สตีวิออลไกลโดไซด์

สตีวิออลไกลโดไซด์

ชื่อสามัญ Steviol glycosides

ประเภทและข้อแตกต่างสารสารสตีวิออลไกลโคไซด์

สตีวิออลไกลโคไซด์

สารสตีวิออลไกลโคไซด์ คือ กลุ่มของสารบริสุทธิ์ที่สกัดได้จากหญ้าหวาน (stevia rebaudiana Bertoni) ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน มีความคงตัวสูงในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน และทนต่อความร้อน ส่วนประเภทของสตีวิออลไกลโคไซด์จากหญ้าหวานนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 88 ชนิด แต่พบว่าเป็นสารรสหวาน 8 ชนิด คือ slevioside, steviobioside , Rebaudiosides A, B, C, D, E และ Dulcoside A โดยสาร stevioside (สตีวิโอไซด์) จะมีปริมาณสูงสุดในหญ้าหวาน

            ชื่อและโครงสร้างทางเคมีของสารรสหวานในใบหญ้าหวาน

 สตีวิออลไกลโคไซด์

           แต่ในปัจจุบันรูปแบบที่ถูกนำมาใช้ในการบริโภคมากที่สุดมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่สตีวิโอไซด์ (Stevioside) และรีบาวดิโอไซด์เอ (Rebaudioside A)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารสตีวิออลไกลโคไซด์

สารให้ความหวานกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ นั้น มีแหล่งที่มาจากหญ้าหวานแต่ในส่วนการค้นพบสารให้ความหวานกลุ่ม สตีวิออลไกลโคไซด์นั้น เริ่มจากในปี ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451) ด๊อกเตอร์รีบาวโอลิ (Dr. Rebanoli) นักเคมีปารากวัยได้ศึกษาวิจัยหาสาระสำคัญในใบหญ้าหวาน และประสบความสำเร็จจนถึงปี ค.ศ.1921 (พ.ศ.2464) ได้มีการยอมรับและตั้งชื่อสารที่ค้นพบว่า Stevioside ซึ่งเป็นสารที่ให้ความหวานประเภท Glycoside ได้แก่ Stevioside และ Rebaudioside หรือ Monoglucosyl Stevioside สารนี้กระจายอยู่ทั่วไปทั้งที่ใบและลำต้นของหญ้าหวา แต่พบว่าอยู่ที่ใบมากกว่าแห่งอื่น โดยในใบมีสารให้ความหวานนี้ประมาณร้อยละ 8 ถึง ร้อยละ 15 โดย Stevioside ที่ค้นพบนั้นมีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาวมีจุดหลอมเหลว 198 องศาเซลเซียส ในใบหญ้าหวานแห้งพบว่ามีสารนี้อยู่ 5-10% นอกจากจะมีสารนี้ในใบหญ้าหวานแล้วยับพบสารให้ความหวานอีกหลายตัว เช่น ในปี 1975 (พ.ศ.2518) นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบ Rebaudioside-A ซึ่งเป็นสารให้ความหวานมากกว่า Stevioside ประมาณ 20-40% แต่มีอยู่เป็นปริมาณเพียง 1-2% ในใบหญ้าหวานแห้งเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) ก็มาการค้นสารประกอบจำพวกไกลโคไซด์อีกหลายๆ ตัว เช่น Rebaudiostde-B), Rebaudioside-D ,Rebaudioside-E และ Dulcoside-A 

            สำหรับปริมาณความหวานของสารให้ความหวานชนิดต่างๆ ในกลุ่ม สตีวิออลไกลโคไซด์ มีดังตารางต่อไปนี้

ความหวานของสาระสำคัญในใบหญ้าหวานเปรียบเทียบกับน้ำตาลทราย (sucrose)
สตีวิออลไกลโคไซด์

สตีวิออลไกลโคไซด์
 

ปริมาณที่ควรได้รับสารสตีวิออลไกลโคไซด์

สำหรับการใช้สารกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ นั้นปกติน้ำสกัดจากใบหญ้าหวานซึ่งหวานกว่าน้ำตาลทรายถึง 30 เท่า เพียง 1-2 ใบต่อหนึ่งถ้วยก็ให้รสหวานเพียงพอ และเป็นที่ยอมรับต่อผู้บริโภคทั่วไป เพราะหากน้ำสกัดเข้มข้นเกินไปจะมีรสค่อนข้างขม ซึ่งสารสำคัญสตีวิโอไซด์ที่บริสุทธิ์นั้นจะมีรสหวานมากกว่าน้ำตาลทราย ถึง 300 เท่าโดยน้ำหนัก ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดสตีวิโอไซด์ที่นิยมนำมาใช้ผสมอาหารและเครื่องดื่มมากมายหลายชนิดในญี่ปุ่น มีค่าเหมาะสมอยู่ในช่วงกว้างระหว่าง 0.005-0.06% (โดย น.น.)

