เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
เทียนตั๊กแตน (ผักชีลาว) งานวิจัยและสรรพคุณ 38 ข้อ
ชื่อสมุนไพร เทียนตาตั๊กแตน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ผักชีลาว (ทั่วไป), หอมน้อย, ผักจีโอ๋ (ภาคเหนือ), ผักชีเมือง (น่าน), ผักชี (ขอนแก่น, เลย), ผักชีตั๊กแตน (พิจิตร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum gmveolens Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Anethum arvense Salisb., Angelica graveolens (L.) Steud., Ferula graveolens (L.) Spreng., Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz, Selinum graveolens (L.) Vest
ชื่อสามัญ Dill, European Dill, American Dill
วงศ์ Umbelliferae
ถิ่นกำเนิดเทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทวีปเอเชีย เช่น สเปน, ฝรั่งเศส, กรีซ, เลบานอน, ซีเรีย.อิสราเอล เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำมาปลูกแพร่หลายในประเทศเยอรมันนี อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ปัจจุบันมีการนำมาปลูกกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศเยอรมัน อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ฯลฯ
สำหรับในประเทศไทยก็มีการนำเข้ามาปลูก และสามารถปลูกได้ผลดี เช่นกัน โดยนิยมปลูกไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพร และปลูกไว้รับประทานเป็นผักพื้นบ้าน แต่เนื่องจากมีกลิ่นหอมแรง และมีกลิ่นเฉพาะตัว จึงยังเป็นที่นิยมของคนในบางพื้นที่เท่านั้น โดยเฉพาะคนอีสาน และคนภาคเหนือในบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆ ความนิยมยังมีน้อย
ประโยชน์และสรรพคุณเทียนตาตั๊กแตน
- ใช้เป็นยาขับลม
- บำรุงกำลัง
- บำรุงธาตุ
- ช่วยย่อยอาหาร
- แก้เสมหะ
- แก้โรคกำเดา
- ช่วยระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ
- แก้เส้นท้องพิการ
- แก้นอนสะดุ้ง คลุ้มคลั่ง
- ช่วยเพิ่มปริมาณการหายใจ
- ช่วยลดความดันโลหิต
- แก้ไข้
- แก้สะอึก
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- แก้คลื่นไส้อาเจียน
- แก้เจ็บตา
- แก้ปวดท้อง
- แก้บวม
- แก้เหน็บชา
- มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อกลากเกลื้อน
- แก้ท้องอืดเฟ้อ
- แก้ไอ
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยลดไขมัน
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- ช่วยฆ่าเชื้อบิด
- ช่วยฆ่าเชื้อที่ทำให้ท้องเสีย
- บำรุงปอด
- แก้ลมวิงเวียน
- ช่วยในการทำงานของกระเพาะอาหาร ม้าม และตับราก
- แก้ระคายคอ
- รักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต
- แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น
- แก้คลื่นเหียน
- แก้ลมจุกแน่นในท้อง
- แก้ท้องอืด ท้องเพ้อ
- รักษาไส้ติ่งอักเสบ
เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) เป็นผักพื้นบ้านในตระกูลเดียวกันกับผักชี นิยมรับประทานมากของชาวอีสาน และชาวเหนือบางพื้นที่ รวมไปถึง และประเทศเพื่อนบ้านในฝั่งลาว โดยใช้ใบมาใส่อาหาร ส่วนยอดของใบใช้เป็นผักกับนอกจากนี้ยังช่วยชูรสชาติอาหารอีกด้วย (เมล็ด) นิยมนำมาบดโรยบนมันฝรั่งบด หรือ สลัดผักเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร ใบสด และแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว น้ำมันหอมระเหย และยังสามารถนำมาผลิตใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุสาหกรรมเครื่องสำอาง นำมาใช้แต่งและเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าได้อีกด้วย ประเทศทางตะวันตก ยังใช้เทียนตาตั๊กแตนมาทำน้ำมันสกัดออกมาจากเมล็ดใช้เตรียมเป็นยาที่เรียกว่า น้ำหอมปรุง, น้ำมันดิลล์ (dill water) หรือ ไกรวอเตอร์ (gripe water )
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ในการใช้เพื่อสรรพคุณตามตำรายาไทย หากใช้เป็นแบบผงให้ใช้ในขนาด 1-4 กรัม นอกจากนี้ยังมีรูปแบบ และขนาดการใช้ตามตำรายาอื่นๆ อีกเช่น ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว หรือ จะใช้ต้นสดนำมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วใช้รับประทาน แก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสด หรือ ยอดอ่อนนำมาต้มกิน หรือ ใช้ประกอบอาหารรับประทาน แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา รักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินดื่ม รักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง
