ปฐมบทเกี่ยวกับว่านชักมดลูก

ปฐมบทเกี่ยวกับว่านชักมดลูก

หากในโลกของสมุนไพรจะมีสมุนไพรที่เหมาะสำหับคนในแต่ละเพศ ทั้งเพศชายและเพศหญิงแล้วนั้น เป็นที่ทราบดีกันว่าในเพศชายนั้นสมุนไพรส่วนมากก็จะเป็นสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี เช่น ถั่งเช่า  กวาวเครือแดง  กระชายดำ ฯลฯ แต่หากเป็นเพศหญิงแล้ว สมุนไพรที่เป็นสมุนไพรเฉพาะของเพศหญิงนั้น ส่วนมากจะเป็นสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารคล้ายกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง เช่น กวาวเครือขาว รากสามสิบ เป็นต้น แต่สมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะนำเสนอในวันนี้ก็คือ ว่านชักมดลูก ซึ่งก่อนที่เราจะมารับรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆของว่านชักมดลูกนั้น แรกเริ่มปฐมบทเราต้องมารับทราบกันก่อนว่าสมุนไพรชักมดลูกนั้นมีกี่ประเภทและประเภทที่เขานำมาทำเป็นยาสมุนไพรนั้น คือ ประเภทใด โดยในประเทศไทยนั้นเป็นถิ่นกำเนิดของยาสมุนไพรว่านชักมดลูกดังนั้น เราจะพบว่านชักมดลูกวางขายกันมากมายทั้งขายแบบหัวสดและแบบฝากตากแห้ง แต่จากการสุ่มซื้อมาและสังเกตลักษณะและนำมาวิเคราะห์วิจัยพบว่า มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันเรียกว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia) แต่ที่นิยมใช้ทำเป็นยาสมุนไพรสำหรับสุภาพสตรี คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย เพราะมีสารออกฤทธิ์กลุ่มไฟโตเอสโตรเจน แถมยังมีพิษต่อตับไตและม้ามอีกด้วย มีรายงานว่ามีการพบพืชชนิดหนึ่งในเกาะบาหลีและเกาะชวา ในอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่านชักมดลูกชนิดข้างต้น ขอผศึกษาวิจัยในต่างประเทศกันอย่างแพร่หลาย จึงมักเข้าใจกันสับสนว่าเป็นชนิดเดียวกับว่านชักมดลูกของไทยเรา แต่จากการวิจัยและทดลองระหว่างว่านชักมดลูก 2 ชนิดนี้ พบว่าแม้จะมีสรรพคุณคล้ายๆกันแต่ก็มีสาระสำคัญคนละกลุ่มกัน ดังนั้นเมื่อมีการพูดถึงว่านชักมดลูกเราจึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ว่านชักมดลูกที่แท้จริงที่มีสรรพคุณและมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุภาพสตรีก็คือ ว่านชักมดลูกของไทย และต้องเป็นว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) เท่านั้น ซึ่งในบทความต่อๆไปหากผู้เขียนจะกล่าวถึงว่านชักมดลูก ก็จะหมายถึง ว่านชักมดลูกของไทยที่ใช้กันอยู่คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa) เท่านั้น

 

 

ว่านชักมดลูก กระชายดำ พริกไทยดำ