ประดู่ส้ม ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ประดู่ส้ม งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ประดู่ส้ม

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กระดังงาดง ,ดู่ส้ม(ภาคกลาง),เติม,ไม้เติม (ภาคเหนือ),ดู่ส้ม,คู่ใบเปรี้ยว,ประดู่ใบเปรี้ยว(ภาคใต้),ส้มกบใหญ่,ดู่น้ำ,จันบือ,จันตะเบื่อ,ยายตุหงัน,กุตีกรองหยัน,ยายหวัน(ภาคใต้),ซิงเฟิ่งมู่,ฉงย่างมู่(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์Bischofia javanica Blume.

ชื่อสามัญJava cedar., Bishop wood

วงศ์PHYLLAN THACEAE

ถิ่นกำเนิด  ประดู่ส้มจัดเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLAN THACEAE) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วจึงมีการกระจายพันธุ์ไปยังจีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น รวมถึง หมู่เกาะแปซิฟิกไปจนถึงออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าพรุ รวมถึงในที่ชื้นทั่วไป เช่น ริมหรือริมลำธาร ถนนทั่วไป ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-1000 เมตร

ประโยชน์/สรรพคุณ ประดู่ส้มถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

มีการนำยอดอ่อนและดอกมาประกอบอาหารใต้ เช่น นำมาลวกหรือรับประทานสดกับน้ำพริก หรือนำไปหมกกับเกลือรับประทาน หรือจะนำใบอ่อนนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มรสเปรี้ยงก็ได้ ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยวและฝาดเด็กๆในชนบทนิยมนำมารับประทานเล่น และเปลือกต้นมีการนำมาใช้ย้อมสี เครื่องเรือนที่ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ เช่น กระบุง ตะกร้า กระเป๋า โดยจะให้สีชมพู นอกจานี้ยังมีการนำเนื้อมาใช้ประโยชน์เช่นกัน โดยเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลอมเหลือง เลื่อยผ่าตกแต่งขัดมันขึ้นดี จึงมีการนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำฝาพื้นกระดาน ทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องเรือนต่างๆ สำหรับสรรพคุณทางยาของประดู่ส้มนั้นตามตำรายาไทยและตำรายาพื้นบ้านได้ระบุถึงสรรพคุณเอาไว้ว่า เปลือกต้นใช้แก้ท้องเสียได้ แก้เจ็บคอ เสียงแหบ แก้บิด ท้องเดิน ช่วยลดอาการบวม ขับลมขึ้น แก้ปวดข้อปวดกระดูก เนื้อไม้ มีรสฝาดขม ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตกำเดา แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ท้องร่วง รากและเปลือก ใช้เป็นยาฟอกโลหิต แก้โลหติกำเดา ลดอาการบวม ดอกมีรสร้อนหอม ช่วยแก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ขับลม ใบช่วยแก้ตานซางในเด็ก และช่วยแก้ปอดอักเสบ แก้มะเร็งในกระเพาะอาหาร แก้ฝีหนอง ส่วนในต่างประเทศมีรายงานใช้แก้เจ็บคอ รักษาแผลในกระเพาะ แก้อาการปวดท้อง ขับพยาธิและแก้บิดมีตัว

รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้ 

  • ขับลมขึ้น แก้อาการปวดกระดูก ปวดข้อกระดูก โดยใช้เปลือกต้นหรือราก 15 กรัม นำมาดองกับเหล้าดื่มวันละเป๊ก หรือนำมาทาหรือนวดบริเวณที่ปวดก็ได้
  • แก้มะเร็งในกระเพาะอาหารหรือในทางเดินอาหาร โดยใช้ใบสด 60-100 กรัม นำมาต้มกับเนื้อรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 30 วัน หรือใช้ใบสด 60 กรัม นำมาผสมกับกาฝากลูกท้อ ยิ้ง แปะหม่อติ้ง จุยเกียมเช่า อย่างละ 15 กรัม แล้วนำมาต้มกับน้ำ 2 ครั้ง ใช้แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง ก็ได้
  • ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้โลหิตกำเดา แก้ท้องร่วงโดยนำเนื้อไม้แห้ง 10-20 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้ฟอกหิต แก้โลหิตกำเ โดยนำราก 10-18 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มก็ได้
  • ใช้แก้เจ็บคอ แก้เสียบแหบแห้ง แก้บิด แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ลดอาการบวม ขับลมชื้นโดยนำเปลือกลำต้นและใบนำมาต้มดื่ม
  • ใช้ใบสด 35 กรัม นำมาตำให้พอแหลก คั้นเอาแต่น้ำรับประทานก็ได้
  • ใช้แก้ตานซางในเด็ก แก้ปอดอักเสบ แก้ท้องร่วง โดยนำใบสด 60-100 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ขับลมขึ้นแก้อาการปวดกระดูก ปวดข้อกระดูก โดยใช้เปลือกต้นหรือราก 15 กรัม นำมาดองกับเหล้า ดื่มวันละเป็ก หรือนำมาทาหรือนวดบริเวณที่ปวดก็ได้
  • แก้มะเร็งในกระเพาะอาหารหรือในทางเดินอาหาร โดยใช้ใบสด 60-100 กรัม นำมาต้มกับเนื้อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน หรือใช้ใบสด 60 กรัม นำมาผสมกับกาฝากลูกท้อ ยิ้ง แปะหม่อติ้ง จุบเกียมเข่า อย่างละ 15 กรัม แล้วนำมาต้มกับน้ำ 2 ครั้ง ใช้แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง ก็ได้

