กระถิน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กระถิน งานวิจัยและสรรพคุณ 17 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กระถิน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กระถินไทย, กระถินบ้าน, กระถินน้อย (ภาคกลาง), ผักหนองบก (ภาคเหนือ), สะตอเบา, สะตอบ้าน (ภาคใต้), กะเส็ดบก, กะเส็ดโคก (ราชบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucaena,leucocephala (Lann.)de Wit
ชื่อสามัญ White popinac, Leucaena, Lead tree
วงศ์ LEGUMINOSAE-MINOSOUDEAE

ถิ่นกำเนิดกระถิน

กระถิน มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีอเมริกา (อเมริกากลาง) แล้วจึงมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก สำหรับในทวีปเอเชียนั้น กระถินได้เริ่มแพร่กระจายพันธุ์เข้ามาครั้งแรกเมื่อสมัยที่สเปนปกครอง ฟิลิปปินส์ (ค.ศ.1565–1825) ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการบันทึกว่ากระถินได้ถูกนำเช้ามาปลูกเป็นครั้งแรกในช่วงสมัยอยุธยา และในปัจจุบันสามารถพบเห็นกระถิน ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามบริเวณชายป่า สองข้างทาง หรือ ตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไปเป็นต้น

ประโยชน์และสรรพคุณกระถิน

  1. ช่วยบำรุงกระดูก
  2. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  3. แก้นิ่วในกระเพาะอาหาร
  4. แก้ท้องร่วง
  5. แก้โรคบิด
  6. ใช้สมานแผล
  7. แก้ผิวหนัง
  8. ช่วยบำรุงตับ
  9. เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม
  10. ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  11. แก้อาการนอนไม่หลับ
  12. ช่วยขับลมในลำไส้
  13. ช่วยขับระดูของในสตรี
  14. แก้ฝีหลายหัว
  15. แก้เนื้องอก
  16. ใช้ปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ
  17. บำรุงหัวใจ
  18. ช่วยทำให้เจริญอาหาร

กระถิน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ของกระถิน

ใช้ขับลม ขับระดูในสตรี ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้รากแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้นิ่วในกระเพาะโดยใช้ยอดอ่อนมารับประทานสดๆ หรือ รับประทานกับน้ำพริกต่างๆ ก็ได้ ใช้บำรุงกระดูก แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้นิ่วในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง โดยใช้ฝักอ่อนมารับประทานสดๆ หรือ รับประทานเป็นผักแกล้มน้ำพริกต่างๆ ก็ได้ ยาถ่ายพยาธิตัวกลม โดยใช้เมล็ดอ่อนกระถิน มารับประทานซึ่งสำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัมต่อวัน โดยรับประทานขณะท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกันประมาณ 3-5 วัน ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ขับลมในลำไส้ ขับระดูขาวในสตรี ใช้แก้เนื้องอกโดยใช้เมล็ดแก่มาต้มกับน้ำดื่ม


ลักษณะทั่วไปของกระถิน

กระถิน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบมีสูงได้ประมาณ 3-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ หรือ กลมแผ่กิ่งก้านเป็นพุ่มแตกกิ่งเหนือลำต้นตั้งแต่ยังไม่ถึง 1 เมตร เปลือกต้นบางติดต้นมีสีเทาสากเล็กน้อย และมีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน หรือ สีขาวเปราะหักง่าย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก (bipinnate) 2 ชิ้น เรียงสลับกันแต่ละก้านจะยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ซึ่งใน 1 ก้าน จะประกอบด้วยก้านของกลุ่มใบย่อย 5 ก้าน แตกออกตรงข้ามกัน โดยก้านใบย่อยจะยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และจะประกอบไปด้วยใบย่อยลักษณะเรียวยาวสีเขียว ปลายมนคล้ายใบหอกกว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 0.5-2 มิลลิเมตร แตกออกตรงข้ามกัน จำนวน 12-13 คู่ ฝักมีลักษณะแบน กว้าง 1.4-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนสอบ ปลายแหลมฝักมีสีเขียวเมื่ออ่อนแต่เมื่อแก่แล้วจะมีสีน้ำตาลดำ มีก้านฝักก้านยาว 0.6-1.3 เซนติเมตร ตรงกลางฝักมีรายนอนของเมล็ดเรียงกันเป็นแถวตามแนวยาวของฝัก และเมื่อฝักแก่จะแตกตามยาว ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นมีสีขาว โดยจะออกบริเวณง่ามใบและปลายกิ่งประมาณ 1-3 ช่อ มีก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร โคนติดกันลักษณะเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ มีขน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปช้อนยาว 5 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร

