ดีปลี ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ดีปลี งานวิจัยและสรรพคุณ 20ข้อ 


ชื่อสมุนไพร ดีปลี
ชื่ออื่นๆ ประดงข้อ ,ปานุน (ภาคกลาง) , ดีปลีเชือก (ภาคใต้) , พิษพญาไฟ , ปีกผัวะ , cabe jawa(อินโดนีเซีย) ,chabai jawa (มาเลเซีย) , Sali (ลาว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum Vahl.
ชื่อพ้อง P. chaba Hunter non Blume , P. officinarum DC. P.callosum Oprz, P.longum Blume, P.maritinum Opiz, P.sarmentosum Wall., P.arnottianum C.DC.
ชื่อสามัญ Long pepper, Indian long pepper, Javanese long pepperดีปลี
วงศ์  Piperaceae

 

 

ถิ่นกำเนิดดีปลี

ดีปลีเป็นพืชเมืองของเอเชียตุวันออกเฉียงใต้ มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดียและได้มีการนำมาปลูกและเกิดการแพร่กระจายในทางตอนใต้ของประเทศไทย รวมถึงในประเทศมาเลเซียและอินเดีย
 

ประโยชน์และสรรพคุณดีปลี

  1. ช่วยขับลม แก้จุกเสียด
  2. ช่วยขับเสมหะ
  3. แก้หืด
  4. แก้หลอดลมอักเสบ
  5. แก้นอนไม่หลับ
  6. แก้ลมบ้าหมู
  7. เป็นยาขับน้ำดี
  8. เป็นยาขับระดูทำให้สตรีเกิดอาการแท้งบุตร
  9. เป็นยาขับพยาธิในท้อง
  10. ใช้เป็นยาทาภายนอกสำหรับบรรเทาอาการปวดที่กล้ามเนื้อ 
  11. แก้ลมอัมพาต
  12. แก้เส้นปัตตะฆาต
  13. แก้เส้นอัมพฤกษ์
  14. แก้คุดทะราดให้ปิดธาตุ
  15. แก้โรคหลอดลมอักเสบ
  16. ช่วยบำรุงธาตุ
  17. แก้ริดสีดวงทวาร
  18. ช่วยระงับอชินโรคหรือโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
  19. ช่วยลดอาการเสียงแหบแห้งได้
  20. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง     


ผลดีปลี 
สามารถใช้รักษาแก้พิษงู ช่วยขับเสมหะ ลดอาการคันคอ ลดอาการไอ ช่วยลดไข้หวัด แก้อาการปวดฟัน แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้อาการปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นดึงรั้ง แก้ท้องร่วง ช่วยขับลมในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหาร แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้หอบหืด แก้ริดสีดวง แก้เป็นลมวิงเวียนศีรษะ ช่วยบำรุงธาตุ ใช้เป็นยาขับระดูและยาธาตุ
 

รากดีปลี แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยลดไข้ แก้พิษคุดทะราด แก้ท้องร่วง แก้อาการจุกเสียด แก้โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร 

เถาดีปลี ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้องจุกเสียด แก้ท้องขึ้น แก้อืดเฟ้อ แก้ท้องร่วง ฝนน้ำทาแก้ฟกช้ำ แก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ทางเดินปัสสาวะไม่ปกติ อัมพฤกษ์ แก้พิษงู 

ใบดีปลี แก้หืดไอ แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น 

ดอกดีปลี แก้อาการคลื่นไส้ แก้ลมวิงเวียน แก้อัมพาต แก้เส้นอัมพฤกษ์ ใช้เป็นยาธาตุ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคหืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคหลอดลมอักเสบ แก้โรคริดสีดวงทวาร               

