โปร่งฟ้า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

โปร่งฟ้า งานวิจัยและสรรพคุณ 9 ข้อ

ชื่อสมุนไพร  โปร่งฟ้า

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  ส่องฟ้า(ภาคอีสาน),ลอดฟ้า,หัสคุณดง(ภาคกลา),หวดหม่อนต้น(ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์Murraya siamensis Craib.

ชื่อสามัญAndaman satinwood

วงศ์ RUTACEAE

ถิ่นกำเนิด  โปร่งฟ้าจัดเป็นพืชในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ที่จัดเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของไทย โดยมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ใน ไทย พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณป่าโปร่ง ป่าละเมาะ หรือตามชายป่าทั่วไป

  ประโยชน์/สรรพคุณ  เนื่องจากโปร่งฟ้าเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย และมีสรรพคุณทางยา ดังนั้นจึงมีการนำโปร่งฟ้ามาใช้เป็นสมุนไพรตั้งแต่ในอดีตแล้ว โดยในตำรายาไทยและตำรายาพื้นบ้านภาคต่างๆ ได้มีการระบุถึงสรรพคุณของโปร่งฟ้าเอาไว้ว่า

  • ใบ มีรสซ่าหอมหวาน เผ็ดร้อน ใช้ขับลม บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง คลายกล้ามเนื้อ ใช้แก้ผื่นคัน แก้พิษตะขาบ ห้ามเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไอ เจ็บคอ แก้หวัด แก้ไซนัส ภูมิแพ้ หอบหืด ลดไขมันในเลือด แก้ความดันโลหิต แก้ลิ้นกระด้าง คางแข็งเนื่องจากอัมพาตชั่วคราว ใช้ช่วยให้เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ถอนพิษ
  • ผลสุก ใช้แก้ท้องอืด ขับลม แก้อัมพฤกษ์-อัมพาต
  • ดอก ใช้ฆ่าเชื้อโรค แผลเรื้อรัง แก้ไส้ลาม ไส้ด้วน
  • ราก ใช้ปรับธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงความจำ แก้หวัดเรื่อรัง แก้ไอ รสเฝื่อนเย็น แก้ตามัว ตาฝ้า ตาฟาง แก้วัณโรคชนิดบวม แก้ปอดพิการ แก้โรคหิตในลำคอและลำไส้ให้กระจาย แก้ริดสีดวง แก้คัน ฟกช้ำบวม

รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้ 

  • ใช้ลดอาการอยากสูบบุหรี่ ใช้เลิกบุหรี่ โดยนำใบสด 1 ใบ มาเคี้ยวให้แหลกแล้วกลืนลงไป จะทำให้เมื่อสูบบุหรี่จะรู้สึกผะอืดผะอม อยากอาเจียน ทำให้อาการอยากสูบบุหรี่ลดลง
  • ใช้แก้หวัด ไซนัส ภูมิแพ้ หอบหืด โดยนำใบสดขยี้ให้แหลงวางไว้ใกล้ๆ จมูกในตอนกลางคืน ใช้แก้ไซนัส โดยนำใบม้วนกับต้นกระเทียมตากแห้งสูบให้ออกจมูกวันละ 7-8 มวน
  • ใช้บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง ลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไอ เจ็บคอ แก้ลิ้นกระด้างเนื่องจากอัมพรต โดยนำใบสดมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้ปรับธาตุในร่างกาย บำรุงความจำ บำรุงหัวใจ แก้ไข้หวัดเรื้อรัง อาการไอ แก้โลหิตในลำคอ และลำไส้ให้กระจายน แก้ปวดพิการ โดยรำรากมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้ท้องอืด ขับลม โดยนำทุกส่วนมาใช้เป็นสมุนไพรอบเพื่อกระจายเลือดลมให้เดินสะดวก และใช้ผลสุก 3-5 ผลมารับประทานร่วมด้วย

ลักษณะทั่วไป โปร่งฟ้าจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มโปร่ง แตกกิ่งด้านบนของลำต้น สูง 60-120 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล เปลือกผิวเรียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคู่ตรงข้ามบนกิ่ง โดยจะมีใบย่อย 6-8 ใบต่อ 1 กิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนและปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเรียบหรืออาจจะหยักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบบางเนื้อใบย่นเป็นสีเขียว ผิวใบมันมีต่อมน้ำมันเป็นจุดกระจายอยู่เต็มใบ ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง โดยใน 1 ช่อจะมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวจำนวนมาก ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกสะเดา มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นผลสดมีเนื้อดอกรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ผลมีลักษณะกลมผิวเรียบเกลี้ยง เมื่อผลดิบมีสีเขียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงและม่วงดำ

การขยายพันธุ์ โปร่งฟ้าสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ดปและการปักชำ แต่ในปัจจุบันนั้นไม่ค่อยพบเห็นโปร่งฟ้า แล้วทั้งในธรรมชาติ และบริเวณบ้านเรือนรวมถึงเรือกสวนไร่นา ซึ่งจัดว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่อาจจะสูญพันธุ์ในอนาคต สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดการปักชำ และการปลูกโปร่งฟ้านั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับกหารเพาะเมล็ด การปักชำ และการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมี  มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากใบรวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบของโปร่งฟ้าระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดดังนี้ สารสกัดจากใบพบสาร mahanimbilol , mahanimbine , siamenol, murrayacoumarin A,B และ C ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบของโปร่งฟ้าพบสาร g-Sitosterol ,  Lupeol , n-Decanoic acid,  Dodecanoic acid, Ethyl dodecanoate , Acetoxyacetic acid,  Phytol, Tridecanoic acid

