มะนาว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะนาว งานวิจัยและสรรพคุณ 43 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะนาว
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ส้มมะนาว (ภาคกลาง), ส้มนาว (ภาคใต้), สีมานีปีห์ (มลายู), หมากผ้า (ไทยใหญ่), โกรยชะม้า (เขมร), มะเน้าเลย์, มะนอเกละ, ปะนอเกล (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง, กาญจนบุรี)
ชื่อสามัญ Common lime, Lime, Sour lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swing.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Limonia aurantifolia Christm. & Panzer.
วงศ์ Rutaceae

ถิ่นกำเนิดมะนาว

เชื่อกันว่ามะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้ รู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดีมาตั้งแต่อดีตแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ คือ ประเทศไทย แต่มีการค้นพบอีกชิ้นหนึ่งที่เชื่อว่ามะนาว มีแหล่งกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ และเขตเชื่อมต่อกับพม่า รวมถึงทางตอนเหนือของมาเลเซีย (แต่น่าแปลกที่ไม่พบมะนาวในป่าของไทย) ปัจจุบันมีการปลูกมะนาวทั่วไปในเขตร้อน และเขตอบอุ่นกึ่งร้อนทั่วโลกเพราะมะนาวสามารถขึ้นได้ในที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และทนต่อดินเนื้อละเอียดได้ดีกว่าส้ม 

ประโยชน์และสรรพคุณมะนาว  

  1. เป็นยาอายุวัฒนะ
  2. ช่วยในการเจริญอาหาร
  3. แก้อาการวิงเวียนหลังคลอดบุตร
  4. แก้อาการลมเงียบ
  5. แก้โรคตาแดง
  6. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
  7. ช่วยแก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียนศีรษะ เมาเหล้าได้
  8. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง และต่ำ
  9. เป็นยาแก้ไข้
  10. แก้ไข้ทับระดู
  11. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือ เลือดออกตามไรฟัน
  12. ช่วยในการขับเสมหะ
  13. ช่วยแก้ไอ หรือ อาการไอที่มีเลือดปนออกมา
  14. ช่วยบรรเทาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ
  15. ช่วยบรรเทาอาการเสียงแหบแห้ง
  16. ช่วยลดอาการเหงือกบวม
  17. เป็นยาบ้วนปาก ทำให้ช่องปากสะอาดมากยิ่งขึ้น
  18. ช่วยแก้ลิ้นเป็นฝ้า
  19. ช่วยในการขจัดคราบบุหรี่
  20. แก้เล็บขบ
  21. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง แน่นท้อง ด้วยการนำน้ำมะนาวมาใช้กินกับน้ำตาล
  22. แก้อาการท้องร่วง
  23. ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน
  24. ช่วยรักษาอาการท้องผูก
  25. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ
  26. แก้อาการบิด
  27. แก้อาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย 
  28. ช่วยรักษาโรคนิ่ว
  29. แก้อาการระดูขาว
  30. แก้ผิดสำแดง
  31. ช่วยฟอกโลหิต
  32. ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิตจาง
  33. แก้โรคเหน็บชา
  34. ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  35. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ
  36. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  37. บรรเทาอาการคันบริเวณผิวหนัง
  38. แก้สังคัง
  39. แก้ปัญหา กาก เกลื้อน หิด
  40. แก้หูด
  41. แก้ฝีและอาการปวดฝี
  42. ช่วยผลัดเซลล์ผิว
  43. ช่วยลดรอยด่างดำ

           ส่วนสรรพคุณทางยานั้นระบุว่า ตำรายาไทยผิวมะนาว จัดอยู่ใน “เปลือกส้ม 8 ประการ” ประกอบด้วย ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มโอ ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะกรูด และผิวมะนาว (หรือ ผิวส้มโอมือ) มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางล

มะนาว

มะนาว

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • แก้อาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ใช้น้ำจากผลที่โตเต็มที่ เติมเกลือเล็กน้อย  จิบบ่อยๆ หรือ จะทำน้ำมะนาวเติมเกลือ และน้ำตาลเล็กน้อย
  • แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้เปลือกผลสด 1/2-1 ผล ฝานเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำขณะมีอาการ หรือ หลังอาหาร 3 เวลา
  • ใช้มะนาว 1 ผล บีบเอาน้ำมะนาวมาชงกับน้ำร้อนดื่ม หรือ ใช้มะนาวฝานบางๆ จิ้มเกลือกินจะช่วยขับเสมหะได้
  • เช้าหลังตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว บีบมะนาว 1/4 ผล (หรือ ใส่เกลือเล็กน้อย) จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกายน้ำมะนาวผสมผงกำมะถัน
  • แก้อาการกลาก เกลื้อน หิด ใช้ทามะนาวก่อนนอน 
  • แก้น้ำกัดเท้า ใช้น้ำมะนาวทาที่ตุ่มคัน ทิ้งไว้ให้แห้ง ล้างน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วใช้แป้งทาตุ่มคัน 
  • ในด้านความงาม ผลัดเซลล์ผิว ลดรอยด่างดำ ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้ง ทำสัปดาห์ละครั้ง ผิวหน้าจะดูสดใส หรือ ใช้น้ำมะนาวผสมน้ำแช่อาบ
  • ใช้ในการแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาใบมะนาวประมาณ 100 ใบมาต้มกิน
  • ช่วยแก้ลิ้นเป็นฝ้า ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำมะนาวเช็ดที่ลิ้นวันละ 2-3 ครั้ง


ลักษณะทั่วไปของมะนาว

เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็กมีลักษณะเป็นพุ่มมีความสูงเฉลี่ย 2-5 เมตร ลำต้นมีลักษณะโค้งงอไม่ค่อยแข็งแรง เปลือกของลำต้นมีสีน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนของมะนาว มีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่ สีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลส่วนกิ่งที่แก่มากจะเป็นสีเทา การออกของกิ่งก้านไม่ค่อยเป็นระเบียบ บนลำต้น และกิ่งก้านจะมีหนาม หนามมีลักษณะแหลมมีทั้งหนามสั้น หรือ หนามยาวมีสีเขียวเข้ม และสีเขียวอมเหลือง ส่วนบริเวณปลายหนามีสีน้ำตาล เมื่อแก่ขึ้นหนามจะแห้งตามไป

            ใบของมะนาวมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว คือ มีแผ่นใบอันเดียว ใบมีขนาดเล็กกว้างประมาณ 3-6 ซม. ยาวประมาณ 6-12 ซม.รูปร่างเป็นแบบรี หรือ ทรงไข่ ฐานใบมีลักษณะกลม ปลายใบมีรูปแหลม ป้าน ขอบใบเป็นคลื่น หรือ เป็นหยักละเอียด ก้านใบสั้นและมีปีกใบแคบหรืออาจไม่มีปีกใบก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์มะนาว ใบอ่อนมีสีเขียวจางเกือบเป็นสีขาว ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านบนละเอียดเป็นมันส่วนผิวใบด้านล่างค่อนข้างหยาบ และมีสีจางกว่า เมื่อทำการขยี้ใบจะมีกลิ่นแรง

            ดอกมะนาว อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยว หรือ ช่อก็ได้ มีทั้งที่เป็นดอกสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ ดอกจะออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมะนาวมีขนาดเล็ก ดอกที่ตูมจะมีขนาดความยาว 1-2 ซม. กลีบเลี้ยงมีสีเขียวเป็นรูปถ้วยมี 4-6 หยัก ส่วนกลีบดอกมีสีขาว และด้านท้องกลีบดอกอาจมีสีม่วงอมแดงเจืออยู่ด้วย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีจำนวน 4-5 อัน จำนวนกลีบใน และกลีบนอกมีจำนวนเท่าๆ กัน แต่ละกลีบมีขนาด 0.8-1.2 ซม. ดอกมะนาวมีเกสรตัวผู้มากมายถึง 20-40 อัน เชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-8 อัน เกสรตัวเมียมีรังไข่รูปร่างเป็นทรงกระบอก ใน 1 ดอก จะมีรังไข่ประมาณ 9-12 อัน

            ผลมะนาวมีรูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์ มีทั้งรูปร่างยาวรี รูปไข่ และรูปร่างกลม ที่ก้นผลมีลักษณะเป็นจุก หรือ ปุ่มเล็กๆ ผลโดยทั่วไปมีขนาดความยาว 3-12 ซม. เปลือกมักษณะขรุขระ และมีต่อมน้ำมันเปลือกผิว ผิวเปลือกเมื่อแหลม บรรจุอยู่เป็นจำนวนมาก เนื้อมะนาวมีสีเหลืองอ่อน มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมเมล็ด ขนาดเล็กคล้ายรูปไข่ ด้านปลายหัวจะแหลม ภายในเมล็ดมีเนื้อเยื่อสีขาว