กระถิน

การขยายพันธุ์กระถิน

กระถิน เป็นพัน์ไม้ที่ทนต่อสภาวะอาการได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ว และยังเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน ทนต่อโรค และแมลง เป็นได้โตเร็ว และยังสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการขยายพันธุ์กระถิน นั้น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ แต่วิธีที่นิยมคือ การเพาะเมล็ด โดยวิธีการเพาะเมล็ด และการปลูกสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดและการปลูกไม้ยืนต้น หรือ ไม้พุ่มชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของกระถิน ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น สารที่พบในเมล็ดกระถินได้แก่ C-glycosidic 2-propanol derivative, sulphated derivative และ leucenine เป็นต้นอีกทั้งในใบกระถินยังมีสาระสำคัญ และกรดอะมิโนอีกหลายชนิด อาทิเช่น β-carotene, xanthophyll, Aspartic acid, Glutamic acid, Threonine, Serine, Glycine, Cystine, Alanine, Methionine, Valine, Isoleucine, Phenylalanine, Leucine, Lysine, Histidine, Tyrosine, Arginine เป็นต้น ที่สำคัญในใบกระถินยังมีสารที่มีความเป็นพิษต่อสัตว์ ได้แก่ mimosine และ tannin อีกด้วย นอกจากนี้ยอดอ่อนของกระถินยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกดังนี้

โครงสร้างกระถิ่น

           คุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนกระถิน (100 กรัม) พลังงาน 62 กิโลแคลอรี, เส้นใยอาหาร 3.8 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม, โปรตีน 8.4 กรัม, ไขมัน 0.9 กรัม ,วิตามินA 7,883 หน่วยสากล, วิตามินB1 0.33 มิลลิกรัม, วิตามิน C 2 0.09 มิลลิกรัม, วิตามิน B3 1.7 มิลลิกรัม, วิตามินC 8 มิลลิกรัม, แคลเซียม 137 มิลลิกรัม, เหล็ก 9.2 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกระถิน

มีรายงานข้อมูลผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกระถิน ทั้งในและต่างประเทศดังนี้ มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าใบกระถินมี b-carotene ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินเอ และสาร xanthophyll ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidance) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของ polysaccharides ที่สกัดได้จากเมล็ดกระถินและอนุพันธ์ของ polysaccharides ที่ได้จากการดัดแปลงทางเคมี ได้แก่ C-glycosidic 2-propanol derivative (PE) และ sulphated derivative (SPE) โดยการศึกษาผลของสารเหล่านี้ต่อ raw macrophage 264.7 fumctions (Murine macrophage cell line) และหา antioxidant activity ของสาร ผลที่ได้พบว่า PE. มีประสิทธิภาพในการจับกับอนุมูลอิสระได้แก่ lnydeowyl. Peroxyl และ superoxide เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วและเกิด phagocytosis ของ FITC-zymosan โดย PE ยับยั้งการสร้าง Nitric oxide (NO) และการหลั่ง tumor manrophage 264.7 ส่วน SPE ไปชักนำการสร้าง NO และเพิ่มการหลั่ง TNF-a แสดงให้เห็นว่า PE มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบได้ และ SPE อาจมีบทบาทชักนำ macrophage frnctions ในการต่อต้าน pathogens ได้ และยังมีการศึกษาวิจัยคุณสมบัติในการต่อต้าน tumor cell ของสารสกัดจากพืชกินได้ในประเทศไทย 112 ชนิด พบว่า สารสกัดจากเมล็ดกระถิน 200 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการยับยั้งการกระตุ้น Epstein-Barr virus ใน human B-lymphoblastoid cells (Raji cells) ที่ถูกชักนำด้วย 12-o-hexadecanoylphorbol-13-acctate ความเข้มข้น 40 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ได้ค่อนข้างต่ำ คือ อยู่ในช่วง 30-50% อีกทั้งยังมีสารนำ galactomanmams จากเมล็ด Mimasa scabrella และเมล็ดกระถินที่ผ่านการเติมหมู่ซัลเฟต (Sulfation) มาทดสอบการต่อต้าน yellow fiever virus (BeH111 strain) และ dengae I virus (Hawaii strain) ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้เหลืองและไข้เลือดออก (Type I) พบว่า sulfated palactomannans จากพืชทั้ง 2 ชนิด สามารถลดการตายของหนูที่ได้รับไวรัสทั้งสองชนิดได้ดีในระดับที่ใช้ทดสอบอีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยาของกระถิน

