ชุมเห็ดจีน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ชุมเห็ดจีน งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ชุมเห็ดจีน

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  ชุมเห็ดใหญ่ (ไทย,ทั่วไป),เจื่อหมิงจื่อ , เจี๋ยวหมิงจื่อ,ก๊วกเหม่งจี้(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์Senna obtusifolia (L.) H.S. Irwin & Barneby

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์Cassia obtustfolia Linn.

ชื่อสามัญChinese senna , Sicklepod

วงศ์FABACEAE-CAESALPINIODEAE

ถิ่นกำเนิด  ชุดเห็ดจีนจัดเป็นพืชในวงศ์ ถั่ว (FABACEAE) ที่อยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIODEAE) ที่มีถิ่นกำเนินดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ เช่นใน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก คิวบา ไปจนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เช่นใน เวเนซุเอลา ซุรินาม โคลัมเบีย และบราซิล ส่วนในประเทศไทยปัจจุบันพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ บริเวณที่รกร้างว่างเปล่า สองข้างทางหรือตามชายป่าต่างๆ

ประโยชน์/สรรพคุณ  ในประเทศจีนมีการนำเมล็ดชุมเห็นจีนมาคั่วแล้วต้มในน้ำ ใช้ดื่มแทนชา และในบางแห่งของจีนยังมีการนำเมล็ดมาคั่วแล้วบดใช้ชงเป็นกาแฟ ส่วนในประเทศซูดาน ยังมีการนำใบของชุมเห็ดจีนมาหมักเพื่อทำเป็นอาหารที่เรียกว่า “Kawal” ใช้รับประทานแทนเนื้อสัตว์ซึ่งจะให้โปรตีนสูงสำหรับสรรพคุณทางยาของชุมเห็ดจีนนั้นตามตำรายาไทยและตำรายาจีนได้ระบุถึงสรรพคุณเอาไว้ดังนี้

  • เมล็ดมีรสขม ชุ่ม เค็ม เล็กน้อย ใช้ออกฤทธิ์ต่อตับและไต เป็นยาเย็น ใช้ลดความดันโลหิต แก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง ใช้บำรุงสายตา ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก แก้อักเสบ ตับแข็ง พุงโล แก้ฝีหนองทั้งภายในและภายนอก
  • ใบและรากใช้บำรุงสายตา แก้ตาแดง ตาเจ็บ อักเสบ แก้ตาต้อทำให้ตาสว่าง ใช้เป็นยาระบายแก้ท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อ

รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้

  • ใช้บำรุงสายตาแก้ตาเจ็บ ตาอักเสบ แก้ท้องผูก ท้องอืด ใช้เป็นยาระบาย แก้ตับอักเสบ ตับแข็ง พุงโล โดยนำเมล็ดมาคั่วให้เกรียมหรือคั่วจนกว่าเปลือกของเมล็ดจะแตกออก แล้วนำมาทุบให้แหลกหรือบดให้เป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 7-15 กรัม หรือจะนำมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก บำรุงสายตา แก้ตาแดง ตาต้อ ตาอักเสบ โดยนำรากและใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้ฝีหนองภายนอก โดยนำเมล็ดมาคั่วบดให้เป็นผง ใช้โรยแผลหนองที่เป็น

ลักษณะทั่วไป ชุมเห็ดจีนจัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนอายุ 1 ปี ลำต้นสูงได้ 0.5-2 เมตร ลำต้นกิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลเทาผิวลำต้นเกลี้ยงเกลา เมื่อต้นยังอ่อนจะมีสันตามยาว ทั้งลำต้นและกิ่งก้าน จะมีขนขึ้นปกคลุมกิ่งก้านแข็ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกก้านช่อใบมีความยาว 2.5-4 เซนติเมตร โดยใน 1 ช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 2-4 คู่ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ กว้าง 0.8-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-6.5 เซนติเมตร โคนใบมนหรือเป็นรูปลิ่มมนไม่สมมาตรปลายใบมนขอบใบเรีบ แผ่นใบสีเขียวเข้มบางเรียบไม่มีขนแต่เมื่อใบยังอ่อนจะมีขนขึ้นปกคลุมท้องใบมีสีอ่อนกว่างหน้าใบและตรงกลางใบย่อยที่ติดเชื่อมเรียงคู่กันนั้นจะมีตุ่มตาร่องน้ำหนึ่งคู่แบบแหลมๆ ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบ โดยจะออก 1-2 ดอก ดอกมีสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ ยาว 1-2 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 1 อัน และจะมีใบประดับเรียงเป็นเส้นตรงยาว 3-4 มิลลิเมตร ดอกย่อยมีก้านดอกยาว 1-2.3 เซนติเมตร ผลออกเป็นฝัก โดยฝักจะมีสีเขียวยาวและเป็นเหลี่ยม ปลายแหลมคล้ายรูปเคียว เมื่อฝักแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มและจะแตกออกยาว 15-24 เซนติเมตร และมีก้านฝักยาว 2.4 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดมีน้ำตามอมเขียว ลักษณะเป็นเหลี่ยมจำนวนมาก โดยเมล็ดจะมีขนาด 3-4 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน ด้านข้างของเมล็ดมีร่อง