               ตำรายาไทย: ดีปลีจัดอยู่ใน “พิกัดตรีกฎุก” แปลว่าของที่มีรสร้อน 3 อย่าง เป็นพิกัดยาที่ประกอบด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ พริกไทย ขิงแห้ง และดีปลี มีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากวาตะ(ลม) เสมหะ และปิตตะ(ดี) ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน “พิกัดตรีสันนิบาตผล(ตรีสัพโลหิตผล)" คือการจำกัดตัวยาแก้ไข้สันนิบาต 3 อย่าง คือ ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกระเพราแดง มีสรรพคุณแก้ไข้สันนิบาต แก้ในกองลม บำรุงธาตุ แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ “พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด” คือการจำกัดจำนวนตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด คือ ดีปลี พริกไทย ผลผักชีลา ใบแมงลัก ผลกระวาน ใบโหระพา มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม ช่วยย่อยอาหาร “พิกัดเบญจกูล” คือการจำกัดจำนวนตระกูลยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง มี เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง มีสรรพคุณกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์

               ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์:ปรากฏตำรับ “ยาอาภิสะ” มีดีปลีเป็นองค์ประกอบหลักร่วมกับสมุนไพรอื่นอีกหลายชนิด มีสรรพคุณแก้ริดสีดวง ไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้เมล็ดเทียนดำ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 5 ตำรับ คือ
1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของดีปลี ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ ตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ตำรับ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของดีปลี ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้
3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ

คุณค่าทางโภชนาการของดีปลี

ดีปลีในปริมาณ 149 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
พลังงาน 46.2 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 1.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 9.4 กรัม, วิตามินเอ 4666 IU, วิตามินซี 190 มิลลิกรัม, วิตามินอี 2.4 มิลลิกรัม, วิตามินเค 7.3 ไมโครกรัม, ไทอามีน 0.1 มิลลิกรัม, ไรโบฟลาวิน 0.1 มิลลิกรัม, วิตามินบี 6 0.4 มิลลิกรัม, โฟเลต 68.5 ไมโครกรัม, ไขมัน 0.4 กรัม, แคลเซียม 10.4 มิลลิกรัม, แมกนีเซียม 17.9 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 38.7 มิลลิกรัม, โซเดียม 6 มิลลิกรัม, เซเลเนียม 0.1 ไมโครกรัม, โปรแตสเซียม 314 มิลลิกรัม, สังกะสี 0.4 มิลลิกรัม, โอเมก้า 3 37.2 มิลลิกรัม, โอเมก้า 6 67 มิลลิกรัม, โคลีน 8.3 มิลลิกรัม, ไนอะซิน 1.5 มิลลิกรัม

รูปแบบวิธีการใช้และปริมาณที่ใช้ดีปลี

• อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ โดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีผลใช้เถาต้มแทนได้
• อาการไอ และขับเสมหะ ใช้ผลแห้งแก่ ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ
• ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร มีรสเผ็ดร้อน ขม
• ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 10 ดอก หัวแห้วหมู 10 หัว พริกไทย 10 เม็ด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ ใช้รับประทานก่อนนอนทุกคืน (ดอก)
• ช่วยแก้ไข้เรื้อรังหรืออาการไข้ที่มักเป็น ๆ หาย ๆ ด้วยการใช้ดอกดีปลีล้างสะอาด นำมาบดหรือตำพอหยาบ ๆ ประมาณครึ่งแก้ว นำมาต้มกับน้ำ 4 แก้ว จนเหลือ 1 แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินขณะท้องว่างวันละ 2 ครั้ง และสูตรนี้ยังช่วยลดอาการม้ามโตได้อีกด้วย (ดอก)
• ช่วยแก้อาการเจ็บในลำคอ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 3 ดอก ผิวมะนาว 1 ลูก หัวกระเทียม 3 กลีบ และพริกไทยล่อน 3 เม็ด นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาวและคลุกให้เข้ากัน นำมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วใช้อมบ่อย ๆ (ดอก)
• ช่วยลดอาการเสียงแหบแห้งได้ ด้วยการใช้ผงดีปลีผสมกับสมอไทยอย่างละ 5 กรัมจนเข้ากัน แล้วผสมกับน้ำอุ่นไว้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง (ผล)
• ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก โดยใช้ดอกดีปลี 10 ดอก เมล็ดงาดำดิบ 20 กรัม นำมาบดให้ละเอียดผสมกับนมดื่มวันละ 1 แก้ว ติดต่อกัน 15 วัน (ผล, ดอก, เถา)
 

