แอนโดรกราโฟไลด์

แอนโดรกราโฟไลด์

ชื่อสามัญ Andrographolide

ประเภทและข้อแตกต่างสารแอนโดรกราโฟไลด์

สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) เป็นสารในกลุ่มไดเทอร์ปีนแลคโตร (diterpene lactones) ที่มีฤทธิ์ลดไข้ (antipyretic) ต้านการอักเสบ (anti-inflarnmation) และต้านเชื้อไวรัส (anti virus) ซึ่งเป็นสารที่ให้รสขม สามารถละลายน้ำได้น้อย แต่จะละลายได้ดีในแอลกอฮออล์ โดยมีสูตรของเคมี คือ C20 H30 O5  มีมวลโมเลกุล 350.455 g .mol-1 มีความหนาแน่นเท่ากับ 1.2317 ก./ชม3 และมีจุดหลอมเหลวที่ 230-231°C สำหรับประเภทของแอนโดรกราโฟไลด์ นั้นมีเพียงชนิดเดียวซึ่งถือเป็นสารหลักที่สำคัญในการแสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอนุพันธ์ของ แอนโดรกราโฟไลด์ที่ออกฤทธิ์คล้ายๆ กับแผนโดรกราโฟไลด์อีกหลายชนิด เช่น 14-α-lipoylAndrographolide และ 14-dehydroxyandrofrapholide-12-sulfonic acid sadium salt เป็นต้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารแอนโดรกราโฟไลด์

สารแอนโดรกราไฟโลด์ (Andrographolide) เป็นสารที่มีแหล่งที่มาจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ซึ่งจะได้จากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร เช่น ลำต้น ใบ ก้านใบ ฯลฯ ทั้งนี้มีการศึกษาวิจัยพบว่าปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ ที่มีในฟ้าทะลายโจรจะขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตด้วย เช่นกัน โดยแอนโดรกราโฟไลด์นี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบหลัก (มากกว่า 7%) และเป็นสารสำคัญที่มีผลต่อการแสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาส่วนใหญ่ของสมุนไพรชนิดนี้และในปัจจุบันยังมีการสกัดเอาสารแอนโดรกราโฟไลด์ จากใบฟ้าทะลายโจรมาใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ และการป้องกันภัยสุขภาพ (ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมฟ้าทะลายโจร) กันอย่างแพร่หลายอีกด้วย

แอนโดรกราโฟไลด์

ปริมาณที่ควรได้รับจากสารแอนโดรกราโฟไลด์

สำหรับขนาด และปริมาณใช้สารแอนโดรกราโฟไลด์นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัด ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นการกำหนดโดยอิงกับขนาดการใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นหลัก เช่น ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ กำหนดให้ใช้ผงจากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร ที่มีสารสาคัญ total lactone โดยคำนวณเป็น andrographolide ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยน้ำาหนัก (w/w) ทั้งในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล และยาลูกกลอน โดยมีขนาดและวิธีใช้ดังนี้

  • สำหรับบรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ รับประทานครั้งละ 1.5–3 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
  • สำหรับบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือ มีเลือดปน รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

           แต่ในปัจจุบันกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการใช้ฟ้าทะลายโจรให้ปลอดภัย โดยระบุว่า ยาผงฟ้าทะลายโจร ทั้งแบบอัดเม็ดและแคปซูล ในขนาด 350-400 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (หลังอาหารและก่อนนอน) จะได้ปริมาณผงยา 6000 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเทียบเท่ากับสารแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มิลลิกรัม/วัน ส่วนสารสกัด แอนโดรกราโฟไลด์ทั้งในรูปแบบแคปซูล และรูปแบบยาเม็ดในขนาด 10 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล/เม็ด สำหรับขนาด 20 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล/เม็ด วันละ 3 เวลา หลังอาหาร ก็จะได้สารแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มิลลิกรัม/วัน เช่นกัน

