สารออกฤทธิ์ในเห็ดหลินจือ

สารออกฤทธิ์ในเห็ดหลินจือ

     สมุนไพรในแต่ละตัวที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น ล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างทางเคมีของตนเองโดยเฉพาะ โดยอาจจะมีซ้ำกันบ้างในสารออกฤทธิ์บางตัวแต่มักจะมีสารที่เป็นเอกลักษณ์ของสมุนไพรเหล่านั้นที่ไม่เหมือนใคร อาทิเช่น ในส้มแขกจะมีสาร HCA ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติยับยั้ง เอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต รวมถึงสารสกัดจากเมล็ดองุ่นที่มีสาร OPCѕ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ว่ากันว่าช่วยในการรักษาโรคหัวใจ รวมไปถึงโรคมะเร็ง และยังมีคุณสมบัติช่วยทำให้ผิวหน้าเต่งตึงอีกด้วย ส่วนในเห็ดหลินจือนั้นก็มีสารต่างๆอยู่มากมายเช่นกัน แต่ว่าจะเป็นสารอะไรบ้างที่มีในเห็ดหลินจือนั้น เราไปทำความรู้จักสารพวกนี้พร้อมกันเลยนะครับ   โดยในที่นี้ผู้เขียนจะขอแบ่งสารที่พบในเห็ดหลินจือนี้เป็น 2 ประเภท  คือ ประเภทที่ 1.สารที่พบในเห็ดหลินจือ ด้านโภชนาการ ในทางด้านนี้ในเห็ดหลินจือ จะพบสารประเภทโปรตีน ไขมัน เส้นใย(fiber) คาร์โบไฮเดรต  ในส่วนวิตามินและเกลือแร่ในเห็ดหลินจือ(100 กรัม) จะพบสารประเภท แคลเซียม 832 มิลลิกรัม เหล็ก 82 มิลลิกรัม โซเดียม 375 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 1030 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 1030 มิลลิกรัม โปรแตสเซียม 3590 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 3.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 17 มิลลิกรัม วิตามินบี 6  0.7 มิลลิกรัม ไนอะซิน 62 มิลลิกรัม โคลีน 1150  มิลลิกรัม  2.สารที่พบในเห็ดหลินจือด้านที่มีผลต่อการบำบัดและรักษาโรค  โดยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ สารประเภทที่ละลายน้ำ 30%  สารละลายอินทรีย์ 65%  สารละเหย 5%  ซึ่งจะมีสารสำคัญๆ ดังนี้ กลุ่มโพลีแซคคาไรด์ ประกอบด้วย โพลีแซคคาไรด์  A,B,C,D,E,G,H รวมถึงโพลีแซคคาไรด์อื่นๆอีก  กลุ่มไตรเทอปีนอยส์ ที่ทำให้เห็ดหลินจือมีรสขม ได้แก่ กรดกาโนเดอร์ค กรดลูซิเดนิค ลูซิโตน ไกลโคโปรตีน จะเห็นได้ว่าเห็ดหลินจือถึงมีราคาแพง และเป็นที่ต้องการของผู้ที่สนใจด้านสมุนไพรและผู้ที่ต้องการใช้เพื่อบำรุงสุขภาพรวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการนำมาบำบัดรักษาโรค ส่วนสารออกฤทธิ์ในแต่ละตัวที่กล่าวมานี้มีสรรพคุณรักษาโรคใด หรือเข้าไปทำปฏิกิริยากับร่างกายของมนุษย์อย่างไรนั้น ในตอนหน้าจะมาเฉลยนะครับ

 

 

เห็ดหลินจือ กระชายดำ กวาวเครือแดง