ต้อยติ่ง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ต้อยติ่ง งานวิจัยและสรรพคุณ 25 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ต้อยติ่ง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ต้อยติ่งฝรั่ง, ต้อยติ่งเทศ, อังกาบ, อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ruellia tuberosa Linn.
ชื่อสามัญ Popping pod, Minnie root, Cracker plant, Iron root, Waterkanon
วงศ์ ACANTHACEAE


ถิ่นกำเนิดต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง (Ruellia tuberosa Linn.) จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน บริเวณทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันบางประเทศได้จัดต้อยติ่งเป็นวัชพืชอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยคาดว่าต้อยติ่ง ถูกนำเข้ามาเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับนานแล้ว และในปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และถูกจัดเป็นพืชต่างถิ่นชนิดหนึ่งอีกด้วย ทั้งนี้ยังมีต้อยติ่งอีกชนิดหนึ่ง คือ ต้อยติ่งไทย (Hygrophilaguadrivalvis Nees.) หรือ ที่เรียกกันว่าต้อยติ่งนา, ต้อยติ่งน้ำ ซึ่งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยอีกด้วย แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงต้อยติ่งชนิด (Ruellia tubersa L.)

ประโยชน์และสรรพคุณต้อยติ่ง

  • ใช้ดับพิษไข้
  • แก้ร้อนใน
  • แก้ไอกรน
  • ช่วยบรรเทาอาการไอ
  • แก้เสมหะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • รักษาโรคไต
  • แก้ปัสสาวะเล็ด
  • ช่วยขับเลือดประจำเดือนในสตรี
  • ใช้ทำให้อาเจียน
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • แก้ปัสสาวะพิการ
  • แก้อาการปวดฟัน
  • ช่วยลดอาการบวมจากแมลงกัดต่อย
  • แก้ผื่นคัน
  • รักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยรักษาแผล ทั้งแผลสด แผลเปื่อย แผลมีน้ำหนอง
  • ช่วยห้ามเลือด
  • ช่วยดูดซับน้ำหนอง
  • ทำให้แผลแห้ง
  • ใช้รักษาฝ้า หรือ ช่วยลดเลือดริ้วรอยบนใบหน้า
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับง่าย 
  • ช่วยให้ผิวพรรณแลดูสดใส
  • ช่วยแก้ปวดเข่า ขาชา

           ต้อยติ่ง ถูกนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเนื่องจากดอกสีม่วงขนาดใหญ่ติดกับใบสีเขียวเข้มและคราม สีชมพู ขาว ลำต้นก็ไม่สูงมาก ซึ่งเวลาออกดอกจะออกบานสะพรั่งพร้อมกันทั่วแปลง และยังสามารถใช้ปลูกเพื่อเป็นพืชคลุมดินและสามารถใช้ปลูกเพื่อทำเป็นปุ๋ยสดได้อีกด้วย นอกจากนี้ฝักต้อยติ่งยังใช้เป็นของเล่นเด็กๆ ด้วยการนำฝักที่แก่จัด (สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ) มาจุ่มน้ำแล้วเอาไปโยนใส่เพื่อน สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกและมีเสียงดังพร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้เพื่อนตกใจหรือเจ็บๆ คันๆ เป็นที่สนุกสนานของเด็กในสมัยก่อน  

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ต้อยติ่ง

ใช้รักษาไอกรน ขับเลือด ใช้รักษาโรคไตได้ ดับพิษไข้ แก้ร้อนใน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการไอ แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเล็ด ใช้ขับประจำเดือน ทำให้อาเจียน โดยใช้รากมาตากแห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม แก้ปวดฟัน โดยนำใบสดมาเคี้ยว ใช้แก้ผื่นคัน โดยใช้ใบมาต้มน้ำอาบ ใช้รักษาแผลสด แผลเปื่อย แผลหนอง โดยใช้ใบมาตำพอกบริเวณที่เป็น หรือใช้เมล็ดพอกแผลเรื้อรัง มีฝ้า มีหนองทำให้แผลหายเร็ว พอกฝีช่วยดูดหนองและเรียกเนื้อ ใช้ดับพิษไข้ บรรเทาอาการไอ บำรุงสายตา ทำให้ผ่อนคลาย ทำให้ผิวพรรณสดใสโดยนำดอกมาต้มกับน้ำดื่มหรือชงดื่มแบบชาก็ได้ ใช้แก้อากรปวดเข่า ขาชา ร้าว โดยใช้ต้นต้อยติ่ง ที่ดอกยังไม่โรย นำมาถอนเอาทั้งรากไม่ให้รากขาดและไม่ให้เมล็ดแตก ประมาณ 4-5 ต้น ล้างให้สะอาด โขลกต้นเอาแต่น้ำดื่มประมาณ 7 วัน


