(อิทธิ) ฤทธิ์และความเป็นพิษของกระชายดำที่คุณควรรู้

(อิทธิ)ฤทธิ์และความเป็นพิษของกระชายดำที่คุณควรรู้           

ในสังคมของไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตได้ว่าจะมีเรื่องราวความเชื่อ เกี่ยวข้องกันมากับวิถีชีวิตของคนไทยในแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม , ศาสนา , วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่ในระยะหลังมานี้ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวิถีชีวิตของคนไทยสังคมไทยเรา ความเชื่อบางเรื่องถูกท้าทายด้วยวิทยาศาสตร์ และข้อมูลสำคัญทางวิทยาศาสตร์ , การทดลองต่างๆ ก็สามารถนำมาหักล้างความเชื่อของคนไทยในหลายๆเรื่องได้ แต่ว่าแม้ความเชื่อเหล่านั้นจะถูกวิทยาศาสตร์หักล้างได้แล้วแต่ก็จะมีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งก็จะยังคงเชื่อในสิ่งที่เขาเชื่อนั้นโดยไม่สนใจในข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดในเรื่องนั้นๆ รวมถึงยังมีความเชื่ออีกจำนวนหนึ่งที่วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถระบุและหักล้างได้  ดังนั้นวิถีความเชื่อต่างๆ นั้นก็จะยังมีอิทธิพลกับสังคมไทยในปัจจุบันอยู่  ในเรื่องสมุนไพรในอดีตก็เช่นกัน ก็ถูกบอกเล่าสืบต่อจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ว่าสมุนไพรตัวนั้นใช้รักษาโรคนั้น ตัวนี้ใช้รักษาโรคนี้ โดยไม่ได้มีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านเภสัชวิทยา และพิษวิทยา แต่อย่างใด อย่างเช่น ไพล ใช้ถูท้อง หรือต้มให้แม่และเด็กกินจะแก้ท้องอืดในเด็ก ทำให้เด็กที่กินนมแม่ท้องไม่อืด ว่านชักมดลูกเมื่อต้มให้หญิงที่คลอดลูกใหม่ๆดื่ม เพื่อขับของเสียออกเร็วๆ และทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว เป็นต้น

       ซึ่งผู้คน ในอดีตนั้นอาจจะลองผิดลองถูก มาแล้วเมื่อใช้ได้ผลจริงจึงบอกต่อกันมา แต่ในปัจจุบันที่มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และวงการแพทย์ที่ก้าวหน้านั้นสามารถทดลองและวิจัยสมุนไพรถึงสรรพคุณ เภสัชวิทยา และ พิษวิทยาได้โดยแม่นยำและได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของโลก จึงทำให้การใช้สมุนไพรในปัจจุบันนั้นปลอดภัย เพราะมีข้อมูลการวิจัยในด้านต่างๆ อย่างครบครัน ในที่นี้เราจะกล่าวถึง “กระชายดำ” สมุนไพรตัวท๊อปของไทย โดยเราจะมาดูว่า ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และพิษวิทยา ของกระชายดำ นั้น มีอะไรบ้างที่เด่นชัด โดยจากการทดลองวิจัยกระชายดำ จากข้อมูลหลายๆ แหล่งที่พอจะรวบรวมได้นั้น มีดังนี้ กระชายดำมีสารต่างๆ ในเหง้า คือ มีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วยสารต่างๆ อาทิ camper bomeol  zingiberene และยังพบสาร flavonoids anthocyanin trimethoxyflarone ฯลฯ ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ของ กระชายดำนั้น แบ่งได้ คือ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่า สาร 5,7 ได้เมธอกซีพลาโวน ในกระชายดำ สามารถต้านการอักเสบได้โดย สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่า สาร trimethoxyflavone และ tetamethoxyflavone ในกระชายดำ สามารถต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ชนิด PF. และยังสามารถต้านเชื้อ canolida albicans และ mycobacterium ได้

       ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง พบว่า สารสกัดกระชายดำนั้น พบว่ามีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูทดลองและทำให้ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดในคนได้

ส่วนในการศึกษาความเป็นพิษของกระชายดำนั้น พบว่า การศึกษาพิษเรื้อรัง หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดกระชายดำ มีน้ำหนักและสุขภาพเป็นปกติเหมือนกับหนูทดลองกลุ่มควบคุม แต่มีเม็ดเลือดขาวบางชนิดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแต่อยู่ในช่วงค่าปกติอยู่  และผลการตรวจจุลพยาธิวิทยาไม่พบการเปลี่ยนแปลง ที่จะสามารถบ่งชี้ว่า เกิดจากความเป็นพิษ สารสกัดกระชายดำ

       นี่เป็นเพียงงานศึกษาทดลองและวิจัยกระชายดำบางส่วนเท่านั้น ในการศึกษาทดลองของนักวิจัยต่างประเทศในกระชายดำยังมีอีกหลายชิ้นที่ยากเกินจะหยิบยกมาให้หมด แต่ถึงแม้จะมีงานวิจัยที่ระบุว่ากระชายดำไม่ก่อให้เกินความเป็นพิษ แต่ก็ยังไม่มีผลการวิจัยในคน  ดังนั้นควรรับประทานให้พอเหมาะ และไม่ควรบริโภคต่อต่อกันเป็นเวลานานเกินไป

 

 

กระชายดำ กวาวเครือแดง กวาวเครือขาว