กะหล่ำดอก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
กะหล่ำดอก งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ
ชื่อสมุนไพร กะหล่ำดอก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ดอกกะหล่ำ (ภาคเหนือ), ผักกาดดอก, กะหล่ำต้น (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L.Var.biteytis L
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L.cv.Group Cauliflower
ชื่อสามัญ cauliflower, Heading nroccoli
วงศ์ CRUCIFERAE
ถิ่นกำเนิดกะหล่ำดอก
มีข้อมูลว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของกะหล่ำดอก มีถิ่นดั้งเดิมในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกสำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานระบุว่ามีการนำดอกกะหล่ำเข้ามาปลูกอย่างแพร่หลายเมื่อหลังปี พ.ศ.2570 จนในปัจจุบันสามารถพบในทางภาคเหนือ พบได้ในภาคใต้เพราะสภาพดิน และสภาพอากาศไม่เหมาะสมในการปลูก
ประโยชน์และสรรพคุณกะหล่ำดอก
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเรื้อรัง
- ช่วยรักษาหอบหืด
- แก้หลอดลมอักเสบ
- ช่วยรักษาแผลในปาก
- แก้เจ็บคอ
- แก้คออักเสบ
- รักษาแผลเรื้อรังและโรคเรื้อนกวาง
- ช่วยบำรุงสมองของทารกในครรภ์ (กะหล่ำดอกเป็นผักที่อุดมไปด้วยโคลีน)
- ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ
- ช่วยควบคุมความดันโลหิต
- ช่วยรักษาหวัด
- รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
- ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร
- ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
- ช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยนั้นเป็นปกติ
- ช่วยในการขับถ่าย
- ช่วยขับล้างสารพิษในร่างกาย
ประโยชน์หลักของกะหล่ำดอก คือ ใช้เป็นผักที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายและมีรสชาติอร่อยกรอบหวาน สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัด แกง ต้ม ลวก เป็นต้น อีกทั้งยังมีวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- สำหรับการใช้รักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบโดยนำกะหล่ำดอก สดมาคั้นเอาน้ำดื่ม 1-2 ออนซ์ทุกวัน
- ใช้รักษาคออักเสบ แก้เจ็บคอ รักษาแผลในปากโดยนำกะหล่ำดอกคั้นเอาน้ำ อมกลั้วปาก
- ใช้รักษาโรคเรื้อนกวาง และแผลเรื้อรัง โดยนำกะหล่ำดอกสดมาตำให้แหลกแล้วนำมาประคบ หรือ ทาบริเวณที่เป็น
- ส่วนในสรรพคุณอื่นๆ จะใช้กะหล่ำดอกมาปรุงเป็นอาหารรับประทานทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของกะหล่ำดอก
กะหล่ำดอก จัดเป็นพืชล้มลุกเพียงปีเดียว ลำต้นอวบกลมตั้งตรงไม่แตกแขนงความสูงของลำต้นประมาณ 50-60 ซม. (โตเต็มที่ออกดอกและสูงได้ประมาณ 90-150 เซนติเมตร) ระบบรากเป็นแบบแพร่กระจายบนชั้นดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร แต่ก็มีรากแขนงขนาดใหญ่ที่อาจชอนไชลงไปใต้ดินได้ลึกกว่านี้
ใบกะหล่ำดอก ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนซ้อนกันเป็นกระจุก ประมาณ 15-25 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบเป็นคลื่นนั้น ใบรอบนอกมีขนาดกว้าง 30-40 เซนติเมตร และยาว 0-50 เซนติเมตร ส่วนใบด้านในผอมเรียวใบมีขนาดกว้าง 5-20 ซม. ผิวใบเรียบมีชั้นของไขสีขาวห่อหุ้มผิวใบแผ่นใบเป็นสีเทาเขียวแก่จนถึงสีเขียวปนฟ้า เส้นกลางใบและเส้นใบเป็นสีขาว
ดอกกะหล่ำดอก ออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายโดม (ความจริงแล้วส่วนของดอกนี้คือส่วนที่เจริญงอกขึ้นมา) สีขาวถึงสีเหลืองสีเขียว หรือ สีม่วงแล้วแต่สายพันธุ์อัดแน่นกัน ก้านช่อดอกสั้นและฉ่ำน้ำ ช่อดอกอาจมีลักษณะเป็นทรงกลม หรือ แบน โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-40 เซนติเมตร กระจุกดอกประกอบไปด้วยช่อดอกหลายช่อ มีกลีบเลี้ยงตั้งตรงสีขาว กลีบดอกเป็นรูปช้อนตั้งตรงสีเขียว กลีบดอกเป็นรูปช้องสีเหลือง หรือ สีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 ซม. ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน แบ่งเป็นขนาดสั้น 2 อัน และยาว 4 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบเชื่อมติดกัน มีผนังเทียมกั้นอยู่ตรงกลาง มีต่อมน้ำ 2 อัน อยู่ระหว่างรังไข่
ผลกะหล่ำดอก เป็นผักแตกแบบผักกาด มีขนาดกว้าง 0.5 ซม. และยาว 5-10 ซม. ด้านในฝักมีเมล็ดประมาณ 10-30 เมล็ด มีลักษณะกลมสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์กะหล่ำดอก
กะหล่ำดอกสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยการนำมาเพาะให้เป็นต้นกล้าแล้วจึงย้ายต้นกล้าที่ได้ปลูกในแปลงต่อไป สำหรับระยะการปลูกกะหล่ำดอก ในปัจจุบันจะนิยมเว้นระยะปลูกประมาณ 50x60-80 ซม. และเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดแรงเป็นเหตุให้ผิวช่อดอกกะหล่ำมีสีเหลืองไม่เป็นที่นิยมขอตลาด เกษตรกรจึงนิยมการห่อช่อดอกโดยรวบปลายใบด้านบน มัดติดกันเมื่อเริ่มเห็นตุ่มตาดอกผลิออกมา
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของกะหล่ำดอก พบว่ามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น sulforaphene, indol-3-carbinol, glucosindate folicacid, carcinogen, isothiocyanate, Beta-carotene, lutein, Zeaxanthin, choline เป็นต้น นอกจากนี้กะหล่ำดอกยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำดอก (100 กรัม)
- พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 4.97 กรัม
- น้ำตาล 1.91 กรัม
- ไขมัน 2.0 กรัม
- โปรตีน 0.28 กรัม