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

กระถินมีสารพิษที่เรียกว่า mimosine ซึ่งเป็นสารมีโครงสร้างคล้ายกรดอะมิโนไทโรซีนซึ่งมีผลในการยับยั้งการสร้าง โปรตีน และลดการย่อยของโปรตีนได้  แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษเนื่องจากการกินกระถินในคน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีรายงานว่ากระถิน เป็นพืชที่มีคุณสมบัติดูดธาตุซีลีเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้มาก ดังนั้นผู้ที่บริโภคกระถินจึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้ หากรับประทานมากจนเกินไป นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเก๊าท์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทุกส่วนของกระถิน เนื่องจากกระถินจัดเป็นหนึ่งในผักที่มีกรดยูริกสูง ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงได้

เอกสารอ้างอิง กระถิน
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก.กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
  2. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.ชื่อพรรณไม้สมุนไพร แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544 ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่บริษัทประชาชนจำกัด. 2544
  3. เฉลิมพล แชมเพชร. 2523.กระถิน. พืชที่มีคุณค่าสำหรับเขตร้อน. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
  4. สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน 2538.ผักพื้นบ้านความหมาย และภูมิปัญญาของสามัญชนไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 52 77 81 104-105 180 และ 193.
  5. สมฤทัย ทรัพย์เจริญพันธ์.การศึกษาฤทธิ์เบื้องต้นในการต้านอนุมูลอิสระการยับยั้งแบคทีเรียและการยับยั้งเซลล์มะเร็งของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยศิลปากรปีการศึกษา 2552. 75 หน้า
  6. อุทัย คันโธ. 2526. อาหารและการคำนวณสูตรอาหาร. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
  7. สายัณห์ ทัดศรี. 2547. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
  8. เฉลิมพล แซมเพชร. 2530. หญ้าและถั่วอาหารสัตว์เมืองร้อน. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
  9. กระถิน (Leucaena) ประโยชน์และพิษกระถิน. พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  10. Muraikami,A Hirwajinda S.,Koshinizu,K. and Ohigashi . H. 1995.Sereening for in vitro antitumor promoting activities of edible plants from Thailand, Cancer Letters 95;139-146.
  11.  Smitinand, T. and Larsen, K. 1985. Flora of Thailand (Vol.4: 2). Bangkok: TISTR Press
  12. Gamal-Eldeen, A M., Amer,H,Helmy, W.A.,Taiaat.R.M. and Ragab H 2007. Chemixallymodified polysaccharide extract derived from Leucaena leucoccphala alhers Raw 264.7 murine macrophage fumctions International Immunopharmacology 7;871-878.
  13. Megarrity, R.G. 1978. An automated colorimimetric method for mimosine in Leucaena leaves. Journal of Science of Food and Agriculture 29: 182-186
  14. Ono, L., Wollinger, W., Rocco, I M., Coimbra, T.L. M., Gorin,P.A.J. and Sierakowdki M,R. 2003 In vitro and in vivo antiviral roperties of sulfated galactomannans against yellow fever virus )BeK111 strain) and dengue 1 virus (Hawaii strain) Antiviral Research 60;201-208.