แคลเซียม

แคลเซียม

ชื่อสามัญ Calcium

ประเภทและข้อแตกต่างแคลเซียม

แคลเซียม Calcium เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลสีเทาอ่อน และอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุ ที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก สำหรับในร่างกายมนุษย์แคลเซียมจัดเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย ที่มีหน้าที่หลัก คือ รักษาความแข็งแรง และรูปร่างของกระดูก และยังมีความสำคัญต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายอีกมากมายหลายประการ ส่วนประเภทของแคลเซียมนั้น ในปัจจุบันมีการผลิตแคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีข้อแตกต่างกันตรงรูปเกลือที่มีปริมาณธาตุแคลเซียม และการละลายน้ำมาก-น้อยต่างกัน เช่น ประเภท และปริมาณธาตุ แคลเซียม

ประเภทเกลือแคลเซียม

มิลลิกรัม/กรัม

Mg/g

แคลเซียม มิลลิอิควิวาเลนต์/กรัม

mEg/g

ปริมาณธาตุแคลเซียม

(%)

Calcium carbonate

400

20

40

Calcium citrate

211

10.5

21.1

Calcium glubionate

65

3.2

6.5

Calcium gluconate

90

4.5

9

Calcium lactate

130

6.5

13

Calcium phosphate

 

 

 

Dibasic

230

11.5

23

tribasic

380

19

38

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาแคลเซียม

ในร่างกายมนุษย์ ร้อยละ 98 ของแคลเซียมจะอยู่ในกระดูก และฟัน โดยแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกจะอยู่ในรูปของไฮดรอกซีอะพาไทต์ (hydroxyapatite) ดังนั้นกระดูกจึงเป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่สำคัญที่ช่วยรักษาระดับแคลเซียมในเลือดให้คงที่ ส่วนอีก 2% จะพบในเลือด และเนื้อเยื่อบางชนิด แต่อย่างไรก็ตามการที่ร่างกายจะได้รับแคลเซียมมาใช้งานนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารที่รับประทาน โดยอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมนั้น พบว่าน้ำนม และผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งอาหารแคลเซียมที่ดีที่สุด เพราะมีปริมาณแคลเซียมสูง และแคลเซียมจากน้ำนมก็สามารถดูดซึมได้ดีมาก หากดื่มนมโคไม่ได้ก็สามารถดื่มนมถั่วเหลืองที่เสริมแคลเซียม โยเกิร์ต นมเปรี้ยวแต่ทั้งนี้นมถั่วเหลืองมีปริมาณแคลเซียม ไม่มากนัก

แคลเซียม

           ส่วนพืชเมล็ด เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง และงา ก็มีแคลเซียมอยู่ปานกลางถึงสูงแตกต่างกันไปแต่ในกลุ่มนี้ก็มีไฟเตท (phytate) ที่อาจจะขัดขวางการนำแคลเซียมไปใช้ และผักใบเขียวที่เป็นแหล่งของแคลเซียมที่สำคัญมีแคลเซียมปานกลางถึงสูง และออกซาเลตต่ำ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ขี้เหล็ก ตำลึง บัวบก ถั่วพู

          นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มีแคลเซียมสูง (เกิน 50 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม) ประเภทพืช ได้แก่ รำข้าว กลอย มันเทศ สาคูเม็ดงาดำ งาขาว ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เต้าหู้ทุกชนิด รวมทั้งฟองเต้าหู้ ถั่วแขก ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแปบ ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วแระถั่วลิสง ถั่วหรั่ง ถั่วเหลือง ดอกคำฝอย ทานตะวัน เมล็ดบัว เมล็ดหางนกยูงฝรั่ง เมล็ดอัลมอนด์มันฮ่อ นอกจากนี้ ปลาตัวเล็กที่บริโภคทั้งตัว หรือ กุ้งแห้งซึ่งมีแคลเซียมที่เปลือก (รวมถึงกะปิด้วย) ก็เป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งอีกด้วย

ตัวอย่างอาหารไทยที่เป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียม

แคลเซียม

อาหาร                  ปริมาณที่บริโภค       ปริมาณแคลเซียม (มก.)

