กีปิโนไซด์

กีปิโนไซด์

ชื่อสามัญ Gypenosides


สูตรโครงสร้างทางเคมีของสารประเภทสะโปนินบางชนิดที่พบในสมุนไพรปัญจขันธ์ส่วนเหนือดิน

โครงสร้างกิปิโนไซด์

ประเภทและข้อแตกต่างของกีปิโนไซด์

สารกลุ่มกีปิโนไซด์ (Gepenosides) เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติซึ่งเป็นสารในกลุ่ม ไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (triterpene saponins) และมีโครงสร้างเป็นสารประเภท dammarane-type saponins ที่คล้ายกับสาร ginsenosides ที่สามารถพบในโสม สำหรับชนิดของกลุ่มสารกีปิโนไซด์ นั้น สามารถแยกออกได้ถึง 82 ชนิด ในจำนวนนี้มี 4 ชนิด ที่มีโครงสร้างเหมือนกับสารในกลุ่มอินเซนโนไซด์ (Ginsenosides) ในโสม ได้แก่ gypenosides III, IV, XII ซึ่งมีสูตรโครงสร้าง เช่น เดียวกันกับ ginsenosides Rd1, Rb3, Rd F2 ในโสม

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของกีปิโนไซด์

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า สารกลุ่มกีปิโนไซด์ มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ส่วนเหนือดินของปัญจขันธ์ หรือที่เรียกกันว่า เจียวกู่หลาน (gynosemma pentaphyllm (Thunb) Makino) ซึ่งสามารถพบสารดังกล่าวได้ทั้ง 2 สายพันธุ์ คือ สารพันธุ์พื้นเมือง (พันธุ์ไทย) และสายพันธุ์จีน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสักสา gypensides จากปัญจขันธ์เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ รวมถึงนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย

กีปิโนไซด์

ปริมาณที่ควรได้รับของกีปิโนไซด์

สำหรับปริมาณที่ควรได้รับและขนาดในการรับประทานของสาร gypenosides นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำนหดขนาดและเกณฑ์ในการใช้อย่างชัดเจน แต่ในทางการแพทย์มีการใช้ สารสกัดกีปิโนไซด์ ชนิดเม็ดชนาด 10 มก. มาใช้บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาเสริมการรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคมะเร็ง อีกทั้งทางองค์การเภสัชกรรมยังได้ผลิตสารสกัดปัญจขันธ์ชนิดแคปซูล 250 มิลลิกรัม (ซึ่งใน 1 แคปซูลจะมีสารกีนิโนไซด์รวมอยู่ด้วย) โดยกำหนดขนาดการใช้ 500 มิลลิกรัม/วัน โดยแบ่งเป็นครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนอาหาร เช้า-เย็น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยถึงความปลอดภัยของกีปิโนไซด์ ในสารสกัดเจียวกู่หลานพบว่าจากการศึกษาในอาสาสมัครโดยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลครั้งละ 1 แคปซูล ซึ่งประกอบด้วยสาร gypenoside 40 มก./แคปซูล หลังอาหารวันละ 2 ครั้งละ ครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) นาน 2 เดือน พบว่าจากการศึกษาไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ในอาสาสมัคร ทั้ง 2 กลุ่ม

ประโยชน์และโทษของกีปิโนไซด์

ในปัจจุบันมีการนำสารกีปิโนไซด์ (Gypenodises) มาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในทางการแพทย์ กล่าวคือ มีการนำสารดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยจะช่วยในด้านลดระดับไขมันในเลือด (เพิ่มค่า HDL) ลดน้ำตาลในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก แก้ปวด รักษาแผลกระเพาะอาหาร และยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้นอนหลับ และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย
         นอกจากนี้ยังมีการนำสารกีปิโนไซด์ มาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ โดยเชื่อว่าฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารดังกล่าวจะช่วยให้ผิวดูกระจ่างลดเรือนริ้วรอย ทำให้ผิวหนังเต่งตึงลดความเหี่ยวย่น ลงได้

