ถั่วลันเตา ประโยชน์ดีๆ สรรพรคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

ถั่วลันเตา งานวิจัยและสรรพคุณ 25 ข้อ


ชื่อสมุนไพร ถั่วลันเตา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ถั่วหวาน, ถั่วแขก (ทั่วไป), ถั่วน้อย (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativum Linn.
ชื่อสามัญ Pea, Greenpea, Garden pea, Sweet pea, Sugar pea
วงศ์ FABACEAE-LEGUMINOSAE

ถิ่นกำเนิดถั่วลันเตา

สำหรับถิ่นกำเนิดของถั่วลันเตายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าแท้จริงแล้วอยู่ที่ใดกันแน่ เนื่องจากถั่วลันเตาเป็นพืชที่มีอายุเก่าแก่และมีข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของถั่วลันเตาหลายทางที่แตกต่างกันเช่น บางข้อมูลระบุว่า ถั่วลันเตา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา จากนั้นจึงแพร่เข้ามาในแถบเมดิเตอเรเนียนและเอเชีย  บางข้อมูลระบุว่าถั่วลันเตามีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตอนกลาง หรือบางทีอาจเป็นอินเดีย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่ามีการบันทึกการเพาะปลูกถั่วลันเตา เริ่มแรกในแถบเอเชียตะวันตก ทวีปยุโรป และแพร่เข้าสู่แถบเมดิเตอร์เรเนียน เอเชีย ดังนั้นถิ่นกำเนิดของถั่วลันเตาจึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ส่วนชื่อเรียกถั่วลันเตาที่เราเรียกกันนั้น สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งประเทศจีนที่มีการนำเข้าถั่วลันเตา จากประเทศฮอลแลนด์ คนจีนเรียกถั่วเหล่านี้ว่า ห่อลันเตา (ฮอลแลนด์เตา) ซึ่งคำว่า เตา ในภาษาจีนแปลว่าถั่ว และมีการใช้คำนี้มากในหมู่คนจีนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย จนเพี้ยนไปและเรียกว่า ถั่วลันเตา ดังในปัจจุบัน


ประโยชน์และสรรพคุณถั่วลันเตา

  • ช่วยบำรุงไขมัน
  • บำรุงเส้นเอ็น
  • ช่วยซักตับ
  • บำรุงตับ
  • ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • บำรุงสายตา
  • บำรุงผิวพรรณ
  • บำรุงกระดูก
  • บำรุงฟัน
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ปัสสาวะขัด
  • บำรุงโรคตับพิการ
  • รักษาโรคตับทรุด
  • รักษาตับติดเชื้อ
  • แก้อาการผิดปกติในตับ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยถอนพิษ
  • แก้ตะคริว
  • แก้เหน็บชา
  • ใช้บำบัดโรคเบาหวาน
  • ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
  • แก้ความดัน
  • ช่วยป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืมได้
  • รักษาโรคหัวใจ
  • ช่วยสลายลิ่มเลือด

           ถั่วลันเตา นับเป็นพืชผักที่มีการนำมาใช้ทำอาหารที่เก่าแก่หลายพันปีแล้ว โดยในปัจจุบันก็ยังมีการนำ เมล็ดฝักอ่อนและยอดอ่อน นำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัดผัก ผัดหมูถั่วลันเตา แกงเลียง แกงจืด คั่วเกลือ นำมาลวก หรือ กินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก และยังมีการนำส่วนต่างๆ ของถั่วลันเตามาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แป้งจากถั่วลันเตา ถั่วลันเตา กระป๋อง ถั่วลันเตาแช่แข็ง หรือ นำไปทำเป็นขนมขบเคี้ยวต่างๆ ได้อีกด้วย

ถั่วลันเตา

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูกและฟัน โดยนำยอดอ่อนถั่วลันเตา รับประทานหรือใช้ประกอบอาหารรับประทานก็ได้ ใช้แก้ปัสสาวะขัด ขับปัสสาวะ โดยใช้ยอดอ่อนถั่วลันเตามาต้มกับน้ำดื่ม หรือรับประทานยอดที่ต้มก็ได้ ใช้บำรุงไขมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงตับ เพิ่มน้ำนม โดยนำเมล็ดมาคั่วกินหรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ ใช้รักษาโรคตับพิการ ตับหลุด ตับติดเชื้อ ถอนพิษ แก้เหน็บชา ขับปัสสาวะ ขับของเหลวในร่างกายโดยใช้เถามาต้มร่วมกับเถาลิ้นเสือ จากนั้นจึงนำน้ำที่ได้มาดื่ม ใช้รักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โดยใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝัก นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้งเช้าและเย็น