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา  มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนใบของโปร่งฟ้า ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการ ดังนี้

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HIV ของสารสกัดจากใบโปร่งฟ้า ระบุว่า สาร siamenol ซึ่งเป็นสารกลุ่ม carbazole alkaloid ชนิดใหม่ที่สกัดได้จากโปร่งฟ้า  แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HIV โดยมีค่า EC502.6 microgram / ml โดยเมื่อทำการทดลองด้วยวิธี XTT-tetrazolium assay สาร alkaloid ที่เคยค้นพบแล้วคือสาร mahanimbilol จะมีฤทธิ์น้อยกว่าโดยมีค่า EC 508.6 microgram / ml ส่วนสาร mahanimbine ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งแต่อย่างใดและมีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งเอนไซม์ angiotensin-convertiny enzyme  (ACE) ของสารสกัดเอธานอลจาก ใบโปร่งฟ้า (MSE) และยังได้ทำการศึกษาฤทธิ์คลายหลอดเลือดของ สารสกัด (MSE)และกลไกพื้นฐาน ในการฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด โดยได้ประเมินฤทธิ์การทดสอบกำจัดอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS และวัดฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ACE โดยวิธีสเปกโตรโฟโตเมตริก ส่วนฤทธิ์คลายหลอดเลือดของสารสกัด (MSE) จะยังถูกกำหนดบนส่วนหลอดเลือดแดงใหญ่ของทรวงอกที่แยกได้จากหนูทดลองผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัด (MSE)แสดงฤทธิ์ขจัด DPPH และ ABTS โดยมีค่า IC 50ที่ 710±10 และ 488±20 µg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัด (MSE)ยังแสดงกิจกรรมการยับยั้ง ACE โดยมีค่า IC 50เท่ากับ 1.01±0.02 มก./มล. นอกจากนี้สารสกัด (MSE) (0.1-1 มก./มล.) ยังกระตุ้นให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือดได้อีกด้วย และยังมีรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ที่เข้ารับการทดลองการหยุดสูบบุหรี่ โดยใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนประกอบของ ซิลเวอร์ไนเตรท 0.25% (ซึ่งซิลเวอร์ไนเตรทเป็นสารที่สกัดได้จากส่วนใบของโปร่งฟ้า)  พบว่าใช้น้ำยาบ้วนปากวันละ 4 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีผลทำให้เกิดการหยุดสูบบุหรี่ได้

            นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นระบุว่า ใบโปร่งฟ้ายังมีสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ได้หลายชนิดอีกด้วย

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา  ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง  สำหรับการใช้โปร่งฟ้าเป็นยาสมุนไพรนั้น ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด/ปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไ-ป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

อ้างอิงโปร่งฟ้า

  1. โปร่งฟ้าใช้ในการอดบุหรี่ได้อย่างดี และโปร่งฟ้า แก้ไข้ ปวดศีรษะ แก้ผิดสำแดง หลอดลมอักเสบ. คอลัมน์โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง,นิตยสารมติชมสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13-19 กันยายน 2562.
  2. ธัญสินี พรหมประดิษฐ์ และคณะ.การศึกษาประสิทธิผลของสเปรย์สมุนไพรใบโปร่งฟ้าต่อการลดการสูบบุหรี่ของกลุ่มคนติดบุหรี่.วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้าปีที่36ฉบับที่3.กรกฎาคม-กันยายน2562หน้า220-226.
  3. สาร carbazole alkaloid ชนิดใหม่จากโปร่งฟ้า.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  4. สรรพคุณของข่อยดำกับโปร่งฟ้า.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.medplant.mohidol.ac.th/user/reply.asp?id=7137.
  5. Ito C, Itoigawa M, Onoda S, Hosokawa A, Ruangrungsi N, Okuda T, et al. Chemical constituents of Murraya siamensis: Three coumarins and their anti-tumor promoting effect. Phytochemistry. 2005;66(5):567-72.
  6. Yasin P, Maneepisamai M. Antioxidant activitity and chemical composition of Murraya siamensis Craib leaves. Agricultural Sci J. 2019;50(2):361-4
  7. Jerajasin T, Pancichean K, Yingcharean R. Antioxidant activities and cytotoxic effects of aqueous extracts from ClausenaheptaphyllaWright and Arn. leaves and Verno-niacinerea Less. In: Proceedings of 52nd Kasetsart University Annual Conference: Science, Natural Resou-reces and Environment; 2014 Feb 4-7; Bangkok; 2014.P.1-8.
  8. Zang YD, Li CJ, Song XY, Ma J, Yang JZ, Chen NH, et al. Total synthesis and neuroprotective effect of O-methylmurrayamine A and 7-methoxymurrayacine. J Asian Nat Prod Res. 2017;19(6): 623-9.
  9. Esser HJ. Taxonomic notes on the Rutaceae of Thailand. Thai Forest Bull (Bot). 2021;49(1):27-31
  10. Zhu JJ, Jiang JG. Pharmacological and nutritional effects of natural coumarins and their structure-activity relationships. Mol Nutr Food Res. 2018;62(14):e1701073