ลักษณะทั่วไปของต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร แตกกิ่งตั้งแต้ลำต้น ลำต้น กิ่งมีสีเขียว และตามลำต้นมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงเป็นคู่ บริเวณตามข้อลำต้นและกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่มีสีเขียวสด โคนใบสอบแหลมปลายใบค่อนข้างมน แผ่นใบเรียบ ขอบใบลูกคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ออกเป็นช่อ หรือ เป็นดอกเดี่ยวๆ บริเวณซอกใบตามปลายยอด แต่ละช่อมี 1-6 ดอก แต่จะบานไม่พร้อมกัน ตัวดอกมีขนาดประมาณ 4-5 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบมีลักษณะมน ขนาดกลีบดอกประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีกลีบรองดอกสีเขียว โคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก เรียวแหลมยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมีสีม่วงเป็นรูปกรวยหงาย ปลายแผ่เป็น 5 แฉกเท่าๆ กัน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร

           ผล ออกเป็นฝักเป็นแบบ capsule รูปทรงกระบอก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร ตรงปลายทั้งสองข้างแหลม ยาว 2-3 ซม. มีร่องแตกเป็น 2 กลีบ ฝักเมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และสีดำเมื่อแก่ด้านในมีเมล็ด 8-15 เมล็ด ลักษณะเมล็ดแบนมีบนขึ้นปกคลุม เมื่อมองจากด้านบน เป็นรูปกลมคล้ายเหรียญบาท เรียงติดชิดกัน

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

การขยายพันธุ์ต้อยติ่ง

ต้อยติ่งเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี และเป็นพืชที่ขึ้นได้ทุกสภาพดิน โดยการขยายพันธุ์ส่วนมากจะเป็นการขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดตามธรรมชาติ ตามที่รกร้าง ว่างเปล่า ตามสองข้างถนนโดยเมื่อฝักแก่โดนน้ำฝักก็จะแตกออกดีดเมล็ดให้ตกลงบนพื้นดินเพื่อเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ แต่ในบาครั้งก็มีการนำต้อยติ่ง มาปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะและตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ โดยมีวิธีการดังนี้

           การใช้เมล็ด โดยนำเมล็ดต้อยติ่งไปแช่น้ำให้แตกตัวออก จากนั้นนำไปรดลงดิน แล้วรอให้ต้นงอกออกมาจึงถอนนำไปปลูกตามที่ต้องการ และการปักชำสามารถทำได้เป็น 2 แบบ คือ การปักชำดิน โดยตัดให้ห่างจากข้อประมาณ 1 นิ้ว ปลิดใบทิ้งให้เหลือแต่ยอดจากนั้นนำไปปักลงดินที่เตรียมไว้ให้มิดข้อจากนั้นกดดินให้แน่น รดน้ำวันละ 1 ครั้ง นำไปตั้งไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดรำไร ส่วนการปักชำอีกวิธีหนึ่งคือการปักชำน้ำ ซึ่งมีการตัดกิ่งเช่นเดียวกันกับการปักชำดิน แต่ให้นำกิ่งมาแช่น้ำก่อนประมาณ 1 อาทิตย์ และต้องเปลี่ยนน้ำทุกวันจนรากงอก จากนั้นจึงย้ายลงไปปลูกลงดิน


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของต้อยติ่ง ในต่างประเทศระบุว่า พบสารในกลุ่มต่างๆ อาทิเช่น กลุ่ม sterols เช่น Beta-sitosterol, stigmasterol, campesterol สารกลุ่ม triterpenes เช่น Lupeol, Betulin, 21-Methyldammar-22-en-3beta,18,27,triol สารกลุ่ม Alkaloids เช่น Indole-3-carboxaldehyde สารกลุ่ม Flavonoids เช่น Crisimaritin, Crisimarin, Crisiliol 4-glucoside, sorbifolin, pedalitin, Apigenin 7-o-glucoside, Hispidulin 7-o-b-d-glucuronopyranoside, Comantoside B สารกลุ่ม Lignans เช่น Lyoniresinol 3α-o-beta-D-glucopyranoside-3-hydroxy-1-4-hydroxyphenyl-2-4-3-hydroxy-1-propenyl-2-methoxypenoxy propyl Beta-D-glucopyranoside สารกลุ่ม Phenolic เช่น Vanilloside, syringing และสารกลุ่ม Phenyl ethanoids เช่น Acteoside, Isoacteoside, Nuomioside, Isonumioside, fir==orsylthoside B, paucifloside, cassifolioside, isocassifolioside, cistanoside E, cistanoside F 

