบบเกล็ด หรือแผ่นยางเล็กๆ (Flake) 2.ไคโตซานแบบผงละเอียดคล้ายๆแป้ง (micromilled powder) 3.ไคโตซานแบบสารละลายที่เหนียวหนืด (solution) 4.ไคโตซานแบบเม็ดเล็กๆ ประมาณ 300 – 500 ไมโคเมตร  (bead) ส่วนการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของไคโตซานนั้นมีอยู่ 2 วิธี คือ 1.ดูที่ลักษณะของสารไคโตซานที่แท้และบริสุทธิ์ต้องมีสีใส ไม่เหนียวหนืดเกินไป และเมื่อเปิดขวดหรือภาชนะที่บรรจุแล้วต้องไม่มีลมออกมา ถ้าหากมีลมสวนออกมานั่นแปลว่าเกิดการเน่าบูดของสารบางชนิด แสดงถึงกระบวนการสกัดไม่บริสุทธิ์ 2.การทดสอบด้วยน้ำยาล้างจาน โดยการหยอดลงไปในไคโตซานในอัตรา 1:1 หากเป็นไคโตซานบริสุทธิ์จะจับตัวกันเหมือนไข่ขาว แต่หากไม่บริสุทธิ์จะไม่มีปฏิกิริยาอะไรเกิดขึ้น นี่คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ควรทราบเกี่ยวกับไคโตซาน ซึ่งผู้เขียนคิดว่าทุกท่านควรได้รับรู้รับทราบเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้และบริโภคไคโตซานอย่างปลอดภัยและได้ผล

 

 

ไคโตซาน พริกไทยดำ เจียวกู่หลาน