ชันย้อย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ชันย้อย งานวิจัยและสรรพคุณ 12 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ชันย้อย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ขี้ชัน, ขี้ขันตะเคียนทอง, ขี้ชันยางนา, ขี้ชันเต็ง, ขี้ขันรัง, ขี้ชันยางกราด, ขี้ชันเคี่ยม (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
ชื่อสามัญ Dammar gum
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE (ชันย้อยเป็นยางไม้ที่ได้จากพันธุ์ไม้ในวงศ์นี้)
ถิ่นกำเนิดชันย้อย
ชันย้อย คือ ยางไม้ที่ไหลออกจากเปลือกไม้แล้วเกิดการแข็งตัวของพืชในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE ซึ่งชันย้อย จะพบในพันธุ์ไม้หลายชนิดอาทิเช่น ต้นตะเคียน (Hopea odorata Roxb.) ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ต้นยางกราด (Dipterocarpus intricatus Dyer) ต้นเต็ง (Shorea obtuse Wall.) ตุ้นรัง (Shorea siamensis Mig) ต้นเคี่ยม (Shorea henryana Pierre) ซึ่งพันธุ์ไม้เหล่านี้ มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งจะพบการแพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคนี้เท่านั้น
ประโยชน์และสรรพคุณชันย้อย
- แก้โรคหนองใน
- ช่วยห้ามหนอง
- ช่วยสมานแผล รักษาแผล
- รักษาแผลเน่าเปื่อย แผลโรคเรื้อน
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยขับเสมหะ
- ใช้อุดฟัน แก้ฟันผุ
- แก้มุตกิดระดูขาวในสตรี
- ใช้ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ
- ช่วยถ่ายพยาธิลำไส้
- แก้โรคเรื้อน
- แก้กามโรค
ในตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์ปรากฏตำรับ “สีผึ้งบี้พระเส้น” ที่มีการใช้ชันย้อยมาเป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรอื่นในตำรับจำนวน 2 ขนาน โดยใช้กวนให้เข้ากันในน้ำมัน ใช้ทาผ้า หรือ แพรสำหรับปิดตามพระเส้นที่แข็งซึ่งจะสามารถทำให้เส้นหย่อนได้
นอกจากนี้ยังมีการใช้ชันย้อยตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยได้ระบุการใช้ชันย้อยในตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” ซึ่งมีส่วนประกอบของชันย้อย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือ มีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้อีกด้วย
ชันย้อยถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น มีการนำชันย้อยมาละลายในน้ำมันสน ใช้สำหรับวาดภาพสีน้ำมัน ทั้งในระหว่างขั้นตอนการวาดภาพใช้เคลือบหลังจากวาดภาพเสร็จแล้ว ใช้เป็นยาแนวเรือ โดยมักใช้ผสมกับน้ำมันดิน หรือ ยางมะตอย ใช้พิมพ์ภาพบาติกโดยนำชันย้อย บดเป็นผงผสมกับพาราฟิน นอกจากนี้ยังมีการใช้ชันย้อยเป็นยาสมุนไพร
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- ใช้แก้โรคหนองใน แก้กามโรค ถ่ายพยาธิลำไส้ โดยนำชันย้อยมาบดให้ละเอียดชงกินกับน้ำร้อน
- ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้มุตกิดระดูขาวในสตรี โดยนำชันย้อย ที่ละลายแล้ว 1 ส่วนผสมกับแอลกอฮอลล์ 2 ส่วน ใช้จิบกิน
- ใช้สมานแผล แก้แผลหนอง แผลเน่าเปื่อย แผลโรคเรื้อน แผลหนองใน ใช้ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนัก โดยนำชันย้อยมาบดให้ละเอียดใช้โรยบนแผลที่เป็น
- ใช้อุดฟันผุ แก้ปวดฟัน โดยนำชันย้อยมาละลาย แล้วนำมาผสมกับเมล็ดกุยช่าย ที่คั่วจนเกรียมแล้วนำมาบดละเอียด ใช้อุดฟันซี่ที่ผุ หรือ ปวด สำหรับการใช้ยาเหลืองปิดสมุทร ที่มีส่วนประกอบ คือ เหง้าขมิ้นชัน หนัก 30 กรัม ชันย้อย ครั่งสีเสียดเทศ เปลือกสีเสียดไทย ใบเทียน ใบทับทิม หัวแห้วหมู เหง้าขมิ้นอ้อย เปลือกเพกา รากกล้วยดิบ หัวกระเทียมคั่ว ดอกดีปลี หนักสิ่งละ 5 กรัม โดยมีขนาดการใช้ คือ ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยาทุก 3-5 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ, ส่วนเด็กอายุ 3-5 เดือน รับประทานครั้งละ 200 มิลลิกรัม, อายุ 6-12 เดือน รับประทานครั้งละ 300-400 มิลลิกรัม, อายุ 1-5 ขวบ รับประทานครั้งละ 500-700 มิลลิกรัม, อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม -1 กรัมละลายน้ำกระสายยาทุก 3-5 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ลักษณะทั่วไปของชันย้อย
