เขยตาย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

เขยตาย งานวิจัยและสรรพคุณ 20 ข้อ

ชื่อสมุนไพร เขยตาย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ประยงค์ใหญ่, ลูกเขยตาย, เขยตายแม่ยายปรก, กะโรกน้ำข้าว, น้ำน้าว (ภาคกลาง), ส้มชื่น (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), เขนทะ (ภาคเหนือ), กะรอกน้ำ, กะรอกน้ำข้าว (ชลบุรี), มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์), พิษนาคราช, พุทธรักษา, น้ำข้าวต้น (สุโขทัย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Glycosmis arborea (Roxb.) DC., G. chylocapa Wight&Arn., G. quinquefolia Griff, G. madagascariensis Correa ex Risso, G. retzii M. Roem., G rigida Jack Merr., Limonia arborea Roxb., L. pentaphylla Retz., Myxospermum chylocarpum Bursera nitida Fern Vill., Chinotria monogyna Walp., C. rigida Jack
วงศ์ RUTACEAE

ถิ่นกำเนิดเขยตาย

เขยตาย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตทวีปเอเชียและออสเตรเลีย อาทิเช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ และในออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้บริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามชายป่าทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณเขยตาย

  1. ใช้กระทุ้งพิษ
  2. แก้พิษฝีภายในและภายนอก
  3. แก้พิษงู
  4. แก้แมลงกัดต่อย
  5. แก้ไข้กาฬ
  6. แก้ไข้รากสาด
  7. แก้โรคผิวหนังพุพอง
  8. แก้ฝี
  9. ช่วยทาแผลที่อักเสบ
  10. แก้พิษต่างๆ
  11. แก้พิษไข้
  12. ช่วยขับน้ำนม
  13. ช่วยรักษาหิด
  14. แก้โรคตับ
  15. รักษาโรคงูสวัด
  16. แก้เบาหวาน
  17. แก้ไข้
  18. แก้ไอ
  19. แก้บิด
  20. แก้ท้องเดิน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้เขยตาย

ใช้ขับน้ำนมโดยใช้รากเขยตาย ต้มกับน้ำดื่มหลังคลอด ใช้แก้ไอ แก้ไข้ แก้โรคบิด แก้ท้องเดิน โดยนำรากและใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน โดยใช้ใบมาต้นกับน้ำดื่ม ใช้แก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด ลดไข้ แก้พิษฝีภายในกระทุ้งพิษ ขับน้ำนม โดยใช้รากหรือเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ถอนพิษ เมื่อถูกแมลงมีพิษกัดต่อย รักษาเริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา โดยใช้ใบสดมาขยี้ หรือนำมาบดผสมกับแอลกอฮอลล์ เหล้าขาว หรือ นำมะนาว นำไปทาแล้วพอก บริเวณที่เป็น แก้โรคตับ โดยใช้ใบสดมาคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ โดยใช้ใบสดมาบดผสมกับขิง ใช้ทาบริเวณที่เป็น ใช้เป็นยาแก้หิด โดยใช้ดอกและผลมาตากให้แห้งแล้วนำมาต้มน้ำดื่ม

ลักษณะทั่วไปเขยตาย

เขยตาย จัดเป็นกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีขนสั้นนุ่มบริเวณกิ่งและก้าน แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นสูง 3-6 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว

           ใบ เป็นประกอบแบบขนนก ออกแบบเรียงสลับตรงข้าม หรือ กิ่งตรงข้าม ส่วนใบย่อยมีประมาณ 3-5 ใบ กว้าง 3-5 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปรี หรือ รูปไข่กลับ โคนใบสอบเรียวปลายใบแหลมถึงกลม ส่วนขอบใบเรียบ หรือ มีรอยจักรตื้น แผ่นใบเรียบ ใบด้านบนๆ จะมีสีแดงที่ฐาน ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า

           ดอก ออกเป็นช่อเชิงลดแบบแยกแขนงบริเวณซอกใบ หรือ ที่ปลายกิ่งซึ่งจะออกดกทึบ โดยมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว เป็นกระจุกๆ ละ 12-15 ดอก มีลักษณะเป็นกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับขนาด 4-5x2-2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันปลายรูปแหลมกึ่งไข่กลับ เป็น แฉก ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร มีขนอ่อนที่ส่วนปลายมีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็กๆ หลายอัน

           ผล เป็นผลสดทรงกลมขนาดเล็ก ผิวผลเรียบ ปลายใบแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และยาว 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใสฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดสีดำ ลักษณะกลม เป็นลาย

เขยตาย

การขยายพันธุ์เขยตาย

เขยตาย เป็นไม้ยืนต้นกึ่งไม้พุ่ม ที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีอาทิเช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ตามวิธีข้างต้นทั้ง 3 วิธี สามารถทำได้เช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่งไม้พุ่มชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมีเขยตาย

มีรายงานการศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของขยตาย ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น ราก พบสาร อัลคาลอย์ กลุ่ม Carbazole alkaloids ได้แก่ glycozolicine, glycisinine, glycozolidine, skimmianine, glycozolide, gamma-fagarine, dictamine, 3-formylcarbazole

           ใบ พบสารอัลคาลอยด์ ได้แก่ glycosminine glycosine, arborinine, arboribe, glycosamine, glycorine, glycosmicine, gamma-fagarine และสารกลุ่มไตรเทอร์ปีน ได้แก่ isoarbinol, arbinol, arborinone สารกลุ่มสเตียรอยด์ ได้แก่ stigmasterol, Beta-sitosterol

