โอเมก้า 6

โอเมก้า 6

ชื่อสามัญ Omega-6 fatty acid

โอเมก้า 6

ประเภทและข้อแตกต่างโอเมก้า 6

โอเมก้า 6 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยจัดเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็น (Essential fatty acid) ต่อร่างกายมนุษย์ และยังเป็นหมู่กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated fatty acid) PUFA เช่นเดียวกันกับโอเมก้า 3 แต่จะมีความแตกต่างกัน คือ โอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 6 จากปลาย ด้านเมทธิล (CH3-) ส่วนชนิดของกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า 6 นั้น มีอยู่หลายชนิดดังตาราง

ชนิดกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า-6

โอเมก้า 6

           แต่ชนิดที่มีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายมีอยู่ 2 ชนิด คือ กรดไขมันเออาร์เอ (Arachidonic acid) มีสูตรทางเคมี คือ C20H30O2 เป็นกรดไขมันที่สร้างมาจากกรดไขมันไลโนเลอิก และเป็นสารเริ่มต้นของ Eicosanoids อาทิเช่น Thromboxanes A2 ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดเกาะกลุ่ม

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาโอเมก้า 6

สำหรับลุ่มกรดไขมันโอเมก้า 6 นั้นจัดเป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกายที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ เพราะขาดเอนไซม์ 12 desaturase ในการเปลี่ยน oleic acid ไปเป็น linoleic acid จึงทำให้ต้องได้รับกรดไขมันโดยตรงจากการบริโภคอาหารเท่านั้น ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของกลุ่มกรดโอเมก้า 6 นั้น พบมากในน้ำมันพืชขนิดต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย
           นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในแหล่งอาหารอื่นๆ อีกเช่น เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ ธัญพืช ต่างๆ และเนย เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการนำเอากรดไขมัน โอเมก้า 6 มาผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นมผงสำหรับเด็กและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ อีกด้วย

โอเมก้า 6

ปริมาณที่ควรได้รับโอเมก้า 6

มีรายงานการศึกษาในการบริโภคกรดโอเมก้า 6พบว่าสัดส่วนที่เหมาะสมและสมดุลในการบริโภคกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 ต่อโอเมก้า 3 คือไม่เกิน 5:1 เพราะหากปริมาณการบริโภคกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 ไม่สมดุลก็จะทำให้ร่างกายทำการเปลี่ยนกรดไขมัน arachidonic acid ไปเป็น linoleic acid อย่างรวดเร็วทำให้เกิดประกอบ Pro-inflammatory มากขึ้นส่งผลให้เกิดสาร thromboxane ที่มีหน้าที่กระตุ้นการสะสมของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงและอาจจะทำให้เกิดหัวใจวายได้ ซึ่งในปัจจุบันมีรายงานว่าการบริโภคกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 ที่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงโรคหัวใจ และมะเร็งได้อีกด้วย

ประโยชน์และโทษโอเมก้า 6

สำหรับประโยชน์ของกรดโอเมก้า 6 นั้น จากรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าลดการแข็งตัวของเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด เสริมสร้างหลอดเลือดที่หัวใจให้เป็นปกติ ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ลดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง และลดการแข็งตัวของเยื้อหุ้มเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะมีผลทำให้สมองได้รับออกซิเจนมากขึ้นได้
           นอกจากนี้กรดไขมัน arachidonic acid, ARA ยังมีบทบาทในการสร้างและการเก็บความจำระยะยาวของทารกซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ และยังช่วยเพิ่มความไวของการรับแสง และความสามารถในการมองเห็น อีกทั้งกรดไขมันเออาร์เอยังเป็นส่วนประกอบหลักของซินแนปซ์หรือจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลส์ประสาท และมีบทบาทเป็นตัวนำข้อมูลตรงรอยต่อของซินแนปซ์และภายในเซลส์ และยังสามารถช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาทของทารกเพื่อนำข้อมูลมาเก็บไว้ในสมอง ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้และความจำในระยะยาวต่อไป