ชันย้อยมีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว สีขาวขุ่น หรือ สีออกเหลืองที่เกิดจากการแห้งกรังและแข็งตัวของยางไม้วงศ์ DIPTEROCARPACEAE มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสฝาดขมเย็น สามารถออกซิไดซ์ด้วยแสงได้ง่ายและติดไฟได้ ซึ่งในต่างประเทศสามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายประเภท เช่น ชันย้อย damar mat kucing หรือ “ชันย้อยตาแมว” เป็นผลึกมีลักษณะเป็นลูกกลม ได้จากพืช Shorea javanica ในอินโดนีเซีย ดามาร์บาดู (หินดามาร์) คือ ชันย้อย damarbatu หรือ “ชันย้อยหิน ” เป็นชันย้อยที่มีรูปร่างเหมือนหิน หรือ ก้อนกรวดที่เก็บมาจากยางที่ไหลไปถึงพื้นดิน แล้วเกิดการแข็งตัวและชันย้อย damar hitam หรือ ชันย้อยดำ ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกสีน้ำตาลดำได้จากพืช Shorea gibbosa เป็นต้น
แหล่งที่มาของถาพ shopee.co.th BY nun1515
การขยายพันธุ์ชันย้อย -
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่พบในชันย้อย ในทุกๆ ประเภทระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น พบสารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ dammarane, dammaradienol, dammarenediol-Il, oleanane, hydroxydammarenone-|, ursonic acid, hydroxyhopanone, elchlerianic acid, dammarenolic acid, oleanonic acid, Shoreic acid และ hydroxyoleanonic lactone เป็นต้น
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของชันย้อย
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของชันย้อยระบุว่า มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้
ฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simplex virus types l และ ll มีรายงานผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simplex virus typesl and II. เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเริ่มที่ผิวหนัง ริมฝีปากและอวัยวะเพศของสารไตรเทอร์พีน 9 ชนิด ที่ได้จากชันย้อย โดยทำการศึกษาในหลอดทดลอง เมื่อทำการทดสอบโดยการให้สารไตรเทอร์พีนขนาด 1-10 ug/m สัมผัสกับ vero cells ทำให้เซลล์ติดเชื้อไวรัสแล้วเป็นเวลานานต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่า สารไตรเทอร์พีนทั้ง 9 ชนิด มีผลทำให้เชื้อไวรัสเกิด cytopathic effect (CPE) คือ เซลล์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมภายหลังการติดเชื้อ เช่น มีขนาดใหญ่ขึ้น สารไตรเทอร์พีนที่พบได้แก่ dammaradienol, dammarenedio1-I), hydroxydammarenone-1, hydroxyhopanone, hydroxyoleanonic lactone, dammarenolic acid, ursonic acid, shoreic acid และ eichlerianic acid vox
ฤทธิ์ยับยั้งสารส่งเสริมการเกิดเนื้องอก มีรายงานผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งสารส่งเสริมการเกิดเนื้องอกของสารไตรเทอร์พีนอยด์ 19 ชนิด, สารเชสควิเทอร์ปีนอยด์ 1 ชนิด และอนุพันธ์อีก 14 ชนิด ที่แยกได้จากชันย้อย โดยได้ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ซึ่งได้ตรวจสอบฤทธิ์ยับยั้งการเหนี่ยวนำการสร้างแอนติเจนเริ่มต้นของเชื้อไวรัส Epstein-Barr (EBV-EA) เมื่อใช้ 12-0-tetradecanoylphorbol 13-acetate (TPA) เป็นสาร ส่งเสริมการเกิดเนื้องอก ทดสอบในเซลล์ราจี (Roji cells) ผลการทดสอบพบว่า สารทดสอบส่วนมากมีฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้นแอนติเจนของ EBV-EA โดยมีศักยภาพเทียบเท่า หรือ มากกว่าสาร B-carotene ซึ่งเป็นสารยับยั้งสารส่งเสริมการเกิดเนื้องอกที่ได้จากธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร (205)-20-hydroxy-34 secodammara-4228,24-dien-3-al สามารถยับยั้งสาร ส่งเสริมการเกิดเนื้องอกที่ผิวหนัง เมื่อทดสอบที่ผิวหนังหนูถีบจักร โดยใช้ 7,12-dimethylbenz[aJanthracene (DMBA เป็นสารริเริ่ม (initiator) และใช้ TPA เป็นสารส่งเสริม หรือ โปรโมเตอร์ นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยและพัฒนาตำรับยาเหลืองปิดสมุทรที่มีชันย้อยเป็นส่วนประกอบในตำรับ โดยได้ทดลองในสัตว์ทดลองว่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อก่อเกิดโรคอุจจาระร่วงต่อเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์มาตรฐาน คือ Bacillus cereusATCC 14579, Escherichia coli ATCC 25922, Salmonella typhimurium ATCC 11331, Shigella flexneri DMSC 1130, Staphylococcus aureusATCC 25923, Vibrio parahaemolyticus DMST 5665 และมีฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเสีย
การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของชันย้อย