 แคลเซียม

ปริมาณที่ควรได้รับ

การกำหนดปริมาณแคลเซียมที่คนไทยควรได้รับในแต่ละวันอาศัยพื้นฐานจาก Dietary Reference Intakes (DRI) ซึ่งใช้ความแข็งแรงของกระดูก (bone health) เป็นตัวชี้วัดถึงปริมาณของแคลเซียม ที่เพียงพอที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งสามารถกำหนดได้ในแต่ละเพศ และช่วงอายุ ดังนี้

สารอาหาร

† Institute of Medicine (IOM). Food and Nutrition Board, Dietary Reference Values for calcium and vitamin D. Washington, D.C.: The national Academies Press, 2011.* European Food Safety Authority (EFSA) scientific opinion on Dietary Reference Values for calcium. EFSA Journal 2015;13:4101.

‡ Dietary Reference Intakes for Japanese 2015

|| http://www.hpb.gov.sg/HOPPortal/health-article/2652 DRI : Dietary Reference Intake (ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน)

RDA : Recommended Dietary Allowance

AI : Adequate Intake

** แรกเกิดจนถึงก่อนอายุ 6 เดือน

†† อายุ 1 ปี จนถึงก่อนอายุ 4 ปี 

           ทั้งนี้การคำนวณปริมาณแคลเซียม ที่ได้รับต่อวันทั้งหมด จะคำนวณมาจากปริมาณแคลเซียมในอาหาร และที่ได้รับจากยาเสริม โดยทั่วไปรวมกันไม่ควรเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวันและไม่ควรได้รับเกินกว่าปริมาณสูงสุดที่รับได้ในแต่ละวัน ดังนี้

ปริมาณสูงสุดของแคลเซียมที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable upper intake levels (ULs)}

สารอาหารแคลเซียม

ประโยชน์และโทษ

แคลเซียมเป็นธาตุที่มีความสำคัญกับร่างกายโดยมีหน้าที่หลัก คือ เป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน รวมถึงมีหน้าที่ที่สำคัญ อื่นๆ เช่น ทั้งนี้ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึกไปตามเส้นประสาท การปลดปล่อยฮอร์โมน และการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นตัวเร่งในขบวนการที่ต้องใช้สารย่อย (Enzymatic re action) เป็นต้น ทั้งนี้ร่างกายจะมีกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้สมดุล หากในเลือดมีระดับแคลเซียม ต่ำ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกเพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด

            ส่วนโทษของแคลเซียมนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะขาดแคลเซียม ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายจะไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้เอง จึงต้องอาศัยการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม เข้าไปเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้ หรือ ถูกขับทิ้งออกจากร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบาง และมีโอกาสหักได้ง่าย โดยคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้น และอัตราการสูญเสียจะเพิ่มขึ้นทุกปี  โรคความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าคนปกติ และระดับแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะแคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดี และทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาการก่อนมีประจำเดือน เช่น ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อยากอาหาร เป็นต้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่รับประทานแคลเซียมขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ร้อยละ 50

            ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ ภาวะได้รับแคลเซียมเกิน ซึ่งอาจเกิดจาก การบริโภคแคลเซียมมากเกินไปโดยส่วนมากมักพบในคนที่กินแคลเซียม มากกว่า 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน และมีภาวะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ กินยาลดกรดจำพวก alum milk ที่มีฤทธิ์เป็นด่างจำนวนมากร่วมด้วย (milk-alkaline syndrome หรือ calcium-alkaline syndrome) มีการทำงานของไตบกพร่องอยู่เดิม หรือ ได้รับวิตามินดี ร่วมด้วย

           นอกจากนี้ผลข้างเคียงที่พบบ่อย จากการบริโภคแคลเซียมเม็ดมากเกินไป (โดยเฉพาะที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต) คือ อืดแน่นท้อง ท้องผูก และส่งผลรบกวนการดูดซึมของแร่ธาตุบางตัว เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี เป็นต้น

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกายพบว่า แคลเซียมส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็กส่วน Duodenumและ Jejunumส่วนต้น สำหรับลำไส้เล็กส่วนปลายต่อจากนี้และลำไส้ใหญ่บางส่วนจะดูดซึมแคลเซียมได้เล็กน้อย กลไกที่ใช้ดูดซึมแบ่งเป็น 3 วิธี คือ Acitve transport, Passive diffusion และ Solventdragซึ่ง 2 วิธี แรกจำเป็นต้องใช้ 1, 25-dihydroxyvitamin D ช่วยในการดูดซึม

