กระทงลาย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กระทงลาย งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กระทงลาย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะแตก, มะแตกเครือ (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), กระทุงลาย, โชด (ภาคกลาง), นางแตก (โคราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celastrus paniculatus Wild.
ชื่อสามัญ Black ipecac, Black oiltree, Climbing staff tree, Celastrus dependens
วงศ์ CELASTRACEAE

ถิ่นกำเนิดกระทงลาย

กระทงลาย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียบริเวณ จีนตอนใต้ พม่า อินเดีย ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย (แต่ไม่พบที่เกาะบอร์เนียว) อินโดนีเซีย จนถึงออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคตามป่าดิบ ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และตามพื้นที่โล่งทั่วไป ที่มีความสูง 0-1300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

ประโยชน์และสรรพคุณกระทงลาย

  1. ใช้ถอนพิษฝิ่น
  2. รักษาโรคบิด
  3. แก้อาการท้องเดิน
  4. ช่วยบำรุงโลหิต
  5. แก้ลมจุกเสียด
  6. แก้โรคอัมพาต
  7. แก้ไข้
  8. ช่วยขับเหงื่อ
  9. รักษาโรคเหน็บชา
  10. บำรุงน้ำนม
  11. แก้วัณโรค
  12. เป็นยาแก้ไตพิการ
  13. ช่วยขับปัสสาวะ
  14. รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
  15. แก้อาการบิด
  16. แก้มาลาเรีย
  17. แก้อาการปวดท้อง
  18. รักษาโรคเก๊าท์

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้รักษาโรคบิด แก้อาการท้องเดิน ถอนพิษฝิ่นโดยการนำใบมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำดื่มก็ได้ ใช้เพิ่มความจำ โดยใช้เมล็ดนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้อัมพาต และปวดตามข้อ โดยใช้เมล็ดมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น ใช้แก้โรคท้องเดิน บำรุงน้ำนมโดยการนำเถามาต้มกับน้ำดื่ม หรือ นำมาฝนกับน้ำดื่มก็ได้ ใช้แก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ โดยนำลำต้นกระทงลาย มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้บิดโดย นำเปลือกต้นมาตำผสมกับตัวมดแดง และเกลือแล้วจึงรับประทานครั้งเดียว ใช้แก้ปวดท้อง ท้องเดิน แก้ไข้มาลาเรียโดยใช้รากแห้งมาต้มกับข้าวเปลือก 9 เม็ด แล้วเอาน้ำมาดื่ม


ลักษณะทั่วไปของกระทงลาย

กระทงลาย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ผิวขรุขระเล็กน้อย ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ไปได้ไกลถึง 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา ตามกิ่งมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป

           ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ออกแบบเรียงสลับ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเรียบ ใต้ท้องใบมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ประปรายใบมีขนาดกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร และมีก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร

           ดอก เป็นแบบแยกเพศ ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่ง หรือ ปลายยอดช่อดอก ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งแต่ละช่อจะมีดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง จำนวนมาก โดยดอกย่อยจะมีกลีบดอก 5 กลีบ และกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันตรงโคนคล้ายรูประฆัง ส่วนปลายกลีบดอกแยกเป็นแฉก รูปร่างของดอกมีลักษณะค่อนข้างกลม ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน มีขนขึ้นประปราย

           ผล ออกเป็นช่อซึ่งในแต่ละช่อจะมีผลย่อยที่มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดกว้าง 5-8 มิลลิเมตร ยาว 5-10 มิลลิเมตร ผิวเรียบมีลักษณะเป็นพู 3 พู ผลอ่อนมีสีเขียวแต่เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลือง และแตกออกตามพูเป็น 3 ซีก ซึ่งในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด ส่วนเมล็ดกระทงลายมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาว 3.5-5 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีและมีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงติดอยู่

กระทงลาย

กระทงลาย

การขยายพันธุ์กระทงลาย

กระทงลาย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ซึ่งในอดีตจะเป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติมากกว่าการนำมาปลูก แต่ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูกกระทงลายเป็นพืชหลักในหลายพื้นที่สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปลูกกระทงลายนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมีกระทงลาย

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบเคมีจากส่วนต่างๆ ของกระทงลาย ดังนี้

