มะดัน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

 มะดัน งานวิจัยและสรรพคุณ 16 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะดัน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ส้มไม่รู้ถอย (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana Pierre
วงศ์ CLUSIACEAE – GUTTIFERAE

ถิ่นกำเนิดมะดัน

เชื่อกันว่ามะดัน มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น เวียดนาม ลาว ไทย พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะพบมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือ ที่มีน้ำท่วมขัง อาทิเช่น ริมฝั่งแม่น้ำ และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทั่วไป

ประโยชน์และสพรรคุณมะดัน

  1. แก้กษัย
  2. ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี
  3. ช่วยขับฟอกเลือด
  4. เป็นระบายอ่อนๆ
  5. แก้ไอ
  6. แก้เสมหะในลำคอ
  7. แก้เบาหวาน
  8. ช่วยขับปัสสาวะ
  9. แก้น้ำลายเหนียว เป็นเมือกในลำคอ
  10. ช่วยแก้อาการคอแห้ง
  11. ช่วยทำให้ชุ่มชื่นคอ
  12. ช่วยขับเสมหะ
  13. แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  14. ช่วยฟอกประจำเดือน
  15. ช่วยเจริญอาหาร
  16. แก้ประจำเดือนพิการ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ 

ช่วยแก้กษัย ฟอกโลหิต ฟอกประจำเดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ โดยใช้ใบ หรือ ผลประมาณ 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยาแล้วต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที หรือ ต้มแบบไม่ใช้ไฟแรง ให้น้ำค่อยเดือดๆ และ เคี่ยวจนเหลือ 1 ส่วน แล้วจึงนำมารับประทานครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว (125-250 cc) ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติโดยใช้ใบ และรากมะดัน มาต้มน้ำดื่ม โดยนำแก้อาการน้ำลายเหนียว และเป็นเมือกในลำคอ โดยนำผลมะดันนำมาดองน้ำเกลือรับประทาน ช่วยแก้อาการคอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มชื่นคอ ขับปัสสาวะ แก้กษัย โดยใช้ผลสดมารับประทาน


ลักษณะทั่วไปของมะดัน

มะดัน จัดเป็นไม้ยืนตันขนาดกลางไม่ผลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มหนา เปลือกต้นเรียงสีน้ำตาลอมดำ เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว กิ่งจะแตกตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น กิ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม ผิวกิ่งค่อนข้างดำ และสามารถโค้งงอได้ง่าย ใบออกเป็นใบเดี่ยวดอกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ มี สีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างหนารูปขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบ และปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว หรือ เป็นกระจุก 3-6 ดอก ซึ่งจะตามซอกใบ สีเหลืองอมส้มเกสรสีเหลือง มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม ผลมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาวสีเขียว ปลายแหลม ยาวราว 6 เซนติเมตร ผิวบางเรียบ เป็นมันและฉ่ำน้ำภายในมีเมล็ด 3-6 เมล็ด เมล็ด มีลักษณะกลมรี และส่วนปลายค่อนข้างแหลม ขรุขระและแข็ง เมื่อผลยังอ่อน เมล็ดจะมีสีขาว เมื่อผลแก่ เมล็ดจะมีสีน้ำตาล

มะดัน

การขยายพันธุ์มะดัน

มะดันสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง แต่การขยายพันธุ์ที่นิยมกันในปัจจุบัน คือ การเพาะเมล็ด สำหรับการเพาะเมล็ด และการปลูกมะดัน นั้น สามารทำได้เช่นเดียวกันกับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้มะดัน เป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างชอบดินชุ่มชื้น และทนต่อโรคได้ดีชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงสามารถนำมาปลูกได้ในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังหรือบริเวณพื้นที่กลุ่มน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี

องค์ประกอบทางเคมี

มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของมะดัน พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด อาทิเช่น hydroxycitric acid, schomburgdepsidone A , B, oliveridepsidone B, nigroline axanthone E, aucuparin, vismiaquinome A และ geranylemodin เป็นต้น
              นอกจากนี้มะดัน ยังมีคุณค่าทางโภชนาการจากส่วนที่รับประทานได้ดังนี้
        คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดันดิบ (100 กรัม)
⦁ คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม
⦁ ไขมัน 0.1 กรัม
⦁ โปรตีน 0.3 กรัม
⦁ เส้นใย 0.4 มิลลิกรัม
แคลเซียม 17 มิลลิกรัม
⦁ ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
⦁ วิตามินเอ 431 หน่วยสากล
0.04 มิลลิกรัม
⦁ วิตามินซี 5 มิลลิกรัม

           คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะดัน (100 กรัม)
คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
⦁ โปรตีน 0.3 กรัม
⦁ แคลเซียม 103 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม
⦁ วิตามินเอ 225 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.01 มิลลิกรัม
⦁ วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม
⦁ วิตามินบี 3 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินซี 16 มิลลิกรัม

โครงสร้างมะดัน

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของมะดัน

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของมะดัน ที่ได้ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของมะดันไว้ว่า มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์เนื้องอก ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย และมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของมะดัน

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรรับประทานมะดัน เพราะมีรสเปรี้ยวมาก ซึ่งอาจไปกระตุ้นให้มีการขับปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ไตทำงานขึ้นได้ ในส่วนของผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางไม่ควรรับประทานมะดันซึ่งมีรสเปรี้ยวเพราะจะทำให้ไปกัดฟอกโลหิตมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
           นอกจกนี้หากรับประทานมะดัน มากเกินไป กรดที่ให้รสเปรี้ยวจากผลของมะดัน อาจจะกัดกร่อนผิวเคลือบฟันทำให้ฟันสึกกร่อนเร็วกว่าปกติอีกทั้งยังทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้

เอกสารอ้างอิง มะดัน

⦁ นิตตา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์.มะดัน ในผลไส้ 111 ชนิด.คุณค่าอาหารและการกิน.กทม.แสงแดด.2550 หน้า 155
⦁ มะดัน : หนึ่งในความเปรี้ยวที่ครองใจชาวกลองยาว.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 258.กุมภาพันธ์ 2542
⦁ มะดัน.กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากประราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีฯ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08.7.htm
⦁ มะดันประโยชน์และสรรพคุณมะดัน.พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.puechkaset.com
⦁ Subhadrabandhu , S., 2001.Under-Utilized Tropical Fruits of Thailand. Food and Agrieulture Organization of the United Nations Rrgional Office for Asia and the Pacific.