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของชันย้อยระบุว่า
มีรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษต่อยื่นของชันย้อย ในหนูถีบจักรที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมยีน (gpt delta transgenic mouse) โดยการให้ชันย้อยขนาด 2% เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าชันย้อยไม่ทำให้เนื้อเยื่อตับเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ในตับ แต่ทำให้ระดับของสารที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยืน ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้การแบ่งตัว เพิ่มขึ้นของเซลล์ ได้แก่ 8-0HAG, bax, bcl-2, p53, cyp1a2, cyp2e1, gpx1 และ gstm2 มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) และจากการวัดค่าน้ำหนักตัว น้ำหนักตับ ปริมาณน้ำและปริมาณอาหารที่หนูกิน ผลการทดสอบพบว่า หนูยังคงกินน้ำและอาหารได้ตามปกติ แต่มีน้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เท่ากับ 28.7640.09 กรัม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (เท่ากับ 34.6711.87 กรัม) แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตับโดยสรุปชันย้อยไม่ก่อให้การพยาธิสภาพในตับและไม่มีความเป็นพิษต่อยีน แต่อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังเมื่อนำมาใช้เพื่อการบริโภคเนื่องจากทำให้ดัชนีบ่งชี้การแบ่งตัวของเซลล์ตับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของตำรับยาเหลืองปิดสมุทร ระบุว่ามีฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเสีย โดยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้และลดการหดตัวของลำไส้โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษในหนูทดลองอีกด้วย
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สำหรับการใช้ชันย้อยเป็นสมุนไพรโดยเฉพาะในรูปแบบการรับประทานนั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับการใช้ยาเหลืองปิดสมุทรที่มีชันย้อย ส่วนประกอบนั้น ไม่ควรใช้ยาเกิน 1 วัน ซึ่งหากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของตับและไตผิดปกติ ควรระมัดระวังการใช้ยา
เอกสารอ้างอิง ชันย้อย
- นพมาต สุนทรเจริญนนท์, นงลักษณ์ เรืองวิเศษ, บังอร เกียรติธนากร. การวิจัยและพัฒนาสารสกัดมาตรฐานของตำรับยาแผนโบราณและสมุนไพรไทย, เอกสารประกอบการประชุมการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพรเพื่ออุตสาหกรรม จัดโดย ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการงานวิจัยแห่งชาติ วันที่ 28-29 กันยายน 2549 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร. หน้า 102-106.
- ยาเหลืองปิดสมุทร. คู่มือยาสมุนไพรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปี 2560. กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 37 หน้า
- ฐานข้อมูลเครื่องยาไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ชันย้อย, (ออนไลน์) 2025, แหล่งที่มา: https://phar.ubu.ac.th/herb-DetailThaicrudedrug/199,
- Xie X-L, Wei M, Kakehashi A, Yamano S, Okabe K, Tajiri M, et al. Dammar resin, a non-mutagen, inducts oxidative stress and metabolic enzymes in the liver of gpt delta transgenic mouse which is different from a mutagen, 2-amino-3-methylimidazo[4,5-f]quinoline. Mutation Research. 2012;748:29-35.
- Scalarone, D.; Duursma, MC; Boon, JJ; Chiantoire, O. สเปกโตรมิเตอร์มวล MALDI-TOF บนพื้นผิวเซลลูโลสของเรซินวานิชไดเทอร์พีนอยด์สดและบ่มด้วยแสง J. Mass. Spec. 2005, 40, 1527-1535. doi : 10.1002/jms.893
- Poehland BL, Carté BK, Francis TA, Hyland LJ, Allaudeen HS, Troupe N. In vitro antiviral activity of dammar resin triterpenoids. J Nat Prod. 1987;50(4):706-713.
- Burger, P.; Charrié-Duhaut, A.; Connan, J.; Flecker, MJ; Albrecht, P. ตัวอย่างเรซินทางโบราณคดีจากซากเรือในเอเชีย: การจำแนกลักษณะทางอนุกรมวิธานโดย GC-MS Analytica Chimica Acta. 2009, 648, 85-97.
- Ukiya M, Kikuchi T, Tokuda H, Tabata K, Kimura Y, Arai T, et al. Antitumor-promoting effects and cytotoxic activities of dammar resin triterpenoids and their derivatives. Chemistry & Biodiversit.2010;7(8):1871-1884.