แอล-ลิวซีน

แอล-ลิวซีน

ชื่อสามัญ L-Leucine


ประเภทและข้อแตกต่างของแอล-ลิวซีน

แอล-ลิวซีนจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นของร่างกาย มีสูตรโมเลกุล คือ C6H13NO2 มีความเป็นกรด ส่วนภายในโครงสร้างมีหมู่ฟังก์ชัน ซึ่งประกอบด้วยหมู่อะมิโน 1 หมู่ และหมู่คาร์บอกซิลอีก 1 หมู่ โดยจัดอยู่ในกลุ่ม branched-chain amino acid (leucine, isoleucine, valine) คือ กรดอะมิโนที่มีหมู่ 2 เป็นกลุ่มไฮโดรคาร์บอนสายยาวที่เป็นกลาง ไม่มีขั้ว และไม่ชอบน้ำ สำหรับประเภทของแอล-ลิวซีน นั้น มีเพียงประเภทเดียว แต่สามารถแยกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ แอล-ลิวซีนในรูปแบบที่มีอยู่ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ รูปแบบของแอล-ลิวซีนที่มีการสังเคราะห์ และสกัดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางขายกันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบของ แอล-ลิวซีน เพียงชนิดเดียว และ BBCA ((leucine, isoleucine และ valine)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาแอล-ลิวซีน 

แอล-ลิวซีนจัดเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของ แอล-ลิวซีน เท่านั้น โดยอาหารที่เป็นแหล่งของแอล-ลิวซีน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อ ปลา นม ไข่ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง และโปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ถั่วเขียวต้ม ข้าวโพดเหลือง ข้าว น้ำตาล เป็นต้น

ตารางแสดงชนิดอาหารและปริมาณของ L-eucine

ชนิดอาหาร (100 กรัม)

         ปริมาณ Leucine (มิลลิกรัม)

ถั่วลิสง 

รำข้าว

ข้าวโพด 

ข้าวกล้อง

โปรตีนถั่วเหลือง

อัลมอนต์

          1.67

          1.571

          0.348

          0.191

          4.917

          1.488

            นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสังเคราะห์ และสกัดแอล-ลิวซีน ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้เกิดความสะดวกในการรับประทาน และเพื่อให้ร่างกายได้รับ แอล-ลิวซีน อย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องกังวลกับชนิด และปริมาณของอาหารที่ต้องรับประทาน

ปริมาณที่ควรได้รับจากแอล-ลิวซีน

สำหรับปริมาณของแอล-ลิวซีน ที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน นั้น ยังไม่เป็นที่แน่นอน เนื่องจากมีตัวแปรหลายอย่างที่ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ สภาพร่างกาย รวมถึงสภาวะการใช้พลังงานของร่างกายในแต่ละวัน แต่เชื่อกันว่าหากร่างกายได้รับอาหารที่เป็นแหล่งของแอล-ลิวซีน ทั้งในพืช และในสัตว์ในมื้ออาหารก็เพียงพอแล้วกับความต้องการใน 1 วัน (ซึ่งปริมาณในมื้ออาหารอาจมาก-น้อย แตกต่างกัน) และในปัจจุบันที่มีการสังเคราะห์ และสกัด แอล-ลิวซีนในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้รับประทานเสริจากมื้ออาหาร ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่ค่อยพบภาวการณ์ขาดแอล-ลิวซีนกันมากนัก สำหรับปริมาณที่ควรรับประทาน แอล-ลิวซีนในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ซึ่งอ้างอิงตามตารางแนบท้ายประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา เรื่องข้อกำหนดการใช้ส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดกรดอะมิโน ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 ระบุว่า ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ตามคำแนะนำให้บริโภค 1 วัน คือ ไม่เกินวันละ 700 มิลลิกรัม

ประโยชน์และโทษของแอล-ลิวซีน

ประโยชน์ของแอล-ลิวซีน คือ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่กระตุ้นอินซูลิน ช่วยสมานบาดแผล และกระโกที่ได้รับความเสียหายได้เร็วกว่าปกติ ช่วยลดการสูญสลายของโปรตีนจากกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้เซลล์ประสารทแข็งแรง ช่วยควบคุมความอยากอาหาร นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 3 กรดอะมิโนที่เรียกว่า Branched chain amino acids (BCAA) ซึ่งประกอบไปด้วย isoleucine และ valine ที่มีหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานในการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมกล้ามเนื้ออีกด้วย ส่วนโทษของแอล-ลิวซีน นั้นมีผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่มีภาวะขาด แอล-ลิวซีน จะมีอาการคล้ายคนที่มี ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยล้า หรือ อ่อนเพลีย มีอาการปวดหัว สับสน และหงุดหงิดง่าย

แอล-ลิวซีน

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องแอล-ลิวซีน

มีผลการศึกษาวิจัยในต่างประเทศหลายฉบับระบุถึงคุณสมบัติต่างๆ ของแอล-ลิวซีน เช่น แอล-ลิวซีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอีโมโกลบิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเม็ดเลือดแองที่มีหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และมีการศึกษาทดลอง เรื่อง การควบคุมความอยากอาหารของลิวซีน ซึ่งมีการทดลองในหนูทดลองโดยฉีดลิวซีนให้หนูทดลอง พบว่าหนูลดการกินอาหารลงรวมถึงมีพฤติกรรมการกินที่ลดลงด้วย

โครงสร้าวแอล-ลิวซีน

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

กรดอะมิโนแอล-ลิวซีน เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกายที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแอล-ลิวซีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่หากไม่สามารถรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของ แอล-ลิวซีนได้ หรือ รับประทานได้ไม่เพียงพอก็สามารถรับประทานแอล-ลิวซีน ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เสริมจากมืออาหารได้ แต่ทั้งนี้ควรระมัดระวังในการรับประทาน โดยควรรับประทานตามฉลาก หรือ เอกสารกำกับอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามก่อนจะเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง แอล-ลิวซีน
  1. ตารางแสดงชนิด และปริมาณกรดอะมิโนในอาหารไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย สาธารณสุข. 52 หน้า
  2. Stipanuk MH.L-eucine and prstein synthesis:m TOR and beyond.Nutr Rev.2007;65:122-129
  3. Sebastian M. Franco,Fernando de C.Tavernari,Ronana C. Maia,Victor R. S. M. Barros,Luiz F. T. Albino, Horacio S. Rostagno, Guilherme R. Lelis,Arele A. Calderano, and Ryan Neil Dilger. Estimation of optiml ratios of digestible phenylalanine+tyrosine,histidine,and leucine to digestiblelysine for performance and breast yield in broilers 2016; 1-9.
  4. ลิวซีน.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ ลิวซีน