           มีรายงานการแยกสารสกัดชั้นคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) ที่สกัดแยกมาจากสารสกัด เมทานอลของเมล็ด (seed) กระทงลายพบว่าสามารถแยกสารกลุ่ม sesquiterpene ชนิดใหม่ คือ สาร 1a,8b,14-triacetoxy-9b-furoyloxydihydro-b-agarofuran  1a,6b,8b,14-tetraacetoxy-9b-benzoyloxy dihydro-b-agarofuranและสารที่เคยการมีรายงานแล้ว คือ สาร 1a,8b,-diacetacetoxy-9b- benzoyloxydihydro- b-agarofuran1a,6b,8b,-triacetoxy-9b-benzoyloxydihydro-b-agarofuran, 1a,6b,8a,-triacetoxy-9a-benzoyloxydihydro-b-agarofuran, angulatueods) และ 1a,6b,8b,14-tetraacetoxy-9a-benzoyloxydihydro-b-agarofuran ส่วนสารสกัดชั้นเมทานอลจากทุกส่วนของกระทงลาย เมื่อ นำมาทำการแยกบริสุทธิ์พบว่า สามารถแยกได้สารกลุ่ม dihydro-b-agarofuranoid sesquiterpene ใหม่ 6 ชนิด คือ สาร  (1a,2a,9b)-1,14-bis (acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-2-hydroxydihydro-b-agarofuran(1a,2b,8b,9b)-1,2,8-tris(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)dihydro-b-agarofuran (1a,2a,8b,9b)-1,8,14-tris(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-2-hydroxydihydro-b-agarofuran (1a,2a,9b)-2,14-bis(acetyloxy)-9-(benzoyloxy) -1-hydroxydihydro-b-agarofuran (1a,2a,8b, 9b)-1,2,8,14-tetrakis(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)dihydro-b- agarofuran  และ(1a,2a,8b,9b) -2,8,14-tris(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-1-hydroxy dihydro-b-agarofuran  และสารที่เคยการมีรายงาน แล้ว คือ สาร lupeotriptogelin D1 l และ b-sitosterol ส่วนสารสกัดชั้นเฮกเซนของเมล็ดของกระทงลายเมื่อนำมาทำการแยกบริสุทธิ์พบว่าสามารถ แยกสารกลุ่ม dihydro-b-agarofuranoid sesquiterpenes ใหม่ 3 ชนิด คือ 1a,9b-dibenzoyloxy-6b-cinnamoyloxy4b-hydroxydihydro-b-agarofuran1a,8b,15a-triacetoxy-9a-benzoyloxy-4b-hydroxydihydro-b-agarofuran  และ 1a,9b-dibenzoyloxy-2b-acetoxy-6b-cinnamoyloxy-4b-hydroxy dihydro-b-agarofuran

           นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์หาองค์ประกอบสำคัญเชิงเคมีในสารสกัดจาดเมล็ดกระทงลาย ด้วยวิธี Cromatography-mass spectrometry (CG-MS) ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญเช่น dihydro-beta-agarofuran trans-beta copaene palmitric acid, phytol, euricacid, linatool เป็นต้น

โครงสร้างกระทงลาย 

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระทงลาย

มีรายงานผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของกระทงลาย ระบุเอาไว้ว่าสาร 1α,8β,14-triacetoxy-9β-furoyloxydihydro-β-agarofuran สาร 1α,6β,8β,14-tetraacetoxy-9β-benzoyloxy dihydro-β-agarofuran และสาร 1α,8β,-diacetacetoxy-9β-benzoloxydihydro-β-agarofuran มีฤทธิ์ในการช่วยคลายตัว (relaxation activity) ของกล้ามเนื้อลำไส้ (intestinal muscle) ที่ระดับความเข้มข้น 1 mg/mL โดยมีค่า ฤทธิ์ร้อยละ 30.6 ± 12.226.9 ± 4.7 และ 7.27 ± 1.7 ตามลำดับ ส่งนสารสกัดเมทานอลจากทุกส่วนของกระทงลายเป็นพิษต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ โดยเฉพาะสาร (1a,2a,8b,9b)-1,8-bis(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-2- hydroxy-b-dihydroagarofuran  (1a,2a,8b,9b)-1,8,14-tris(acetyloxy)-2,9-bis(benzoyloxy)-b-dihydroagaro furan  และ (1a,2a,8b,9b)-1,8-bis(acetyloxy)-2,9-(benzo yloxy)-14-hydroxy-b-dihydroagarofuran พบว่ามีความเป็น พิษต่อเซลล์มะเร็ง ส่วนสาร (1α,2α8β,9β)-1,8-bis(acetyloxy)-2,9-Cbenzoyloxy)-14-hydroxy-β-hidroagarofuran มีฤทธิ์ทำให้การเจริญและการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งลดน้อยลงที่ค่า IC50 เท่ากับ 17 ± 1 mM โดยไปเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านม

