เจียวกู่หลานสมุนไพรจีนที่ปลูกในไทย

เจียวกู่หลานสมุนไพรจีนที่ปลูกในไทย           

 ในประเทศไทยเรานั้นนอกจากมีการปลูกพืชสมุนไพรไทยที่เป็นที่นิยมกันในท้องตลาดแล้ว ยังมีการปลูกสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งสมุนไพรต่างประเทศที่กล่าวมานั้นย่อมมีสมุนไพรของจีนอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน ด้วยเหตุว่าสมุนไพรจีนมักจะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณประโยชน์มากมายสามารถใช้รักษาและบำบัดโรคได้หลายโรค รวมถึงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะตั้งแต่ในอดีตมาแล้ว โดยในประเทศไทยของเรานั้นมีการนำสมุนไพรจีนหลายชนิดมาทำการเพาะพันธุ์และทำการปลูกขยายพันธุ์เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งการขายในรูปแบบสมุนไพรสด,สมุนไพรอบแห้ง,หรือใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตังกุย(โกศเชียง) , กันเฉ่า (ชะเอมเทศ) , แปะก๊วย ฯลฯ แต่ชนิดที่เห็นจะได้ผลผลิตมากที่สุดก็คือ เจียวกู่หลานนั่นเอง โดยเจียวกู่หลานนั้นในประเทศไทยมีการปลูกกันมากที่เชียงใหม่ ,เชียงราย , พะเยา เพราะมีสภาพพื้นที่รวมถึงสภาพอากาศเหมาะสมกับการปลูก โดยเจียวกู่หลานนั้นเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและชอบดินร่วนปนทรายที่เป็นกรดอ่อนมีค่า PHอยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 สามารถระบายน้ำได้ดีหน้าดินอุ้มน้ำ และอยู่ในระดับความสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป จนถึง 3200 เมตร (แต่จะชอบพื้นที่ตามภูเขา หุบเหว รวมถึงสองฟากตลิ่งลำห้วยในหุบเขา) และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเจียวกู่หลาน คือ 16 – 28 องศาเซลเซียส ปริมาณแสง ร้อยละ 40 – 80 และมีความชื้นสัมพันธ์มากกว่าร้อยละ 80 ในปัจจุบันนั้น เจียวกู่หลานในไทยมีการปลูกกันนั้นมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ เจียวกู่หลานพันธุ์อ่างขาง (เป็นพันธุ์ที่โครงการหลวงมีการนำมาวิจัยและขยายพันธุ์ที่โครงการหลวงอ่างขาง)และเจียวกู่หลานของประเทศจีนที่มีผู้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อจำหน่าย สำหรับขั้นตอนและวิธีการปลูกเจียวกู่หลานนั้นต้องเริ่มจากการเตรียมต้นพันธุ์ก่อน ซึ่งการเพาะพันธุ์เจียวกู่หลานนั้นสามารถทำได้ 3 วิธี 1.การเพาะเมล็ดโดยการเพาะเมล็ดนี้ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์จากผลเจียวกู่หลานที่สมบูรณ์และแก่จัด ประมาณเดือน กันยายน – พฤศจิกายน แล้วนำไปทำให้แห้ง แล้วนำเมล็ดออกมา จากนั้นหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะ(ใช้ทรายละเอียด)ประมาณ 2 อาทิตย์รากจะเริ่มงอก เมื่อมีใบจริงออกมาประมาณ 2 – 3 ใบ จึงทำการย้ายต้นกล้าไปปลูกในหลุม 2.การปักชำ โดยการใช้เถาเจียวกู่หลานที่เจริญเติบโตเต็มที่ตัดเป็นท่อนให้มี 3 – 4 ข้อ โดยริบใบ 2 ข้อล่างออกให้หมด แล้วนำไปปักลงดินให้เอียง 450 องศาให้ส่วนเอนไปทางทิศตะวันตก ลึก 1 – 2 ข้อ เมื่อมีรากงอก(ประมาณ  1 อาทิตย์ หรือมียอดยาว 15 เซนติเมตรให้ย้ายลงแปลงปลูก 3.ใช้ลำต้นใต้ดินโดยการขุดลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ดินออกมาตัดเป็นท่อนแต่ละท่อนให้มี 2 ข้อ ยาว 5 เซนติเมตร แล้วนำไปปลูกในแปลงได้เลย ส่วนขั้นตอนต่อมาเมื่อได้ต้นพันธุ์เจียวกู่หลานที่พร้อมจะทำการปลูกแล้วต่อไปต้องมีการเตรียมดิน คือ ทำการไถพรวน 2 รอบ โดยไถดะเพื่อกำจัดวัชพืชจากนั้นตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถแปรเพื่อทำให้ดินร่วนซุยและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้น 1 – 2 วัน ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสม ระหว่าง 6 – 8 จากนั้นขึ้นแปลงยกร่องสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตรขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 5 0 เซนติเมตร สุดท้ายขั้นตอนการปลูก คือ ควรทำการปลูกในฤดูฝน โดยหากเป็นต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ให้นำต้นกล้าลงไปแล้วกลบดินโดยให้มีระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร หากเป็นต้นกล้าจากการปักชำให้นำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะให้ปลูกแบบวิธีแรกแต่ให้ระยะห่างอยู่ที่ 15 x 30 เซนติเมตร หรือ 15 x 15 เซนติเมตร(แล้วแต่สภาพพื้นที่) ส่วนการปลูกโดยใช้ลำต้นใต้ดินนั้น ให้ขุดหลุมเป็นแนวใช้ 1 ท่อนพันธุ์ ต่อ 1 หลุม โดยใช้ระยะปลูก 30 x 50 เซนติเมตร โดยการปลูกทั้ง 3 วิธีนี้หากใช้ระยะปลูกที่ชิดกันมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคหรือมีปัญหาแมลงได้ 

 

 

เจียวกุ่หลาน แปะก๊วย กวาวแดง