ลักษณะทั่วไป 

            ประดู่ส้มจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดทึบมีความสูงของต้นประมาณ 10-40 เมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นได้ถึง  2 เมตร แตกกิ่งได้ตั้งแต่ระดับต่ำ และกิ่งมักคดงอ ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลอมแดง และจะมีสีน้ำตาลเข้าเมื่อมีอายุมากขึ้น เปลือกนอกบางแตกลอกเป็นแผ่นบางๆเล็กน้อย ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีชมพูถึงน้ำตาลอมแดง มียางสีแดงส่วนเนื้อไม้สีน้ำตาลอมสีเหลือง มีกลิ่นหอม แก่นมีสีแดงเข้ม  ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกแบบเรียงสลับกันบริเวณปลายกิ่ง โดย 1 ช่อใบจะมีใบย่อย 5 ใบ ก้านช่อใบรวมยาว 10-20 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีแกมไข่ โคนใบมนกว้าง 5-11 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมเมื่อใบแกจัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ส่วนก้านใบย่อยจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ แยกแขนงโดยจะออกบริเวณซอกใบ เป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีความยาว 30-50 เซนติเมตรลักษณะช่อดอกจะห้อยลง และในแต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ดอกเพศผู้ไม่มีกลีบดอก แต่จะมีกาบ และไม่มีหมอนรองดอก ส่วนดอกเพศเมียต้านบนจะหนากว่าดอกเพศผู้ ส่วนกลีบเลี้ยงมีลักษณะโค้งเข้าตรงกลาง ก้านเกสรเพศเมียสั้นปลายแยกเป็น 3 แฉกโค้งกลับ ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ แต่จะออกผลมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีส้มแกมสีน้ำตาล ภายในผลเนื้อหุ้มอยู่ และมีเมล็ดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร 3-4 เมล็ด

การขยายพันธุ์  ประดู่ส้มสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนดิ่ง แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดและการปลูกประดู่ส้มนั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดและการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมี  มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของส่วนต่างๆ รวมถึงน้ำมันจากส่วนเมล็ดของประดู่ส้มระบุว่า พบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น

  • เปลือกต้นพบสาร tannins , β-amyrin , betulinic acid, epifriedelinol , friedelinol , friedelin , luteolin , quercetin , β-sitosterol , stigmasterol , ursolic acid
  • ใบพบสาร ellagitannin (bischofianin), tartaric acid, vitamin C และสารกลุ่ม alkaloids
  • เมล็ดพบน้ำมัน 30-54% โดยน้ำมันจะมีกลิ่นหอมเป็นสีเหลืองอ่อน และพบสาร Ellagic acid และ Ursolic acid เป็นต้น