           ลำต้นพบสารอัลคาลอยด์ ได้แก่ arborinine glybomind B, skimmianine, Cabalaxin , robustine, glycoborimine, bisglybomine B

           ดอก พบสารอัลคาลอยด์ Skimmianine, glycorine, glycophymine, glycophymoline, glycomide, arbornine เป็นต้น

 โครงสร้างเขยตาย

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเขยตาย

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยจากส่วนต่างๆ ของเขยตายระบุว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รวมถึงยังสามารถต้านเนื้องอก และต้านเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำยุงลายระบุว่า สารกสัดจากใบเขยตาย ที่ใช้สารละลายเฮกเซนและแอลกอฮอล์ 95% เป็นตัวทำละลาย ตามระดับความเข้มข้น 0, 1250, 2500, 5000 และ 10000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า ภายหลังการตรวจสอบที่ 24 ชั้วโมง อัตราการตายของลูกน้ำยุงลายบ้านในกรรมวิธีที่สกัดด้วยเฮกเซนมีค่าเท่ากับ 0,2 6.67, 6.67, 73.33,100% ภายหลังตรวจสอบที่ 36 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 0, 46.67, 40.67, 83.33, 100% ภายหลังตวรสอบที่ 48 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 0, 60, 53.33, 96.67, 100% ภายหลังตรวจสอบที่ 72 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 0, 60,60,96.67,100% ตามลำดับ สำหรับอัตราการตายของลูกน้ำยุงลายบ้านกรรมวิธีที่สกัดด้วยแอลกอฮอลล์ 95% พบว่าหลังจากการตรวจสอบที่ 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 0, 20, 43.44, 83.33,100% ภายหลังการตรวจสอบที่ 36 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 0, 40, 73.33, 97.67,100% ภายหลังการตรวจสอบที่ 72 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 0, 60, 93.33, 100,100% ตามลำดับนอกจากนี้พบว่า สารสกัดจากใบเขยตายที่สกัดด้วย เฮกเซนมีค่า IC50 ต่อลูกน้ำยุงลายบ้านที่ 24, 36, 48, 72 ชั่วโมง เท่ากับ 3 ,242.13, 1920.62, 1329.07, 1251.32 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ขณะที่สารสกัดจากใบเขยตาย ที่สกัดด้วยแอลกอฮอลล์ 95% มีค่า IC50 ต่อลูกน้ำยุงลายบ้านที่ 24, 36, 48, 72 ชั่วโมง เท่ากับ 2, 493.59, 1204.88, 1534.69, 1099.50 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ

การศึกษาทางพิษวิทยาของเขยตาย

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุน้ำยางของเขยตายมีความเป็นพิษสูง ซึ่งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น อาเจียน มึนงง เพ้อคลั่ง และหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

เอกสารอ้างอิง เขยตาย
  1.  ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. เขยตาย. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 152-153.
  2. ภญ.ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร. อาหารและสมุนไพร กระตุ้นน้ำนม. คอลัมน์เรื่อเดินจากปก. นิตยาสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 355. พฤศจิกายน 2551.
  3. นิจศิริ เรืองรังษ๊ ธวัชชัย มังคละคุปต์. เขยตาย Khoel tai. หนังสือสมุนไพรไทยเล่ม 1. หน้า 69.
  4. พญ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. เขยตาย. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 98.
  5. พญ. ดร. สุภาพร ปิติพร. เก็บป่ามาฝากเมือง. อภัยพูเบศรสาร ปีที่ 3 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม 2548. หน้า 2.
  6. สุวดี โชคชัยศิริ และคณะ. องค์ประกอบทางเคมีจากลำต้นเขยตาย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 47. ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562 หน้า 53-61.
  7. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพษ กทม. เศรษฐศิลป์ 2552.
  8. ยุวดี สีนวลขำ และคณะ. ประสิทธิภาพจากสารสกัดของใบเขยตายในการควบคุมลูกน้ำยุลายบ้าน. วารสารการผลิตกรรมการเกษตรปีที่ 1. ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562. หน้า 21-31.
  9. เขยตาย. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=186.
  10. Howlader, M.A., F. Rizwan, S. Sultana, M.R. Rahman, K.M. Shams-Ud-Doha, R. Mowla and A.S. Apu. 2011. Antimicrobial, antioxidant and cytotoxic effects of methanolic extracts of leaves and stems of Glycosmis pentaphylla (Retz.), J App Pharm Sci. 1(8): 137-140.
  11. VAnsari, P., A. Ulla, A.R.U. Islam, M. Sultana, M.N. Alam, M. Mustakim and M.N. Uddin. 2015. Ex-vivo cytotoxic, antibacterial and DPPH free radical scavenging assay with 171 ethanolic leaf extract of Glycosmis pentaphylla to justify its traditional use. Biomedical Research and Therapy. 2(7): 324-332.
  12. Sreejith, P.S. and V.V. Asha. 2015. Glycopentalone, a novel compound from Glycosmis pentaphylla (Retz.) Correa with potent anti-hepatocellular carcinoma activity. J Ethnopharmacol. 22(172):38-43.
  13. Bulbul, I. and N. Jahan. 2016. Study on antioxidant and antimicrobial activities of methanolic leaf extract of Glycosmis pentaphylla against various microbial strains. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 5(4): 53-57.