          โดยในประเทศญี่ปุ่นถือว่าสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นสารธรรมชาติ องค์การอาหารและยาญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ใช้หญ้าหวานและสารสกัดในอาหารและเครื่องดื่มมานานแล้ว และยังไม่เคยมีรายงานถึงความเป็นพิษหรือผลเสียหายต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่ติดต่อกันมานานๆ แต่อย่างใด และในปัจจุบันยังมีการอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากหญ้าหวานเป็นสารทดแทนน้ำตาลในประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ เช่น แคนนาดา จีน แคนนาดา ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลี มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ในขณะที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในยุโรปก็อนุญาตให้มีการใช้สารหวานจากหญ้าหวานเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 และ พ.ศ.2554 ตามลำดับ สำหรับในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศอนุญาตให้มีการผลิต และจำหน่ายหญ้าหวานในประเทศไทยฉบับล่าสุด คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ.2556 เรื่องสตีวิออลไกลโคไซด์ โดยอ้างอิงข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตรกร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ซึ่งได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake, ADI) แล้วโดยมีรายละเอียดดังนี้

บัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ.2556 เรื่อง สตีวิออลไกลโคไซด์

สตีวิออลไกลโคไซด์สตีวิออลไกลโคไซด์

สตีวิออลไกลโคไซด์

สตีวิออลไกลโคไซด์

สตีวิออลไกลโคไซด์

ประโยชน์และโทษสารสตีวิออลไกลโคไซด์

ในปัจจุบันมีการนำสารให้ความหวานกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ เช่น สตีวิโอไซด์และรีบาวด์ดิโอไซด์ มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ อย่างแพร่หลาย เช่น เครื่องดื่มต่างๆ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ไอศกรีม ขนมต่างๆ รวมถึงและหมากฝรั่ง ผักดอง อาหารหมักดอง เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว อาหารทะเล เนื้อปลาบด ตลอดจนกระทั่งนำไปผสมในของใช้ต่างๆ เช่น ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งเป็นที่นิยมกันเพราะสารสกัดจากหญ้าหวาน ดังกล่าวไม่ให้พลังงานและไม่ทำให้อ้วน อีกทั้งยังไม่ทำให้อาหารบูดเน่า ลดการใส่สารกันเสีย และไม่ทำให้อาหารที่ถูกความร้อนเปลี่ยนสีหรือลักษณะเป็นสีคล้ำ

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่าสารสติไวโอไซด์ (stevioside) (ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 300 เท่า) เมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้ว จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่จะย่อย สตีไวโอไซด์เป็นสตีไวออล (steviol) และน้ำตาลกลูโคส ซึ่งสตีไวออลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนน้ำตาลกลูโคสจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ดังนั้นสตีไวโอไซด์จึงเป็นสารให้ความหวานที่ให้แคลอรี่ต่ำมาก จึงมีประโยชน์ในการใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลซูโครส สำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วนหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว อีกทั้งยังมีรายงานว่ามีการใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประเทศต่างๆ แถบทวีปอเมริกาใต้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารสตีวิออลไกลโคไซด์

มีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสาร stevioside ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์อยู่หลายฉบับดังนี้

            ผลต่อความดันโลหิต (arterial blood pressure) ของหนูขาว มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่า stevioside ในขนาดต่ำหรือความเข้มข้น 0.1% (รสหวานเท่ากับน้ำตาลซูโครส 10%) ไม่มีผลต่อความดันโลหิตของหนูขาว โดยเมื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 0.5% ก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตแต่อย่างใด และจากการทดสอบขั้นต้นพบว่าสาร steviostde ในขนาด 0.45-25 mg/Kg body weight ไม่มีผลต่อความดันโลหิต แต่เมื่อเพิ่มเป็น 100 mg/Kg body weight ความดันโลหิต จะลำต่ำ ลงชั่วขณะ และกลับเข้าสู่ปกติภายใน 15-30 นาที ส่วนในบราซิลได้มีกำหนดทดสอบโดยให้ผู้เข้ารับการวิจัย 18 คน ที่มีความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี ดื่มชาจากใบหญ้าหวานติดต่อกัน 30 วัน และดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก การทำงานของหัวใจ คลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ความดันโลหิต โดยพบว่าความดันโลหิตลงลง 9.5% และเมื่อให้ดื่มชาโดยเตรียมจากใบหญ้าหวาน 3 กรัม ในคนปกติอีก 10 คน พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความดันตัวล่าง (diastolic) แต่ความดันตัวบน ลดลงเล็กน้อย