มะนาว

มะนาว

มะนาว

การขยายพันธุ์มะนาว

มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาว ให้เจริญงอกงามดี มี ผลดก และคุณภาพดี ก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบาย น้ำดี มีอินทรียวัตถุผสม อยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ

           ส่วนการขยายพันธุ์มะนาว นั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง และการติดตา แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในการขยายพันธุ์มะนาวมากที่สุด คือ การตอนกิ่ง โดยมีวิธีดังนี้

  • เลือกกิ่งที่ไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป และไม่เป็นโรคหรือมีแมลงกัดกิน ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ขึ้นไป
  • ตัดหนาม และใบในบริเวณที่จะควั่นกิ่งออกประมาณ 5 เซนติเมตร
  • ควั่นกิ่งออกเป็น 2 รอย ให้ลึกถึงเนื้อไม้ห่างกัน 1-2 เซนติเมตร
  • ขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด
  • หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่มีความชื้น หรือ ใช้ตุ้มตอนสำเร็จ มัดเปาะหัวท้ายให้แน่น แล้วทิ้งไว้ประมาณ 30-45 วัน เมื่อรากออกมาแล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดเพื่อนำไปแช่น้ำจนอิ่มตัว
  • นำไปชำต่อในถุงดำขนาด 5x8 นิ้ว ที่ผสมดิน 1 ส่วน แกลบ 1 ส่วน และเมื่อกิ่งที่ชำเดินรากได้ดีในถุงดำและแข็งแรงแล้วจึงนำไปปลูกต่อไป

           การเตรียมพื้นที่ปลูก

  1. พื้นที่ลุ่ม เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินให้มีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้อยู่สูงกว่า แนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร แทงร่อง หรือ ซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อ ระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5x5 เมตร
  2. พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4x4 - 6x6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

           วิธีการปลูก

           ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ควรขุดหลุมปลูก ให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกัน ในหลุมให้ สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม ยกถุงกล้า ต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่า ระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดที่คม กรีดถุง จากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้าย และขวา) ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลัก และผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

            การปฏิบัติดูแลรักษา การให้น้ำ ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ ในช่วง ที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหา วัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอก เพื่อให้มะนาวสะสม อาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ของผล

            ส่วนพันธุ์มะนาว ที่มีการปลูกกันมากในไทย ได้แก่

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาวคล้ายมะนาวหนัง เมื่อโตเต็มที่ผลมีลักษณะกลมมน เปลือกบางผลโต กว่ามะนาวหนัง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ เชิงพาณิชย์จะปลูกมะนาวพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน


องค์ประกอบทางเคมี

น้ำจากผลมีกรด citric acid, malic acid, ascorbic acid, ผิวมะนาว มีน้ำมันหอมระเหยที่มาจากการกลั่นผิวผล ร้อยละ 0.3-0.4 ประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น  d-limonene (42-64%), alpha-berpineol (6.81%), bergamotene ผสมกับ terpinen-4-ol (3%), alpha-pinene citric acid (1.69%), geraniol (0.31%), linalool, terpineol, camphene, bergapten (furanocoumarin)

           ใบมะนาวเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการ camphene

           ต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.27 องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น 6-methyl-5-hepten-2-one (3.19), Limonene (44.82), neral (4.95), geranial (7.66), geranyl acetate (8.98), caryophyllene oxide (2.31) ส่วนข้อมูลทางโภชนาการของมะนาว มีดังนี้

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของมะนาว 

โครงสร้างมะนาว

ที่มา : Wikipedia        

  • พลังงาน                            30       กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต                  10.5     กรัม
  • น้ำตาล                              1.7      กรัม
  • เส้นใย                               2.8      กรัม
  • ไขมัน                                0.2      กรัม
  • โปรตีน                              0.7      กรัม
  • วิตามินบี 1                       0.03    มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2                        0.02    มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3                       0.2      มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 5                      0.217   มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6                       0.046   มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 9                       8          ไมโครกรัม
  • วิตามินซี                        29.1     มิลลิกรัม
  • แคลเซียม                      33        มิลลิกรัม
  • เหล็ก                              0.6        มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม                   6          มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส                      18        มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม                  102      มิลลิกรัม
  • โซเดียม                         2          มิลลิกรัม
     

