คอร์ไดเซปิน

คอร์ไดเซปิน

ชื่อสามัญ Cordycepin

ประเภทและข้อแตกต่างจากสารคอร์ไดเซปีน

สารคอร์ไดเซปีน [ Cordycepin หรือ (3 '- deoxyadenosine)] คือ สารอนุพันธ์ของอะดีโนซีนที่อยู่ในกลุ่มนิวคลีโอไซด์ (nucleosides) ที่จัดเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบตามธรรมชาติ โดยมีสูตรโมเลกุล คือ C10H13N5O3  ซึ่งสารคอร์โคเซปิน นี้ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ในการช่วยบำรุงอวัยวะภายในกร่างกาย และช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้มากมายหลายโรค ซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป และสำหรับประเภทของคอร์ไดเซปินนั้น พบว่ามีเพียวประเภทเดียวเท่านั้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารคอร์ไดเซปีน

สารคอร์ไดเซปิน จัดเป็นสารเฉพาะที่พบได้ในสมุนไพรถั่งเช่า เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันพบสารคอร์ไดเซปินได้ ทั้งถั่งเช่าจากธรรมชาติ คือ ถั่งเช่าทิเบต หรือ ถั่งเช่าจีน (Cordyceps sinensis) และที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลอง คือ ถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า ถั่งเช่าจีน C.sinensis มีปริมาณสารคอร์ไดเซปินไม่เกิน 1,000 ppm (ส่วนต่อล้านส่วน) และมีการอะดิโนซีนมี 1,500-1,600 ppm สำหรับถั่งเช่าสีทอง C.militaris มีปริมาณสารคอร์ไดเซปีนแตกต่างกัน ซึ่งมีตั้งแต่น้อยกว่า 100-3,000 ppm และยังพบว่าส่วนของถั่งเช่าที่มี สารคอร์ไดเซปิน มากที่สุดคือส่วนของดอกเห็ด (Fruiting body) รองลงมาคือในส่วนเส้นใย (Mycelium) นอกจากนี้ ยับพบสารคอร์โคเซปิน อยู่ในส่วนของฐานเห็ดอีกด้วย

คอร์โคเซปิน

ปริมาณที่ควรได้รับจากสารคอร์ไดเซปีน

สำหรับปริมาณการใช้ และปริมาณที่ควรได้รับต่อวันของสารคอร์ไดเซปิน นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์การใช้ หรือ ขนาดที่ควรได้รับต่อวัน เพราะการได้รับสารออร์ไดเซปินนั้นจะเป็นการได้รับจากการรับประทานสมุนไพรถั่งเช่า มากกว่าการได้รับคอร์โคเซปิน ในรูปแบบสารสกัด ซึ่งในส่วนของการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ถั่งเช่าสีทอง เป็นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารขององค์การอาหารและยา (อย.) ระบุถึงข้อกำหนดต่างๆดังนี้

คุณภาพมาตรฐาน C.militoris

สารคอร์ไดเซปีน

           ทั้งนี้ กระบวนการผลิต คุณภาพมาตรฐานอื่นๆ และการแสดงฉลากอาหาร ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องด้วย

ประโยชน์และโทษสารคอร์ไดเซปีน

สำหรับประโยชน์ของสารคอร์โคเซปิน นั้น มีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับได้ระบุถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาหลายด้าน เช่น ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านเซลล์มะเร็ง และเซลล์เนื้องอก การต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ลดไขมันในเลือด ลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ฤทธิ์ควบคุมการแบ่งตัว (antiproliferative) ทำให้เกิด apoptosis (proapoptotic) มีฤทธิ์ลดการอักเสบ (anti-inflammatory) มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มพลังภายในร่างกาย มีคุณสมบัติบำรุงไตและปอด ช่วยในการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดกรดยูริกในกระแสเลือด และยังช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารคอร์ไดเซปีน

มีผลการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารคอร์ไดเซปินหลายฉบับ เช่น มีการศึกษาวิจัยสารคอร์ไดเซปิน พบว่ามีคุณสมบัติเป็นสารต้านมะเร็งเนื่องจากสารคอร์ไดเซปินจะทําหน้าที่ขัดขวางการสร้างพิวรีน (purine) เนื่องจากพิวรีนเป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่างๆ ซึ่งเซลล์มะเร็งสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วกว่าเซลล์ปกติ โดยที่สารคอร์ไดซิปินจะเข้าไปทำลายการถอดรหัสลำดับเบสของ DNA เป็น mRNA เมื่อไม่มีการถอดรหัส DNA ทำให้ไม่เกิดการสร้างโปรตีนที่เป็นอาหารของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นจึงทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตช้า หรือ หยุดการเจริญเติบโต และยังมีการศึกษาสารสกัดคอร์ไดเซปิน จาก C. sinensis ที่สกัดด้วยน้ำ พบว่าแสดงผลการต้านมะเร็งผ่านการกระตุ้นของ adenosine A3 receptor ตามด้วยการกระตุ้น glycogen synthase kinase (GSK)-3β และการระงับ cyclin D1

           อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยพบว่าสารคอร์ไดเซปินมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการสังเคราะห์ในตับที่เพิ่มขึ้น ส่วนในปี ค.ศ.2018 มีนักวิจัยกลุ่มเดียวกันจึงตั้งสมมติฐานว่าสารคอร์โคเซปิน จากเห็ดถั่งเช่าสีทองอาจเป็นสารป้องกันภาวะกรดยูริกสูงในหนู จึงได้ทำการศึกษาผลของสารคอร์ไดเซปีนที่ระดับความเข้มข้น 15 30 และ 60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม ในหนูที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (337 ไมโครโมลต่อลิตร) โดยมียา allopurinol และยา benzbromarone เป็นตัวควบคุมเชิงบวก พบว่าคอร์ไดเซปีนส่งผลต่อการลดกรดยูริกในเซรั่ม (serum uric acid) ลงมาที่ปริมาณ 216 210 และ 203 ไมโครโมลต่อลิตร ที่คอร์ไดเซปีนระดับความเข้มข้น 15 30 และ 60 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์การทำงานของตัวรับสัญญาณของตัวขนส่งกรดยูริก (uric acid transporter) ชนิด URAT1 ด้วยการตรวจด้วยวิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) และ Western blot พบว่า คอร์ไดเซปิน ส่งผลทำให้ตัวรับสัญญาณ URAT1 ลดลง ผลการทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่า คอร์ไดเซปีนมีบทบาททั้งช่วยลดระดับกรดยูริกสูงในซีรั่ม โดยทำให้ระดับกรดยูริกลดลงเข้าสู่ค่าของหนูปกติ คือ 202 ไมโครโมลต่อลิตร และออกฤทธิขัดขวางการทำงานของ URAT1 จึงยับยั้งการดูดซึมกลับของกรดยูริกที่ไต (uric acid transporter inhibitor หรือ uric acid reabsorption inhibitor) ทำให้ช่วยลดภาระการทำงานของไตที่มากเกินไป (Renal overload) ที่มีผลใกล้เคียงกับยา benzbromarone

            นอกจากนี้ค่าอินซูลินในซีรัมของหนูที่ถูกชักนำให้เป็นเบาหวานโดยอาหารไขมันสูงเพิ่มขึ้นเกือบ 9 เท่า เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังมีศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า cordycepin จาก C. militaris สามารถช่วยป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงโดยกระตุ้นการทำงานของ phosphor-AMP-activated protein kinase (AMPK) และสามารถเพิ่มความไวของอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

โครงสร้างคาร์ไดเซปิน 

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ในปัจจุบันการใช้ และการได้รับสารคอร์โคเซปิน จะเป็นการได้รับโดยการรับประทานสมุนไพร ถั่งเช่าโดยตรง ดังนั้นในการรับประทานถั่งเช่าเพื่อให้ไดรับสารคอร์ไดเซปินนั้น ต้องรู้จักใช้และพิจารณาอย่างมีสติ เช่นเดียวกับสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดอื่นๆ ทั้งหลายดังนั้นทางที่ดีก่อนการรับประทาน สมุนไพรถั่งเช่า หรือ สารสกัดถั่งเช่าเพื่อให้ได้รับสารคอร์ไดเซปินควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานเสมอ

 

