ซีลีเนียม

ซีลีเนียม

ชื่อสามัญ Selenium

ประเภทและข้อแตกต่างซีลีเนียม

ซีลีเนียม (Selenium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งมีสัญลักษณ์ทางเคมีว่า Se อยู่ในตารางธาตุหมู่ที่ 16 คาบ ที่ 4 มีเลขอะตอมเท่ากับ 34 และมวลอะตอม 78.96 กรัมต่อโมล โดยเป็นธาตุที่มีสีเทา หรือ สีเทาผสมดำ ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมเหลวที่ 220.5 องศาเซลเซียส และมีจุดเดือนเท่ากับ 684.9 องศาเซลเซียส และถูกค้นพบในปี ค.ศ.1817 โดย Jons Jacob Berzclius และยังมีความเกี่ยวข้องการกระบวนการสร้าง และสลายสารอาหาร ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ส่วนประเภทของสังกะสีนั้นจะพบในรูปสารประกอบอินทรีย์ 3 ประเภท ได้แก่ ซีลีโนเมทไธโอนีน (selenomethionine) ซีลีโนซิสทีน (selenocysteine) และซีลีโนยีสต์ (selenoteast) ซึ่งมีข้อแตกต่างกัน คือ ซีลีโนเมไธโอนีน จากอาหารเท่านั้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างได้ โดยในอาหารซีลีเนียม ดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ซีลีเนียม-เมธิลซีลีโนซิสเทอีน ส่วนซีลีเนียมยีสต์มีที่มาจากเซลล์ยีสต์ที่ถูกเพาะเลี้ยงในสารอาหารที่มีธาตุซีลีเนียม จึงให้ปริมาณของ L-selenomethionine ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในปริมาณสูง 
           นอกจากนี้ซีลีเนียมยีสต์ยังประกอบด้วย methylselenocysteine และสารประกอบซีลีเนียมอินทรีย์อื่นๆ ที่คล้ายกับ ซีลีเนียมที่พบได้จากแหล่งอาหารในธรรมชาติอีกด้วย

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาซีลีเนียม

ซีลีเนียมเป็นธาตุที่สามารถพบได้ในหลายๆ แหล่ง เช่น ดิน และหิน ซึ่งสามารถพบซีลีเนียมได้ในดิน และหิน เช่น ดินทราย หินปูน และแผ่นหิน อากาศ ซีลีเนียม พบสะสมอยู่ในอากาศทั้งจากการหายใจของสิ่งมีชีวิต และจากมลภาวะ อาหาร และน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญที่ร่างกายได้รับมากที่สุดโดยซีลีเนียมพบในอาหารที่เราใช้บริโภค ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ไข่ หัวหอม และกระเทียม ธัญพืชต่างๆ ซึ่งพบว่า แหล่งอาหารที่มีซีลีเนียมสูงที่สุด ได้แก่ ประเภทอาหารทะเล เนื้อปลาไข่ รองลงมา ได้แก่ เนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อไก่) ถั่วเหลือง ถั่วแระต้น ถั่วขาว และถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่างๆ ส่วนผัก และผลไม้มีซีลีเนียมอยู่บางเล็กน้อย ดังตารางโดยปริมาณซีลีเนียมในอาหารแต่ละอย่างที่จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดินที่เพาะปลูก ส่วนปริมาณซีลีเนียมในเนื้อสัตว์ขึ้นอยู่กับปริมาณของซีลีเนียมที่อยู่ในพืช ที่เป็นอาหารสัตว์

อาหารไทยที่มีปริมาณซีลีเนียมสูง

ซีลีเนียม

ปริมาณซีลีเนียมในผัก และผลไม้บางชนิด 

ซีลีเนียม 

ซีลีเนียม 

ปริมาณที่ควรได้รับจากซีลีเนียม

สำหรับการกำหนดปริมาณซีลีเนียม อ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake (DRI)) ของไทยจุใช้ข้อมูลจาก DRI ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก โดยค่าปริมาณซีลีเนียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (DRI) ของบุคคลวัยต่างๆ มีดังนี้

ปริมาณซีลีเนียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับบุคคลวัยต่างๆ