            ผลต่อกล้ามเนื้อเรียบ (โดยใช้หลอดลมของหนูขาว) มีการศึกษาวิจัยพบว่าเมื่อให้ stevioside 0.1% 0.5% 1% 10% w/v  โดยหยดลงในหลอดแก้วทดลองที่บรรจุส่วนของหลอดลมของหนูขาวในปริมาณ 0.1 ml พบว่าไม่มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมและไม่มีผลต่อการทำงานของ อะเซททิลโคลีน (acetyicholtne.Ach) ในการทดลองนี้ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า stevioside 10-4 M กระตุ้นการทำงานของลำไส้ในภาวะที่มี Ca** และ Ach

            ผลต่อกล้ามเนื้อลาย เมื่อบันทึกการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย โดยใช้ส่วนของกล้ามเนื้อกระบังลมของหนูขาว (rat diaphragm) ซึ่งอยู่ติดกับส่วนของเส้นประสาทฟรีนิค พบว่า stevioside ในขนาด 0.1%-1.0% และให้ในปริมาณ 0.1-0.2 ml ไม่มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย

            ผลต่อหัวใจ (atrium) ของหนูขาว เมื่อแยกหัวใจออกจากตัวแล้วแขวนในหลอดแก้ว แล้วหลดน้ำยาของ stevioside พบว่าในขนาด ปริมาณที่ให้ 0.1 ml ไม่มีผลต่อการทำงาน (contraction) ของหัวใจแต่เมื่อใช้ความเข้มข้นที่สูงขึ้นคือ 10% w/v พบว่ากระตุ้นการทำงานหรือการหดตัวของหัวใจแรงข้น amplitude of contraction เพิ่มขึ้น) ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า stevioside ลดอาการหัวใจเต้นช้า เนื่องจาก Ach ได้

            ฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ มีการศึกษาในห้องปฏิบัติการที่นำสารสกัดหยาบจากใบหญ้าหวานมาทดสอบฤทธิ์การฆ่าเชื้อกลุ่มสเตรปโตคอคไค และแลคโตแบซิไล พบว่า สารสกัดหยาบที่ได้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อที่ทดสอบทั้งหมดในระดับที่แตกต่างกัน

            ฤทธิ์ลดการก่อฟันผุ มีการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อวัดความสามารถในการก่อฟันผุของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดที่มีส่วนผสมของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลหลายชนิด รวมถึงหญ้าหวาน โดยโมเดลไบโอฟิล์มบนชิ้นเคลือบฟันพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานลดความเป็นกรดด่างของไบโอฟิล์มเพียงเล็กน้อย และต่างจากชูโครสที่ลดลงมากอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าปริมาณเชื้อที่มีชีวิตในไบโอฟิล์มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับชูโครส ถึงแม้ว่ามวลชีวภาพของไบโอฟิล์มจะไม่แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้การสร้างพอลิแซ็กคาไรด์นอกเซลล์ที่ไม่ละลายน้ำ (water-insoluble extracellular polysaccharide) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างไบโอฟิล์ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับชูโครส และยังมีการศึกษาในหนูทดลองโดยใส่เชื้อสเตรปโดคอคคัสชอบรินัส (streptococcus sobrinus) ในช่องปาก แล้วให้อาหารที่เติมชูโครส สตีวิโอไซด์ หรือ รีบาวดิโอไซด์ เอ เปรียบเทียบกับการให้อาหารที่ไม่เติมชูโครสเท่านั้น ที่มีปริมาณเชื้อสเตรปโดคอคคัส ซอบรินัสมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และพบฟันผุเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับซูโครสเท่านั้น

            นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาความเป็นพิษของสารต่างๆ ในกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ ดังนี้