ประโยชน์และโทษสารแอนโดรกราโฟไลด์

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ เป็นสารหลักที่ออกฤทธิ์ต่างๆ ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ดังนั้นหากเทียบสรรพคุณของฟ้าทะลายโจรแล้วก็คงกล่าวได้ว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ก็มีประโยชน์และสรรพคุณเช่นเดียวกัน อาทิ เช่น แก้อักเสบ แก้ติดเชื้อต้านไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาง แก้ไข้ ร้อนใน แก้หวัด และไข้หวัดใหญ่ แก้ต่อมทอลซิลอักเสบ ต้านมะเร็ง แก้ปวดอักเสบ แก้โรครูมาตอยด์ แก้อักเสบภายในต่างๆ แก้บอดท้องเดิน ฆ่าเชื้อโรค ทั้งภายในและภายนอก แก้แพ้อากาศ ลดความดันเลือด และลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ซึ่งสรรพคุณต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศรองรับทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวังในการใช้ เช่น ที่มีการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่งระบุว่า มีรายงานการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างสารสกัด 95% เอทานอลจากส่วนต้นและส่วนใบของฟ้าทะลายโจร (APE) และสาร andrographolide (AG) กับยา theophylline โดยในการศึกษานี้ได้ ป้อนหนูแรทด้วย APE (1 ก./กก., เทียบเท่ากับ AG 77 มก./กก.), AG 77 มก./กก, APE (2 ก./กก., เทียบเท่ากับ AG 154 มก./กก) หรือ AG 154 มก./กก เป็นเวลา 3 วัน และฉีดยา theophylline เข้าทางหลอดเลือดดำ ในขนาด 1 มก./กก. หรือ 5 มก./กก. ในวันที่ 4 จากผลการทดลองพบว่าการให้ theophylline ในขนาด 5 มก./กก. (high dose) ในหนูที่ได้รับ AG ล่วงหน้า 3 วัน ทำให้การกำจัดยา theophylline ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม CYP1A2-metabolized drug ลดลง แต่มีการสะสมของ theophylline ในกลุ่มที่ได้รับ APE

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารแอนโดรกราโฟไลด์

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์เภสัชวิทยาของสารแอนโดรกราโฟไลด์ หลายฉบับดังนี้

           ฤทธิ์การยับยั้งไวรัสไข้หวัดของ Andrographolide สาร 14-α-lipoyl andrographolide (AL-1) เป็นอนุพันธ์ของ Andrographolide ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในฟ้าทะลายโจร และ AL-1 ก็มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ดังนั้นจึงได้ทำการทดลองหาฤทธิ์ยับยั้งไวรัสไข้หวัด สายพันธุ์ A 3 ชนิด ได้แก่ H5N1, H9N2 และ H1N1 พบว่าหนูเม้าส์ที่ได้รับ AL-1 ขนาด 100-200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(น้ำหนักตัว)/วัน โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 7 วัน ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ยืดอายุหนูที่ติดเชื้อไวรัสหวัด ลดอาการผิดปกติของปอด และลดจำนวนไวรัสในปอดได้ดีใกล้เคียงกับการใช้ยา Ribavirin และ Oseltmivir และให้ผลดีกว่าการใช้ Andrographolide และ 14-dehydroxyandrographolide-12-sulfonic acid sodium salt (DASS, อนุพันธ์ของ Andrographolide) และขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของสาร AL-1 (LD50) 1,243 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน ซึ่งในการให้ AL-1 เพื่อป้องกันโรคจะให้ผลการป้องกันดีที่สุดเมื่อให้ก่อนได้รับเชื้อไวรัสหวัดทั้ง 3 ชนิด 24 ชั่วโมง และให้ประสิทธิภาพในการรักษาหนูที่ติดเชื้อไวรัสหวัด H9N2 ได้ดีที่สุดเมื่อให้หลังจากได้รับเชื้อไวรัส 4 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้โดยไม่พบว่าสารหรือยาตัวใดแสดงผลการยับยั้งเชื้อไวรัสหลังจากได้รับเชื้อ 72 ชั่วโมง

           ส่วนการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาเม็ด ซึ่งเตรียมจากสารสกัดฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Burm. f. Nees) ในผู้เป็นหวัด จำนวน 158 คน พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 2 ของการรักษา โดยลดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไม่พบผลข้างเคียงของยา โดยในยาเม็ด 1 เม็ด ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 100 มิลลิกรัม ควบคุมคุณภาพมาตรฐานให้มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) และดีออกซิแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) รวมอย่างต่ำเม็ดละ 5 มิลลิกรัม ให้ผู้ป่วยรับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ปริมาณสารสกัด 1,200 มิลลิกรัม/วัน)

           ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสาร Andrographolide, deoxyandrographlide และ neoandrognapholide ซึ่งสกัดจากใบของฟ้าทะลายโจรต่อเชื้อโรคท้องร่วง โดยวิธี agar dilution susceptibillty test พบว่าสารทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 1, 2, 3 และ 4  mg/ml สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Salmonella gr. ได้และสารสกัดด้วยเอธานอล 70 เปอร์เซ็นต์ และ 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียได้แก่ Escherichia coli และ Vibrio grapholide และ deoxyandrographolide

           ฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับ มีการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับ โดยการวัดของปริมาณของ เอนไซม์ serum glutamate oxaloacetate transferase (SGOT), serum glutamate pyruvate transferase (SGPT) และ alkali phosphatase และพิจารณาสภาพของ isolated hepatic cell พบว่า Andrographolide ในขนาด 0.75-12 mg/kg (p.ox7) มีฤทธิ์ชัดเจนในการป้องกันไม่ให้ isolatedrat-hepatocyte และยังพบว่า androgeapholide มีประสิทธ์ภาพดีกว่า sllymarin ซึ่งเป็น standars hepatoprotective agent และจากการศึกษาฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรในการปกป้องตับ จากพิษของคาร์บอนเตตราคลอไรด์ (CCI4) ของผงใบแห้งของฟ้าทะลายโจร แอนโดรกราฟโฟไลด์ เปรียบเทียบกับ Glycyrrhizin ในหนูขาว พบว่า การให้ผงใบแห้งของฟ้าละทายโจร ในขนาด 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว แอนโดรกราฟโฟไลด์ ในขนาด 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว และ Glycyrrhizin ในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ทางปากครั้งเดียว ก่อนได้รับคาร์บอนเดตราคลอไรด์ สามารถยับยั้งการเพิ่มของระดับเอนไซม์ SGPT และ SGOT ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยคาร์บอนเดตราคลอไรด์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อให้สารเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ก่อนได้รับคาร์บอนเดตราคลอไรด์ พบว่า มีเพียงแอนโดรกราฟโฟไลด์ ที่สามารถยับยั้งการเพิ่มของระดับ SGOT และ SGPT ได้ ส่วนผลใบแห้งของฟ้าทะลายโจร และ Glycyrrhizin กลับไม่มีผลต่อรับ SGOT และ SGPT แต่อย่างใด

           นอกจานี้ยังมีการศึกษาของ Honda และคณะพบว่า Andrographolide สามารถปกป้องการทำลายตับหนู จากการฉีด galactosamine 800 mg/kg เข้าช่องท้องและรับประทาน paracetamol 3 g/kg  โดยพิจารณาจากค่าของ SGOT, SGPT, alkaline phosphatase และ bilirubin

           ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด มีการศึกษาวิจัยพบว่า สาร Andrographolide (AP1) และ 14-deoxy-11, 12-didehydroandrographolide (AP3) จากฟ้าทะลายโจร ความเข้มข้น 1-100 ไมโครโมล มีฤทธิ์ยับยั้งทรอมบินที่ไปเหนี่ยวนำให้เกร็ดเลือดของหนูขาวเกาะกลุ่ม ในขณะที่สาร neoandrographolide (AP4) ออกฤทธิ์เล็กน้อยหรือไม่มีฤทธิ์ AP3 (ความเข้มข้นของสารที่ทำให้เกร็ดเลือดเกาะกลุ่ม 50% (IC50) มีค่า 10-50 ไมโครโมล) จะออกฤทธิ์ต้านเกร็ดเลือดสูงกว่า AP1 กลไกในการยับยั้งเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดของ AP1 และ AP3 คือออกฤทธิ์ยับยั้ง extracellular signal-regulated kinase 1/2 (ERK1/2) pathway นอกจากนั้นสารสกัดด้วยน้ำจากฟ้าทะลายโจรออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดด้วยความเข้มข้นระหว่าง 10-100 มคก./มล. สารสกัดในสภาวะที่แตกต่างกันจะมีปริมาณสาร AP3 แตกต่างกัน เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด พบว่าสารสกัดที่มีระดับ AP3 สูง (IC50 = 50-75 มคก./มล.) จะออกฤทธิ์ยับยั้ง ทรอมบินต่ำกว่าสารสกัดที่มี AP3 ต่ำ (IC50 = 25-50 มคก./มล.)

           ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาฤทธิ์ของสาร Andrographolide ในการลดน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง พบว่า สามารถลดน้ำตาลในเลือดในหนูทดลอง พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มการนำกลูโคสไปใช้ในเซลล์โดยสามารถลดการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดหนูปกติที่ได้รับน้ำตาลกลูโคสทางหลอดเลือดดำ เมื่อให้หนูเบาหวานทางหลอดเลือดดำซ้ำ 3 วัน จะเพิ่มโปรตีนและ mRNA ของตัวขนส่งกลูโคส (the glucose transporter subtype 4) ทำให้เกิดการนำเข้าใน soleus muscle

           ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร มีการศึกษาฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารของ andrograoholide ต่อกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็ก กระต่ายและหนูตะเภา พบว่า andrographlide สามารถลด spontaneous histamine, barium chioride และ caicium chloride ใน potassium-deplarizing Tyrode s solution หรือที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าแบบ coaxial stimutation และยังมีผลลด propuisive movement ของลำไส้เล็กรวมถึงยับยั้ง spasmogenic action ของ carvachol ในหนูถีบจักร ส่วนการศึกษาของกองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรด้วยน้ำมีฤทธิ์ยับยั้งที่การหดตัวของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา (isolated guinea pig ileum preparation) เมื่อใช้ acetylcholine, sodium chioride, histamine และ serotonin เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหดตัว นอกจากนี้ยังพบว่าสารพวก diterpine lactone 3 ชนิด คือ Andrographolide,  neoandrograoholide และ 14-deoxy–11, 12 didehydroandrographolide มีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะของหนูขาว และหนูถีบจักรได้แบบไม่จำเพาะเจาะจงต่อสารกระตุ้น (non specific antagonist)

           นอกจากนี้ยับพบว่า gndrographolide ขนาด 100 และ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว และ cimetidine 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว สามารถลดปริมาณกรดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อทดสอบโดย Aspirin induced ulceration ใน male albino rats  และยังพบว่าสาร dehydroandrographlide succinic acid monoester ซึ่งสังเคราะห์ได้จากสาร Andrographolide มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV-2 ในหลอดทดลอง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HIV-2 ด้วยที่ความเข้มข้นที่ยังไม่เป็นพิษต่อเซลล์ โดยสารนี้สามารถพบรบกวนการรวมตัวของเซลล์ที่มีเชื้อ HIV (HIV-induced cell fusion) และรบกวนการเกาะของเชื้อ HIV บน H9 cell ได้และจากการศึกษาทางคลินิกพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จำนวน 16 คน ได้รับสารนี้เป็นเวลา 9 สัปดาห์ ครึ่งหนึ่งมีจำนวน CD4 cell count เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 และปริมาณไวรัสในเลือดลดลงร้อยละ 38 นอกจากนี้สาร Andrographolide ในฟ้าทะลายโจรยังมีผลต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยที่สำคัญอีกฉบับหนึ่งคือการศึกษาวิจัยเรื่อง ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของแอนโดกราฟโฟไลด์ ซึ่งมีการศึกษาผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจรด้วยเอทานอล และสารกลุ่ม andrographolide จากฟ้าทะลายโจร พบว่าสารสกัดเอทานอลสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง HL-60 ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างดี ซึ่งสารที่ให้ผลคือ andrographolide ให้ผลดีที่สุด รองลงมาคือ deoxyandrographolide และ neoandrographolide โดยไปทำให้เซลล์ตาย เนื่องจากไปทำให้ mitochondrial cytochrome C หายไป และเพิ่ม expression ของ Bax ลด expression Bcl-2 แสดงว่ามีผลทำให้ cell cycle หยุดชะงัก จึงทำให้เซลล์มะเร็งตาย

โครงสร้างแอนโดกราฟโฟไลด์ 

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยพบว่า สารแอนโดกราฟโฟไลด์ และอนุพันธ์ของสารนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด และยังมีปฏิกิริยากับยา theophylline ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการใช้ แอนโดรกราโฟไลด์กับยากลุ่ม theophyllon และผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันอันตรายที่จะตามมา นอกจากนี้ในการใช้แอนโดรกราโฟไลด์จากฟ้าละทายโจรทั้งในรูปแบบของสารสกัด และยาผงฟ้าทะลายโจร ทั้งแบบเม็ดและแคปซูล ยังมีข้อห้ามใช้ดังนี้

  1. ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
  2. ห้ามใช้ในผู้แพ้ฟ้าทะลายโจร
  3. ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่างๆ ดังนี้

           ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A หรือ มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group หรือในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น รวมถึงมีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค

เอกสารอ้างอิง แอนโดรกราโฟไลด์
  1. นาถฤดี สิทธิสมวงศ์.การพัฒนายาจากฟ้าทะลายโจร.รายงานการสัมมนาการวิจัยและพัฒนาคุณภาพยาจากสมุนไพร. 2532 ซ 91-5.
  2. ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของแอนโดรกราโฟไลด์.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนังานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. พรรณี ลิ้มสวัสดิ์, รุจินาถ อรรถสิษฐ์.อรุณลักษณ์ รัตนมาลี,สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ:สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน.2542:118-21.
  4. จริยา สินเติมสุข.ฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculala) ต่อเชื้อโรคท้องร่วงที่พบมากในเมืองไทย.วารสารกรมการแพทย์กรุงเทพมหานคร : 2536;18(8):394-400.
  5. ปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาแผนปัจจุบัน.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  6. สัมฤทธิ์ หงส์ทิพยฉัตร.ฟ้าทะลายโจร.คอลัมน์ ยาน่ารู้.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้าปีที่ 23.ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2549.หน้า 107-111
  7. เพชรัตน์ พงค์จรรยากุล.ฤทธิ์ของแอนโดรกรดโฟไลด์ต่อกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัญฑิต).กรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
  8. ผลบรรเทาอาการหวัดของสารสกัดฟ้าทะลายโจร.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  9. อนุชิต พลับรักษ์,สิริรัตน์ ปิ่นสุวรรณ,สุทธิมาลย์ อังคถาวรวงศ์, ถนอมจิต สุภาวิตา.ความคงตัวของแอนโดกราฟโฟไลด์ ในสมุนไพฟ้าทะลายโจนภาคใต้ สภาวะเร่งด้วยความร้อน.รายงานการวิจัยภาควิชาเภสัชเวชและเภสัชพฤกษศาสตร์และภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยนครินทร์.ตุลาคม 2549 .25 หน้า
  10. ศิริมา พรสุวัฒนา.ประสาน ธรรมอุปกรณ์และอุมา กิติตยานี.การทดสอบฤทธิ์การป้องกัน และรักษาแผลกระเพาะอาหารของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและเปล้าน้อย.ไทยเภสัชสาร 2532; 14(1):35-45.
  11. ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากฟ้าทะลายโจร.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  12. วนิดา แสงอลังการ,ประสาน ธรรมอุปกรณ์,อุมา กิติยานี และชัยโย ขัยขาญทิพยุทธ.ผลของ Andrographolide ,Neoandrographolide และ 14-11.12-didehydrographolide ต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหนูขาวนอกร่างกาย.ไทยเภสัชสาร 2533;15(1):5-17.
  13. ผลการยับยั้งไวรัสไข้หวัดของ Andrographolide และอนุพันธ์.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  14. ทวีผล เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา, ประนอม เดชวิศิษฎ์สกุล, เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, จารีย์ บันสิทธิ์, อัญชลี จูฑะพุทธิ, มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 1 ฟ้าทะลายโจร, กรุงเทพ: สถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขโรงพิมพ์การศาสตร์.2544.
  15. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่ม 1:ฟ้าทะลายโจร Andrographis paniculeta (Burm.f.) Nees.กรุงเทพ:องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.2542.
  16. สารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจร.กระดาษถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.ad.th/user/reply.asp?id=6654
  17. Calabrese C,Berman SH and Babish JG A phase I trial of Andrographolide in HIV posithve Patients and normal volunteers Phytother Res 2000;14:333-8.
  18. Thaweephol Dechatiwongse Na Ayudhya, Yenchit Techadamrongsin Warunee Jirawattanapong. Chemical specifixation of that herbal drug Volume1.
  19. Visen P.K.S. Binduja C and Kijsansyotin P. Hepatoprotective effect of Andrographis paniculala and andrograoholide against carbon tetrachloride Thai J.Pham Sci.1992;40:131-6.
  20. Honda SS. And Anupam Sharma. Hepatoprotective activity of andrograoholide against galactosamine paractamol intoxication in rats Indian J Med Res 1990;92:284-92.
  21. Chaichantipayutn C and  Kijsanayotin P. Hepatoprotective effect of Andrographis paniculata and Andrographolide against carbon tetrachloride Thai J Pham Sci 1992;16:301.7.