ซีลีเนียม

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัย ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาพบว่าปริมาณสูงสุดของซีลีเนียม ที่รับได้ในแต่ละวัน (Tolerable Upper Intake Level (UL)) ที่บริโภคได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สามารถกำหนดปริมาณสูงสุดที่รับได้ในแต่ละวันดังนี้

ปริมาณสูงสุดของซีลีเนียมที่รับได้ในแต่ละวันสำหรับกลุ่มบุคคลวัยต่างๆ

ซีลีเนียม

ประโยชน์และโทษซีลีเนียม

บทบาทหน้าที่ของซีลีเนียมในร่างกายจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากซีลีเนียมมีคุณสมบัติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการสร้างเอนไซม์ glutathione peroxidase ซึ่งมีหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระต่างๆ ที่ทำอันตรายต่อเซลล์ หรือ เปลี่ยนแปลงเซลล์ปกติให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง และยังช่วยในการนำสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น glutathione วิตามินซี และวิตามินอี เป็นต้น กลับมาใช้งานได้อีก ทำให้การกำจัดอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพ มากขึ้น และยังชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ (apoptosis) ส่งเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ
           นอกจากนี้ซีลีโนโปรตีนซึ่งมีซีลีเนียมเป็น องค์ประกอบจะมีหน้าที่เกี่ยวกับโครงสร้างของสเปิร์ม และกล้ามเนื้อ รวมถึงยังมีผลต่อเมแทบอลิซึมของฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ และอินซูลิน อีกทั้งซีลีโนโปรตีน เช่น iodothyronine deiodinases ซึ่งเป็นเอนไซม์กลุ่มซีลีโนโปรตีนที่สำคัญ มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ควบคุมระดับ triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) โดยการเปลี่ยน thyroxine ให้เป็น triiodothyronine และซีลีโนโปรตีนที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง คือ thioredoxin reductases (TR1-3) มีบทบาทที่สำคัญโดยช่วยเรื่อง การแบ่งตัว และป้องกันการตายของเซลล์ (apoptosis) ได้อีกด้วย
           ส่วนโทษของซีลีเนียม นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะขาดซีลีเนียม โดยปกติแล้วซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ โดยต้องให้มีระดับซีลีเนียมในเลือดประมาณ 7-9 ไมโครกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร จึงพอเพียงแก่การทำงานของเอนไซม์ glutathione peroxidase ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับซีลีเนียมอย่างเพียงพอจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และระดับไขมันโคเลสเตอรอลจะสูงขึ้น และยังพบว่าอาจมีผลต่อการทำงานของตับอ่อน และอาจทำให้เป็นหมัน และยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยพบว่าการขาดซีลีเนียมจะเพิ่มโอกาสการตายจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดถึง 2-3 เท่า และอาจทำให้เกิดโรค Keshan (Keshan disease) ซึ่งมีอาการสำคัญ คือ กล้ามเนื้อ หัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) หากเป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดหัวใจวาย (congestive heart failure)
           นอกจากนี้ยังพบว่า การขาดธาตุซีลีเนียม ยังอาจทำให้เกิดโรค Kashin Beck (Kashin Beck disease) หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Big Bone disease ซึ่งโรค Kashin Beck เป็นโรคที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูก และข้อต่อ ที่จะทำให้ข้อต่อเจริญผิดรูปร่าง โรคนี้มักเกิดในเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และอีกประเภทหนึ่ง คือ ภาวะได้รับซีลีเนียมเกินโดยการบริโภคซีลีเนียมมากเกินไป มีความเสี่ยงต่อสุขภาพตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง เช่น ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณข้อต่างๆ (Arthritis) ผมร่วง และมีผลต่อการทำงานของตับและไต และยังพบว่าภาวะ การได้รับซีลีเนียมเกินยังมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีภาวะซีลีโนซีส (selenosis) ที่มีระดับความเข้มข้นของซีลีเนียมในเลือดสูงถึง 100 ไมโครกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งผู้ที่มีภาวะซีลีโนซีสจะมีอาการผิดปกติในกระเพาะ และลำไส้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ลมหายใจมีกลิ่นคล้าย กระเทียม คลื่นไส้ ผมร่วง เล็บเริ่มเปราะบางและมีจุดสีขาวเกิดขึ้นที่เล็บ และมีการเสื่อมของระบบประสาทโดยเฉพาะ ตามปลายมือปลายเท้า

