มะขามป้อมมาจากไหน และอย่างไรถึงเรียกว่ามะขามป้อม

มะขามป้อมมาจากไหน และอย่างไรถึงเรียกว่ามะขามป้อม

            โดยทั่วไปแล้วหากพูดถึง มะขามป้อม น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก สมุนไพรชนิดนี้ด้วยความฝาดเปรี้ยวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวลิ้มรสกันมาแล้วหลายคนถึงกับ ลิ้มรสชาติของมะขามป้อมกินไม่ลงกันเลยก็มี แต่ในรสชาติที่แสบสันต์ถึงทรวงนั้นกลับมีสิ่งดีๆ สรรพคุณดีๆ ซ่อนอยู่อีกเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนที่เราจะไปถึงจุดนั้นทุกท่านทราบกันหรือไม่ว่ามะขามป้อมนั้นมาจากไหน และลักษณะและรูปลักษณ์ของต้น ใบ ดอก ของมะขามป้อมนั้นเป็นอย่างไร เอาเป็นว่าเราจะมาไขข้อข้องใจเหล่านี้พร้อมๆก่อนนะครับ โดยมะขามป้อมนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus  emblica Linn. อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและมะไฟ มีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามพื้นถิ่นต่างๆ เช่น ชาวฮินดู (อินเดีย บังกาลาเทศ ศรีลังกา) เรียกว่า อัมรา ชาวอารบิคเรียกว่า อามัณฑะ ส่วนในไทยก็เรียกกันไปตามท้องถิ่น ภาคต่างๆเช่น กันโตน (จันทบุรี)   กำทวด (ราชบุรี)  มังลู่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ส่วนถิ่นกำเนิดของมะขามป้อมนั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทย พม่า ลาว กัมพูชา ไล่ไปจนถึงเอเชียใต้ในอินเดียใต้ ในอินเดียปากีสถาน ศรีสังกา บังคลาเทศ และ จีนตอนใต้ สำหรับในประเทศไทยเรานั้นจะพบในทุกภาคของประเทศ แต่ส่วนมากจะพบมากในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในธรรมชาติจะพบในป่า เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าแดง มะขามป้อมมักขึ้นได้ดีในสภาพดินทุกประเภทแต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดี และต้องการแสงมาก ทนแล้งได้ดี ส่วนลักษณะทั่วไปของมะขามป้อม คือ เป็นไม้ยืนต้น เช่นเดียวกับสมอไทย มะรุม ขี้เหล็ก ฯลฯ สูงประมาณ 8 – 20 เมตร ลำต้นคดงอเปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา เปลือกในชมพู ถึงน้ำตาลแดง ปลายถึงมักลู่ลง ใบแบบขนนกเรียงสลัดระนาบเดียวมักเรียงตัวหนาแน่นตามกิ่งก้าน ใบอ่อนมีขนละเอียดใบแก่ไม่มีขน ใบมีขนาดเล็กปลายมนโค้งรูปหัวใจเบี้ยว ดอกเป็นดอกขนาดเล็กแยกเพศโดยดอกเพศผู้ออกตามโคนกิ่งเป็นกระจุกๆ 3 – 5 ดอก ด้านบนเป็นดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ โดยดอกทั้งเพศผู้และเพศเมียมีสีเหลืองนวล และดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นผิวมะนาว ผล เป็นผลกลมเกลี้ยงเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 -3 เซนติเมตร มีรอยแยกแบ่งเป็น 6 กลีบ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีเขียวอ่อนค่อนข้างใส เนื้อผลมีรสฝาดเปรี้ยวอมขม เมื่อกินได้สักพักจะมีรสหวานตามมา โดยมะขามป้อมสามารถเก็บผลใน ช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ คือ ภาคเหนือ เก็บผลมะขามป้อมได้ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ภาคใต้เก็บในช่วงเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม ภาคกลางและภาคอีสานเก็บได้ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ซึ่งจากที่กล่าวมานี้อาจจะเรียกได้ว่า มะขามป้อมก็เป็นสมุนไพรพื้นถิ่นของไทย อีกชนิดหนึ่งได้เช่นกันเพราะไทยก็เป็นพื้นที่ในแถบที่ถูกระบุว่าเป็นถิ่นกำเนิดของมะขามป้อมและยังพบได้ทุกภาคในประเทศอีกด้วย ดังนั้น เราจึงควรช่วยกันพัฒนาและแปรรูป รวมถึงส่งเสริมการบริโภคสมุนไพรอันทรงคุณค่าชนิดนี้ในประเทศไทยของเราให้แพร่หลายมากกว่าเดิมดีกว่า วันหน้าคนไทยจะไปนำเข้าผลิตภัณฑ์มะขามป้อมที่มีการจดสิทธิบัตรของต่างชาติ

 

 

 

ผลมะขามป้อม ถั่งเช่า บุก