           นอกจากนี้สารสกัดจากชั้นเฮกเซนจากเมล็ดของกระทงลายยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase โดยพบว่าสาร 1a-acetoxy-6b,9a-dibenzoyloxy-8a-cinnamoyloxy-4b- hydroxydihydro-b-agarofuran (65) 1a,6b,9b-tribenzoyloxy-4b-hydroxy dihydro-b-agarofuran1a,6b,8b,15-tetraacetoxy-9a- benzoyloxy-4b-hydroxy dihydro -b-agarofuran และ 1a,9b-dibenzoyloxy-6b-acetoxy-4b- dihydroxydihydro-b-agarofuran มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 36.54 ± 0.17 44.83 ± 0.45 42.58 ± 0.21 และ 45.84 ± 0.36 mM ตามลำดับ นอกจากนี้ น้ำมันที่สกัดได้จาดเมล็กกระทงลายยังมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส  แบคทีเรีย ลดปวด ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทได้อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยางของกระทงลาย

มีรายงานผลการศึกษาทางพิษวิทยาของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายระบุว่าสารสกัดเมล็ดของกระทงลาย ที่ความเข้มข้น 25 ug/mL ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้กระทงลาย เป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ การระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยการใช้ในขนาดและปริมาณ ที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณ ที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องก่อนจะใช้กระทงลายเป็นสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง กระทงลาย
  • 1.สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 83.2544.
  • ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มัฃคละคุปต์. กระทงลาย (Krathong Lai). หนังสือสมุนไพร ไทย เล่ม 1. หน้า 27.
  • 3.ประไพรัตน์ สีพลไกร, รัตนาภรณ์ ตรัยสถิตย์. สรรพคุณทางยา สารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรไทยบำรุงน้ำนมบางชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 15. ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563. หน้า 1284-1286.
  • 4.คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาจากสมุนไพร แนบท้ายบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2559. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 86 ง, ลงวันที่ 12 เมษายน หน้า 11 2559.
  • 5.รศ.ดร.ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์. การพัฒนาสารสกัดเมล็ดกระทงลาย เพื่อใช้ในการส่งเสริมการสร้างความจำ และป้องกันรักษาภาวะความจำเสื่อม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2562. 26 หน้า.
  • Ahmad F, K. R., Rasheed S (1994). Preliminary screening of methanolic extracts of Celastrus
  • paniculatus and Tecomella undulata for analgesic and anti-inflammatory activities. J
  • Ethnopharmacol, 42, 193–198.
  • Weng, J.-R., & Yen, M.-H. (2010). New dihydroagarofuranoid sesquiterpenes from Celastrus paniculatu. Helvetica Chemica Acta,93(9), 1716-1724.
  • Chamniansawat S, Chongthammakun S. (2010). Genomic and non-genomic actions of
  • estrogen on synaptic plasticity in SH-SY5Y cell. Neurosci Lett. 470: 49–54.
  • Borrelli, F., Borbone, N., Capasso, R., Montesano, D., Izzo, A. A., De Marino, S., & Zollo, F. (2004).
  • New sesquiterpenes with intestinal relaxant effect from Celastrus paniculatus.” Planta Medica, 70(7),
  • 652–656.
  • Patel DK, A. K. N. D. (1995). Chemistry and pharmacology of Celastrus paniculatus Willd.
  • Indian Drugs, 32, 566‑573.
  • Sasikumar, P., Sharanthna, P., Prabha, B., Varughese, S., Anil Kumar, N., Sivan, V. V., Sherin, D. R., Suresh, E., Manojkumar, T. K., & Radhakrishnan, K. V. (2018). Dihydro-β-agarofuran sesquiterpenoids from the seed of Celastrus paniculatus Willd. and their α-glucosidase activity. Phytochemistry Letter, 26,1-8.
  • Ahmad F, K. R., Rasheed S (1994). Preliminary screening of methanolic extracts of Celastrus
  • paniculatus and Tecomella undulata for analgesic and anti-inflammatory activities. J Ethnopharmacol, 42, 193–198.
  • Weng, J.-R., & Yen, M.-H. (2010). New dihydroagarofuranoid sesquiterpenes from Celastrus paniculatu. Helvetica Chemica Acta,93(9), 1716-1724.