อ้อยดำ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

อ้อยดำ งานวิจัยและสรรพคุณ 43 ข้อ

ชื่อสมุนไพร อ้อยดำ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น อ้อยแดง, อ้อยขม, อ้อยตาแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum sinense Roxb.
วงศ์ GRAMINAE-POACEAE


ถิ่นกำเนิดอ้อยดำ

จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่า อ้อยดำ เป็นพืชตระกูลเดียวกับอ้อยธรรมดาที่เราใช้ทำน้ำตาล (saccharum officinarum L.) แต่อ้อยดำมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา เป็นต้น หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอ้อยพื้นเมืองของไทยก็ได้ โดยอ้อยดำนี้จะแตกต่างกับอ้อยธรรมดา คือ ลำต้นจะเล็กและแข็ง เปลือกแข็ง และออกรสขม ไม่ค่อยหวาน มีน้ำน้อย เคี้ยวกินค่อนข้างลำบาก

ประโยชน์และสรรพคุณอ้อยดำ

  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยรักษาโรคนิ่ว
  • แก้ไข้
  • แก้อาการไอ
  • แก้คอแห้ง
  • แก้กระหายน้ำ
  • ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใช้เป็นยาฟอกเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้ช้ำบวม
  • แก้เบาหวาน
  • แก้ตานขโมย
  • แก้แผลเน่าเปื่อย
  • แก้แผลกดทับ
  • แก้แผลเรื้อรัง
  • แก้ฝีอักเสบบวม
  • แก้คลื่นไส้อาเจียน
  • แก้ร้อนใน
  • แก้ไข้สัมประชวน
  • แก้ปัสสาวะพิการ
  • แก้ไตพิการ
  • แก้หืด
  • แก้หนองใน
  • แก้ช้ำรั่ว
  • แก้ท้องผูก
  • แก้สะอึก
  • แก้เมาค้าง
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • ทำให้เจริญอาหาร
  • แก้ขัดเบา
  • รักษาตามืดฟาง
  • แก้กำเดา
  • ช่วยผายธาตุ
  • แก้ตัวร้อน
  • แก้พิษตานซาง
  • ช่วยบำรุงธาตุ
  • ช่วยบำรุงกำลัง
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • รักษาอาการอ่อนเพลีย
  • รักษาเลือดลม
  • รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ (สาเหตุให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย เจ็บหลังเจ็บเอว ท้องอืด)
  • รักษาแผลพุพอง
  • โรคงูสวัด

          อ้อยดำ เป็นอ้อยที่ไม่นิยมนำมารับประทานเหมือนกับอ้อยทั่วไป เนื่องจากส่วนเปลือกข้างแข็ง มีน้ำหวานน้อย และรสชาติไม่หวานมาก ออกจะหวานอมขม ดังนั้น อ้อยดำจึงถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรเสียมากกว่า โดยตามตำรายาไทย ระบุถึงสรรพคุณของอ้อยดำไว้ว่า ลำต้นทั้งสด หรือ แห้ง
 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ของอ้อยดำ

ใช้ขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 1 กำมือ สดหนัก 70-90 กรัม แห้งหนัก 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ใช้ฟอกเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เบาหวาน แก้ช้ำบวม โดยใช้แก่นอ้อยดำ แก่นปีป และหัวข้าวเย็นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน โดยใช้ปล้องที่ลำต้นมาผ่าแล้วเอาเกลือทา นำไปเผาไฟแล้วเคี้ยวกินเป็นยาแก้ไข้ ใช้แก้อาการร้อนใน และปากเปื่อย โดยนำอ้อยดำยาวเท่านิ้วชี้จำนวน 3 ท่อน นำแต่ละท่อนมาผ่า 4 ส่วน เอา 3 ส่วน แล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 3 แก้ว หลังจากนั้นเติมข้าวสารเจ้าลงไปหยิบมือหนึ่ง แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง หอบ และมีเสมหะในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้รากอ้อยประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับเหล้า ใช้กินครั้งเดียวหมดวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