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา  มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา ของสารสกัดจากส่วนต่างๆของประดู่ส้มระบุว่า มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการอาทิเช่น มีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุว่าสารสกัดเมทานอล จากส่วนเหนือดินของประดู่ส้มมีฤทธิ์ระงับประสาทและลดความวิตกกังวล ลดการเคลื่อนไหว และเพิ่มระยะเวลาหลับ จากแบบทดสอบ และสารสกัดดังกล่าว ยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ α-amylase ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้อีกด้วย ส่วนสารสกัดจากใบและเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระในหนูทดลองโดยสามารถต้านการบวมน้ำ การเหนี่ยวนำโดย carrageenan และยับยั้ง COX‑1,  ช่วยลด iNOS/NO ในเซลล์ macrophage ผ่าน Nrf2‐TAK1 pathway  นอกจากนี้ยังสามารถช่วยละลายลิ่มเลือดได้อีกด้วย และมีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุว่าสารสกัดจากเปลือกต้นที่ประกอบไปด้วยสารต่างๆ  เช่น betulinic acid derivatives, betulonic acid ยังสามารถยับยั้ง topoisomerase II และกระตุ้น apoptosis ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (U937, K562, HL60) ได้

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดเอทานอลจากเปลือกต้นยังมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง โดยเข้าไปกระตุ้น phagocytosis macrophage และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง MCF‑7 ในหลอดทดลองโดยมีค่า (IC₅₀  362 µg/ml)

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา  มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดจากส่วนใบของประดู่ส้มในการทดสอบพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง (Nano‑formulated leaf extract)ในหนูทดลองพบว่าเมื่อให้สารสกัดทั้งในรูปแบบการป้อนและการฉีดเข้าช่องท้องในขนาดสูง พบว่าค่า AST ในตับเพิ่ม แสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษระยะยาว หากใช้ในขนาดสูงติดต่อกัน

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง  สำหรับการใช้ประดู่ส้มเป็นยาสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ นั้นควรระมัดระวังในการใช้ในขนาดที่สูง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดจากส่วนใบระบุว่า หากใช้ในขนาด/ปริมาณที่สูงและใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจะพบความเป็นพิษต่อค่าตับ ดังนั้นควรใช้ในขนาดที่พอดีที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

อ้างอิงประดู่ส้ม

  1. เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ
  2. เต็ม Java Cedar หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.หน้า48.
  3. วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540. สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์กรุงเทพฯ, 616 หน้า
  4. วิทยา บุญวรพัฒน์ ประดู่ส้ม หนังสือสารานุกรมสมุนไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย หน้า318.
  5. สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, และอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ, 978 หน้า
  6. Rajendran, R., Indra, R., & Arumugam, R. (2013). Phytochemical screening and antimicrobial activity of Bischofia javanica bark extract. Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research, 6(2), 104–107.
  7. Li Bingtao (1994). Li Bingtao (ed.). "Bischofia Bl". Flora Reipublicae Popularis Sinicae. 44 (1). Science Press. Beijing, China: 184–188.
  8. Yuliet, Y., Syafruddin, S., & Adnyana, I. K. (2022). Phytochemical profiling and biological activity of stem bark extract of Bischofia javanica Blume. Journal of Applied Pharmaceutical Science, 12(6), 123–130.
  9. Maridass, M., & Gnanavelrajah, N. (2009). Ethnomedicinal plants used by the Kanikkars of Tirunelveli District (Tamil Nadu, India). Ethnobotanical Leaflets, 13, 1198–1204.
  10. Lee, Y. M., Kim, Y. W., & Kim, H. J. (2021). Anti-inflammatory activity of Bischofia javanica leaf extract in LPS-stimulated RAW264.7 macrophages via the TAK1–Nrf2 pathway. Antioxidants, 10(6), 887.
  11. Keppel, Gunnar; Ghazanfar, Shahina A. (2011). Trees of Fiji: A Guide to 100 Rainforest Trees (third, revised ed.). Secretariat of the Pacific Community & Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit. pp. 138–9.
  12. Nwakalor, C. N., & Osuji, J. C. (2020). Toxicological effects of nanoformulated Bischofia javanica leaf extract in albino rats. Toxicology Reports, 7, 1016–1023.
  13. Hao Zheng; Yun Wu; Jianqing Ding; Denise Binion; Weidong Fu & Richard Reardon (September 2004). "Bischofia javanica (Bishop wood)". Invasive Plants of Asian Origin Established in the US and Their Natural Enemies
  14. Sutharson, L., et al. (2011). Antileukemic activity of betulinic acid derivatives isolated from Bischofia javanica. Indian Journal of Pharmacology, 43(3), 296–299.
  15. Chowdhury, M. A., Hasan, M., Parvez, G. M. M., & Islam, M. S. (2020). Pharmacological and computational investigation of Bischofia javanica leaf extract: CNS depressant, antidiabetic and thrombolytic activity. Heliyon, 6(11), e05447.