- วิตามิน บี1 1.92 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี2 0.05 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี3 0.06 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี6 0.507 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี9 0.184 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 57 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 48.2 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 0.08 ไมโครกรัม
- ธาตุเหล็ก 15.5 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 0.42 มิลลิกรัม
- โซเดียม 30 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 15 มิลลิกรัม
- แมงกานีส 0.155 มิลลิกรัม
- สังกะสี 0.27 มิลลิกรัม
เปอร์เซ็นต์ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกะหล่ำดอก
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกะหล่ำดอก ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้ มีการศึกษาวิจัยระบุว่ากะหล่ำดอกมีสารที่ช่วยป้องกันในการเสียหายของเซลล์และลดการอักเสบร่างกาย ต้านเซลล์มะเร็งและต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารกลูโคไซโนเลท สารซัลโฟราเฟนและสารไอโซไธโอไซยาเนต เป็นต้น โดยมีผลการศึกษาทดลองจากการศึกษาในเซลล์มนุษย์บางส่วนพบว่าสารเหล่านี้ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็งในผักตระกูลกะหล่ำ โดยนักวิจัยให้ตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร จำนวน 6 ราย อีกทั้งกลุ่มควบคุมทั้งคนทั้งที่เป็นโรคและไม่เป็นโรคมะเร็งจำนวน 74 ราย บริโภคผักตระกูลกะหล่ำ รวมทั้งกะหล่ำดอกพบว่า การบริโภคผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณมากให้ผลในทางบวกต่อสุขภาพและอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการต้านมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาเกี่ยวกับสารอินโดล-3-คาร์บินอล (Indole-3-carbinol,I3C) ในกะหล่ำดอก ระบุว่า สารอินโดล-3-คาร์บินอลในกะหล่ำดอกอาจช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งต่างๆ อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก เพราะมีคุณสมบัติในการยับยั้งและทำให้เซลล์มะเร็งที่เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนแอสโตรเจนในเพศหญิงเสื่อมสภาพและตาย อีกทั้งยังมีการวิจัยอื่นๆ ระบุไว้ว่าในกะหล่ำดอกมีกรดฟูลิกและคูมาริน (Folic acid coumarines) ที่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
การศึกษาทางพิษวิทยาของกะหล่ำดอก
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
กะหล่ำดอกมีสารพิวรีนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์อยู่ในระดับปานกลาง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกะหล่ำดอก ในปริมาณมากเพราะอาจเกิดแก๊สในกระเพาะได้มากขึ้นผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับโรคต่อมไทรอยด์ ไม่ควรบริโภคกะหล่ำดอกปริมาณมากเพราะอาจทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่ดูดซึมไอโอดีน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ให้กับร่างกายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบดิบๆ เพราะกะหล่ำดอกมีน้ำตาลชนิดหนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ จึงจะส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง
เอกสารอ้างอิง กะหล่ำดอก
- ราชบัณฑิตยสถาน 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก.กรุงเทพมหานคร เพื่อนพิมพ์.
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตสถาน 2556. หน้า 100.
- กะหล่ำดอก กับประโยชน์น่ารู้ด้านสุขภาพ. พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http;//www.pobpad.com
- Kusznierewicz, B., Bartoszek, A., Wolska, L., Drzewiecki, J., Gorinstein, S., and Namiesnik, J. 2008. Partial characterization of white cabbages (Brassica oleracea var capitata f. alba) from different regions by glucosinolates, bioactive compounds, total antioxidant activities and proteins
- Bahorun, T., Luximon-Ramma, A., Crozier, A., and Aruoma, O.I. 2004. Total phenol, flavonoid, proanthocyanidin and vitamin C levels and antioxidant activities of Mauritian vegetables. Journal of the Science of Food and Agriculture 84: 1553-1561
- Jaiswal, A.K., Abu-Ghannam, N.,and Gupta, S. 2012. A comparative study on the polyphenolic content, antibacterial activity and antioxidant capacity of different solvent extracts of Brassica oleracea vegetables. International Journal of Food Science and Technology 47: 223-231.
- Iori, R., Barillari, J., and Rollin, P. 2004. Comment on in vitro gastrointestinal digestion study of broccoli inflorescence phenolic compounds, glucosinolates, and vitamin C. Journal of Agriculturaland Food Chemistry 52: 7432- 7433.
- Crozier. Arthur alger 1891. The Cauliflower. Ann aebor. Michigan: register publishing Co. p.12.
- Windsor, A.J., Reichelt, M., Figuth, A., Svatos, A., Kroymann, J.,and Kliebenstein D.J.2005. Geographic and evolutionary diversification of glucosinolates among near relatives of Arabidopsis thaliana (Brassicaceae). Phytochemistry 66: 1321-33.
- Haramoto, E.R., and Gallandt, E.R. 2004. Brassica cover cropping for weed management: A review. Renewable Agriculture and Food Systems 19: 187-198.
- Guriya, R., Moon, A., and Talreja, K. 2015. Phytochemical profiling and characterization of bioactive compounds from Brassica oleracea. International Journal of Pharmacognosy and Phytochemical Research 7: 825-831.