            โดยสัดส่วนการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย (Fractional absorption) จะขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย เช่น ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน ซึ่งพบว่าสัดส่วนการดูดซึมจะเพิ่มมากขึ้นถ้าร่างกายได้รับ แคลเซียมแต่ละวันในปริมาณที่ต่ำ เช่น แคลเซียม 500 มิลลิกรัม แรกจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้โดย วิธี Active transportส่วนปริมาณมากเกิน 500 มิลลิกรัม ร่างกายจะดูดซึมโดยวิธีอื่นๆ  ความเป็นกรดด่างในทางเดินอาหาร โดยแคลเซียม จะถูกดูดซึมได้ดีในภาวะที่ทางเดินอาหารมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย คือ pH ประมาณ 5-7 ชนิดของอาหาร ซึ่งพบว่าอาหารประเภทเส้นใยจะขัดขวางการดูดซึม แคลเซียม รวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นสารจำพวก Oxalates, Phytates และ Sulfates ก็จะจับกับแคลเซียม และตกตะกอนในทางเดินอาหาร ทำให้ลดการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายได้ ระดับของ 1,25-dihydroxyvitamin D ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ระดับของ ฮอร์โมน Parathyroid ที่จะกระตุ้นให้มีการสร้าง 1,25-dihydroxyvitamin D จากไตเพื่อเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมให้เพิ่มขึ้น ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน พบว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะช่วยกระตุ้นการทำงานของ 1α-hydroxylase ในไตทำให้มีการสร้าง 1, 25-dihydroxyvitamin D เพิ่มขึ้น และมีผลกระตุ้นลำไส้ให้ดูดซึมแคลเซียมโดยตรงได้มากขึ้น และยังมีมีการศึกษาในหญิงไทยอายุ 20-45 ปี เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารพบว่า หากดื่มน้ำนมจะสามารถดูดซึมแคลเซียมจากน้ำนมได้ร้อยละ 55.2 ± 11.9 ถ้าบริโภคถั่วพู และตำลึง ร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ร้อยละ 39.1 ± 12.8 และ 47.6 ± 10.9 ตามลำดับ 27 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ไม่นิยมการดื่มน้ำนมหรือดื่มน้ำนมไม่ได้เพราะร่างกายไม่ย่อยทำให้ท้องอืดหรือท้องเสียนั้นควรหันมาเลือกบริโภคผักบางชนิด เพราะถึงแม้ว่าปริมาณแคลเซียมที่ได้จากอาหารเหล่านี้จะไม่มากเทียบเท่าที่ได้จากน้ำนม แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง

            นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกัน และลดความเสี่ยงจากการเกิดเนื้องอก และมะเร็งจากการได้รับแคลเซียมสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเนื้องอก และมะเร็งได้ เช่น จากการศึกษาของสถาบัน Nurses’ Health Study ซึ่งทำการศึกษาวิจัยในหญิงจำนวน 30,000 คน พบว่าหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนกลุ่มที่ ได้รับแคลเซียมปริมาณสูง (มากกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน) มีโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ รับแคลเซียมปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน) และงานวิจัยของสถาบัน National Institutes of Health-American Association of Retired Persons (NIH-AARP) และสถาบัน Diet and Health Study ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยใน ชาย 293,000 คน หญิง 198,000 คน พบว่าการ รับประทานแคลเซียมปริมาณสูงในแต่ละวัน ทั้งจากอาหาร และจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะสามารถช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้ 20% และ ในผู้หญิงลดลงได้ 20% ส่วนงานวิจัยของสถาบัน Nurses’ Health Study and the Health Professionals Follow-up Study ที่ทำการศึกษาวิจัย ในชาย และหญิงมากกว่า 135,000 คน พบว่าคนที่รับประทานแคลเซียม มากกว่า 700 มิลลิกรัมต่อวันจะช่วยลด โอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้ 35-45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ได้รับแคลเซียมน้อยกว่า 500  มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ได้มีส่วนช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้นแต่อย่างใด และมีการศึกษาของสถาบัน European Cancer Prevention Organization Intervention Study ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยในคนที่มีประวัติ เป็นเนื้องอกที่ลำไส้ จำนวน 665 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม, ในกลุ่มที่ 1 จะได้รับแคลเซียม 2 กรัมต่อวัน, ส่วนกลุ่มที่ 2 จะได้ รับผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหาร 3 กรัมต่อวัน, และในกลุ่มที่ 3 ได้รับยาหลอก ผลการศึกษาวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียมมีโอกาสการกลับมา เป็นซ้ำของเนื้องอกที่ลำไส้น้อยที่สุด แต่ยังไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

