ลิ้นมังกร ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ลิ้นมังกร งานวิจัยและสรรพคุณ 9 ข้อ

ชื่อสมุนไพร  ลิ้นมังกร

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  มะยมใบพาย , ผักลิ้นห่าน(ทั่วไป),หนุนดิน(ภาคเหนือ),เล่าจิเช่า,เล่งจิเฮี้ย,หลงลี่เยียะ,หลงซื่อเยียะ(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์Sauropus soatulifolius Beille.

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์Sauropus chabngianus S.Y.Hu.

ชื่อสามัญDragon’s tongue

วงศ์ PHYLLANTHACEAE

ถิ่นกำเนิด  ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ลิ้นมังกร ที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพืชคนละชนิดกับลิ้นมังกร (Dracaena trifasciata (Prain)Mabb.) ที่นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลิ้นมังกรที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพืชในวงศ์มะขาว (PHYLLANTHACEAE) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน บริเวณมลฑลกวางตุ้ง กวางสี ไหหลำ และฟูเจี้ยน จากนั้นจึงได้มีการแพร่ กระจายพันธุ์มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไป แต่จะพบได้มากทางภาคเหนือบริเวณป่าทั่วไป

ประโยชน์/สรรพคุณ  มีการนำลิ้นมังกรมาใช้เป็นอาหารโดยในภาคเหนือมีการนำลิ้นมังกรมาต้มกินแบบแกงจืด ในภาคอีสาน ชาวบ้านมีการนำมากินเป็นผัก และนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น นึ่งกินกับแจ่ว แกงอ่อม แกงป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ปลูกประดับตามอาคารสถานที่ บ้านเรือน รวมถึงสวนสาธารณะต่างๆ เนื่องจากใบลิ้นมังกรมีรูปร่างและลวดลายสวยงาม สำหรับสรรพคุณทางยาของลิ้นมังกรนั้นตามตำรายาไทย ตำรายาพื้นบ้านรวมถึงตำราจีนได้ระบุถึงสรรพคุณเอาไว้ว่า ส่วนคนจีนก็นิยมนำมาทำอาหารรับประทานโดยนำมาทำแกงจืด ต้มใส่เนื้อหมูหรือปอดหมู ใบลิ้นมังกรมีรสจืดสุขม ออกฤทธิ์ต่อปอด บำรุงปอด ใช้เป็นยาแก้ปอดร้อน ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้ไอแห้งๆ ไอเป็นเลือด ไอมีเสลดเหนียว เจ็บคอ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หอมหืด เสียแห้ง ขับเสมหะ แก้อาการท้องผูก แก้พิษร้อนที่ผิวหนัง แก้อักเสบที่ผิวหนัง แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ดอกใช้แก้ไอเป็นเลือด แก้กระอักเลือด ทั้งต้นใช้ลดความดันโลหิต ช่วยล้างพิษ แก้สารพิในร่างกาย

รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้

  • ใช้บำรุงปอด โดยใช้ใบสด 7-8 กรัม หรือใบแห้ง 10-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้หลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน โดยใช้ใบสดประมาณ 7-8 ใบ หรือใบแห้งประมาณ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้กระอักเลือด และไอเป็นเลือด โดยดอกสดหรือใบสด 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือผสมกับสันเนื้อหมูต้มกับน้ำแกงรับประทานก็ได้
  • แก้อาการไอมีเสลดเหนียว หรือไอแห้ง โดยใช้ใบสด 7-8 ใบ ผลอินทผลัม 7 ผล นำมาต้มกับน้ำดื่มหากเป็นใบแห้งให้ใช้ 15 กรัม นำมาต้มผสมกับเนื้อหมูแล้วทานแต่น้ำ
  • ใช้ลดความดันโลหิต ล้างพิษในร่างกาย โดยใช้ต้นลิ้นมังกรทั้งต้น มาล้างให้สะอาด ใส่ลงในหม้อต้มกับน้ำ 2-3 ส่วน แล้วต้มเคี่ยวจนเหลือน้ำ 1 ส่วน อาจผสมน้ำตาลกราดเพื่อเพิ่มรสชาติด้วยก็ได้ โดยใช้กินครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น
  • ใช้แก้พิษร้อนอักเสบ แก้ผิวหนังอักเสบ แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยนำใบสดมาตำหรือขยี้ทาบริเวณที่เป็น
  • ใช้รักษาอาการปวดกระดูก กระดูกแตกร้าว นำใบลิ้นมังกรมาตำผสมกับใบของต้นหมี่ ใบพลับพลึงและใบข่าให้ละเอียด นำมาพอกและผ้ามาพันบริเวณที่มีอาการ ทุกวัน วันละ 2 เวลา เช้าและก่อนนอน
  • ใช้รักษาฝี รักษาโรคริดสีดวงต่างๆ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นำมบสดขนาดพอประมาณมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกแผลบริเวณที่มีอาการบ่อยๆ จนกว่าจะหายเป็นปกติ

