อ้อยช้าง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

อ้อยช้าง งานวิจัยและสรรพคุณ 37 ข้อ

ชื่อสมุนไพร อ้อยช้าง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กุ๊ก, หวีด (ภาคเหนือ), กอกกัน (ภาคอีสาน), ตะคร้ำ (ภาคตะวันตก), ช้างโน้ม, ช้าเกาะ (ภาคตะวันออก), ซาเกะ (ภาคใต้), ปีเซียง, แม่หยู่หว้าย, เส่อลู่ไค้ (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lannea grandis Engl., L. wodier (Roxb.) Adelb., Calesium grande Kuntze, Dialium coromandelicum Houtt., Odina pinnata Rottler, O. wodier Roxb.
ชื่อสามัญ Wodier tree, Indian ash tree
วงศ์ ANACARDIA CEAE


ถิ่นกำเนิดอ้อยช้าง

อ้อยช้าง จัดเป็นพืชในวงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีปเอเชียบริเวณภูมิภาค เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ของประเทศ อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังบริเวณใกล้เคียง สำหรับในประเทศไทยสามารถพบอ้อยช้าง ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง รวมถึงตามภูเขาหินปูนที่มีระดับความสูงเท่ากับระดับน้ำทะเลจนถึง 1,500 เมตร


ประโยชน์และสรรพคุณอ้อยช้าง

  1. ช่วยเจริญอาหาร
  2. แก้ธาตุพิการ
  3. แก้อ่อนเพลีย
  4. แก้ท้องอืดเฟ้อ
  5. แก้ปวดท้อง
  6. แก้ท้องร่วง
  7. ใช้แก้ปวด
  8. แก้รอยฟกช้ำ
  9. แก้ตาอักเสบ
  10. รักษาโรคเกาต์
  11. ช่วยรักษาแผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร แก้แผลในกระเพาะ
  12. แก้ปวดฟัน
  13. ใช้สมานแผล รักษาบาดแผล
  14. แก้โรคผิวหนัง
  15. แก้ฝี
  16. รักษาแผลพุพอง
  17. แก้อาการอักเสบ
  18. แก้ไอเป็นเลือด
  19. แก้อาการปวดประสาท
  20. รักษาโรคเท้าช้าง อาการแพลง รอยฟกช้ำ
  21. ใช้ทำให้ชุ่มคอ
  22. แก้เสมหะ
  23. แก้กระหายน้ำ
  24. ทำให้ชุ่มชื่นในอก
  25. รักษาโรคตับอักเสบ
  26. แก้เบาหวาน
  27. รักษาโรคหัวใจ
  28. รักษาโรคบิด
  29. ใช้รักษาอาการหวัด
  30. แก้อาการอาหารไม่ย่อย
  31. แก้ผื่นที่ผิวหนัง
  32. แก้อาการปวดฟัน
  33. แก้ไอ
  34. แก้เสมหะเหนียวข้น
  35. รักษาอาการตาเจ็บ
  36. รักษาตาอักเสบรุนแรง
  37. ใช้ห้ามเลือด

           ส่วนในต่างประเทศก็มีการใช้อ้อยช้างเป็นสมุนไพร เช่นกัน อาทิเช่น ในบังกลาเทศ มีการใช้อ้อยช้าง รักษาโรคตับอักเสบ เบาหวาน แผลในกระเพาะ โรคหัวใจ และโรคบิด ในอินเดีย ศรีลังกา และบังกลาเทศ ใช้น้ำคั้นจากใบ รับประทานเพื่อบรรเทาแผลในกระเพาะและอาการปวดในกระเพาะ ใช้น้ำยางจากผลใช้รักษาอาการหวัดและไอ เปลือกต้นใช้รักษาโรคเกาต์ แก้อาการอาหารไม่ย่อย โรคบิด ผื่นที่ผิวหนัง แผลในกระเพาะ และอาการปวดฟัน เป็นต้น

           ในชนบทมีการนำส่วนต่างๆ ของอ้อยช้าง มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หลายประการดังนี้