ลักษณะทั่วไปเทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) จัดเป็นพืชล้มลุก อายุ 1-2 ปี ลำต้นเรียบ และตั้งตรง สีเขียวอ่อน แตกกิ่ง ทั้งต้นมีกลิ่นหอม สูง 40-170 เซนติเมตร มีข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน มีกาบใบหุ้มลำต้นเล็กน้อย ราก ประกอบด้วยรากแก้วที่มีขนาดสั้น และรากแขนงแตกออกจากรากแก้ว มีความยาวรากประมาณ 10-20 ซม. รากแทงลงในแนวดิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ใบรูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ สีเขียวสด เมื่อดูแนวรูปใบโดยรวม มีขนาดกว้าง 11-20 เซนติเมตร ยาว 10-35 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกเป็นแฉกแบบขนนกหลายชั้น แฉกย่อยที่สุดมีลักษณะแคบยาวเป็นริ้ว กว้างน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ยาว 4-20 มิลลิเมตร ก้านใบยาว 5-6 เซนติเมตร แผ่เป็นกาบ ดอก มีสีเหลือง ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกซี่ร่มหลายชั้นหลวมๆ ก้านช่อดอกยาว 7-16 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก หรือ ไม่มี กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดบนฐานดอก เรียงสลับกับกลีบดอก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง ผล เมื่อแก่แห้งไม่แตก รูปรี สีน้ำตาลอมเหลือง ขนาดกว้างราว 2 มิลลิเมตร ยาวราว 4 มิลลิเมตร ผิวเรียบ คล้ายตาตั๊กแตน
การขยายพันธุ์เทียนตาตั๊กแตน
เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยมีวิธีการดังนี้ เตรียมดินด้วยการพรวนดิน และยกร่องแปลงให้สูงเล็กน้อย หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ตารางเมตร และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ ใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 1 กำมือ/ตารางเมตร แล้วค่อยพรวนดินให้เข้ากัน แล้วโรยเมล็ดผักชีลาว อัตรา 2 กำมือ/ตารางเมตร หรือ จะหลอดเมล็ดโดยการ วัดระยะห่างของหลุมประมาณ 15x15 เซนติเมตร ใช้ไม้ขีดเป็นตารางให้เท่าๆ กัน ใช้ไม้หรือนิ้วจิ้ม แล้วหยอดเมล็ดลงตามตารางที่ขีดไว้ เสร็จแล้วจึงใช้ดินกลบ แล้วคลุมด้วยฟางบางๆ หรือ ไม่คลุมก็ได้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
องค์ประกอบทางเคมี
ในน้ำมันระเหยง่ายที่ได้จากเทียนตาตั๊กแตนเรียกว่าน้ำมันเทียนตาตั๊กแตน (dill seed oil) ร้อยละ 1.2-7.7 น้ำมันระเหยง่ายนี้มีองค์ประกอบหลักทางเคมีเป็น สารกลุ่มคาร์โวนประมาณ 35-60% , (+)-d-limonene (10%) และ α-phellandrene (6%), α-terpinene (6%), isoeugenol (2.3%) และพบสารคูมาริน, ฟีนิลโพรพานอยด์, แซนโทน, ฟลาโวนอยด์ ตัวอย่าง dihydrocarvone (12%), carvone (34.5%), carvelol (4%), dihydrocarvecrol (3.5%), petroselinic acid, vicenin, fatty acids, oilgomycin A and C, β-phellandrene, β-myrcene, 3, 6-dimethyl-3a,4,5,7a-tetrahydrocoumaran, 3, 6-dimethylcoumaran, flavonol glycosides, persicarin, quercetin-3-sulphate, kaemferol, dillanoside, methyl benzoate, 1,5-cineole, p-cymene, safrole, α-pinene, imporatorin, umbelliprenin, bergapten, 4-methylesculetin, umbelliferone, scopoletin, esculetin, anethofuran
รูปภาพองคืประกอบทางเคมีของเทียนตาตั๊กแตน
ที่มา : Wikipedia
นอกจากนี้ใบเทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) สดยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาว 100 กรัม
- พลังงาน 43 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม
- เส้นใย 2.1 กรัม
- ไขมัน 1.1 กรัม
- โปรตีน 3.5 กรัม
- วิตามินเอ 7,717 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.1 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.3 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 1.6 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 5 0.4 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.2 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 150 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 12 0 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 85 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 208 มิลลิกรัม
- เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 55 มิลลิกรัม