ต้อยติ่ง 

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของต้อยติ่ง

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของต้อยติ่งระบุว่าสารสกัดจากใบของต้อยติ่ง มีฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดดังนี้

           ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด การทดสอบฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดน้ำ-เอทานอล (50% Hydro-Ethanolic extracts) ของใบต้อยติ่ง (Ruellia Tuberosa  L.) และพืชตระกูลเดียวกัน (Dipteracanthus patulus) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร alloxan โดยให้หนูกินสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ในขนาด 250 และ 500 มก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดทั้ง 2 ขนาด มีระดับของ phospholipids, triglycerides, LDL และ VLDL ในเลือดลงลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ระดับของ HDL เพิ่มขึ้น และที่ขนาด 500 มก./กก./วัน ยังทำให้ค่าผลรวม cholesterol ลดลงอย่างชัดเจนอีกด้วย แต่ประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันในเลือดของสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ยังคงต่ำกว่ายามาตรฐาน glibenclamide ขนาด 600 มคก./กก. ทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำ-เอทานอลของใบต้อยติ่งและ Dipteracanthus patulus มีฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ นอกจากนี้สารสกัดจากส่วนอื่นๆ ยังมีฤทธิ์ต่างๆ เช่น ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์รักษาบาดแผล เสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ปกป้องระบบทางเดินอาหารเป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของต้อยติ่ง

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ต้อยติ่งเป็นสมุนไพร และมีสรรพคุณโลหิตในสตรีซึ่งอาจทำให้แท้งบุตรได้ ส่วนในการใช้เป็นสมุนไพรในบุคคลปกติที่มีสุขภาพแข็งแรงก็ควรระมัดระวังในการใช้ เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันมากจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง ต้อยติ่ง
  1. เสงี่ยม, พงษ์ บุญรอด.2508. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณทางยาเทศและยาไทย. เกษมบรรณากิจพระนคร หน้า 257-260.
  2. เดชา ศิริภัทร. ต้อยติ่ง =ความงดงามที่มากับฤดูฝน.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 292. สิงหาคม 2546.
  3. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544.
  4. อำไพ ยงบุญเกิด. 2509. วัชพืชในไร่ข้าวโพด. เอกสารวิชาการ. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม กรุงเทพฯ.
  5. ณรงค์ โฉมเฉลา, วิไลวรรณ เชาวนโยธิน. การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ของต้อยติ่ง. รายงานการประชุมวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่12 สาขาพืช ณ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5-7 กุมภาพันธุ์ 2516. หน้า 26-36.
  6. ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของสารสกัดพืชตระกูลต้อยติ่ง.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ หาวิทยาลัยมหิดล.
  7. ต้อยติ่ง/อังกาบ ประโยชน์และสรรพคุณต้อยติ่ง. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  8. Samy MN, Khalil HE, Wanas AS, Kamel MS, Suc S, Matsunami K, Otsuka H: Chemical constituent: the leaves of Ruellia tuberosa. Chemistry of 1 Compounds 2013; 49:175-176.
  9. Behari M, Goyal MM, StreibI M: Natural product Ruellia tuberosa L. Journal of Indian Chemical S 1981; 58:176-177.
  10. Singh RS, Pandey HS, Pandey RP, Singh BK: A new triterpenoid from Ruellia tuberosa Linn. Journal of Chemistry 2002; 41B:1754-1756.
  11. De A. 1966. Cytological investigations in the family Acanthaceae. Sci.&Cult. 32:198-199.
  12. Andhiwal CK, Has C, Varshney RP: Hydrocarbons, and phytosterols from the tubers of Ruellia tuberosa Indian Drugs1985; 23:48-49.
  13. Phakeovilay C,Disadee W, Sahakipichan P,Sitthinonchai S, Kittiakoop P, Ruchirawat S, Kanchanapoom T: Phenylethanoid and flavone glycosides from Ruellia tuberosa L. Journal of Natural Medicine 2003; 67:228-233.
  14. Lin C, Huang Y, Cheng L, Sheu S, Chen C: Bioactive flavonoids from Ruellia tuberosa, Journal of Chinese Medicine 2006; 17:103-109.
  15. Subramanian SS, Nair AGR Flavonoids of Ruellia prostrata and Barleria cristata. Journal of Indian Chemical Society 1972; 49:825-826
  16. Samy MN, Khalil HE, Sugimoto S, Matsunami K, ( H, Kamel MS: Three new flavonoid glyc byzantionoside B 6'-O-sulfate and xyloglucoside ( hex-3-en-1-ol from Pharmaceutical Bulletin 2011; 59:725-729.