  • ใบอ่อนและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวฝาด มีการนำมารับประทานเป็นผัก
  • รากมีลักษณะคล้ายกระเปาะใหญ่และมีการสะสมน้ำเอาไว้ นายพรานและผู้ที่เข้าป่าจึงมีการนำน้ำที่อยู่ภายในรากดื่มแก้อาการกระหายน้ำ
  • แก่นไม้มีรสหวาน ใช้ปรุงรสยา
  • เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงยังมีการใช้เป็นแบบเทคอนกรีตและใช้ในงานแกะสลักได้
  • เปลือกต้นมีแทนนินสามารถนำมาใช้ฟอกหนังสัตว์ หรือ นำมาย้อมผ้า ย้อมแห ย้อมหนัง โดยจะใช้สีน้ำตาล อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ทำเชือกได้อีกด้วย

อ้อยช้าง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้เป็นยาธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ แก้อ่อนเพลีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้โรคเก๊าต์ แก้เสมหะเหนียวข้น โดยนำเปลือกต้นอ้อยช้างที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป มาต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้เสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื้นในอก โดยนำแก่นมาต้มอ้อยช้างกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ไอเป็นเลือด โดยนำใบอ้อยช้างผสมกับใบไพล ใบหวดหม่อน แล้วนำมาบดให้เป็นผงกินกับน้ำเช้าเย็น หรือ นำมาผสมกับยางที่ขูดจากลำต้นอ้อยช้าง กับขูดจากลำต้นมะกอก มาฝนกับน้ำดื่ม
  • แก้อาการปวดฟัน โดยนำเปลือกต้นสดอ้อยช้างมาเคี้ยว หรือ ต้นน้ำกลั้วปาก
  • ใช้รักษาอาการตาเจ็บ ตาอักเสบรุนแรง โดยนำเปลือกต้นอ้อยช้างสดมาคั้นเอาน้ำหยอดตา
  • ใช้เป็นยาใส่แผล ห้ามเลือด ช่วยสมานแผล แก้ฝี รักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน โดยนำเปลือกต้นอ้อยช้าง มาบดให้เป็นผงแล้วนำมาใช้ใส่แผล หรือ นำไปต้นกับน้ำอาบก็ได้


ลักษณะทั่วไปของอ้อยช้าง

อ้อยช้าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ผลัดใบ มีความสูง 12-17 เมตร ลำต้นเปลาตรงมีสีเทาแกมเขียว เปลือกต้นเรียบ หรือ อาจแตกเป็นสะเก็ด ด้านในเปลือกเป็นสีชมพู มียางเหนียวใส เป็นพันธุ์ไม้ที่แตกกิ่งก้าน ค่อนข้างน้อยและกิ่งก้านค่อนข้างเรียวเล็ก กิ่งอ่อนจะมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุมอยู่ สวนกิ่งแก่จะมีช่องอากาศและมักจะมีรอยแผล

           ใบอ้อยช้าง เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ โดยจะออกเรียงเวียน บริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ช่อใบจะมีแกนกลางใบประกอบยาว 12-28 เซนติเมตร มีก้านใบประกอบรูปทรงคล้างทรงกระบอกยาว 6-8 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยจะมี 3-6 คู่ ออกเรียงตรงข้ามใบย่อยเป็นรูปไข่กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร โคนใบกลมปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ขอบเรียบ หรือ อาจเป็นหยักมน ผิวใบอ่อนมีขนสั้นนุ่มรูปดาวทั้งสองด้าน ส่วนใบแก่ผิวเกลี้ยง เป็นสีเขียวมีเส้นใบข้าง 7-11 คู่ ก้านใบย่อยค่อนข้างสั้นมีความยาว 1-1.5 มิลลิเมตร มักจะมีเส้นปีกแคบๆ ด้านใดด้านหนึ่ง