ลักษณะทั่วไปของถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา จัดเป็นพืชฤดูเดียวที่มีเถาเลื้อย มีความยาวได้ถึง 2 เมตร ลักษณะลำต้นเล็กและเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านตามข้อลำต้น ส่วนรากเป็นระบบรากแก้ว โดยถั่วลันเตาจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรกเป็นพันธุ์ฝักเหนียว มีเมล็ดโต นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานเมล็ด ส่วนอีกประเภทจะปลูกไว้เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมีขนาดใหญ่และมีปีก  ใบ เป็นใบประกอบหรือใบสลับ มีก้านใบหลักแทงออกบริเวณข้อลำต้น ประกอบด้วยหูใบ 1 คู่ มีลักษณะเรียบ หรือ หยักลึก มีใบย่อยเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ใบมีสีเขียวเข้ม มีขนขนาดเล็กและมีเส้นใบชัดเจน  ดอก ออกเป็นช่อโดยจะแทงออกบริเวณโคนใบและข้อในลำต้น ช่อละ 1-3 ดอก ซึ่งสายพันธุ์ที่ออกดอกเร็วจะออกดอกบริเวณข้อที่ 5-11 ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกช้าจะออกบริเวณข้อที่ 13-15 สีดอกที่พบในปัจจุบันมี 2 สีคือ สีขาว และสีม่วงแล้วแต่สายพันธุ์ดอกจะประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ โดยจะมีกลีบดอก Standard เป็นกลีบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ด้านบนสุดของดอกโดยขณะทีดอกตูมที่ยังไม่บานจะมีกลีบดอกชนิดนี้หุ้มดอกทั้งหมด แต่เมื่อดอกบาน กลีบนี้จะคลี่ออก และปลายกลีบโค้งออกด้านหลัง และมีกลีบดอก Wing เป็นกลีบดอกที่มีขนาดเล็กรองลงมา ประกอบด้วย 2 กลีบ อยู่ด้านข้างดอก ผล ออกเป็นฝัก ลักษณะสีเขียว แบนเรียบ ยาวรี จะนูนเฉพาะบริเวณของเมล็ด เมื่อฝักโตจะมีลักษณะอวบนูน ฝักจะโค้งคล้ายตาม เมล็ดภายในฝักมีประมาณ 2-7 เมล็ด ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

 ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา

การขยายพันธุ์ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยมีวิธีการเริ่มจาก นำเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ประมาณ 5-8 กิโลกรัมต่อไร่ แช่น้ำ 1 คืน และคลุกด้วยยากันเชื้อรา จากนั้นทำหลุมปลูกโดยใช้วิธีการขุดหลุมเป็นร่องยาวตื้นพอกลบเมล็ดได้ ลึกประมาณ 1-2.5 ซม. พร้อมโรยด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ จากนั้นทำการหยอดเมล็ดซึ่งจะใช้หลุมละ 3-4 เมล็ด ให้มีระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 30 ซม. กลบด้วยหน้าดิน และคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากปลูก 3-5 วัน เมล็ดถั่วลันเตาจะเริ่มงอกและเมื่อต้นอ่อนมีใบจริง 3-5 ใบ หรือสูงประมาณ 8-10 เซนติเมตร ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง โดยให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น เมื่อต้นถั่วลันเตามีอายุ 15-20 วัน หรือ สูง 15-20 เซนติเมตร จะเริ่มมีมือเกาะ ในระยะนี้จะต้องทำคานให้ถั่วเกาะ โดยใช้ไม้ไผ่ขนาด 2 นิ้ว ยาว 1.5-2 เมตร ปักระหว่างหลุม ระยะห่าง 2-3 เซนติเมตร แล้วรัดโยงด้วยเชือกหรือลวดเป็นชั้นๆ 4-6 ชั้น ส่วนการให้น้ำจะให้เพียงวันละ 1 ครั้ง ในระยะ 1-2 เดือนแรก และค่อยรดน้ำเป็น 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และความชื้นในดิน แต่ละครั้งที่ให้น้ำควรให้เพียงหน้าดินชุ่ม และไม่ควรให้น้ำมากจนดินแฉะ


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของถั่วลันเตา พบว่ามีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์หลายชนิด อาทิเช่น Phytoestrogen, Zeaxanthin, lutein, lecithin, cabalamin, coumestrol และ purine เป็นต้น นอกจากนี้ถั่วลันเตายังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ 

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา (100 กรัม)

