กลไกการออกฤทธิ์ของไคโตซานในร่างกาย

กลไกการออกฤทธิ์ของไคโตซานในร่างกาย

 

            ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งความสวยความงามของสาวๆ เพราะจะมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ผลิตภัณฑ์ด้านความสวยความงามของสตรี ผุดขึ้นมากอย่างกับดอกเห็ดทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องสำอาง เครื่องประทินผิว รวมถึงยังมีการพัฒนาด้านศัลยกรรมทั้งการศัลยกรรมใบหน้าและศัลยกรรมส่วนต่างๆของร่างกาย ก็มีการพัฒนาไปอย่างรุดหน้าเป้นอย่างมากจึงทำให้สาวๆในยุคนี้ หันไปพึ่งพาการทำศัลยกรรมและผลิตภัณฑ์ความสวยความงามต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจะพูดถึงผลิภัณฑ์เสริมความงามที่เป็นที่นิยมในตอนนี้นั้น ยาลดความอ้วนและอาหารเสริมลดน้ำหนัก ก็ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดที่สาวๆสมัยใหม่นี้ใช้ทั้งในแบบผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนจากธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสารเคมี แต่ในระยะหลังนี้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนจากธรรมชาติที่นำยมมาก ได้แก่ สารสกัดจากส้มแขก สารสกัดพริกไทยดำ ฯลฯ ส่วนไคโตซาน  โดยผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนที่ทำมาจากธรรมชาติและไม่มีอันตรายเหมือนกันแต่ที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักเพราะอาจจะมีราคาที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ และในบทความนี้ เราจะมากล่าวถึงกลไกการออกฤทธิ์ของไคโตซานในร่างกายมนุษย์กันนะครับ โดยไคโตซาน มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยที่ยาวคล้ายคลึงกับเซลลูโลส ในวงการเภสัชกรรมจึงได้ใช้คุณสมบัติข้อนี้รวมถึงคุณสมบัติในการดักจับไขมันในทางเดินอาหารของไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการลดน้ำหนักลดคลอเรสเตอร์รอล ความถึงไตรกลีเซอไรด์ โดยมีกลไกคือ โดยปกติเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันเข้าไปแล้ว (ในกรณีที่ไม่ได้รับประทานไคโตซาน) ก็จะเกิดการดูดซึมไขมันทั้งหมดในระหว่างที่ผ่านทางเดินอาหาร แต่ในกรณีที่เรารับประทานไคโตซานเข้าไปด้วยแล้ว ไขมันที่จะถูกดูดซึมดังกล่าวก็จะถูกไคโตซานเข้าไปดับจับเอาไว้ เพราะไคโตซานมีประจุเป็นบวกแต่ไขมันมีประจุเป็นลบจึงสามารถจับกินได้ และไขมันที่ไคโตซานดักจับได้นั้นจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แต่จะถูกขับออกมาพร้อมๆกับอุจจาระเพราะเอนไซม์ในร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยไคโตซานได้เพราะไคโตซานนั้นมีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเหมือนเส้นใยจากพืชทั่วไป แต่จะแตกต่างก็ตรงที่ไคโตซานสามารถดับจับไขมันได้สูงกว่า 8 – 10 เท่าของน้ำหนักของตัวมันเอง จึงทำให้ไขมันที่ถูกไคโตซานดักจับได้เป็นเหมือนก้อนวุ้นไขมันในทางเดินอาหารและจะถูกขับออกมาเป็นอุจจาระนั่นเอง นอกจากนี้ไคโตซานยังมีความสามารถในการเกาะกับน้ำดีที่ถือว่าเป็นตัวขนย้ายไขมันตัวหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้สามารถลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย ถ้าดูจากกลไกทำงานของไคโตซานในร่างกายมนุษย์ตามที่กล่าวมาแล้วผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจมากทีเดียว เพราะเป็นการไขจับกับไขมันโดยไม่ได้ส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกายเลย ดังนั้นน่าจะสามารถทำให้น้ำหนักลดได้จริงโดยที่ไม่มีอันตรายและผลข้างเคียงอย่างแน่นอน

 

 

ไคโตซาน กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง