โพลิโคซานอล

โพลิโคซานอล

ชื่อสามัญ  Policosanol

ประเภทและข้อแตกต่างสารโพลิโคซานอล

สารโพลิโคซานอล (policosanol) คือกลุโมของแอลกอฮอล์สายตรงยาว (long chain aliphatic alcohols) ที่มีความยาวคาร์บอน 20-36 อะตอม ซึ่งพบได้ในไขจากสัตว์และพืชบางชนิด มีสูตรทางเคมี คือ CH3–(CH2)n–OH2 OHn = 24-34 โดยมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ docosanol (C22) tetracosanol (C24) hexacosanol (C26) octacosanol (C28) และ triacosanol (C30) ส่วนประเภทของโพลิโคซานอลนั้น จะแตกต่างกันตามไขที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัด กล่าวคือ ปริมาณและองค์ประกอบของโพลิโคซานอล ในไขแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน โดยจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาสกัด เช่น ไชอ้อยมีโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม และมีออกตะโคซานอล (octacosanol ; C28) มากที่สุด 66% ส่วนในไขผึ้งมีโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 18-34 อะตอม โดยมีไตรอคอนทานอล (triacontanol ; C30) มากที่สุด  30.2% และโพลิโคซานอลที่พบในไขรำข้าวมีความยาวคาร์บอน 22-36 อะตอม โดยมีไตรอคอนทานอลมากที่สุด 30% เป็นต้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารโพลิโคซานอล

โพลิโคซานอล เดิมที่สกัดมาจากอ้อยแต่ในเวลาต่อมาพบว่ายังสามารถสกัดได้จากแหล่งต่างๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น ไขจากผึ้ง รำข้าว ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี มันเทศ และถั่ว เป็นต้น ซึ่งจำนวนปริมาณ และองค์ประกอบของโพลิโคซานอลที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบต่างๆ จะมีความต่างกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตและการสกัดโพลิโคซานอล ในเชิงพาณิชย์ เพื่อนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นจะเป็นการสกัดจากไขอ้อย และไขผึ้งเป็นส่วนใหญ่

โพลิโคซานอล

ปริมาณที่ควรได้รับจับสารโพลิโคซานอล

ในปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์การกำหนดขนาดและปริมาณการรับประทานโพลิโคซานอล ที่แน่ชัด แต่มีการศึกษาวิจัยถึงขนาดการรับประทานโพลิโคซานอล เพื่อประโยชน์ในการลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ พบว่าการบริโภคโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม 5-20 มิลลิกรัม/วัน สามารถลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (Low Den-sity Lipoprotein Cholesterol; LDL-C) ได้ 21-29% และยังทำให้มีโคเลสเตอรอลที่ดี (High Density Lipoprotein Cholesterol ; HDL-C) เพิ่มขึ้น 8-15%

            นอกจากนี้องค์การอาหารและยาของไทยยังมีการอนุญาตให้ใช้สารโพลิโคซานอล ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการสำนักงานอาหารและยา เรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 โดยระบุถึงรายชื่อพืช กรรมวิธีการผลิตสารสำคัญ และขนาดการใช้ว่าอนุญาติให้ใช้อ้อยเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผ่านกรรมวิธี การสกัดด้วยน้ำและเอทานอล ซุปเปอร์คลิทิคอลคาร์บอนไดออกไซด์ โดยให้มีปริมาณโพลิโคซานอลไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/วัน เช่นเดียวกับข้าวที่อนุญาตให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผ่านกรรมวิธีการบดผง บีบอัด และสกัดด้วยเฮกเซน น้ำและเอทานอลโดยให้มีปริมาณโพลิโคซานอลไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/วัน