พลังงาน

81

กิโลแคลอรี่

คาร์โบไฮเดรต

14.45

กรัม

น้ำตาล

5.67

กรัม

เส้นไย

5.1

กรัม

ไขมัน

0.4

กรัม

โปรตีน

5.42

กรัม

วิตามิน เอ

38

ไมโครกรัม

เบต้าแคโรทีน

449

ไมโครกรัม

ลูทีนและซีแซนทีน

2,477

ไมโครกรัม

วิตามิน บี1

0.266

มิลลิกรัม

วิตามิน บี 2

วิตามน บี 3

วิตามิน บี 6

0.132

2.09

0.169

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

มิลลิกรัม

วิตามิน บี 9

65

ไมโครกรัม

วิตามินซี

40

มิลลิกรัม

วิตามิน อี

0.13

ไมโครกรัม

วิตามินเค

24.8

ไมโครกรัม

ธาตุแคลเซียม

25

มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก

1.47

มิลลิกรัม

แมกนีเซียม

33

มิลลิกรัม

แมงกานีส

0.41

มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส

108

มิลลิกรัม

โพแทสเซียม

244

มิลลิกรัม

โซเดียม

5

มิลลิกรัม

สังกะสี

1.24

มิลลิกรัม

โครงสร้างถั่วลันเตา

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของถั่วลันเตา

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของถั่วลันเตาระบุว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้   

           ฤทธิ์รักษาผมร่วง มีการศึกษาในอาสาสมัคร จำนวน 10 คน อายุ 46-60 ปี ซึ่งให้ทาผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสกัดต้นอ่อนถั่วลันเตา (pea sprout extract) 2% บริเวณศีรษะด้านหลัง วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่ามีผลเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการงอกของเส้นผม ได้แก่ fibroblast growth factor 7 (FGF7) และ noggin ได้ 56% และ 85% ตามลำดับ และการศึกษาในอาสาสมัครซึ่งมีอาการผมร่วงเล็กน้อยถึงปานกลาง (วันละ ≥100 เส้น) จำนวน 21 คน อายุ 22-63 ปี ซึ่งให้รับประทานสารสกัดต้นอ่อนถั่วลันเตา ขนาด 100 มก. ละลายในน้ำเย็น หรือน้ำผลไม้ 200 - 250 มล. วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ หลังจากการรักษา 28 วัน ไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย จึงสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดต้นอ่อนถั่วลันเตา มีผลช่วยลดผมร่วงและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมในผู้ที่มีปัญหาผมร่วงได้ โดยไม่มีผลข้างเคียง

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  มีรายงานการศึกษาในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ของเปปไทด์ที่ได้จากการย่อยโปรตีนถั่วลันเตาโดยเอนไซม์โปรติเอสชนิดต่างๆ ที่ผ่านการแยกเปปไทด์ด้วยเครื่อง Amicon Ultramembrane MWCO 1 และ 3 kDa พบว่าเปปไทด์ที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วลันเตาที่ได้จากเอนไซม์เพปซิน ที่นำมาผ่านการแยกเพปไทด์ที่ระดับ 1 และ 3kDa มีความสามารถในการต้านอนมูลอิสระได้มากที่สุด เท่ากับร้อยละ 80.00 และ 78.70

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษารายงานจากต่างประเทศพบว่าถั่วลันเตา มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ อีกเช่น มีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิดช่วยลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ช่วยยับยั้งคอหอยพอก ฤทธิ์บำรุงและปกป้องสายตา


การศึกษาทางพิษวิทยาของถั่วลันเตา

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในถั่วลันเตา มีสารพิวรีน ซึ่งสารนี้จะถูกแปรสภาพแล้วจะกลายเป็นกรดยูริกที่จะทำให้อาการโรคไต โรคนิ่ว และโรคเก๊าต์กำเริบได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือ รับประทานแต่น้อย

เอกสารอ้างอิง ถั่วลันเตา

  1. นิพนธ์ ไชยมงคล. ถั่วลันเตา. ระบบข้อมูลพืชผัก สาขาวิชาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  2. ประสิทธิภาพในการรักษาผมร่วงของสารสกัดต้นอ่อนถั่วลันเตา. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. รัชนี ไสยประจง, สุรพงษ์ พินิจกลาง, เมธัส สิรสุทธิ. สมบัติทางเคมีกายภาพและสารต้านอนุมูลอิสระของไฮโดรไลเซทโปรตีนถั่วลันเตาที่ย่อยด้วยเอนไซม์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 46.
  4. ถั่วลันเตา สรรพคุณ และการปลูกถั่วลันเตา. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  5. Vermeirssen, V., Camp J.V. and Verstraete W., 2005, Fractonation of Angiotensin I Converting Enzyme Inhibitory Activity from pea and Whey Protein in Vitro Gastrointestinal Gigests, Journal of the Science of food and Agriculture, 85(3): 399-405.
  6.  Rubatzky, E.V. and M. Yamaguchi. 1997. Garden and Field Peas. Principles, Production, and Nutritive Values. World Vegetables, Second Edition. ITP International Thomson Publishing. New York. Pp 477-488.
  7. Stanisavjevic N.S., Vukotic G.N. and Paster F.T., 2015, Antioxidant Activity of pea Protein Hydrolysates Produced by Batch Fermentation with Lactin Acid Bacteris, Archives of Biological Science, January 2015.