เอกสารอ้างอิง คอร์ไดเซปิน
  1. ว่าที่ รต.อาจารย์  ดร.สุรพงษ์ โกลิยะจินดา.ถั่งเช่า. ควรรู้สู่สถานการณ์.ข่าวสารสมาคมพืชสวนปีที่ 34. ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562. หน้า 7-11
  2. ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด,ศุภทา ไชยพัฒน์,เสาวรส กองศรี.การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากเห็ดถั่งเช่าสีทอง.บทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี  2559. วันที่ 29 เมษายน 2559. หน้า 460-467
  3. จันทรพร ทองเอกแก้ว.บทบาทของสารคอร์โคเซปิน จากเห็ดถั่งเช่าสีทองต่อการลดภาวะกรดยูริกสูงในเลือด.บทความปริทัศน์.วารสารนเรศวรพะเยาวิทยาศาสตร์สุขภาพ.วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีปีที่ 13.ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562. หน้า 2-10.
  4. Lee, H. J., Burger, P., Vogel, M., Friese, K., and Brüning, A. 2012. The nucleoside antagonist cordycepin causes DNA double strand breaks in breast cancer cells. Invest New Drugs. 30: 1917–1925
  5. Ma L, Zhang S, Du M. Cordycepin from Cordyceps militaris prevents hyperglycemia in alloxan-induced diabetic mice. Nutr. Res. 2015,35: 431-9.
  6. Liu X.Huang K., and Zhou J. (2014) Composition and Antitumor Activity of the Mycelia and Fruiting Bodies of Cordyceps militaris Journal of Food and Nutrition Research, Vol. 2, No. 2, p. 74-79
  7. Zhang P, Huang C, Fu C, Tian Y, Hu Y, Wang B, et al. Cordycepin (3′-deoxyadenosine) suppressed HMGA2, Twist1 and ZEB1- dependent melanoma invasion and metastasis by targeting miR-33b. Oncotarget 2015,6: 9834-53.
  8. Guo, P., Kai, Q., Gao, J., Lian, Z.-q., Wu, C.-m., Wu, C.-a. and Zhu, H.-b., 2010. Cordycepin prevents hyperlipidemia in hamsters fed a high-fat diet via activation of AMP-activated protein kinase. Journal of Pharmacological Sciences. 113, 395-403
  9. Kai Y., Yea M., Zhoua Z., Sunb W. and Linb X,. (2013) The genus Cordyceps : a chemical and pharmacological review. Royal Pharmaceutical Society Journal of Pharmacy and Pharmacology, Vol. 65, pp. 474–493
  10. Ji DB, Ye J, Li CL, Wang YH, Zhao J, Cai SQ. Anti-aging effect of Cordyceps sinensisextract. Phytother. Res. 2009,23: 116-22
  11. Tuli HS, Sharma AK, Sandhu, SS Kashyap D. Cordycepin: a bioactive metabolite with therapeutic potential. Life Sci. 2013,93(23): 863-9.
  12. Schmidt, K., Li, Z., Schubert, B., Huang, B., Stoyanova, S. and Hamburger, M. 2003. Screening of entomopatho- genic deuteromycetes for activities on targets involved in degenerative diseaces of the central nervous system. J Ethnophamacol. 89(2-3): 288-297.
  13. Kim H.S., Kang J.S. et al., (2010). Cordlan Polysaccharide isolated from mushroom Cordyceps militaris induce dendritic cell maturation through toll-like receptor 4 signalings, Food Chemistry Toxicology, 48. 1926-1933.
  14. Yong T, Chen S, Xie Y, Chen D, Su J, Shuai O, Jiao C, Zuo,D. Cordycepin, a characteristic bioactive constituent in Cordyceps militaris, ameliorates hyperuricemia through URAT1 in hyperuricemic mice. Front. Microbiol. 2018,9: 1–12
  15. Patel KJ, Ingalhalli RS. Cordyceps militaris An important medicinal mushroom. J. Pharma. Phytochemical. 2013,2(1): 315-9.
  16. Nakamura, K., Shinozuka, K. and Yoshikawa, N., 2015. Anticancer and antimetastatic effects of cordycepin, an active component of Cordyceps sinensis. Journal of Pharmacological Sciences. 127, 53-56.
  17. Ahn YJ, Park SJ, Lee SG, Shin SC, Choi DH. Cordycepin: selective growth inhibitor derived from liquid culture of Cordyceps militaris against Clostridium spp. J. Agric. Food Chem. 2000,48: 2744-8.