องค์ประกอบทางเคมี มีรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดและส่วนใบของชุมเห็ดจีน ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญและตำรายาจีนได้ระบุถึงสรรพคุณเอาไว้ดังนี้  

ในเมล็ดพบสารกลุ่ม Anthraquinones  ได้แก่ emodin, aloe‑emodin,  chrysophanol, rhein,  physcion, alaternin, obtusifolin, aurantio‑obtusin, chryso‑obtusin และ questin       รวมถึงสารกลุ่ม Naphthopyrone และ naphthalene glycosides เช่น cassiasides B2, C2, gluco-aurantio‑obtusin, gluco‑obtusifolin  ,toralactone glycosides, lactone, Xanthone และ Rhein Kaempferol-3-diglucoside เป็นต้นส่วนในใบพบสารกลุ่ม flavonoids และ phenolics เช่น rutin, quercetin, kaempferol, catechin,ferulic acid, coumaric acid ,gallic acid และ  caffeic acid  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าส่วนรากยังพบสาร Leucopeiargondin-3-O-a-l-rhannopyranoside อีกด้วย   

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนต่างๆของชุมเห็ดจีน ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการดังนี้

ฤทธิ์ต้านอักเสบ มีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุว่า สาร Obtusifolin ที่พบในสารสกัดจากส่วนเมล็ดของชุมเห็ดจีน มีฤทธิ์ลดการแสดงออกของเอนไซม์ MMP3, MMP13, COX2, P‑P65 ที่เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวจ้องกับการอักเสบโดยผ่านยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านทาง NF‑κB pathway ในหนูทดลอง

ฤทธิ์ลดเบาหวาน มีรายงานว่าสารสกัดจากเมล็ดและใบของชุมเห็ดจีนมีฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์ α‑amylase และเอนไซม์ lipase และยังสามารถจับกรดน้ำดี จึงสามารถลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในหนูทดลองได้

นอกจากนี้สารกลุ่ม Anthraquinones ยังเข้าไปเพิ่มการทำงานของ เอนไซม์ mitochondrial dehydrogenases และ เอนไซม์ NADH oxidoreductase ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหาร เพื่อสร้างพลังงานได้อีกด้วย และยังมีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่าสารสกัดจากเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์ สามารถยับยั้งเชื้อ Staphelo coccus และ Steptro coccus และเชื้อราบริเวณผิวหนังได้ และยังมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกให้บีบตัวและมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายในสัตว์ทดลองได้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา มีรายงานการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาในหนูทดลองระบุว่า สารสกัดน้ำจากส่วนของเมล็ดชุมเห็ดจีน มีฤทธิ์ทำให้เกิด ความเป็นพิษต่อตับ โดยมีความสัมพันธ์กับโปรตีน cytokines และการส่งสัญญาณผ่าน NF‑κB pathway โดยทำให้ค่า TNF‑α ที่ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อค่าIL‑6 ที่เป็นตัวกระตุ้นการอักเสบและค่า IL‑1β ที่มีหน้านี้ตอบสนองต่อการอักเสบ เพิ่มขึ้น

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ชุมเห็ดจีนเป็นยาสมุนไพร โดยเฉพาะในรูปแบบการรับประทานเนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุว่า มีฤทธิ์ในการบีบมดลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้

            นอกจากนี้ฤทธิ์ในการขับถ่ายของชุมเห็ดจีนจะมีฤทธิ์แรงกว่าชุมเห็ดไทย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในเรื่องของปริมาณการใช้และการหลีกเลี่ยงการใช้ต่อเนื่องเป็นระยะนานจนเกินไป

อ้างอิงชุมเห็ดจีน

  1. เย็นจิตร เตชะดำรงสินคู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหาร
  2. เมตไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและพิที่สุดหน้าแรก (https://medthai.com/)/ สมุนไพร (Herb) (https://medthai.com/herb/) / ชุมเห็ดจีน
  3. วิชัย โรควิวัฒน, ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง, เย็นจิตร เตระดำรงสิน (บรรณาธิการ) ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมรารูปถัมภ์, 2550.ผ่านลึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2551
  4. Nam J. et al. “Obtusifolin…Mouse Osteoarthritis Model”, Pharmaceuticals (Basel). 2021;14(3):249.  
  5. Mohanraj K. & Karthikeyan S. “Phytochemistry & bioactivities of Senna obtusifolia”, Molecules. 2021;26(20):6252. 
  6. Xiong et al. “cisplatin hepatonephrotoxicity & obtusifolin protection”, Naunyn Schmiedebergs Arch Pharmacol. 2025. 
  7. Duke JA. “Emodin larvicidal from Cassia obtusifolia seeds”, J Agric Food Chem. 2003. 
  8. Anonymous. “Toxic anthraquinones…livestock”, World J Pharm Res. 2024.
  9. Hsu et al. “Antioxidant & anti‑infectious activities of Senna spp.”, Int J Mol Sci. 2022.