มะเม่า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะเม่า งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะเม่า
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น บ่าเม่า, หมากเม่า (ภาคเหนือ), หมากเม่า (อีสาร), เม่า (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma spp. (มะเม่ามีหลายสายพันธุ์โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีชื่อวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไปแต่ในบทความนี้ จะนำเสนอถึงภาพรวมของมะเม่าแต่ละชนิดจึงขอใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Antidesma spp. ซึ่งจะรวมมะเม่าทุกสายพันธุ์
วงศ์ Euphobiaceae

ถิ่นกำเนิดมะเม่า

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะเม่า มีด้วยกันทั้งหมดกว่า 170 ชนิด มีถิ่นกำเนิดและกระจายอยู่ในเขตร้อนของอินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้เพียง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ มะเม่าหลวง มะเม่าสร้อย (มะเม่าขี้ตาควาย) มะเม่าไข่ปลา (มะเม่าทุ่ง มะเม่าข้าวเบา) มะเม่าควาย (เม่าเขา เม่าหิน เม่าเหล็ก ส้มเม่าขน) และมะเม่าดง ซึ่งจะสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

ประโยชน์และสรรพคุณมะเม่า

  1. ช่วยบำรุงกำลัง
  2. แก้อาการซีดเหลือง
  3. แก้เลือดไหลเวียนไม่ดี
  4. รักษาโลหิตจาง
  5. แก้ปวดศีรษะ
  6. แก้โรคผิวหนัง
  7. แก้ท้องบวม
  8. แก้ฟกช้ำดำเขียว
  9. แก้รักษาฝี
  10. แก้รังแค
  11. เป็นยาระบาย
  12. แก้ช่องท้องบวม
  13. แก้อาการไข้
  14. บำรุงไต
  15. ขับปัสสาวะ
  16. ขับโลหิต
  17. ขับน้ำคาวปลา
  18. แก้กษัยเส้นเอ็นพิการ
  19. แก้มดลูกพิการ
  20. แก้ตกขาว
  21. แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  22. แก้ซางเด็ก

มะเม่า

รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะเม่า

ช่วยฟอกโลหิต ขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย บำรุงสายตา โดยนำผลสุกมารับประทานสดมะเม่า หรือ นำไปแปรรูปรับประทานก็ได้ ใช้บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้กษัยเส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขับเสมหะ ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา แก้มดลูกพิการ แก้ซางในเด็ก โดยการนำเปลือกต้นและรากมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้โลหิตจาง แก้อาการซีดเหลือง ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำอาบ แก้อาการฟกช้ำดำเขียวโดยการนำไปอังไฟแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็น ใช้รักษาแผลฝีหนองโดยนำใบสดมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปมะเม่า

มะเม่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงหนาทึบ ความสูงของลำต้นมีตั้งแต่ประมาณ 2-20 เซนติเมตร มีอายุหลายปีลำต้นมีสีเทาแตกเป็นสะเก็ดและจะแตกกิ่งเป็นจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไป ลักษณะกิ่งค่อนข้างเล็ก แต่ใบดก

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. ปลายใบมน หรือ มีกิ่งแหลมเล็กตามสายพันธุ์ โคนมนกลมถึงหยักเว้า แผ่นใบบางถึงกิ่งหนา ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง หรือ มีขนเล็กน้อยตามเส้นใบหรือด้านหลังใบ มีเส้นแขนง ใบละ 5-8 เส้น มีก้านใบยาว 0.5-1 ซม. มีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบรูปลิ่มแคบยาว 4-6 มม.

           ดอก ออกเป็นช่อยาว 1-4 ซม. บริเวณปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ปลายยอดมีลักษณะคล้ายช่อดอกพริกไทย บนช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะสีครีม หรือ สีเขียวเป็นแบบแยกเพศต่างต้นและอยู่ต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้มีช่อดอกยาว 4-6 ซม. ส่วนดอกมีขนาด 2-3 มม. ไม่มีกลีบดอก ส่วนดอกเพศเมียยาว 1.5-2 มม.