โครงสร้างแคลเซียม

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

  1. ภาวะแคลเซียม ในเลือดสูง (hypercalcemia) หมายถึงระดับแคลเซียมในเลือดมากกว่า 10.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่โดยทั่วไปพบไม่บ่อยในคนแข็งแรงดี และบริโภคแคลเซียมไม่มากเกินไป แต่อาจสาเหตุอื่นที่ทำให้แคลเซียมสูงที่พบบ่อย คือ ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง หรือ เป็นมะเร็ง เป็นต้น
  2. การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้มีปริมาณแคลเซียมสูงขึ้นในปัสสาวะ (hypercalciuria) และเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งต่อการเกิดนิ่วในไต โดยมีรายงานพบนิ่วในไตสูงขึ้นหากได้รับแคลเซียมต่อวันในปริมาณสูง มากกว่า 2,150 มิลลิกรัมต่อวัน
  3. การที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมชนิดใด หลักเกณฑ์ในการพิจารณานอกจากต้องคำนึกถึงเรื่องของสัดส่วนของธาตุแคลเซียมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ การดูดซึม รวมถึงผลข้างเคียงของธาตุแคลเซียมแต่ละชนิด

 

เอกสารอ้างอิง แคลเซียม
  1. จงจิตร อังคทะวานิช.ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม.ในบุษบา จินดาวิจักษณ์. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล.บรรณาธิการ ปัญหาสุขภาพสตรี และบุรุษวัยทอง .พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ นิวไทยมิตรการพิมพ์, 2540:88-95.
  2. คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ.2563.กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสชีพ 2563
  3. กระเษียร ปัญญาคำเลศ ,สุกัญญา ชัยกิตติศิลป์, นิมิต เตชไกรชนะ, กอบจิตต์ ลิมปพยอม, แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดระดู, จุฬาลงกรณ์เวชสารปีที่ 41.ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2550. หน้า 845-859
  4. พิชญ์ภิญญาณ์  แก้วปานันท์.แคลเซียม ..สาระน่ารู้. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. Rouse D.Suki W.Renal control of calcium absorption as a function of calcium intake J Lab Clin Med 1975 Jun;85(6):811-90
  6. Institute of Medicine (IOM). Dietary reference intakes for calcium and vitamin D. Washington, D.C.: The National Academies Press, 2011
  7. Ruggs BL..Pathogenesis of osteoporosis Am J Obstet Gynecol 1987 May:156(5):1342-6
  8. Gennari C.Afnusdei D Nardi P. Civitelli R.Estrogen preserves a normal intestinal responsiveness to 1,25-dihtdroxyvitamin D in oophorectomized women J Clin Endocrinol Metab Nov;71(5):1288-93
  9. Charoenkiatkul S, Kriengsinyos W, Tuntipopipat S, Suthutvoravut U, Weaver CM. Calcium absorption from commonly consumed vegetables in healthy Thai women. J Food Sci 2008;73:H218-H221.
  10. Rasmussen H.Calcium messenger system,N Engl J Med 1986 Apr 24:314(17):1094-101
  11. DeLuca HF. Schnoes HK Vitamin D:recent advances Annu Rev Biochem 1983;52:411-39
  12. Kanis JA, Melton LJ, 3rd, Christiansen C, Johnston CC, Khaltaev N. The diagnosis of osteoporosis. J Bone Miner Res 1994;9:1137-41.
  13. Drug Information for the Health care professional Kockville:United States Pharmacopeial Convention 1991:766-75
  14. .Jackson RD, LaCroix AZ, Gass M, Wallace RB, Robbins J, Lewis CE, et al. Calcium plus vitamin D supplementation and the risk of fractures. New Engl J Med 2006;354:669-83.
  15. Nathanson MH Cellular and subcellular calcium signaling in gastrointestinal epithelium Gastroenterology 1994 May:106(5):1349-64
  16. Heaney RP.Saville PD.Recker RR.Calcium absorption as a function of calcium intake.J Lab Clin Med 1975 Jun;85(6):811-90