ลักษณะทั่วไป ลิ้นมังกร จัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเปราะหักง่าย ผิวขรุขระมีลักษณะตั้งตรงหรืออาจคดงดเล็กน้อย มีสีเขียวแก่และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาบเมื่อแก่มีขนสั้นๆ ปกคลุมอยู่ ทั่วลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ออกแบบเรียงสลับ ตามข้อลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ มนรี โคนใบสอบแหลม ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มลายเขียวสลับขาวคล้ายร่างแห เส้นโคนใบมีขน ตามเส้นใบและท้องใบเป็นสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน ดอกออกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุก บริเวณซอกใบและลำต้น โดยมักจะเรียงติดกันเป็นแถวสั้นๆ แยกออกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีแดงม่วงหรือสีม่วงเข้ม มีกลีบดอก 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปกลมรีมีเนื้อหนามีเกสรเพศผู้ 3 อัน และเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลมีขนาดเล็กคล้ายเม็ดถั่ว ถูกกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวหุ้มเอาไว้ และจะมีก้านสั้นๆ

การขยายพันธุ์ ลิ้นมังกรสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ วิธีการปักชำ เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว และต้นกล้าสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด สำหรับวิธีการปักชำและการปลูกลิ้นมังกรสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการปักชำและปลูกไม้ล้มลุกชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ลิ้นมังกรเป็นพืชที่ชอบดินร่วนที่มีความชุ่มชื้นสูงและมีการระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร และชอบอากาศไม่ร้อนจัด

องค์ประกอบทางเคมี มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนใบของลิ้นมังกร ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น  7-megasigmane-3, 5, 9-triol , ethyl 3, 6-anhydro-2 droxy β-D-arabino-hexofuranoside ,ethyl 3, 6-anhydro-2-deexy- hexofuranoside , kaempferol-3-0-2-deoxy-β-D-glucoside,  kaempferol-3-0-β-D-glucopyranosyl-(1-6)-2-deoxy-β-D-glucoside , 2-(2-acetyl-1H- pyrrol-1-yl)-4-hydroxybutyric acid, methyl 4-(2-acett-lH-pyrrol- 1-yl) Butanoate และ1, 4-bis (2-acetyl-1H-pyrrol-1-yl) butane ส่วนสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบของลิ้นมังกรพบสาร catechol, (-)-lyoniresinol-3α-O-β-D-glucopyranoside, (-)-lyoniresinol, quercetin-3-O-β-D-glucoside และkaempferol-3-O-β-D-glucoside

ethyl 3, 6-anhydro-2 droxy β-D-arabino-hexofuranoside         ethyl 3, 6-anhydro-2-deexy- hexofuranoside

    1, 4-bis (2-acetyl-1H-pyrrol-1-yl) butane        kaempferol-3-0-2-deoxy-β-D-glucoside 

         7-megasigmane-3, 5, 9-triol                  

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนใบของลิ้นมังกร ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้

            มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยโรคหอบหืด จำนวน 43 คน โดยให้รับประทานสารสกัดจากลิ้นมังกรขนาด 150 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมีอาการต่างๆของโรคหอบหืดลดลง เช่น อาการไอ เสียงวี้ด การหายใจสั้น แต่ไม่มีผลในการลด FEV1 และยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทิลอะซิเตท จากส่วนใบของลิ้นมังกรระบุว่า สารสกัดเอทิลอะซิเตทขนาด 3.40 ก./กก. มีผลยับยั้งอาการบวมที่หูของหนูได้ โดยสามารถลดระดับอาการบวมของหูในหนูได้อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05;**P<0.01) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าลิ้นมังกรยังมีฤทธิ์แก้ปวด ต้านการแพ้ ต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เป็นต้น

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา  ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง  สำหรับการใช้ลิ้นมังกรเป็นยาสมุนไพรนั้น ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยการใช้ในขนาด/ปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

อ้างอิงลิ้นมังกร

  1. วิทยา บุญวรพัฒน์.ลิ้นมังกร.หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.หน้า498.
  2. สุภาภรณ์ ปิติพร.ลิ้นมังกรเสริมหยินกินดับร้อน.มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภพัณณวดี.4หน้า
  3. ดร.วิทย์  เที่ยงบูรณธรรม.ลิ้นมังกร.หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย.ฉบับพิมพ์ครั้งที่5.หน้า699-700.
  4. ณัฎฐณิชชา มหาวงษ์.สมุนไพรกับโรคหอบหืด.จุลสารข้อมูลสมุนพรปีที่29ฉบับที่3.เมษายน2555.หน้า2-15.
  5. Nanjing University of Chinese Medicine. Dictionary of Traditional Chinese Medicine . 2. Shanghai, China: Shanghai Scientific & Technical Publishers; 2006. 
  6. M. Li et al.Chemical constituents of Sauropus spatulifolius Beille Zhong Yao Cai (2019)
  7. Huang Y., Tan J.-N., Ma W.-F. Preliminary study on in vitro antibacterial activity of extracts from Sauropus spatulifolius Beille. Popular Science & Technology . 2014;16(174):68–70.
  8. Watson RR, Zibadi S, Rafatpanah H, Jabbari F, Ghasemi R, Ghafari J, et al.
  9. Oral administration of the purple passion fruit peel extract reduces wheeze and cough and improves shortness of breath in adults with asthma. Nutr Res 2008;28(3): 166-71.
  10. Ran X.-D. Chinese Medicine Sea” . Harbin, China: Harbin Publishing House; 1993. pp. 498–499.
  11. X. Wei et al.The protective effects of Sauropus spatulifolius on acute lung injury induced by lipopolysaccharideJ. Sci. Food Agric.(2018)
  12. Lin H., Lin B. Experimental study on the anti-allergic effect of Sauropus spatulifolius beille. Strait Pharmaceutical Journal . 2011;23(4):23–24.