ลักษณะทั่วไปดีปลี

o ต้นดีปลี จัดเป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็ง มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น มีแสงแดดรำไร
o ใบดีปลี มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนประมาณ 3-5 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
o ดอกดีปลี หรือ ผลดีปลี ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ลักษณะของผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายเล็กมน ผลมีความยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ และมีเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลย่อยมีเมล็ดเดียว โดยเมล็ดมีขนาดเล็กมาก ลักษณะกลมและแข็ง ผงของผลมีสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน ขมปร่า นิยมเก็บผลมาใช้เมื่อผลเริ่มเป็นสีน้ำตาล แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของดอก ใบ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง เถา และรากดีปลี
 

การขยายพันธุ์ดีปลี

ดีปลีเป็นไม้เลื้อยที่ชอบพื้นที่ชุ่ม ดินร่วมซุย ไม่มีน้ำท่วมขัง สามารถเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน จึงเห็นได้ในทุกภาคของไทย
การปลูก และการดูแล ดีปลี ต้องเตรียมหลักให้เลื้อยพันตั้งแต่ปลูก หลักควรมีความสูง 1.50 เมตร ถ้าสูงเกินไปจะเก็บเกี่ยวยาก จะใช้เสาปูนก็ได้แต่ดีปลีจะไม่ค่อยเกาะในระยะแรกเนื่องจากเสาปูนร้อน และไต่พันยากกว่าขึ้นต้นไม้ ถ้าจะใช้ต้นไม้บางชนิดเป็นหลักก็มีต้นทองหลางที่เหมาะมาก เนื่องจากทองหลางโตเร็วตัดยอดตัดกิ่งบังคับความสูงได้ วิธีใช้ ให้นำต้นทองหลางมาปลูกลงไปก่อน พอต้นทองหลางโตเป็นร่มแล้ว ก็เอาดีปลีมาปลูกที่โคน เมื่อทองหลางแตกยอดก็ตัดยอดไม่ให้สูงไปกว่านั้น
ดีปลีจะเอายอดหรือไหลมาชำก็ได้ แต่นิยมใช้ยอดมากกว่าเพราะให้ผลผลิตได้เลย ถ้าใช้ไหลปลูกใช้เวลาหลายปีกว่าจะออกดอก ยอดที่จะนำมาชำให้ใช้ยอดกระโดงหรือยอดที่แยกออกด้านข้าง ตัดต่ำกว่ายอดลงมา 5 ข้อแล้วเอาดินเหนียวหุ้ม 2 ข้อล่าง เพื่อเพิ่มความชื่นให้แตกรากเร็วขึ้นไม่เช่นนั้นจะเหี่ยวเฉา จากนั้นจึงนำยอดไปชำลงในถุงจนกระทั่งแตกรากแล้วจึงนำไปปลูกที่โคนเสาหรือต้นทองหลาง อาจต้องใช้ลวดหรือเชือกมามัดหลวมๆ ในระยะแรก
คอยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้สม่ำเสมอในระยะแรก อย่าให้น้ำท่วมขัง เมื่อต้นแข็งแรงจะออกรากมาช่วยเกาะหลัก ถ้าปลูกกับเสาก็ตัดเชือกออกได้ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกดินรอบโคนต้นจะช่วยให้แข็งแรงและเติบโตดี