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องซีลีเนียม

มีผลการศึกษาวิจัยระบบการทำงานของซีลีเนียมในร่างกายมนุษย์ระบุว่า เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของซีลีเนียมเข้าสู่ร่างกาย และซีลีเนียมในอาหารทั้งที่เป็นสารประกอบอนินทรีย์และสารประกอบ อินทรีย์จะถูกเปลี่ยนเป็น selenide ที่สามารถนำไปสร้าง selenocysteine เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบของโปรตีนและ เอนไซม์ต่างๆ โดย selenide ส่วนที่เหลือใช้จะถูกเปลี่ยนเป็น methylselenol แล้วขับออกทางลมหายใจ หรือ เปลี่ยนเป็น trimethylselenonium แล้วขับออกทางปัสสาวะ ทั้งนี้ซีลีเนียม ส่วนใหญ่ที่พบในสัตว์ และในเนื้อเยื่อของมนุษย์ จะอยู่ในรูปของ selenomethionine ซีลีเนียมส่วนใหญ่จะพบบริเวณกล้ามเนื้อ (skeletal muscle) โดยพบประมาณร้อยละ 28-46 ของซีลีเนียมในร่างกาย

           นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยซีลีเนียม ในด้านต่างๆ อีกหลายฉบับ อาทิเช่น มีผลการศึกษาวิจัยของสถาบัน National Research Council ระบุว่าซีลีเนียมเป็นธาตุที่จำเป็น และสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีผลต่อระบบเมตาบิลิซึมของร่างกาย และยังเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์กลูทาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (GSHPx) ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide H2O2) และลิปิดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (lipid hydroperoxides) ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากกลไกการทำงานของร่างกายให้เปลี่ยนไปเป็นน้ำ และลิปิดแอลกอฮอล์ ตามลำดับ (Rutruck et al.,1973) และเอนไซม์ชนิดนี้ยังช่วยในการกำจัดอนุมูลอิสระ (O2 free radical) ป้องกันเซลล์จากการทำลายของสารเปอร์ออกไซด์ (Little el al.,1970) ได้อีกด้วย
           ส่วนอีกฉบับหนึ่งระบุว่าซีลีเนียมมีหน้าที่เป็น antioxidant และเป็นส่วนหนึ่งใน glutathione peroxidase และเป็นส่วนหนึ่งใน glutathione peroxidase ป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อจาก peroxide ที่ผลิตมาจากขบวนการสลายไขมัน และยังมีหลายงานวิจัยที่สนับสนุนว่าซีลีเนียมป้องกันการเกิด metabolic disorder ดังนั้นถ้าระดับซีลีเนียมในร่างกายต่ำก็จะเกิดภาวะ metabolic disorder ได้ อีกทั้งยังพบว่าเมื่อทำงานร่วมกับวิตามินอี และสังกะสี จะทำให้สมารถลดการอับเสบของต่อมลูกหมาก และลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคตับเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic cirrhosis) ได้อีกด้วย
           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาด้านพิษวิทยาพบว่า การได้รับซีลีเนียมเกินกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวัน จะทำให้เกิดภาวะซีลีโนซีส หรือ ภาวะพิษ จากซีลีเนียมได้ และถ้าร่างกายได้รับซีลีเนียมเกินขนาดเป็นเวลานานๆ อาจทำให้มีภาวะตับวายได้

โครงสร้างซีลีเนียม

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

⦁ โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบภาวะ การขาดซีลีเนียม และจำเป็นที่ต้องได้รับซีลีเนียมเสริมในรูปแบบยาควรระมัดระวังอาการแพ้ ซึ่งอาการแพ้จะมีอาการปวดบวม หน้าบวม หายใจลำบาก ฯลฯ
⦁ การใช้ Selenium อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรูปแบบอื่นได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ ผมร่วง เล็บเปราะ
⦁ ในผู้ที่ เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง หรือ มีภาวะขาดไทรอยด์ โรคไตเรื้อรัง หรือ กำลังได้รับการฟอกไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ Selenium เสริม