- แมงกานีส 1.3 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 738 มิลลิกรัม
- โซเดียม 61 มิลลิกรัม
- สังกะสี 0.9 มิลลิกรัม
- ทองแดง 0.14 มิลลิกรัม
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว)
ฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหาร: สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารจากการถูกทำลายด้วยกรดเกลือ และแอลกอฮอล์ โดยมีผลลดการหลั่งกรด และปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ: น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งสารสำคัญ คือ carvone
ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น: สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้ดี
ฤทธิ์ต่อระบบฮอร์โมนเพศหญิง: สารสกัดน้ำและสารสกัดแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้รอบเดือนมาปกติ
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง: น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็ง สารสำคัญ คือ anethofuran, carvone และ limonene น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเม็ดเลือดขาวของคนในหลอดทดลอง
นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ระบุถึงเทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอีกมากมาย เช่น ขับลม แก้ไอ แก้ปวดท้อง ต้านเชื้อรา ยับยั้งการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ฆ่าตัวอสุจิในหลอดทดลอง ฆ่าเชื้อบิดมีตัว และเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย
การศึกษาทางพิษวิทยาของเทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว)
สารสกัดน้ำ และสารสกัดแอลกฮอล์-น้ำ มีผลก่อกลายพันธุ์ สารที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ คือ Iso-rhamnetin 3-sulfate (persicarin) และ quercetin 3-sulfate แต่การให้เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) ปริมาณ 33% ใน อาหารเป็นเวลา 410 วัน ไม่พบการก่อเกิดมะเร็งในหนูและเมื่อใช้น้ำมันในความแรง 5% ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูตะเภาขนาด 35 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาการแพ้ถึงขนาดหมดสติ
ส่วนการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 2,500 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในการใช้เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) เพื่อเป็นอาหารคงไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นการรับประทานแบบสดและรับประทานในปริมาณที่พอดี ส่วนในการใช้เพื่อต้องการสรรพคุณทางยานั้น ก็ควรใช้ในปริมาณที่พอดี ไม่ใช้มากเกินกว่าที่ระบุในตำรับยาต่างๆ และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานอนจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวสตรีมีครรภ์, สตรีให้นมบุตรหรือผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว) รวมถึงผู้ที่แพ้พืชตระกูลนี้ควรปรึกษาแพทย์ หรือ ผู้เชียวชาญก่อนใช้เช่นกัน
เอกสารอ้างอิง เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว)
- เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ. (2548). เครื่องปรุงในอาหารไทย. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนโบราณ.
- ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2554. ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิด ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1-4 ก.พ. 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 419-428
- รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ชี, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 4, หน้า 1880-1881).กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
- ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.
- ผักชีลาว. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=171
- ผักชีลาว สรรพคุณและการปลูกผักชีลาว.พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
- เทียนตาตั๊กแตน. ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=70
- Medicinal Plants Of Vietnam, Cambodia And Lao, Nguyen Van Duong, Library of Congress, 1993.
- Pamela Westland, The Herb Hand Book, The Apple Press Singapore, 1991.