การะเกด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

การะเกด งานวิจัยและสรรพคุณ 12 ข้อ

ชื่อสมุนไพร การะเกด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ลำเจียกหนู (ภาคกลาง), ปะหนัน, ปะแนะ (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius Blume, Pandanus tectorius
ชื่อสามัญ Screw pine
วงศ์ PANDANACEAE

ถิ่นกำเนิดการะเกด

าระเกด จัดเป็นไม้พื้นบ้านของไทยชนิดหนึ่ง โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา พม่า อินเดีย และศรีลังกา เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนรวมไปถึงเกาะรีเวิร์ด เปอร์โตริโก เมซัมบิก หมู่เกาะวินด์เวิร์ด แทนซาเนีย และเยเมน เป็นต้น ซึ่งสามารถพบการะเกดได้ตามชายหาดทั่วไป และพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล สำหรับในประเทศไทยนั้น เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกับการะเกดกันมาแต่โบราณดังนั้นจะเห็นได้จากวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ต่างมีบทชมสวนชมป่าบรรยายถึงต้นการะเกดทั้งสิ้น อีกทั้งในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเล พ.ศ.2416 ก็มีบรรยายถึงการะเกดไว้ว่า “การะเกด ดอกไม้สีเหลือง กลิ่นหอมดี ดูงาม ต้นเท่าด้ามพาย ใบเป็นหนาม ขึ้นอยู่ที่ดินเปียกริมน้ำ” อีกด้วย

ประโยชน์และสรรพคุณการะเกด

  1. ใช้บำรุงธาตุ
  2. เป็นยาหอมทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
  3. แก้โรคในอก
  4. ช่วยบำรุงหัวใจ
  5. แก้เจ็บคอ
  6. แก้เสมหะ
  7. ใช้ต้มกับน้ำให้สตรีดื่มหลังคลอดบุตรใหม่
  8. ช่วยขับปัสสาวะ
  9. แก้นิ่ว
  10. แก้น้ำปัสสาวะพิการ
  11. ช่วยลดความดัน
  12. ช่วยลดเบาหวาน

           มีการใช้ประโยชน์จาการะเกด หลายประการ อาทิเช่น ผลสุกใช้รับประทานได้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวานคล้ายกับสับปะรด ดอก มีกลิ่นหอมใช้อบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม หรือ ใช้นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวใช้ใส่ผมในสมัยก่อน ใบการะเกดนำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เช่น กระเป๋า เสื่อ กระสอบและหมวก เป็นต้น


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ยอดาระเกด ใช้ต้มบำรุงธาตุสตรีหลังคลอดบุตรโดยนำมาต้มกับน้ำให้สตรีดื่ม ราก ใช้ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดัน ลดเบาหวาน โดยนำมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาตากแห้งต้มกับน้ำดื่ม ดอก นำมาตากแห้งต้มกับน้ำดื่มใช้บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้เจ็บอก เจ็บคอ แก้เสมหะ หรือ นำมาใช้เป็นส่วนประกอบการปลูกเป็นยาหอมแก้โรคในอก บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปการะเกด

าระเกด จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้น รูปทรงคล้ายต้นเตย สูง 3-7 เมตร ที่ลำต้นมีหนามสั้นๆ ทู่ๆ ที่โคนต้นมีรากที่มีลักษณะยาว และใหญ่หลายรากค้ำต้นไว้หรือที่เรียกว่า รากอากาศ ใบออกเป็นใบเดี่ยวลักษณะคล้ายใบสับปะรดยาว 1-2 เมตร ออกเวียนเรียงสลับกันเป็น 3 เกลียว ที่ปลายกิ่งแผ่นใบค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลายใบส่วนขอบใบมีหนานแข็งห่างๆ ยาวประมาณ 0.2-1 เซนติเมตร ด้านล่างของใบมีนวล ดอก เป็นแบบแยกเพศต่างต้นโดยออกเป็นช่อตั้งออกตามกลางยอด หรือ ปลายยอด กาบหุ้มดอกสีเหลืองนวล หุ้มเกสรอยู่ภายในอย่างมิดชิด กลิ่นหอมเย็นติดผล มีก้านยาว รูปร่างคล้ายผลสับปะรด ห้อยลงมาข้างต้น เมื่อแก่จัดผลมีผิวสีแดง กินได้ รสคล้ายผลสับปะรด ผล มีลักษณะเป็นผลกลุ่ม โดยผลย่อยอัดกันแน่นมองเหมือนเป็นผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยผลเดี่ยวมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตร ในระยะแรกผลมีสีขาวอมเขียว เมื่อสุกมีสีแดงอมส้มจะมีกลิ่นหอม กินได้ มีรสเหมือนสับปะรด ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกระสอย

การะเกด

การะเกด

การขยายพันธุ์ต้นการะเกด

การะเกดสามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปลูกเช่นเดียวกันกับการขยายพันธุ์พืชที่มีเมล็ดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้าระเกด เป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดี แต่มีความชื้นสูงและยังชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ หรือ ริมน้ำ ดินทรายชายทะเล ริมลำธารและลำห้วย เป็นต้น

องค์ประกอบทางเคมีการะเกด

มีผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของาระเกด พบว่า มีองค์ประกอบทางเคมีดังนี้ ส่วนของใบพบน้ำมันหอมระเหยที่มีสาร α-terpineol, benzyl benzoate เป็นต้น และยังพบสาร vanillin, eudesmin และ hydrofuran เป็นต้น ส่วนเหง้าพบสาร β-sitosterol, Palmitic acid, Daucosteral และ Physcion ส่วนของรากพบสาร germacren B, β-sitosteral ผลพบสาร caffeoylquinic acid เป็นต้น

โครงสร้างการะเกด

การศึกษาทางเภสัชวิทยาการะเกด

มีผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของาระเกด ในต่างประเทศระบุว่าสารสกัดจากราก และผลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านอักเสบ ต้านมะเร็ง และเนื้องอก ต้านไวรัส ต้านเบาหวาน และไขมันในเลือด ส่วนของใบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อจุลชีพ เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยาของการะเกด

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาที่ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการบำบัดรักษาโรคต่างๆ แต่ทั้งนี้การศึกษาวิจัยดังกล่าวก็ยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลองเท่านั้นดังนั้นในการใช้การะเกดเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ นั้นควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง เป็นประจำก่อนจะใช้าระเกด เป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง การะเกด
  1. เดชา ศิริภัทร. การะเกด: ความหอมในกลิ่นอายชาตินิยม. คอลัมน์ ต้นไม้ใบหญ้า. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 312. เมษายน 2548.
  2. มัณฑนา นวลเจริญ และคณะ. 2552. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ. สำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ. หน้า 45.
  3. าระเกด. กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_03_1.htm
  4. Christenhusz,M.J.M. (2009). Typification of ornamental plants: Pandanus tectorius (Pandanaceae). Phytoyaxa 2:51-52.