เอกสารอ้างอิง ซีลีเนียม

⦁ ธวัลย์ ฤกษ์งาม, อรชุมา ล่อใจ, สุดาวดี คงขำ, ดวงเนตร พิพัฒน์สถิตพงศ์.การศึกษาทองแดง แมกนีเซียม ซีลีเนียม และสังกะสีในผู้สูงอายุ ชายไทยที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม และระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ปีที่ 27. ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562. หน้า 1088-1098
⦁ คณะกรรมการ และคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสชีพ 2563
⦁ Selenium (ซีลีเนียม). พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.pobpad.com
⦁ Brown,K.M.and Arthur, J.R.2001. Selenium, selenium , selenoprotiens and human health A Review Public Health Nutrition 4:593-599.
⦁ Gromer S, Eubel JK, Lee BL, Jacob J. Human selenoproteins at a glance. Cellular Mol Life Sci 2005;62:2414-37
⦁ Salonen,J.T., Alfthan,G., Huttunen,J.K.and Pikkarainen,J., 1982, Association between cardiovascular death and myocardial infarction and serum selenium in a matchedpair longitudinal study, Lancet 24: 175-179.
⦁ Sirichakwal P.P.,Puwastien,P.,Polngam,J.and Kongkachuichi, R. 2005.Selenium content of Thai foods.Journal of Food Composition and Analysis 18:47-59.
⦁ Terry EN, Diamond AM. Selenium. In: Erdman JW, Macdonald LA, Zeisel SH, editors. Present Knowledge in Nutrition, 10th ed. Washington, D.C.: John Wiley & Sons, Inc. 2012:568-85.
⦁ Little,C.,Olinescu,R.,Reid,K.G.and Brien,O.P.J.1970.Properties and regulation of glutathione peroxidase. Journal Biological Chemistry 245:3632-3636.
⦁ Penington JA, Young BE, Wilson DB, Johnson RD, Vanderveen JE. Mineral content of foods and total diet: the selected minerals in foods survey, 1982 to 1984. J Am Diet Assoc 1986;86;87691.
⦁ Sunde RA. Selenium. In: Bowman BA, Russell RM, editors. Present knowledge in nutrition. 8th ed. Washington D.C.: ILSI Press; 2001. p. 352-72.
⦁ McDowell,L.,R.1992.Minerals in Animal and Human Nutrition. California:Academic Prees.524p.
⦁ Rocourt C, Cheng WH. Selenium supranutrition: are the potential benefits of chemoprevention outweighed by the promotion of diabetes and insulin resistance. Nutrients 2013;5:1349-65.
⦁ Food and Nutrition Board, Institute of Medicine. Dietary Reference Intakes for vitamin C, vitamin E, selenium, and carotenoids. Washington D.C: National Academy Press; 2011;283-324.
⦁ Kryukov,G.V.,Castellano,S.,Novoselov,S.V.,Lobanov,A.V.,Zehtab,O.,Guigó,R.and Gladyshev,V.N.,2003,Characterizationof mammalianselenoproteomes,Science300:1439-1443.
⦁ Sunde RA. Selenium. In: Coates PM, Betz JM, Blackman MR, et al., editors. Encyclopedia of Dietary Supplements. 2nd ed. London and New York: Informa Healthcare; 2010. p. 16-23.
⦁ National Research Council.1989.Food and Nutrition Board Recommended Dietary Allowances. Washington.D.C:National Academy Press.72p.
⦁ Combs Jr GF. Status of selenium in prostate cancer prevention. Brit J Cancer 2004;91:195-9.
⦁ Rutruck,J.T.,Pope,A.L.,Ganther, H.E., Swanson, A.B.,Hafeman, D. and Hockstra, W.G.1973.Selenium:biochemical role as a component of GSH-Px.Science179:588-590.
⦁ Thiry C, Ruttens A, De Temmerman L, Schneider YJ, Pussemier L. Review; Current knowledge in species-related bioavailability of selenium in food. Food Chem 2012;130:767-84.