การศึกษาทางเภสัชวิทยามะนาว

การศึกษาสัตว์ทดลองในหนู พบว่าเมื่อให้สารเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์หลักจากเปลือกในพืชตระกูลส้มกับหนูไขมันสูง มีผลเพิ่มไขมันที่ดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดปริมาณไขมันรวมและไตรกลีเซอไรด์ ในหนูดังกล่าว มีผลลดความดันเลือด และขับปัสสาวะในหนูความดันสูง การทดลองในห้องปฏิบัติในแคนนาดาการพบว่า ฤทธิ์ดังกล่าวของฟลาโวนอยด์ส้มเกิดจากผลการกระตุ้นการทำงานของยีนรีเซปเตอร์ไขมันไม่ดี (แอลดีแอล) ในตับ ณ ตำแหน่งที่ควบคุมโดยสเตอรอล (sterol regulatory element, SRE)

           ในสหรัฐอเมริกา งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ฟลาโวนอยด์ส้มสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มเฮสเพอริดิน และกลุ่มโพลีเมททอกซิเลตฟลาโวน (PMFs) มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในพลาสม่าของสัตว์ทดลอง ซึ่งสนับสนุนผลของงานวิจัยในหนูถีบจักรของแคนาดา

           สาธารณรัฐประชาชนจีน งานวิจัยพบว่า นาริงจิน และเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของยีนอะดีโพเนกทิน (adiponectin) ซึ่งเป็นยีนสำคัญในเมตาบอลิซึมของกลูโคส และไขมันที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลัคอุดตันของหลอดเลือดและกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษากล่าวว่าฟลาโวนอยด์ส้มทั้ง 2 ชนิด แสดงผลต้านการเกิดพลัคโดยกระตุ้น perovisome proliferator-activated receptor (PPAR) และยีนอะดีโพเนกทินในเซลล์ไขมันอะดีโพไซต์

           นอกจากนี้ สารทั้งสองยังมีฤทธิ์เอสโทรเจนอย่างอ่อน มีผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์ผนังหลอดเลือดผ่านการกระตุ้นรีเซปเตอร์ของเอสโทรเจน จึงมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้สนับสนุนการกินมะนาว และฟลาโวนอยด์ส้มเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยทอง

           งานวิจัยหนึ่งพบว่า น้ำมะนาว เข้มข้น (concentrated lime juice, CLJ) มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์โมโนนิวเคลียร์ในระบบภูมิคุ้มกัน และโปรตีนในน้ำมะนาวเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง การศึกษาในห้องทดลองในมลรัฐเท็กซัส และแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นพอประมาณ แต่ต่ำกว่าฟลาโวนอยด์ในพืชตระกูลขิง มีบทความทางการแพทย์กล่าวว่า ฟลาโวนอยด์ส้มยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องปาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านมจากการทดลองในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองหลายชนิด แต่ยังไม่พบผลการศึกษาทางคลินิก

           ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะนาว ที่เกี่ยวกับแก้เจ็บคอมีดังนี้ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีการศึกษาวิจัยผลของทั้งน้ำมันหอมระเหยและสารสกัด พบว่า น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และ E. coli สารสกัด 80% เอทานอลจากเปลือกผิว มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus และ Bacillus cereus สารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus subtilis, E. coli. Pseudomanas cichorii และ Salmonella typhimurium สารสกัดเอทานอลจากส่วนกิ่ง (branches) ความเข้มข้น 20 มก./มล. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis และ Streptococcus faecalis

การศึกษาทางพิษวิทยาของมะนาว

การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อให้น้ำสกัดจากใบมะนาวทางปาก หรือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูเม้าส์ ด้วยขนาด 10 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว (เทียบเท่ากับ 1,852 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน) ไม่พบความผิดปกติใดๆ เมื่อป้อนสารสกัดรากมะนาว ด้วยน้ำครั้งเดียวทางปาก ในขนาด 5 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ให้หนูแรทไม่พบว่าเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง แต่พบว่าในหนูที่ได้รับสารสกัด 1.2 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน มีเอ็นไซม์ในตับเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในช่วงปกติ และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน ส่วนสารสกัดจากเปลือกผิวมะนาวมีผลยับยั้งฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และการทดสอบฤทธิ์ระคายเคืองโดยวิธีการ Patch test พบว่าสารสกัดมะนาว ให้ผล positive