            การเกิดพิษอย่างเฉียบพลันของสารสตีวิโอไซด์ มีการศึกษาวิจัยพบว่า ค่า LD50 ของสารหวานสตีวิโอไซด์ในหนูแฮมสเตอร์ หนูพุก และหนูถีบจักร ทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีค่ามากกว่า 15 กรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม เมื่อให้เข้าไปทางปาก ซึ่งอาจจะถือได้ว่าสารหวานสตีวิโอไซด์บริสุทธิ์นั้นไม่เป็นพิษต่อสัตว์ทดลองในกรณีของการเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน (acute effect)

            การศึกษาพิษเรื้อรังและฤทธิ์ในการก่อมะเร็งของสารสตีวิออล มีการศึกษาวิจัยพบว่าการให้สารสตีวิออล ในอาหารแล้วให้หนูแฮมเตอร์กินตลอดช่วงชีวิตทั้งเพศผู้และเพศเมีย พบว่า สารสตีวิออลในขนาดปริมาณดังกล่าวไม่มีผลต่อช่วงชีวิตเฉลี่ย น้ำหนักตัว ผลการตรวจทางชีวเคมีในเลือด ผลการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะและอุบัติการณ์เกิดมะเร็งในเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

            การศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสตีวิโอไซด์ มีการศึกษาวิจัยพบว่าสารหวานสตีวิโอไซด์ และสารสตีวิออลในขนาดปริมาณสูงที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อแบคทีเรีย S.typhimurium TA 98 และ TA 100 ทั้งที่มีและไม่มีเอนซัยม์จากตับของหนูพุก หนูถีบจักร  หนูแฮมสเตอร์ และหนูตะเภา และนอกจากนี้สารหวานสตีวิโอไซด์และสารสตีวิออลในขนาดปริมาณสูงไม่สามารถชักนำให้จำนวน PCE จากไขกระดูกมีไมโครนิวเคลียสเพิ่มขึ้นในหนูแฮมสเตอร์ หนูพุก และหนูถีบจักรเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

            การศึกษาฤทธิ์ในการก่อให้เกิดวิรูปของสารสตีวิออล มีการศึกษาวิจัยพบว่าการให้สารสตีวิออลในปริมาณ 250 มิลลิกรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม ในหนูแฮมสเตอร์ที่ตั้งท้องตั้งแต่วันที่ 6-10 พบว่าไม่มีผลต่อความเป็นพิษต่อแม่และตัวอ่อนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งปริมาณของสารสตีวิออลดังกล่าวเมื่อเทียบกับปริมาณของสารหวานสติวิโอไซด์ที่กินเข้าไปในสัตว์ทดลองจะเทียบได้ประมาณ 80 เท่าของปริมาณที่ยินยอมให้มีการบริโภคของสตีวิโอไซด์ในคนต่อวัน (ADI ในคน = 7.938 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน) ทดลองจะเทียบได้ประมาณ 80 เท่าของปริมาณที่ยินยอมให้มีการบริโภคของสตีวิโอไซด์ในคนต่อวัน (ADI ในคน = 7.938 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน)

            การศึกษาถึงผลของสตรีวิโอไซด์ต่อหน้าที่การทำงานทางสรีระวิทยาของระยะทางเดินอาหาร มีการศึกษาวิจัยพบว่าการให้สารหวานสตีวิโอไซด์ในขนาดปริมาณสูงถึง 500 และ 1000 มิลลิกรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม/วัน ให้กินทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหน้าทางสรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้เล็ก แต่ถ้าให้กินขนาดปริมาณ 2500 มิลลิกรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม/วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก เป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะมีผลไปรบกวนการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสในบริเวณลำไส้และทำให้การเจริญเติบโตลดลง

โครงสร้างสตีวิออลไกลโคไซด์

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยหลายฉบับที่ระบุถึงประโยชน์ของสารให้ความหวานกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ จากหญ้าหวานอีกทั้งในการศึกษาความเป็นพิษก็ยังไม่มีการระบุถึงความเป็นพิษแต่อย่างใด แต่สำหรับการใช้สารให้ความหวานกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์นั้น ก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สารสกัดชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดที่เหมาะสมไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจากเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