ประโยชน์และโทษจับสารโพลิโคซานอล

โพลิโคซานอลถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ในด้านอุตสาหกรรมความงาม มีการนำโพลิโคซานอลมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแทนไขคาร์นูบา (Carnubawax)  โดยอาศัยคุณสมบัติการควบคุมความมันยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และเพิ่มความชุ่มชื้นอ่อนโยนต่อผิวได้ดี โดยทั่วไปในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปกติจะใช้โพลิโคซานอลเป็นส่วนผสมประมาณ 1%-5% ของน้ำหนักรวม เช่น ในครีมทาผิว โลชั่น ลิปสติก หรือ เจลแต่งผม ด้านการแพทย์มีการนำโพลิโคซานอลมาใช้ผลิตยาที่เกี่ยวกับการลดความดันโลหิต ลดไขมันแอลดีแอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ลดปริมาณคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือด โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) ลดอันตรายของเยื่อบุหลอดเลือด (Endothelial damage) และลดการสร้าง โฟมเซลล์ 

            นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำโพลิโคซานอล มาใช้เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ที่ระบุถึงสรรพคุณการป้องกันโรค และอาการต่างๆ ดังนี้

            ลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) และช่วยกระตุ้นการสร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวนำพาไขมันที่สะสม และอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ช่วยลดการอุดตัน และลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ช่วยป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และตับ ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดที่บริเวณผิวหนังหลอดเลือด และการยับยั้งการเกิดของสิว

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องจับสารโพลิโคซานอล

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของโพลิโคซานอล หลายฉบับ อาทิเช่น ได้มีการวิจัยถึงผลโพลิโคซานอลทางการแพทย์ครั้งแรกในปี 1984 เนื่องจากพบว่าไขอ้อยสามารถลดระดับไขมันในสัตว์จำพวกหนูได้ จากนั้นจึงมีการทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มากกว่า 60 การวิจัย จนกระทั่งมีการตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารทางการแพทย์ American Heart Journal ปี 2002 ถึงคุณประโยชน์ของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายแม้ใช้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาลดไขมันในเลือด

           ฤทธิ์ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ได้มีการศึกษากับผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง มากกว่า 3,000 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้ โพลิโคซานอลสามารถช่วยลดระดับของไขมันโคเลสเตอรอลชนิดรวม (TC) และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) โดยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง และช่วยบำรุงตับให้สร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มากขึ้น ซึ่งโดยปกติไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) จะมีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสม และอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ แต่ก็มีบางรายงานที่ขัดแย้งในการลดคลอเรสเตอรอลนี้ เช่น

           มีการศึกษาวิจัยสาร policosanols เป็นสารให้ความหวานในอ้อย ซึ่งการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Randomized double blind crossover ในชาย และหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีคอเลสเตอรอลสูง จำนวน 21 คน สุ่มให้รับประทาน policosanols 10 มิลลิกรัม/วัน หรือ ยาหลอกโดยผสมอยู่ในมาการีน เป็นเวลา 28 วัน ทิ้งช่วงล้างยา 28 วัน แล้วสลับมารับประทานมาการีนอีกสูตรที่เหลือ เมื่อจบการทดลองไม่พบความแตกต่างของ LDL oxidation ระหว่างการรับประทาน policosanols และยาหลอก รวมไปถึงปริมาณไขมันในเลือดทั้ง LDL, HDL, ไตรกลีเซอร์ไรด์ และน้ำหนักของผู้ร่วมการทดลอง

           ฤทธิ์ป้องกันภาวะเส้นเลือดอุดตัน มีรายงานการศึกษาวิจัยโพลิโคซานอล สามารถช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในระดับคลินิก และปรีคลินิกซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ และข้อดีของสารประกอบโพลิโคซานอลจากไขอ้อยที่ช่วยลดจับตัวกันของเกล็ดเลือดได้ช่วยป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด และฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และตับ ส่วนการศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้โพลิโคซานอลนั้น พบว่าการรับประทานโพลิโคซานอลในประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานมากกว่า 3 ปี จะมีความปลอดภัยสูงและไม่พบผลข้างเคียงจากการศึกษาในครั้งนี้ต่อผู้ป่วย