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. การทาน้ำมันมะนาวลงบนผิวหนังโดยตรงอาจไม่ปลอดภัยในคนที่มีผิวหนังแพ้ง่าย ซึ่งสามารถส่งผลให้ผิวหนังไวต่อแสงแดดอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวค่อนข้างขาว หลังจากการใช้น้ำมันมะนาวทาลงผิวหนังจึงควรทาครีมกันแดด และสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดเพื่อป้องกันก่อนออกไปเผชิญกับแสงแดด
  2. รสเปรี้ยวของมะนาวอาจทำให้เกิดท้องเสีย หรือ ท้องร่วงได้หากรับประทานมากเกินไป
  3. หลังจากดื่มน้ำมะนาวแล้วไม่ควรแปรงฟันทันทีเพราะอาจทำให้สารเคลือบฟันตามธรรมชาติหลุดได้
  4. หากดื่ม หรือ กินมะนาวบ่อยๆ และเป็นเวลานานติดต่อกันอาจทำให้ฟันผุร่อนได้
  5. ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางไม่ควรรับประทานมะนาว เพราะรสเปรี้ยวจะไปกัดฟอกโลหิตทำให้เกิดอันตรายได้
  6. ยาบางชนิดที่จะถูกเปลี่ยนภายในตับ โดยมะนาวอาจส่งให้ระยะเวลาในการเปลี่ยนรูปของยาเหล่านี้ลดลง การดื่มน้ำมะนาว ขณะรับประทานยาบางชนิดที่เปลี่ยนรูปในตับจึงอาจทำให้มีผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ไตรอาโซแลม (Triazolam) ดังนั้น ก่อนรับประทานมะนาวควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ด้วย

เอกสารอ้างอิง มะนาว
  1. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2536. พจนานุกรมสมุนไพร ไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์สุริยบรรณ.
  2. รวี เสรฐภักดี.2553. คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาว และการผลิตมะนาวนอกฤดู:การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม
  3. Sethpakdee, R. 1992. Citrus aurantifolia (Christm. & Panzer) Swingle. In: L.P.A. Oyen and Nguyen Xuan Dung (Editors): Plant Resourses of South-East Asia No 2. Edible fruits and nuts. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia. pp. 126-128.
  4. รศ.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะนาว ลดคลอเรสเตอรอลป้องกันโรคหลอดเลือด. นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 354. คอลัมน์บทความพิเศษ. ตุลาคม.2551.
  5. มะนาว. ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpege&pid=105
  6. ธิราภา แสนเสนา, นพดล กิตติวราฤทธิ์, มาลิน จุลศิริ, รุ่งระวี เติมศิริฤกษ์กุล. ฤทธิ์ต้านเชื้อและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากผิวผลพืชตระกูลส้ม. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.
  7. มะนาว.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์.2553. คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู ดินและปุ๋ยสำหรับการปลูกมะนาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม. ไม้ผลเศรษฐกิจ.ฉบับที่ 102 (251)/2552. วารสารเมืองไม้ผล. เทคนิคการปลูกมะนาวพันธุ์แป้นเกษตรดกพิเศษให้ออกในช่วงฤดูแล้ง. 88-93 น.
  9. Prabuseenivasan, S. et al. 2006. Invitro antibacterial activity of some plant essential oils. BMC Complement Altern Med 30(6):39
  10. ประโยชน์ของมะนาว ต่อการรักษาโรคได้ผลชัวร์หรือไม่.พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://pobpad.com
  11. อาจินต์ ปัญจพรรค์. ขุดทองในบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อนงค์ศิลป์การพิมพ์, 2524.
  12. Ross SA, El-Keltawi NE, Megalla SE. Antimicrobial activity of some Egyptian aromatic plants. Fitoterapia 1980;51:201-5.
  13. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย. วารสารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2514;13(1):36-66.
  14. Dimayuga RE, Garcia SK. Antimicrobial screening of medicinal plants from Baja California Sur, Mexico. J Ethnopharmacol 1991;31:181-2.
  15. Siharat C, Nirush L, Umarat S, Amornnat T, Anongnad N, Nadthaganya S, Kanjana J.  Acute and subchronic toxicity study of the water extract from root of Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swingle in rats. Songklanakarin J Sci Technol 2007; 29(Suppl 1):125-39.
  16. Kumar S, Bagchi GD, Darokar MP. Antibacterial activity observed in the seeds of some coprophilous plants. Int J Pharmacog 1997;35(3):179-84.
  17. Roesyanto-Mahadi ID, Geursen-Reitsma AM, van Joost T, van den Akker TW. Sensitization to fragrance material in Indonesian cosmetics. Contact Dermatitis 1990;22(4):212-7.