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกีปิโนไซด์

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารกีปิโนไซด์ ในด้านต่างๆ มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
           มีรายกงานการศึกษากลวิธานการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และการบำบัดโรคหลอดเลือดและหัวของสาร gypenoside XLIX และ gynosaponin TR1 ที่แยกได้จากปัญจขันธ์ พบว่าออกฤทธิ์โดยกระตุ้น PPAR-α (Peroxusome proliferator-activated receptor-α) และ LXR-α (Liver X receptor-α) ส่วนผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาก็มีหลายฉบับอาทิ เช่น
           ฤทธิ์ลดความบกพร่อง ในการเรียนรู้ของหนูเม้าส์ มีผลการศึกษาผลของสาร gypenoside LXXIV จากปัญจขันธ์ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้บก พร่องในการเรียนรู้และความจำด้วยสาร scopolamine โดยป้อนในขนาด 5, 10, 20 และ 40 มก./กก. แล้วทดสอบด้วยวีธี Passive-avoidance และที่ขนาด 20 มก./กก. เมื่อทดสอบด้วยวีธี Morris water maze test พบว่าสาร gypenoside LXXIV มีผลเพิ่มการเรียนรู้และความจำของหนูได้
           ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทางในร่างกาย มีผลการศึกษาสารสกัด gypenoside จากเจียวกู่หลานเมื่อให้หนูกินขนาด 400 มก./กก./วัน นาน 5 วัน สามารถป้องกันการสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ส่วนในหนูที่เป็นมะเร็งชนิด Sarcome 180 และได้รับการรักษาด้วย dexamethasone ขนาด 10 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางชั้นใต้ผิวหนังนาน 5 วัน และให้ได้รับ gypenoside ขนาด 400 มก./กก. หรือ 150-300 มก./กก. นาน 12 และ 15 วันตามลำดับ พบว่าสารสกัด gypenoside สามารถเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของหนูและต้านการเกิดมะเร็งได้
           ฤทธิ์ต้านมะเร็งมดลูก มีรายงานการศึกษาพบว่า สาร Gypenoside จากเจียวกู่หลาน เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งปากมดลูกของคนพบว่าสามารถต้านการทำงานของ N-acetyltransferase (NAT) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกได้
           อีกทั้งยังมีการศึกษาผลของสารสกัดจากปัญจขันธ์ต่อการเรียนรู้และการจดจำของหนูเมาส์ โดยหนูเม้าส์จะถูกทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้และการจดจำลดลง โดยการฉีด scopolamine ขนาด 0.9 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู หลังจากนั้นจึงป้อนสาร Gypenoside TN-2 ที่ได้จากปัญจขันธ์ให้แก่หนูเม้าส์ ซึ่งได้ทำการแยกสารออกฤทธิ์บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการ activity-guided fractionation ในขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. แล้วจึงมีการทดสอบประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจำ ได้แก่ทดสอบความจำระยะสั้นจากการสำรวจช่องกล (วิธี Y-maze), ทดสอบการเก็บรักษาความจำจากการหลบเลี่ยงอันตราย (วิธี passive avoidance task) และทดสอบความจำระยะยาวจากการค้นหาแท่นพักในน้ำ (วิธี Morris water maze) ซึ่งพบว่าสาร Gypenoside TN-2 เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการจดจำทั้งความจำระยะสั้น การเก็บรักษาความจำ และความจำระยะยาวได้ โดยสาร Gypenoside TN-2 สามารถจะกระตุ้นการทำงานของ transcription factor CREB และเพิ่มปริมาณ brain-derived neurotrophic factor (BDNF) ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่และการอยู่รอดของเซลล์ประสาท
           มีผลการศึกษาวิจัยว่าเมื่อป้องส่วนสกัดซาโปนินของเจียวกู่หลาน ขนาด 0.5 มก./กก. ให้กับหนูขาวทางสายยางให้อาหาร พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้สาร phanoside (21,23-epoxy3β-20-21-tnihydroxydammae-24-ene-3-O-([α-D-rhamnopyranosyl(1→2)]-[β-D-glycopyranosyl(1→3)]-[β-D-lyxopyranoside)) เมื่อป้อนให้หนูขาวกินในขนาด 40 และ 80 มก./มล. พบว่าสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในตับอ่อนของหนูได้มากกว่ายาแผนปัจจุบัน glibenclamide (ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด)
           ผลต่อสมอง มีการศึกษาวิจัยสารสกัด Gypenoside จากเจียวกู่หลาน โดยนำมาทดสอบในกระต่าย ซึ่งจะแบ่งกระต่ายออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 กลุ่ม ที่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายได้รับบาดเจ็บที่สมองโดยมีเลือดออก และความดันโลหิตต่ำนาน 1 ชม. ทำให้ขาดเลือดมาเลี้ยงสมอง กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่กระต่ายได้รับบาดเจ็บ เช่น เดียวกับกลุ่มที่ 2 แต่ได้รับสารสกัด Gypenoside 50 มก./กก. โดยฉีดอย่างช้าๆ เข้าทางหลอดเลือดดำก่อนที่จะเหนี่ยวนำให้ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ให้ฉีดน้ำเกลือ (normal saline) เข้าทางหลอดเลือดดำในปริมาตรที่เท่ากัน พบว่าในกลุ่มทีได้รับสาร Gypenoside ไปยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ lactate dehydrogenase (LDH) และกระตุ้นการหลั่ง creatinine phosphokinase ในสมองเพิ่มขึ้น จึงทำให้สาร Gypenoside สามารถป้องกันการขาดเลือดมาเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลันได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาความเป็นพิษของ Gypenoside ดังนี้
            มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของปัญจขันธ์  ซึ่งมีสาร gypenosides ประกอบอยู่ 6% โดยป้อนสารสกัด ขนาด 5,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียวแก่หนูแรท เปรียบเทียบผลกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่าสารสกัดไม่ทำให้หนูตาย หรือเกิดอาการพิษใดๆ และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน ส่วนการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 1,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 90 วัน (treatment group) กลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 1,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 90 วัน แล้วถูกเลี้ยงต่อไปโดยไม่ได้รับสารสกัดอีก 28 วัน (satellite group) และกลุ่มควบคุม พบว่าในทุกกลุ่มไม่มีหนูตาย หรือเกิดอาการพิษ น้ำหนักตัว น้ำหนักและลักษณะของอวัยวะภายในของหนูที่ได้รับสารสกัด ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และในหนูเพศเมียพบว่ากลุ่ม treatment จะมีเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิล (neutrophil) และโมโนไซท์ (monocyte) เพิ่มขึ้น ส่วนในกลุ่ม satellite จะมีปริมาณของฮีโมโกลบิน และฮีมาโทคริตสูงกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับในหนูเพศผู้พบว่ากลุ่ม treatment จะมีระดับของเอนไซม์ alkaline phosphatase สูงกว่ากลุ่มควบคุม ขณะที่ในกลุ่ม satellite จะมีระดับของกลูโคสต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงของหนูปกติ

โครงสร้างกิปิไซด์ 

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติกีปิโนไซด์

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาและทดสอบ ความเป็นพิษของสารกีปิโนไซด์ ที่มีอยู่ในปัญจขันธ์รวมถึงสารสกัดกีปีโนไซด์จากปัญจขันธ์ว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามในการใช้สารสกัดดังกล่าว ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เช่นเดียวกันกับการใช้สารสกัดจากสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใข้ในปริมาณที่เหมาะสมรวมถึงไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ไม่ควรใช้สารสกัดดังกล่าวเพราะยังไม่มีผลการศึกษาใดรองรับ ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อนใช้สารสกัดดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้เสมอ

เอกสารอ้างอิง กีปิโนโซด์

⦁ พนิดา ใหญ่ธรรมสาร. 2549. เจียวกู่หลาน (ปัญจขันธ์). จุลสาร ข้อมูลสมุนไพร 23:2-9.
⦁ วิชญา ศรีสุข.ผลผลิต และสารสำคัญของปัญจขันธ์ 3 พันธุ์ ที่ปลูในพื้นที่สูงจังหวัดเลย.วารสารแก่นเกษตรปีที่ 41. ฉบับพิเศษ 1. 2556. หน้า 269-272
⦁ การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานปัญจขันธ์. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ วารุณี จิราวัฒนาพงค์.และคณะ. คุณภาพทางเคมีของสมุนไพรปัญจขันธ์สายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์ในประเทศไทย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 6. ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557.หน้า 158-165
⦁  เอมมนัส อัตตวิชญ์, ทรงพล ชีวะพัฒน์, ทรงพล ผดุงพัฒน์,จารีย์ บันสิทธิ์, เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, และคณะ. Chronic toxicity of Gynostemma pentaphyllum. Fitoterapia 2004;75:539-51.
⦁ เย็นจิตร เดชะดำรงสิน ธิดารัตน์ บุญรอด จารีย์ ยันสิทธิ วารุณี จิรวัฒนาพงศ์ ประไพ วงศ์สินคงมั่น ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก และจิรานุช มิ่งเมือง ปราณี ชวลิตธำรง คุณภาพทางเคมีของปัญจขันธ์สมุนไพรน่ารู้ ปัญจขันธ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ:โรงพิมพ์กรมการศาสนา 2548 หน้า 45-82.
⦁ ผลของสาร gypenoside LXXIV จากปัญจขันธ์ต่อความบกพร่องในการเรียนรู้ของหนูเมาส์. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ นฤมล มงคลชัยภักดิ์ และคณะ.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของปัญจขันธ์และสาระสำคัญ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกปีที่ 4. ฉบับที่ 1ตุลาคม 2548-มกราคม 2549. หน้า 79-95
⦁ Norberg A,Hoas NK.Liepinsh E.et al. A novel insulin-releasing substance. Phanoside from the plant Gynostemma [entaphyllum. J Biol Chem 2004;279:41361-7.
⦁ Huang TH-W, Tran VH, Roufogalis BD, Li Y. Gypenoside XLIX, a naturally occurring gynosaponin, PPAR-alpha dependently inhibits LPs induced tissue factor expression and activity in human THP-1 monocytic cells. Toxicol Appl Pharmacal 2007;218:30-6.
⦁ Chiu TH. Chen JC. Chung JG N-acetyttransferase is involved in gypenosides-induced N-acetylation of 2-aminofluorene and DNA adduct formation in human cervix epidermoid carcinoma cells (Ca Ski) In Vivo 2003;17(3):281-8.
⦁ Li L , JiaoL , Lau BH. Protective effect of gypenosides against oxidative stress in phagocytes , vascular endothelial cells and liver microsomes. Cancer Biother. 1993 ; 8 (3) : 263 - 272.
⦁ Wang Z.Qiu P.Protective effect of gypenosides on acute incomplete cerebral ischemia in rabbits. Zhongguo Yaollxue Yu Dulixue Zazhi 1992;6(3):204-6.
⦁ Yin F, Hu L, Lou F, Pan R. Dammarane-type glycosides from Gynostemma pentaphyllum. J Nat Prod 2004;67:942-52.
⦁ Qian B Zang X. Chen J et al. Influence of gypenosides on immunological function in rodents.Zhongguo Yaolixue Yu Dulixue Zazhi 1986;1(1)53-6.
⦁ Huang TH-W, Razmovski-Naumovski V, Salam NK, Duke RK, Tran VH, Duke CC, et a/. A novel LXR-<1 activator identified from the natural product Gynostemma pentaphyllum. Biochem Pharmacal 2005;70:1298-308.