เพชรสังฆาต ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

เพชรสังฆาต งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สันชะควด (ภาคกลาง), สันชะคาด, ขันข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissus quadrangularis Linn.
วงศ์ Vitaceae

ถิ่นกำเนิดเพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นพืชเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และแอฟริกา มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปตามประเทศเขตร้อนของทวีปดังกล่าว โดยมักพบตามบริเวณป่า หรือ ที่ชื้นที่มีระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนในประเทศไทยพบเพชรสังฆาต ได้มากตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างลงไป และมักจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม


ประโยชน์และสรรพคุณเพชรสังฆาต

  1. เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก
  2. แก้โรคลักปิดลักเปิด
  3. แก้ประจำเดือนไม่ปกติ
  4. แก้กระดูกแตกหักซ้น
  5. ช่วยขับลมในลำไส้
  6. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
  7. แก้ริดสีดวงทวารทั้งชนิดกลีบมะไฟ และเดือยไก่
  8. รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  9. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
  10. แก้อาการเลือดกำเดา
  11. ช่วยให้เจริญอาหาร
  12. ช่วยลดน้ำหนัก
  13. รักษาอาการกระดูกแตกหัก
  14. แก้หูน้ำหนวก
  15. แก้เลือดกำเดา
  16. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
  17. รักษากระดูกแตกหัก
  18. รักษาโรคลำไส้  (อาการอาหารไม่ย่อย)
  19. แก้น้ำหนวกไหล
  20. ช่วยลดอาการบวม อักเสบ
  21. แก้เลือดออกตามไรฟัน
  22. แก้อาการผิดปกติของระดู


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ในอดีตการใช้เพชรสังฆาต รักษาริดสีดวงทวารหนักจะทำ โดยนำ เถาสดใส่กล้วย หรือ มะขาม แล้วกลืน (เนื่องจากเพชรสังฆาตมีแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) การกลืนเถาสดอาจเกิดการระคายเคืองทางเดินอาหารได้) ต่อมาได้มีการนำ เพชรสังฆาตมาผลิตให้อยู่ในรูปแบบแคปซูลเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารยา

           โดยในรูปยาผงบรรจุแคปซูล 250 มิลลิกรัม ให้รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 5-7 วัน 

           ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ต้นรักษากระดูกแตกหัก รักษาโรคลำไส้ (อาการอาหารไม่ย่อย) ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ริดสีดวงทวารโดยหั่นเป็นแว่น ตำผสมเกลือนำไปตาก ปั้นเป็นลูกกลอน กินครั้งละ 1 เม็ด 3 เวลา หรือ ใช้เถาสดคั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้ 
           ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา ใช้น้ำจากต้น หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรี ใช้เถาตำละเอียดเป็นยาพอกบริเวณกระดูกหักช่วยลดอาการบวม อักเสบ น้ำคั้นจากเถาใช้ดื่มแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้โลหิตระดูสตรีไม่ปกติ รักษาริดสีดวงทวารที่เริ่มเป็นระยะแรก ส่วนประเทศอินเดีย ใช้ ลำต้น เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก น้ำคั้นจากต้นกินแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้อาการผิดปกติของระดู

เพชรสังฆาต

ต้นเพชรสังฆาต

ลักษณะทั่วไปของเพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต จัดเป็น ไม้เถาเลื้อย โดยมีเปลือกเถาเรียบ เถาอ่อนรูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เป็นข้อๆ ต่อกัน เห็นข้อปล้องชัดเจน ลักษณะเป็นปล้องๆ ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกตามข้อต้น ข้อละ 1 ใบ กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ รูปไข่ กลมหนา เล็ก ผิวเรียบ ปลายใบมน โคนใบเว้า หลังใบและท้องใบเรียบเป็นมัน ขอบใบหยักมนห่างๆ หรือ หยักเว้า 3-5 หยัก เนื้อใบนิ่ม ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ออกตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกกลมเล็กสีแดงเขียวเป็นช่อขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกย่อยสีเขียวอ่อน มีขนาด 2.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนกลีบดอกด้านนอกมีสีแดง ส่วนกลีบดอกด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปทางด้านล่าง เกสรตัวผู้มี 4 อัน วางตรงกับกลีบดอก ผลสดรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ฉ่ำน้ำ ผลกลมขนาด 4-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีแดงหรือดำ เมล็ดกลมสีน้ำตาลมี 1 เมล็ด