ลักษณะทั่วไของอ้อยดำ

อ้อยดำ จัดเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นแข็งแรงมักขึ้นเป็นกอ โดยที่ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่อ้อยดำจะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ลำต้นกลมยาว แข็งเป็นมัน สามารถเห็นข้อ และปล้องชัดเจน ซึ่งในแต่ละปล้องอาจยาว หรือ สั้นก็ได้ ผิวเรียบมีตาออกตามข้อ มีรากอากาศอยู่ประปราย เปลือกสีแดงอมม่วง เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ แต่จะน้อยกว่าอ้อยทั่วไป เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา ใบออกเป็นใบเดี่ยว ตามข้อ โดยจะออกแบบเรียงสลับ แต่ใบมักจะหลุดร่วงได้ง่าย จึงพบได้เฉพาะที่ปลายยอด โดยจะมีกาบใบโอบหุ้มตามข้อ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน แคบยาวเรียว กว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 100-150 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบหุ้มลำต้น ส่วนกลางใบเป็นร่อง และขอบใบเป็นจักแบบละเอียดและมีความคม มีขนสากคายอยู่ทั้งสองด้านของแผ่นใบ ใบจะมีสีม่วงเข้ม และมีไขสีขาวปกคลุม ดอก ออกเป็นดอกช่อใหญ่ ที่ปลายยอดมีลักษณะเป็นช่อดอกตั้งยาว 40-80 เซนติเมตร โดยในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยสีขาวครีม จำนวนมาก และมีขนยาว เมื่อแก่จะมีพู่ปลาย ซึ่งลำต้นจะออกดอกเมื่อแก่เต็มที่เท่านั้น ผล เป็นแบบผลแห้งจะออกเมื่อต้นแก่จัด ส่วนเมล็ดจะปลิวตามลมได้ง่าย

อ้อยดำ

การขยายพันธุ์ของอ้อยดำ

อ้อยดำ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีปักชำ การใช้ท่อนพันธุ์และการใช้หน่อ จากเหง้าปลูก แต่วีธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ การใช้ท่อนพันธุ์ปลูก โดยมีวิธีการปลูก เช่นเดียวกับอ้อยทั่วไป (อ้อยธรรมดา)

องค์ประกอบทางเคมี

จาการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของอ้อยดำ พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด อาทิเช่น ส่วนของลำต้นพบ aicohols, asparagine ส่วนรากพบ nitrogenase น้ำอ้อยพบ calcium, caffeic acid, vitexin, magnesium, potassium, ใบพบสาร 5, 7, -Dimethyl-apigenin-4-O-B-D-glycoside ดอกพบสาร 5-O-Methyl apigenin ส่วนไขเปลือกพบสาร policosanol เป็นต้น

โครงสร้างอ้อยดำ

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของอ้อยดำ

มีผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาจากบ้านต่างๆ ของอ้อยดำ ระบุว่ามีฤทธิ์ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด เป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของอ้อยดำ

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

เนื่องจากอ้อยดำ มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะดังนั้นผู้ป่วยโรคไต จึงไม่ควรรับประทาน

เอกสารอ้างอิง อ้อยดำ

⦁ เสงี่ยม พงษ์บุญรอด.ไม้เทศเมืองไทย.กรุงเทพ:เกษมบรรณกิจ.2522.
⦁ โชติอนันต์และคณะ (2551) สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน.หน้า 220.
⦁ โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน. (โดยความช่วยเหลือขององค์การยูนิเซฟ.) คู่มือสมุนไพร เล่มที่ 1 กรุงเทพ:หจก.เวช-เวน การพิมพ์ 2527.
⦁ สนธยา สีมะเสถียรโสภณ.สมุนไพรไทยที่ใช้ขับปัสสาวะและขับนิ่ว. วารสารศรีนครรินทร์เวชสารปีที่ 1.ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2529.หน้า 223-239
⦁ กำจร มนูญปิจุ.จำนวนผลงานวิจัยพรรณไม้ในประเทศไทยเล่ม 2 กรุงเทพ: ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2526.
อ้อยดำ .ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage⦁ &⦁ pid=140
⦁ อ้อยแดง.ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage⦁ &⦁ pid=⦁ 150