โครงสร้างโพลิโคซานอล

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ถึงแม้ว่าในการศึกษาวิจัยจะบ่งบอกถึงสรรพคุณต่างๆ ของโพลิโคซานอลและยังมีการศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้ที่ระบุว่ามีความปลอดภัยสูง แต่ในการใช้โพลิโคซานอลก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สารสกัดชนิดอื่นๆ คือ ควรใช้ในขนาดที่พอดีไม่ควรใช้เกินปริมาณที่กำหนด หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ อีกทั้งผู้ที่แพ้ผึ้ง หรือ ส่วนประกอบของผึ้งก่อนจะใช้โพลิโคซานอล ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์และยา ที่มีโพลิโคซาอนลเป็นส่วนประกอบให้ดีเสียก่อน เพราะโพลิโคซานอลที่ใช้อยู่อาจเป็นประเภทที่สกัดมาจากไขผึ้งซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่แพ้ผึ้งได้

เอกสารอ้างอิง โพลิโคซานอล
  1. จิราภรณ์ พึ่งธรรม และคณะ.การสกัดการทำให้บริสุทธิ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบของโพลิโคซานอล จากไขรำข้าวของไทย.วารสารวิจัย และพัฒนา มจธ.ปีที่ 31.ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551.หน้า 305-317
  2. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560
  3. Policosanol จากอ้อย ไม่มีส่วนช่วยลด LDL oxidation ในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง.ข่าวความเคลื่อนไหว.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  4. Jimenez, J. J., Bernal, J. L., Aumente, S., Toribio, L., and Bernal, J., 2003, “Quality Assurance of Commercial Beeswax: II Gas ChromatographyElectron Impact Ionization Mass Spectrometry of Alcohols and Acids,” Journal of Chromatography A, Vol. 1007, pp. 101-116.
  5. Valdes S. Arruzazabala MI, Fernandez L. et al., Effect of policosanol on platelet aggregation in Healthy volunteers, Int J Clin Pharmacol Res, 1996 :16, 67-72.
  6. Varady, K. A., Wang, Y., and Jones, P. J. H., 2003, “Role of Policosanols in the Prevention and Treatment of Cardiovascular Disease,” Nutrition Reviews, Vol. 61, pp. 376-383.
  7. Pons P et al. Effects of successive dose increases of policosanol on the lipid profile of patients with type II hypercholesterolemia and tolerability to treatment. Int J Clin Pharm Res 1994;XIV(1);27-33
  8. Irmak, S., Dunford, N. T., and Milligan, J., 2006, “Policosanol Contents of Beeswax, Sugar Cane and Wheat Extracts,” Food Chemistry, Vol. 95, pp. 312-318
  9. Policosanol Monograph, Alternative Medicine Review, Volume 9, Number 3, 2004: 312-317.
  10. Rendon, A., Rodriguez, M. D., Lopez, M., Garcia, H., de la Cajigas, A., and Mas, R., 1992, “Policosanol : A Study of its Genotoxicity and Teratogenicity in Rodents,” Toxicology Letters, Vol. 63, pp. 249
  11. Zardoya R et al. Effects of policosanol on hypercholesterolemic patients with abnormal serum biochemical indicators of hepatic function. Current therapeutic research 1996;57(7);568-577
  12. Hargrove, J. L., Greenspan, P., and Hartle, D. K., 2004, “Nutritional Significance and Metabolism of Very Long Chain Fatty Alcohols and Acids fromDietary Waxes,” Experimental Biology and Medicine, Vol. 229, pp. 215-226
  13. Gouni I. Berthold and Berthold H. K. , Policosanol/clinical pharmacology and therapeutic significance of a new lipid- lowering agent, American Heart Journal, 2002 :143, 356–365.
  14. Arruzazabala, M. L., Carbajal, D. R. M., Garcia, M., and Fraga, V., 1993, “Effects of Policosanol on Platelet Aggregation in Rats,” Thrombosis Research, Vol. 69, pp. 321-327.
  15. Mas R et al. Effect of policosanol in patients with type II hypercholesterolemia and additional coronary risk factors. Clinical pharmacology & therapeutics 1999;65(4); 439-447
  16. Stuchlik, M. and Zak, S., 2002, “Vegetable Lipids as Components of Functional Foods,” Biomedical Papers, Vol. 146, pp. 3-10