           ผล ออกเป็นพวง ยาว 4-7 ซม. โดยแต่ละพวงจะมีผลเล็กๆ ขนาดค่อนข้างกลม หรือ รี ผิวมีขน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีขาว เขียวอ่อน หรือ เขียวเข้ม แล้วแต่สายพันธุ์ ผลอ่อนมีสีแดงคล้ำถึงดำ มีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด ด้านในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก 1-2 เมล็ด

มะเม่า 

ต้นมะเม่า

การขยายพันธุ์มะเม่

มะเม่า สามารถพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำและเสียบยอด แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ วิธีการเพาะเมล็ดแล้วจึงนำต้นกล้าที่ได้ไปปลูกเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดไม้ยืนต้นอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมีมะเม่า

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของผลมะเม่า ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ดังนี้ gallic acid anthocyanin, melatonin tannin aspartic acid glutamic acid ascorbic acid เป็นต้น นอกจากนี้ผลสุกของมะเม่า ยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเม่าสุก (100 กรัม)

พลังงาน

75.2

กิโลแคลอรี

โปรตีน

0.63

กรัม

เส้นใย

0.79

กรัม

คาร์โบไฮเดรต

17.96

กรัม

กรดแอสพาร์ติก

559.43

มิลลิกรัม

กรดกลูตามิก

618.62

มิลลิกรัม

ทรีโอนีน

227.47

มิลลิกรัม

ซีรีน

285.75

มิลลิกรัม

โพรลีน

234.94

มิลลิกรัม

ไกลซีน

250.23

มิลลิกรัม

อะลานีน

255.17

มิลลิกรัม

ฟีนิลอะลานิน

317.70

มิลลิกรัม

วาลิน

57.36

มิลลิกรัม

ซิสทีน

274.60

มิลลิกรัม

ไลซีน

389.08

มิลลิกรัม

เมทไธโอนีน

22.87

มิลลิกรัม

ลิวซีน

392.53

มิลลิกรัม

ไอโซลิวซีน

226.78

มิลลิกรัม

ไทโรซีน

175.17

มิลลิกรัม

ฮิสทิดิน

129.43

มิลลิกรัม

อาร์จินิน

213.33

มิลลิกรัม

ทริปโตเฟน

189.00

มิลลิกรัม

วิตามิน บี1

4.50

มิลลิกรัม

วิตามิน บี2

0.03

มิลลิกรัม

วิตามินซี

8.97

มิลลิกรัม

วิตามินอี

0.38

มิลลิกรัม

แคลเซียม

13.30

มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก

1.44

มิลลิกรัม

โครงสร้างมะเม่า

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะเม่า

มีรายงานการศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะเม่า ได้ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารสกัดมะเม่า ในหนูขาวหนูถีบจักรในสภาพปกติ และต่ออวัยวะที่แยกจากกายหนูขาว หนูตะเภา ประกอบด้วยฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ ระบบโลหิต และระบบทางเดินอาหารโดยป้อนสารสกัดสมุนไพรมะเม่าขนาด 60 มก. และ 120 มก./กก. ในหนูขาวปกติติดต่อกัน 7 วัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดดังกล่าว เพิ่มจำนวนของ WBC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลต่อ motor co-ordination โดยทำ Rotarrod test ในหนูถีบจักรปกติพบว่าการให้สมุนไพรมะเม่า ในช่องท้องขนาด 30,60,120 มก. หนูสามารถทรงตัวในการไต่ rotarod bar ได้นาน 1 นาที ในการไต่ทั้งหมด 3 ครั้ง และพบว่าไม่มีผลต่อ motor cooridation balance ส่วนการทดลองผลต่อทางเดินอาหาร โดยดูการเคลื่อนที่ของผลถ่านจากลำไส้เล็กส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็กส่วน ileo-caecal junction ในหนูขาวปกติ พบว่าสมุนไพรสารสกัดมะเม่า ในขนาด 120มก./กก. มีแนวโน้มที่จะลดการเคลื่อนที่ของผงถ่านส่วนสมุนไพรมะเม่าที่ความเข้มข้น 100+mg., 2--+mg., 400+mg./ml สามารถลดการหดตัวของลำไส้ส่วน ileum ของหนูขาวที่แยกออกจากกายที่ถูกกระตุ้นด้วย mrthacholine ขนาด 1X10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสารสกัดสมุนไพรมะเม่าที่ความเข้มข้น 50+mg., 100+mg., 200+mg., 400mg/ml ก็ยังไม่มีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูขาวที่แยกออกจากกาย ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการหดตัวด้วย norpenephrine ขนาด 1x10M อีกทั้งยังไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการหดตัวด้วย histamine ขนาด1x10M