           ดอกอ้อยช้าง จะออกเป็นช่อก่อนจะผลิใบโดยจะออกเป็นแบบช่อเชิงลดแยกแขนง ซึ่งจะออกบริเวณปลายกิ่ง โดยที่ช่อดอกจะห้อยลงมาจากกิ่ง ช่อดอกมีความยาว 12-30 เซนติเมตร และดอกจะเป็นแบบแยกเพศต่างต้น กลิ่นดอกหอม ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน หรือ สีเขียวอมเหลือง มีขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นรูปไข่ถึงรูปขอบขนานมี 4-5 กลีบ ปลายกลีบมน มีขนปกคลุม ด้านนอกเกลี้ยง หรือ มีขนรูปดาวขึ้นประปรายและมีกลีบเลี้ยงมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ต้นเพศผู้จะมีช่อดอกแบบแยกแขนงยาว 10-25 เซนติเมตร ส่วนต้นเพศเมียจะแตกแขนงน้อยกว่าและมีช่อยาว 15 เซนติเมตร

           ผลอ้อยช้าง เป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลมีลักษณะเป็นรูปถั่ว รูปไตแบน หรือ รูปสี่เหลี่ยมคางหมูขนาดกว้าง 0.6 เซนติเมตร และยาว 1 เซนติเมตร ผิวผลเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีม่วงแดง เมื่อผลแก่จะเป็นสีม่วงอมแดง มีก้านผลสั้นมากและมีกลีบเลี้ยงติดทนผนังชั้นในผลจะแข็งภายในผลจะมีเมล็ดแข็งๆ ลักษณะรูปกลม หรือ รีอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดมีรอยเว้า 1-2 รอยที่ปลายบน

อ้อยช้าง
อ้อยช้าง
อ้อยช้าง

การขยายพันธุ์อ้อยช้าง

อ้อยช้างสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง ส่วนวิธีที่ทำได้ง่าย คือ การเพาะเมล็ด แล้วนำต้นกล้าที่ได้ไปปลูก ปัจจุบันพบว่า กำลังเริ่มมีความนิยมนำอ้อยช้างมาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์กันมากขึ้น สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดและการปลูกอ้อยช้าง นั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดและการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวถึงมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของอ้อยช้าง ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น quercetin, myricadiol, protocatechuic acid, p-hydroxybenzoic acidethyl ester, isovanillin, trans-cinnamic acid, palmitic acid, and stearic acid, (2S,3S,4R,10E)-2-[(2'R)-2′-hydroxytetracosanoyl amino]-10-octadecene-1,3,4-triol, aralia cerebroside, 5,5′-dibuthoxy-2,2′-bifuran, β-sitosteryl-3β-glucopyranoside-6′-O-palmitate, β-sitosterol palmitate ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งระบุว่าสารสกัดจากเปลือกต้นอ้อยช้าง พบสาร physcion, leucocyanidin, leucodelphinidin, β-sitosterol, physcion, ellagin acid, morin E, (2 R , 3 S )-(+)-3′,5-dihydroxy-4,7-dimethoxydihydroflavonol, physcion, (2 R ,3 S)-(+)-4′,5,7-trimethoxydihydroflavonol, (2 R ,3 S)-(+)-4′,7-di- O-methyldihydroquercetin, (2 R, 3 S)-(+)-4′,7-di- O-methyldihydrokaempferol และ (2 R, 3 S)-(+)-4′- O-methyldihydroquercetin เป็นต้น

โครงสร้างอ้อยช้าง

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของอ้อยช้าง

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดอ้อยช้างจากเปลือกลำต้นของอ้อยช้าง ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้

           มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดอ้อยช้างจากเปลือกต้นอ้อยช้างในหลอดทดลองสารสกัดอ้อยช้าง จากเปลือกต้นอ้อยช้าง มีฤทธิ์ต่อสู้กับความเครียดและภาวะออกซิเดชันได้โดยเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระหลักในระดับการถอดรหัสและการแปลรหัส ตลอดจนเอนไซม์กำจัดพิษในเฟส II โดยเฉพาะฮีมออกซิเจเนส 1 ผ่านการเพิ่มระดับของเส้นทางที่ถูกควบคุมโดย NRF2 (nuclear factor erythroid 2-related factor 2) ในเซลล์ RAW 264.7 ผ่านการฟอสโฟรีเลชันของไคเนส p38 และไคเนสปลายเอ็น-เทอร์มินัล c-Jun (JNK) และสารสกัดดังกล่าวยังแสดงกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ ในระดับสูงและลดการผลิต ROS ในเซลล์ ได้อีกด้วย

           นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยฉบับอื่นๆ ยังระบุว่าสารสกัดจากกิ่งและก้านของอ้อยช้าง มีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตับของมนุษย์เกิดการอะพอพโทซิส ส่วนสารสกัดอ้อยช้างจากใบมีฤทธิ์ต้านความเจ็บปวด ต้านอนุมูลอิสระและต้านอาการท้องร่วง สารสกัดจากเปลือกต้นอ้อยช้างมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ต้านเชื้อรา และระงับปวดอีกด้วย


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของอ้อยช้าง

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในตำรายาไทยระบุเอาไว้ว่าในการใช้ราก, แก่น หรือ เนื้อไม้ของอ้อยช้าง เป็นยาสมุนไพร มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นราก, แก่น หรือ เนื้อไม้อ้อยช้างที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป จึงจะมีสรรพคุณ ส่วนเปลือกต้นต้องเป็นเปลือกต้นของอ้อยช้างที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไปจึงจะมีสรรพคุณ


เอกสารอ้างอิง อ้อยช้าง
  1. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน. เล่ม 1. มหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 35.
  2. กอกกัน. หนังสือสมุนไพร ในป่าอีสาน 25 ปี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. หน้า 7
  3. ดร.วิทย์ เที่ยงบุรณธรรม.อ้อยช้าง. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 840-841.
  4. ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กอกกัน, [ออนไลน์]. 2025, แหล่งที่มา: https://phar.ubu.ac.th/herb-DetailPhargarden/201,
  5. Rahmatullah, M.; Azam, M.N.; Khatun, Z.; Seraj, S.; Islam, F.; Rahman, M.A.; Jahan, S.; Aziz, M.S. Medicinal plants used for treatment of diabetes by the Marakh sect of the Garo tribe living in Mymensingh district, Bangladesh. Afr. J. Tradit. Complement Altern. Med. 2012, 9, 380-385
  6. Kumar, T.; Jain, V. Appraisal of total phenol, flavonoid contents, and antioxidant potential of folkloric Lannea coromandelica using in vitro and in vivo assays. Scientifica 2015, 2015, 203679.
  7. Wollenweber, E.; Dietz, V.H. Occurrence and distribution of free flavonoid aglycones in plants. Phytochemistry 1981, 20, 869.
  8. Chayamarit, K. (2010). Anacardiaceae. In Flora of Thailand Vol. 10(3): 293-295
  9. Mulaudzi, R.B.; Ndhlala, A.R.; Kulkarni, M.G.; van Staden, J. Pharmacological properties and protein binding capacity of phenolic extracts of some Venda medicinal plants used against cough and fever. J. Ethnopharmacol. 2012, 143, 185-193.
  10. Singh, S.; Singh, G. Anti-inflammatory activity of Lannea coromandelica bark extract in rats. Phytother. Res. 1994, 8, 311-313. 
  11. Islam, M.T.; Tahara, S. Dihydroflavonols from Lannea coromandelica. Phytochemistry 2000, 54, 901-907.
  12. Min, T. and A. Barfod. (2008). Anacardiaceae. In Flora of China Vol. 11: 342.
  13. Singh, S.; Singh, G. Hypotensive activity of Lannea coromandelica bark extract. Phytother. Res. 1996, 10, 429-430. 
  14. Imam, M. Z.; Moniruzzaman, M. Antinociceptive effect of ethanol extract of leaves of Lannea coromandelica. J. Ethnopharmacol. 2014, 154, 109-115.