AHAs

AHAs

ชื่อสามัญ Alpha hydroxy acid

ประเภทและข้อแตกต่างสาร AHAs

AHAs (Alpha hydroxy acid) เป็นชื่อกลุ่มของสารสกัดจากธรรมชาติประเภทกรดผลไม้ โดยเป็นกลุ่มของสารที่ประกอบด้วย กรดคาบอกไซลิกแทนที่ด้วยกลุ่มไอดรอกซิลบนคาร์บอนที่อยู่ติดกัน ทั้งนี้กลุ่มสาร AHAs นี้ได้รับการจดทะเบียน เพื่อใช้ในทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผิวหนังแห้ง ลดรอยเหี่ยวย่น รักษาจุดด่างดำ จะใช้ลอกผิดมาตั้งแต่ ค.ศ.1976 แล้ว ต่อมาในปี ค.ศ.1990 จึงเริ่มใช้สาร กลุ่ม AHAs เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง สำหรับประเภทและชนิดของสารกลุ่มAHAs นั้น มีหลายชนิด เช่น (Lactic acid : C3H6O3) กรดมาลิค (Malic acid : C4H6O5) กรดซิทริค (Citric acid : C6H8O7) กรดทาร์ทาริค ( Tartaric acid:C4H6O6) แต่สารในกลุ่ม AHAs ที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือ glycolic acid และ lactic acid

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสาร AHAs

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า สารในกลุ่ม AHAs นั้น สามารถสกัดได้จากธรรมชาติโดยแหล่งของสารกลุ่มดังกล่าว คือ กรดผลไม้หลายชนิดแตกต่างกันไป อาทิเช่น glycolic acid สารได้จากน้ำอ้อย สับปะรด และองุ่นที่ยังไม่สุก lactic acid สกัดได้จากนมเปรี้ยว หรือน้ำมะเขือเทศไวน์ และ เบียร์ malic acid สกัดได้จากแอปเปิ้ล citric acid สกัดจากน้ำมะนาว และ สับปะรด tartaric acid สกัดได้จากมะขาม ผลองุ่นในเหล้า และไวน์ เป็นต้น นอกจากนี้ในผักและ ผลไม้ชนิดอื่นก็อาจพบสารในกลุ่ม AHAs เหล่านี้ได้เช่นกัน อาทิเช่น ในแครอท ส้ม ลูกพีช แตงกวา อ้อย และผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นๆ

องุ่นไม่สุก

ปริมาณที่ควรได้รับจากสาร AHAs

สำหรับปริมาณที่ควรใช้และควรได้รับของสารกลุ่ม AHAs ในส่วนของเครื่องสำอางนั้น โดยทั่วไปนักวิจัยได้แนะนำปริมาณการใช้ไว้ว่าหากเป็นครีมที่ใช้กับผิวหน้าปริมาณของสารในกลุ่ม AHAs ไม่ควรใช้เกิน 10% (ในปัจจุบันมีการใช้ตั้งแต่ 3-10%) แต่หากเป็นครีมที่ใช้กับผิวเพียงอย่างเดียวปริมาณการใช้ไม่ควรใช้เกิน 15% ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ตั้งแต่ 4-15%) ทั้งนี้สำหรับสารกลุ่ม AHAs ในโรงพยาบาลหรือคลินิกแพทย์ผิวหนังนั้น อาจจะมีความเข้มข้นสูง ถึง 30-70% โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพผิวลบริ้วรอยเหี่ยวย่นตื้นๆ รอยดำคล้ำ รอยแผลเป็นจากสิว โดยการใช้จะใช้ตามดุลยพินิจของแพทย์ผิวหนังเท่านั้น

ประโยชน์และโทษสาร AHAs

การใช้ประโยชน์ของสารในกลุ่ม AHAs นั้น อันที่จริงเริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณแล้ว โดยสตรีในยุคนั้นได้นำไวน์เก่ามาทาผิวเพื่อรักษาผิวพรรณ บางครั้งก็ใช้ผลองุ่น แตงกวา หรือ มะเขือเทศ มาทา บริเวณใบหน้าเพื่อบำรุงผิวหน้า จนมาถึงใน ค.ศ.1976 จึงมีการนำสารกลุ่ม AHAs มาใชข้ในทางการแพทย์โดยนำมา รักษาโรคผิวหนังต่างๆ มากมาย เช่น โรคผิวหนัง (Ichthyosis) การลอกผิว (Peeling) โรคผิวหนังแข็งนูน เป็นสะเก็ดจากแสงแดด (Actinic Keratosis) รักษาหูด รอยกระ สีคล้ำ มีลักษณะเป็นปื้นใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุจากแสงแดด (Solar Lentigo) และรอย เหี่ยวย่นจากแสงแดด รอยคล้ำ เป็นต้น และในสมัยปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาวิจัยพบว่าสารในกลุ่ม AHAs มีฤทธิ์เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวและช่วยในกระบวนการผลัดเซลล์ผิวโดยช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ที่ยังจับกันแน่นให้หลุดออก และทำให้มีการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน จึงมีผลทำให้ดูอ่อนเยาว์สดใสและยังสามารถเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจน และองค์ประกอบในชั้นหนังแม้ สามารถนำมารักษารอยแผลเป็นและริ้วรอยตื้นๆ ได้
           นอกจากนี้ในเครื่องสำอาง ยังได้มีการเติมสารตัวนี้ลงในเครื่องสำอาง โดยมีวัตถุประสงค์ทำให้ผิวพรรณดูอ่อนนุ่ม ลดรอยเหี่ยวย่น ซึ่งกลไกการ ออกฤทธิ์ของ AHAs เป็นตัวการสำคัญในการ ควบคุมสมดุลของความชุ่มชื้นของผิวให้เป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามสารในกลุ่ม AHAs ถูกจัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องสำอางทั่วไป แต่อยู่ในหมวดของเวชสำอาง (Cosmeceutical) ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากสารกลุ่มดังกล่าวซึมผ่านเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ และหากมีความเข้มข้นมากเกินไป ก็อาจจะเกิดผลในทางลบคือทำให้เซลล์ผิวเสื่อมเร็วขึ้น และยังทำให้ผิวหนังชั้นนอกบางลงด้วย โดยมีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารกลุ่ม สารAHAs เป็นส่วนผสมจำนวนหนึ่ง พบว่าผิวของตนไวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้น ดังนั้นทางองค์กรที่ดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค หรือได้สรุปผลในการใช้สารกลุ่มAHAs อย่างปลอดภัย โดยให้มีความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 10 และเมื่อผสมพร้อมใช้จะต้องมีค่าความเป็น กรด-ด่างไม่ต่ำกว่า 3.5 นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์นั้นยังต้องมีส่วนผสมที่ช่วยลดระดับความไวต่อแสงแดดอยู่ด้วย