           ส่วนอีกการศึกษาวิจัยหนึ่งซึ่งศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดจากผลมะเม่า แก่จัด (ผลมะเม่าสีม่วง) ที่เตรียมโดยวิธีการสกัดและตัวทำละลายต่างๆ ได้แก่ การคั้นสด การต้มกับน้ำและการหมักกับตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น อะซีโตน เอธานอล และเมธานอล โดยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl radical scavenging assay พบว่าสารสกัดน้ำต้มผลมะเม่าแสดงฤทธิ์การยับยั้งอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 91.62+-4.74 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตาม สารสกัดน้ำคั้นสดมีปริมาณฟีนอลิกรวมและแอนโทไซยานินรวมสูงที่สุดคือ 2.63+-1.02 กรัม gallic acid equivalent ต่อ 100กรัมสารสกัด และ 61.51+-0.95 กรัม ciyanidine-3-glucoside equivalent ต่อ 100 กรัมสารสกัด จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญในสารสกัดน้ำต้มมะเม่าแก่ (ผลมะเม่าสีแดง) พบว่าสารสกัดผลมะเม่าสีแดงแสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดผลมะเม่าสีม่วง ส่วนอีกรายงานการวิจัยหนึ่งระบุว่า ที่ใช้ตัวทำละลายที่ใช้สารสกัด 5 ชนิดคือน้ำ 25% เอทานอล 50% เอทานอล 75% เอทานอล 95% มะเม่าที่สกัดด้วย 25% เอทานอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.28mg/ml และที่สกัดด้วย 75% เอทานอล มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูสุด เท่ากับ 630.01 มิลลิกรัม gallic acid ต่อการสกัด 100 กรัม แตกต่างจากสารสกัดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง มีการศึกษาวิจัยปริมาณของสารเมลาโตนิน (ซึ่งเป็นสารที่แพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง) ก่อนและหลังการทดลอง โดยทำการศึกษาแบบ crossover ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีเป็นชาย 15 และหญิง 15 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งอาสาสมัครทุกคนต้องรับประทานผลไม้ทั้งหมด 6 ชนิด ที่มีสารเมลาโตนินค่อนข้างสูง ได้แก่ กล้วย สับปะรด ส้ม มะละกอ มะเม่า และมะม่วง โดยรับประทานทีละชนิดในรูปของผลไม้สด หรือ น้ำผลไม้ขนาด 0.5-1 กรัม ครั้งเดียว และมีช่วงพัก 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะรับประทานผลไม้ชนิดต่อไป และได้ทำการเก็บรวบรวมปัสสาวะตลอดคืนก่อนและหลังการศึกษาในผลไม้แต่ละชนิด ซึ่งเป็นสารเมตาบอไลท์ของสารเมลาโตนินซึ่งมีความสัมพันธุ์อย่างมากกับระดับเมลาโตนินในเลือด พบว่าการบริโภคผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มะเม่า และมะละกอ มีผลเพิ่มปริมาณสาร aMT6-s ในปัสสาวะ 178%, 127%, 52% ตามลำดับ ส่วนกล้วยเพิ่มปริมาณสาร aMT6-s เพียง 34% ในขณะที่การบริโภคส้ม และสับปะรดลดปริมาณสาร aMT6-s 4%,10% ตามลำดับจากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการบริโภคมะม่วง มะเม่า มะละกอ ในรูปของผลไม้สด หรือ น้ำผลไม้ มีผลเพิ่มปริมาณเมาโตนินในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยอื่นๆ ระบุว่า สารสกัดของผลมะเม่า มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในระดับกลาง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Staphyllococcus aureus และเชื้อราสายพันธุ์ Candida albican ในระดับสูง สามารถยับยั้งสาร pro-inflammatory หลายชนิด ได้แก่ tumor necrosis factor alpha interleukin-6 vaskular cell adhesion molecule-1 momoccyte chemoattractant protein-1 และ endothelial nitric oxide synthase ส่วนสารสกัดหยาบจากใบมะเม่าชนิด Antidesma thwaitesianum Mull. Arg. พบสารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์สูงและจากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 50% มีค่าอยู่ระหว่าง 3.54-6.44 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร

การศึกษาทางพิษวิทยาของมะเม่า

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

มะเม่า เป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยตั้งแต่ในอดีตแล้ว และมีการใช้รับประมาณมากมานานแล้วเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบขออาหารและสมุนไพรจึงค่อนข้างปลอดภัย หากใช้ในขนาดที่ระบุไว้ในตามตำรายาต่างๆ แต่หากใช้ในรูปแบบของสารสกัดแล้วควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ อีกทั้งผลสุกของมะเม่ามีรสหวานอมเปรี้ยวหรือเปรี้ยวอย่างเดียว ซึ่งหากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และปวดไซท้องได้

เอกสารอ้างอิง  มะเม่า
  1. วินัย แสงแก้วและ กาญจนา รติพจน์.2547. พืชสกุลเม่า จากผลไม้ท้องถิ่นสู่ไวน์ราชมงคล ในเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชครั้งที่ 17 ธันวาคม 2537.
  2. การบริโภคผลไม้ไทยมีฤทธิ์เพิ่มปริมาณสารเมลาโตนิน (melatonin). ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผลการวิเคราะห์มะเม่าสด กรมวิทยาศาสตร์บริการ. กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร มปป. ลิ้นจี่ก่อนฤดู นพ 1, เอกสารเผยแพร่ กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร.
  4. กมลวรรณ จงจิตต์ และคณะ. การวิเคราพห์หาสารต้านอนุมูลอิสระสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและการตั้งตำรับครีมบำรุงผิวหน้จากสารสกัดหมากเม่า. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 13 ฉบับพิเศษ. มกราคม-มีนาคม 2560 หน้า 209-218.
  5. มะเม่า. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php? Action=viewpage&pid=95
  6. มะเม่า และหมากเม่า ประโยชน์และสรรพคุณมะเม่า. พืชเกษตรดอทคอม เว็ปเพื่อเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  7. Sakulkoo S and Suthum N. Study of Genetic Deversity to Mao-Luang with AFLP Method and Comparison of type and Quantity Antioxidants in Mao-Luang.
  8. Tuyoien Thammarat&Ittharat Arunporn. Biology activities of Antidesma thwaitessianum Muell. Thai J Pharmacol 32: 126-128.
  9. Musika J and Saehueng U. Effect of colors and varities of Mao fruits on Physicochemical and Functional Properties. Graduate Res.
  10. Dechayont, B. Itharat A, Phuaklee P, Chunthorng-Orn J, Juckmeta T, Prommee N, Nuengchamnong N and Hansakul P. Antioxidant activities and phytochemical constituents of Antidesma thwaitesianum Mull. Arg. Leaf extracts. J Integr Med. 15: 310-319.