ส้มแขกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ควรปลูก

ส้มแขกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ควรปลูก            

หากจะพูดถึงพืชเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิดเลยทีเดียว แต่พืชที่เป็นทั้งสมุนไพรแถมยังเป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศไทยนั้นกลับมีเพียงไม่กี่ชนิด โดยชนิดที่ได้รับความนิยมที่เรารู้จักกันดี ก็มีอาทิเช่น กวาวเครือขาว กระชายดำ ไพล ขมิ้นชัน แต่ล่าสุดนี้ ส้มแขกกลายเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกชนิดหนึ่งนั่นก็เพราะว่าส้มแขกมีสารออกฤทธิ์ ชื่อว่าสาร HCA ที่ช่วยให้ยับยั้งการสร้างไขมันในร่างกาย จึงมีความนิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก จึงทำให้ตลาดมีความต้องการส้มแขกสูงขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยมีข้อมูลสถิติเกี่ยวกับพื้นที่ปลูกส้มแขกในไทยประมาณ 1170 ไร่ และมีผลผลิตจากพื้นที่ทั้งหมด 1700 ต้นต่อปี และยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมถึงพื้นที่ปลูกที่สำคัญยังมีแค่ในภาคใต้ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้ปลูกส้มแขกกันในทุกๆภาคโดยวิธีการปลูกส้นแขกมีดังนี้ โดยปกติส้มแขกนั้นชอบสภาพพื้นที่และสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกและชอบดินร่วนปนดินเหนียวรวมถึงยังชอบแสงแดดรำไร ส่วนการขยายพันธุ์ในส้มแขกนั้นสามารถทำได้ 3 วิธี  (1.)การตัดรากโดยการเลือกต้นส้มแขกที่ให้ผลผลิตมาแล้วและมีอายุ 8 ปีขึ้นไป แล้วเลือกรากขนาดประมาณนิ้วก้อยที่อยู่ลึกจากดิน 2 – 3 นิ้ว ตัดรากนั้นโดยให้ห่างจากโคนต้น 1 ศอก(50 เซนติเมตร) แล้วดึงรากด้านที่ยังติดกับต้นให้โผล่มาจากดิน 3 – 4 นิ้วแล้วใช้ไม้ค่ำยันและมัดติดกับไม่ค้ำยันไว้ประมาณ 14 วัน แล้วรากนั้นจะเริ่มแตกกิ่งแตกตา พอมีอายุครบ 1 เดือน ก็สามารถตัดรากนั้นให้ตัดขากจากต้นแม่แล้วนำไปปลูกในหลุมได้เลย   (2.)วิธีการเพาะเมล็ด โดยการนำเมล็ดส้มแขกมาเพาะจนมีอายุ 1 ปีจึงนำไปปลูก  (3.)วิธีการเสียบยอด โดยใช้เป็นต้นตอสำหรับเสียบยอดโดยตัดกิ่งพันธุ์ที่จะใช้เสียบยอดมาจากต้นแม่พันธุ์ที่เป็นต้นตัวเมียดูแลจนกิ่งพันธุ์เชื่อมสนิทกับต้นตอ  จากนั้นก็ดูแลปกติ โดยวิธีการตัดรากและวิธีการเพาะเมล็ดนั้นควรขุดหลุมขนาด 30 x 30 x 30เซนติเมตร เพื่อปลูกและควรมีระยะห่าง 8 x 8 เมตร ส่วนวิธีการเสียบยอดนั้นต้องใช้ต้นตอที่แข็งแรงและเคยให้ผลผลิตมาแล้ว และการให้น้ำหากไม่ใช่ฤดูฝนควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง รวมถึงควรหมั่นกำจัดวัชพืชตามแปลงปลูกด้วย โดยต้นที่เพาะเมล็ดและตัดรากจะให้ผลผลิตเมื่ออายุ 8 ปีขึ้นไป ส่วนต้นที่เสียบยอดจะให้ผลผลิตเมื่อมีอายุ 5 ปี ในปัจจุบันมีการนำส้มแขกมาทำผลิตภัณฑ์ โอทอป (OTOP) ต่างๆ เพื่อจำหน่ายในประเทศรวมถึงส่งออก เช่น ส้มแขกกวน ส้มแขกแก้ว ชาชงส้มแขก ส้มแขกแช่อิ่ม ส้มแขกบดผง และประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร ไต้หวัน และจีน จะเห็นได้ว่าส้มแขกนั้นมีตลาดรองรับทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นภาครัฐจึงควรรับที่จะส่งเสริมให้มีการปลูกพืชชนิดนี้แก่เกษตรกร รวมถึงให้ความรู้และส่งเสริมในการแปรรูปด้วย เพื่อให้ส้มแขกจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยเราอย่างเต็มตัว

 

 

ส้มแขก พริกไทยดำ เห็ดหลินจือ