การเก็บเกี่ยวดีปลี
ถ้าดินมีความชุ่มชื้นได้น้ำตลอดปี ไม่แฉะเกินไป จะออกดอกได้ผลทั้งปี หน้าฝนผลจะดกแต่การตากให้แห้งทำได้ลำบาก หน้าแล้งผลผลิตลดลง แต่เก็บเกี่ยวตากแห้งได้สวยกว่า ส่วนที่เก็บเกี่ยวคือ ผล จะเก็บเมื่อผลกลางอ่อนกลางแก่ คือเริ่มมีสีแดงเรื่อๆ ปนเขียว เป็นระยะที่ดีปลีมีกลิ่นฉุนจัดที่สุด ถ้ารอให้สุกแดงจะเละเกินไป 

องค์ประกอบทางเคมีของดีปลี

สารกลุ่ม alkaloids เช่น Piperine 4-5% , piperanine , pipernonaline , dehydropipernonaline piperlonguminine piperrolein B สารกลุ่ม phenolic amides เช่น etrofractamide Chavicine Methyl piperate Guineensine น้ำมันหอมระเหย 1% ประกอบด้วย terpinolene caryophyllene p-cymene thujene dihydrocarveol Pentadecane
Caryophylleneoxide Heptadec-8-ene Heptadecane

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของดีปลี

 ดีปลี                            ดีปลี
Piperine                                                                                 pipernonaline

                                                                                 
   ดีปลี                             
ดีปลี 

Caryophyllene                                                                             terpinolene        

   

 ดีปลี

 

ฤทธิ์ทางเภสัชของดีปลี

สารสำคัญ ในผลดีปลี คือ piperine เป็นสารที่มีผลต่อ TRPV1 ซึ่งมีผลต่อการปวด๔ นอกจากนี้จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ชั้นเอทธานอลของดีปลียังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ทั้งฤทธิ์ต้านการอักเสบเฉียบพลัน และฤทธิ์ต้านการ อักเสบกึ่งเรื้อรัง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant)
มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ต้านการเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร ต้านออกซิเดชั่น กดประสาทส่วนกลาง เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ลดไขมันในเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ต้านพิษต่อตับ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
 

รับผลิตสมุนไพร

งานศึกษาที่เกี่ยวข้องของดีปลี

o คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาผลดีปลี พบว่า สาร piperlonguminine ในผลสดของดีปลีสามารถต้านการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินในผิวหนังได้ และยังพบว่า สารสกัดจากผลดีปลีสามารถออกฤทธิ์ลดอาการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระเพาะอาหารได้
o ในประเทศอินเดีย มีรายงานว่ามีการใช้ดีปลีในการนำมาปรุงอาหาร เพราะดีปลีมีคุณสมบัติช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และยังแนะนำว่า ผลดีปลีแห้งควรนำมาใช้ทันที และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 ปี เพราะหากเก็บไว้นานกว่านี้สรรพคุณ และฤทธิ์ทางยาจะน้อยลง
o จากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าดีปลีมีฤทธิ์ต้านการอ็อกซิไดส์ของเซลล์ได้ จึงนิยมใช้ผลดีปลีเป็นส่วนประกอบของยาต้านเซลล์มะเร็ง และรักษาโรคมะเร็ง
o การวิจัยสารสกัดจากผลดีปลี พบสารหลายชนิด และนำสารต่างๆมาทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าแมลง พบว่า guineensine และ piperine สามารถฆ่าหนอนกระทู้ผักได้
 

การศึกษาทางพิษวิทยาของดีปลี

• มีการศึกษาพิษเฉียบพลัน (acute toxicity test) ในหนูถีบจักรโดยใช้สารสกัดอัลกอฮอล์ (50%) จากสมุนไพรไทยชนิดต่างๆ กรอกเข้าทางปากหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แล้วดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสัตว์ทดลองในระยะ 3 ชม.แรกอย่างใกล้ชิด ต่อจากนั้นคือ ในระยะ 12, 24 และ 72 ชม. หลังให้สารสกัดจะทำการตรวจสอบจำนวนสัตว์ทดลองที่ตาย เนื่องจากพิษของสารสกัดซึ่งในการทดลองนี้มีการทดสอบสารสกัดจากดอกดีปลี พบว่า สารสกัดขนาด 10 ก./กก. ซึ่งเทียบเท่ากับ 250 เท่าของขนาดรักษาในคน พบว่าสารสกัดขนาดดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดพิษในหนูถีบจักร
• การทดลองฉีดสารสกัดเอทานอล (90%) จากผลแห้งเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่า LD50 เท่ากับ 500 มก./กก.
• การทดลองให้สารสกัดเอทานอล (95%) จากผลแห้งทางกระเพาะอาหารหนูถีบจักร พบว่า LD50 เท่ากับ 87.4 ก./กก.

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

• ไม่ควรบริโภคดีปลีในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้กระเพาะอักเสบ แสบทวารเวลาขับถ่ายได้
• สำหรับผู้ที่เป็นไข้ ไม่ควรรับประทานดีปลี เพราะจะทำให้เป็นร้อนในด้วย
• เกิดการอักเสบของเยื่อบุในระบบทางเดินอาหารจนเกิดเลือดออกได้
• หญิงตั้งครรภ์ ห้ามรับประทานดีปลีเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้

เอกสารอ้างอิง

1. ดีปลี.ฐานข้อมูลเครื่องยา.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedruy.com/main.php?action=viewpage&pid=5
2. ดีปลี.ฐานข้อมูลความปลอดภัยของสมุนไพรที่มีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราญ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์.มหาวิทยาลัยมหิดล
3. Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C. Screening of Indian plants for biological activity: part I. Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.
4. Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.
5. Woo WS, Lee EB, Han BH. Biological evaluation of Korean medicinal plants. III. Arch Pharm Res 1979;2:127-31.
6. Pei YQ. Depressant action of fructus Piperis longi on the central nervous system. Chung I Tsa Chih (Engl Ed) 1983;3(1):17-22.
7. ดีปลี.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ดีปลี&oldid=6662983
8. อนุชา เกษมสานต์,2551.การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างสารสกัดจากพริกขี้หนูและดีปลีต่อการพัฒนาของแมลงวันบ้าน.
9. วนัสนันท์ สะอาดล้วน,2548.ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากดีปลีเพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสในผลมะม่วง
10. ดีปลี.กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ.โครงการอนุพันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
11. ปลูกยาดีปลี.หนังสือปลูกยารักษาป่า เล่ม 1.มูลนิธิสุขภาพไทย.
12. วรางคนา ไตรยสุทธิ์ , อรุณพร อิฐรัตน์,พัลลภ จักรวิทย์ธำรง,ภูรัทัต กนกกังสดาล.การก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังของสารสกัดแอลกอฮอลล์ดีปลีในอาสาสมัครสุขภาพดี (งานวิจัยทางคลินิกระยะที่1).ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2559 หน้า 608-614
13. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์.คำอธิบายตำราโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์อมรินทร์; ๒๕๔๘.
14. Pinsornsak P, Kanokkangsadal P, Itharat A. The clinical efficacy and safety of the sahastara remedy versus diclofenac in the treatment of osteoarthritis of the knee: A double-blind, randomized, and controlled trial. Evid Based Complement Alternat Med 2015; 2015:103046.
15. Rao VR, Suresh G, Babu KS, Raju SS, Vishnu vardhan MV, Ramakrishna S, et al. Novel dimeric amide alkaloids from Piper chaba Hunter: Isolation, cytotoxic activity, and their biomimetic synthesis. Tetrahedron 2011;67:1885-92.
16. นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร.สมุนไพรไม้พื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน;2541 หน้า 496-503.
17. ภก.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร.บันทึกของแผ่นดิน 6 สมุนไพรท้องไส้ ในวิถี ASEAN. มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ.ปราจีนบุรี.2557 หน้า 89-98