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโอเมก้า 6

มีผลการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาของกรดไขมันโอเมก้า 6 พบว่าเป็นสารตั้งต้นของการสร้างสารพรอสตราแกลนดิน PG1 ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ คือ ลดการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และลดการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดลดน้อยลง ช่วยลดอาการปวด และอาการอักเสบต่างๆ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (low density lipoprotein, LDL) แต่เพิ่มลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (high density lipoprotein, HDL) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิวหนัง และยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลด และชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ลดอาการแทรกซ้อนทางประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยลดอาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์ และสตรีวัยทอง และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย
           นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่า การบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ที่ออกซิไดซ์แล้ว ดังที่พบในน้ำมันพืชต่างๆ ในจำนวนที่มากเกินไป อาจเพิ่มโอกาสให้หญิงหลังวัยหมดระดูเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากได้

โอเมก้า 6

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ถึงแม้ว่ากรดไขมันโอเมก้า 6จะให้ประโยชน์กับสุขภาพมากมายหลายประการ แต่ในการที่จะได้ประโยชน์ต่างๆ นั้นต้องขึ้นอยู่กับการบริโภคที่เหมาะสม เพราะหากบริโภคมากจนเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า การบริโภคกรดไขมันโอเมกา 6 ในระดับสูงเกินกว่าอัตราส่วนที่แนะนำของโอเมก้า 6 ต่อโอเมก้า 3 (5:1) โดยเฉพาะโอเมก้า 6 ได้จากน้ำมันของเมล็ดพืช อาจเพิ่มโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้

เอกสารอ้างอิง โอเมก้า 6

⦁ พิทักษ์ สูตอนันต์. (2552). ชีวเคมีทั่วไป. ชลบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยบูรพา.
⦁ พัชรี บุญศิริ, เปรมใจ อารีจิตรานุสรณ์ และอุบล ชาอ่อน. (2551). ตำราชีวเคมี (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
⦁ Omega-6 fatty acid /กรดโอเมก้า 6 Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.foodnetworkSolution.com/wili/word/2076/omega-6-fathy-acid
⦁ Abbey, M., & Nestel, P. J. (1994). Reduction of blood pressure and plasma triglycerides by omega 3 fatty acids. J Hypertens, 1041 – 1045
⦁ Cranmer-Byng, M. M., Liddle, D. M., De Boer, A. A., Monk, J. M. and Robinson, L. E. 2015. Proinflammatory effects of arachidonic acid in alipopolysaccharide-induced inflammatory microenvironment in 3T3-L1 adipocytes in vitro. Appl. Physiol. Nutr. Metab. 40: 142–154.
⦁ Albert, C. M., & Hennekens, C. H. (1998). Fish consumption and risk of sudden cardiac death. JAMA, 279 (1), 23 – 28
⦁ Wijendran, V. and Hayes, K. C. 2004. Dietary n-6 and n-3 fatty acid balance and cardiovascular health. Annu. Rev. Nutr. 24: 597-615.
⦁ Adler, A. J., & Holub, B. J. (1997). Effect of garlic and fish - oil supplementation on serum lipid and lipoprotein concentrations. Am J, Clin Nutr.
⦁ Yong Q. Chen, at al; Min; Wu; Wu; Perry; Cline; Thomas; Thornburg; Kulik; Smith; Edwards; d'Agostino; Zhang; Wu; Kang; Chen (2007). ⦁ "Modulation of prostate cancer genetic risk by omega-3 and omega-6 fatty acids". The Journal of Clinical Investigation. 117 (7): 1866–75. ⦁ doi:⦁ 10.1172/JCI31494. ⦁ PMC ⦁ 1890998. ⦁ PMID ⦁ 17607361.
⦁ Haz, L., Arringa, M. D., Cambero, I. and Ordonez, J. A. 2004. Development of an n-3 fatty acid and α- tocopherol enriched dry fermented sausage. Meat Sci. 67: 485-495.
⦁ Okuyama, H.; Ichikawa, Y.; Sun, Y.; Hamazaki, T.; Lands, W. E. M. (2006). "ω3 Fatty Acids Effectively Prevent Coronary Heart Disease and Other Late-Onset Diseases - The Excessive Linoleic Acid Syndrome". ใน Okuyama, H. (บ.ก.). Prevention of Coronary Heart Disease. World Review of Nutrition and Dietetics. pp. 83–103. ⦁ doi:⦁ 10.1159/000097809. ⦁ ISBN ⦁ 3-8055-8179-3. ⦁ PMID ⦁ 17167282.