รับผลิตสมุนไพร

ขายยาริดสีดวงทวารหนัก

การขยายพันธุ์เพชรสังฆาต 

เพชรสังฆาต นิยมใช้วิธีการปักชำ โดยมีวิธีการคือ คัดเลือกเถาที่มีลักษณะเหมาะสม คือ ต้องเป็นเถาที่มีลักษณะกึ่งแก่กึ่งอ่อน นำมาตัดเป็นท่อนให้แต่ละท่อนมีข่อติดอยู่จำนวน 2 ข้อ แล้ว ทำการปักชำท่อนพันธุ์โดยใช้ข้อทางด้านโคนของเถาฝังลงดินแล้วกลบให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม และควรจัดวางถุงกล้าไม้ที่ปักชำไว้ในที่ร่ม ในส่วนของข้อที่เหลืออยู่ด้านบนจะเป็นบริเวณที่แตกใบใหม่ เพื่อเจริญเป็นเถาต่อไป


องค์ประกอบทางเคมี

เถาของเพชรสังฆาต มีองค์ประกอบทางเคมี เช่น natural plant steroids (ketosterones): onocer-7-ene-3 alpha, 21 beta-diol, delta-amyrin, delta-amyrone และ 3,3',4,4'- tetrahydroxybiphenyl สารกลุ่ม stilbene: quadrangularins A, B, C, resveratrol, piceatannol, pallidol, parthenocissine A. สารในกลุ่ม flavonoids เช่น diosmin, hisdromin, hesperidin. รวมไปถึง ascorbic acid (vitamin C), lupeol, carotene และ calcium oxalate.

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของ

โครงสร้างเพชรสังฆาต 

ที่มา : Wikipedin

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเพชรสังฆาต

ผลต่อแรงตึงตัวของหลอดเลือดดำ สารสกัดเพชรสังฆาตมีฤทธิ์กระตุ้นหลอดเลือดดำ ให้มีความตึงตัวเพิ่มขึ้น คล้ายกับส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ ไดออสมิน 90% และฮิสเพอริดิน 10% ที่พบในตำรับยาแผนปัจจุบัน สำหรับใช้รักษาริดสีดวงทวาร

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบเฉียบพลัน สารสกัดเมทานอลยับยั้งการบวมของใบหู และการบวมของอุ้งเท้าของหนูขาว ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี สารสกัดเฮกเซนที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 และสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 ลดอาการบวมของใบหูหนูที่เหนี่ยวนำด้วยสารเคมี ได้ที่เวลา 30 นาที ตรวจพบองค์ประกอบทางเคมีของสาร lupeol ในสารสกัดเฮกเซน

           ฤทธิ์แก้ปวด สารสกัดเมทานอลลดจำนวนครั้งที่หนูถีบจักรยืดบิดตัวจากอาการเจ็บปวดท้องเนื่องจากได้รับกรดอะซีติกที่ฉีดเข้าทางช่องท้อง และลดระยะเวลาของการเลียเท้าหลังทั้ง 2 ระยะ ในการทดสอบด้วยการฉีดฟอร์มาลิน แสดว่าออกฤทธิ์แก้ปวดผ่านทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย

           ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดเอทานอล สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลด้วยแอสไพริน เมื่อให้สารสกัดขนาด 250, 500 และ 750 มก./กก. ให้หนูกินนาน 7 วัน ลดการเกิดแผลได้ 40, 71.2 และ 72.6% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับ ranitidine ขนาด 30 มก./กก. ลดการเกิดแผล 71.9% ดังนั้นสารสกัดขนาด 500 มก./กก. เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับ Ranitidine และให้ผลไม่แตกต่างกับขนาด 750 มก./กก. จะลดการทำลายเนื้อเยื่อในกระเพาะอาหาร และรายงานการวิจัยอีกฉบับหนึ่งระบุว่า การศึกษาประสิทธิผล และผลข้างเคียงของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาต ในผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร ระยะเฉียบพลัน จำนวน 570 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์ (Daflon 500 มก./เม็ด) กลุ่มที่ได้รับสมุนไพรเพชรสังฆาต (500 มก./เม็ด) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในช่วง 4 วันแรก ให้รับประทานครั้งละ 3 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร และช่วง 3 วันหลัง ได้รับครั้งละ 2 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการต่างๆ คือ เลือดออกทางทวารหนัก เมือก อาการคัน รอยแดง หรือ อักเสบรอบทวารหนัก และการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามอาการ รวมทั้งมีการตรวจเลือด และติดตามผลข้างเคียงของการได้รับยาหรือสมุนไพรควบคู่ไปพร้อมกันด้วย

           ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในทุกกลุ่มส่วนใหญ่อาการเลือดออกเฉียบพลันจะหยุดในวันที่ 2 ของการให้ยา และมีอาการดีขึ้นหลังการให้ยาครบ 7 วัน ประสิทธิผลของการรักษาในผู้ป่วยทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น สรุปได้ว่าเพชรสังฆาต ให้ผลในการรักษาริดสีดวงทวารในระยะเฉียบพลันไม่แตกต่างจากยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์และยาหลอก แสดงว่าเพชรสังฆาตไม่มีผลช่วยในการรักษาริดสีดวงทวารในระยะเฉียบพลัน 


การศึกษาทางพิษวิทยาของเพชรสังฆาต

ความเป็นพิษเฉียบพลัน เมื่อทดสอบความเป็นพิษโดยให้หนูขาวกิน ขนาด 0.5-5.0 ก./กก ไม่พบพิษใดๆ ความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง (3 เดือน) ในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ 5 กลุ่มๆ ละ 12 ตัว/เพศ กลุ่มควบคุมได้รับน้ำทางปาก 10 มล./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน ขณะที่หนูอีก 4 กลุ่ม ได้รับผงยาเพชรสังฆาต แห้งทางปากในขนาด 0.03, 0.3 และ 3.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก/วัน หรือ เทียบเท่า 1,10 และ 100 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน/วัน ตามลำดับ โดยกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มสังเกตอาการหลังการหยุดยา ผลการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มสังเกตอาการหลังการหยุดยา ผลการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของกลุ่มได้รับผงยา และกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา และค่าทางซีรั่มชีวเคมี หรือ จุลพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของผงยา และไม่พบความผิดปกติใดๆ ที่สามารถสรุปได้ว่าเนื่องมาจากความเป็นพิษของผงยาเพชรสังฆาต


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. การรับประทานเพชรสังฆาต สด อาจทำให้เกิดอาการระคายคอ ระคายเยื้อบุในปาก เนื่องจากเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาแลตอยู่มาก
  2. ห้ามรับประทานติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะอาจก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคไตห้ามรับประทาน
  3. การใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตควรปรึกษาแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในการใช้เสมอ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะน้อย แน่นท้อง เป็นต้น 

 

เอกสารอ้างอิง เพชรสังฆาต
  1. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. เพชรสังฆาต.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. วีรพล ภิมาลย์ และคณะ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมานประสิทธิภาพในการรักษาริดสีดวงทวารหนักของเพชรสังฆาต. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. ปีที่ 10. ฉบับที่ 3. กันยายน-ธันวาคม.2557. หน้า 403-418
  3. Panthong A, Supraditaporn W, Kanjanapothi D, Taesotikul T, Reutrakul V. Analgesic, anti-inflammatory and venotonic effects of Cissus quadrangularis Linn. J Ethnopharmacology 2007; 110 : 264–70.
  4. เพชรสังฆาต . ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=61
  5. Panpimanmas S, Sithipongsri S, Sukdanon C, Manmee C. Experimental Comparative Study of the Efficacy and Side Effects of Cissus quadrangularis L. (Vitaceae) to Daflon (Servier) and Placebo in the Treatment of Acute Hemorrhoids. J Med Assoc Thai 2010; 93 (12): 1360-7.
  6. ผลของการใช้เพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารที่มีอาการเฉียบพลัน. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. เพชรสังฆาต. ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=95
  8. J Med Assoc Thai 2010;93(12):1360-7