โครงสร้างAHAs

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสาร AHAs

มีผลการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ของสารกลุ่ม AHAs หลายฉบับอาทิเช่น มีงานวิจัยในผู้หญิง 74 คนที่มี photodamage โดยการทา glycolic acid (8% cream เช้าเย็น ) หรือ ทา L-lactic acid (8% cream เช้าเย็น) เป็นเวลา 22 สัปดาห์ ที่หน้าและแขน พบว่า สภาพผิวหนังดีขึ้น ริ้วรอยและจุดด่างดำจางลง ผิวเรียบเนียนขึ้น และ มีการศึกษาวิจัย photodamage ทา 70% glycolic acid 4 นาทีที่ 0 และ 1 เดือน และ ทา 10% glycolic acid เช้า เย็น เป็นเวลา 2 เดือน ทำให้ริ้วรอย ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
           ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งได้ทำการวิจัยในผู้ที่มี photoaged facial skin 21 คนโดยใช้ low dose AHA lotion ทาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าทำให้ริ้วรอยเล็กๆ และริ้วรอยรอบดวงตาตื้นขึ้น ส่วนริ้วรอยลึกและจุดด่างดำไม่มีการเปลี่ยนแปลง
           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยถึงคุณสมบัติของสรกลุ่ม AHAs พบว่าสารในกลุ่ม AHAs จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างสาร hyaluronic acid เพิ่มขึ้น จึงทำให้ผิวหนังอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ทำให้ผิวเต่งตึง เรียบเนียน สดใส สีผิวจางลง รอยเหี่ยวย่นลดลง และลดการอุดตันของรูขุมขนได้

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

สำหรับการใช้สารกลุ่ม AHAs ในรูปแบบเครื่องสำอางนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้จะต้องมีค่าเข้มข้นไม่เกิด 10% และความเป็นกรดด่าง (PH) ระดับ 3.5-5.5 และควรใช้ร่วมกับครีมกันแดดสารกัดแดด เพราะผิดอาจเกิดอาการไวต่อแสงได้ สำหรับอาการไม่พึงประสงค์หลังจากการได้รับสาร AHAs นั้นมีรายงานว่าการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกลุ่ม AHAs มีผลทำให้ผิวหน้ามีความไวต่อแสงอัลตราไวโอเล็ด ทำให้เกิดอาการแสบ มีผื่นคัน หรือ ระคายเคืองมากกว่าปกติ เนื่องจากสารกลุ่ม AHAs ทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกสุดหลุดลอกออกไปได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ในขณะที่เซลล์ชั้นล่างซึ่งยังอยู่ในสภาพดีเลื่อนขึ้นมาแทน และเมื่อใช้ไปนานๆ อาจทำให้ผิวหนังชั้นนอกบางลง และทำให้ภูมิต้านทาน หรือ ความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกลดน้อยลง
           นอกจากนี้ในบางประเทศถือว่าสารกลุ่ม AHA เป็นยาเหมือนกรดวิตามิน เอ ซึ่งต้องให้แพทย์เท่านั้นเป็นผู้ตรวจและสั่ง ยา เพราะเชื่อว่า AHA เป็นสารซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างและหน้าที่ของผิวหนังอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง AHAs

⦁ พรพรรณ สุนทรธรรม, อะไร คือ AHAs, วารสารอาหารและยาหน้า 14-23
⦁ คู่มือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสาร Alpha hydroxy acids (AHAs), กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.8 หน้า
⦁ Diffey BL. Human exposure to ultraviolet radiation. In: Hawk JLM, ed. Photodermatology. London: Arnold, 1999.
⦁ Piamphongsant T. Practical dermatology2002. 1st ed. Bangkok: Year Book Publisher;2002. p. 297-309.
⦁ The Merck Index, 14th Edition., Merck Co., Inc USA 2006. P.389,777,987,1,558.
⦁ Moy LS, Howe K. Derm Surg 1996; 22: 435-441.
⦁ Fuchs J. Potentails and limitation of the natural antioxidants RRR-alpha-tocopherol, l-ascorbic acid and beta-carotene in cutaneous photoprotection. Free Radic Biol Med 1998; 25: 848-873.
⦁ Report of the 10th Meeting of the ASEAN COSMETIC COMMITTEE.25-26 June 2006,Indonesia
⦁ Pirard GE, Kligman AM, Stodemayer T. Dermatology 1999; 193: 50-53.
⦁ Frances C. Clin Dermatol 1998; 16: 565-570.