เอกสารอ้างอิง สตีวิออลไกลโคไซด์
  1. นันทา แก้วอุบล หญ้าหวาน วิทยาศาสตร์ 38-5,6 หน้า 302-304 2527.
  2. อัมพวัน อภิสริยะกุล Pharmacilogical Consideration and Safety Evaluation of Stevioside หนังสือการประชุมวิชาการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ พ.ศ.2531.
  3. เอมอร โสมนะพันธุ์ วารสารเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ
  4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ.2556 เรื่องสตีวิออลไกลโคไซด์
  5. วันชัย แก้วโสภา การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสตีวิโอไซด์ ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2530.
  6. อรนาฎ มงตังคสมบัติ,พนิดา ธัญญศรีสังข์.สารให้ความหวานแทนน้ำตาลกับผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปาก.วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ปีที่ 69. ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2562. หน้า 379-397
  7. รายงานการทดสอบความปลอดภัยของสารสติวิโอไซด์ และสารสกัดจากหญ้าหวาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รวบรวมจาก การสัมมนา ข้อมูลจากกรมป่าไม้)
  8. หญ้าหวานและผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน ความปลอดภัยและการบริโภค.เอกสารแสดงผลงานวิจัยใหม่และประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับหญ้าหวานและผลิตภัณฑ์ และการนำไปใช้ประโภคอย่างปลอดภัย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  9. กระแส วัชรปานและเวฬุรีย์ ศรีเทพ “ผลการใช้หญ้าหวานในผู้ป่วย Observations of The Patients Who Consumed Tea of Stevia rebaudiana Leaves” การสัมมนาเรื่องการวิจัยหญ้าหวานครั้งที่ 1, 9-10 พฤษภาคม 2533 หน้า 123
  10. รศ.ดร.ภญ.พิสมัย กลุกาญจนาธร.หญ้าหวาน.หนทางเลือก...เพื่อสุขภา.บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. S.Klongpanichpak Metagenic tests of dteviol and stevioside MS Thesis, Mahidol Universty (1995)
  12. Madan S, Ahmad S; Singh G.N, Kohli, Kanchan, Kumar Y, Singh R, Garg M. Stevia rebaudiana (Bert.) Bertoni-A review. Indian Journal of Natural Products and Resources 2010; 1:267-286.
  13. A.D.Kinghorn and D.D.Soejarto Current Status of Stevioside ad a sweeteninf afent for human use Econornic and Medicinal Planl Research vol.1.p.1-49.1985.
  14. DasS, Das AK, MurphyRA,Punwani IC, Nasution MP,Kinghorn AD. Evaluationof the cariogenic potentialof the intense natural sweeteners stevioside and rebaudioside a. Caries Res 1992;26(5):363-6
  15. C.Toskulkao ,L.Charurat.P.Temcharoen and T.Glinsrkon. Acute toxicity of stecviostde,a natural sweetener and its metabolite Steviol in several animal species Drug Toxicol.20:31-44(1997.)
  16. Kroyer G. Stevioside and Stevia-sweetener in food: application, stability and interaction with food ingredients. J. Verbr. Lebensm. 2010; 5:225-229
  17. Pilgrtm,F.J.and Schutz H.G.:Nature (London) 183-1469,1959.
  18. GamboaF, Chaves M. Antimicrobial potentialofextracts from steviarebaudianaleavesagainst bacteriaof importancein dental caries. Acta Odontol Latinoam 2012;25(2):171-5
  19. L.Xili.B.Chengjiany.X.Eryi.S.Reiming.W.Haodong and H.Zhiyian.Chronic oral toxicity and carcinogenicity study of stevioside in rats. Fd.Chem.Toxicol.30:957-96(1992).
  20. GiacamanRA, CamposP,Munoz-Sandoval C, CastroRJ. Cariogenic potential of commercial sweeteners in an experimental biofilm caries model on enamel. Arch Oral Biol 2013;58(9):1116-22
  21. Crammer,B.and lkan,R.(1986) Sweet glycostdes from the stevia plant. Chem.Br.Oct:915-917.
  22. Goyal SK., Samsher And Goyal RK. Stevia (Stevia rebaudiana) a bio-sweetener: a review. International Journal of Food Sciences and Nutrition. 2010; 61(1):1-10.
  23. S.Klongpanichpak.P.Timcharoen,C.Todkulkao,S.Apibal and T.Glinsukon.Lack of mutagenicity  of stevioside and Steviol in Salmonella typhumurium TA 98 and TA 100.J.Med.Assoc.Thailand (accepted.1997.)