ไทโมควิโนน

ไทโมควิโนน

ชื่อสามัญ Thymoquinone, 2-methyl-5-(propan-2-yl)-2, 5-diene-1, 4, -dione

ประเภทและข้อแตกต่างไดออสไพรอล ไดกลูโคไซด์

สารไทโมควิโนน (Thymoquinone) จัดเป็นอนุพันธ์ของควิโนน ที่พบได้ในพืชธรรมชาติโดยมีสูตรทางเคมี คือ C10H12O2 มีมวลโมเลกุล 164.204g/mol และยังเป็นสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญหลายประการ สำหรับประเภทของสารไทโมควิโนน นั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาไดออสไพรอล ไดกลูโคไซด์

สารไทโมควิโนน (Thymoquinone) จัดเป็นสารพฤกษเคมีที่สามารถพบได้ในส่วนเมล็ดของเทียนดำ (Nigella sativa L.) และยังมีรายงานว่าสามารถพบสารดังกล่าวได้ในพืชอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ คือ Monarda fistulosa นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสกัดสารไทโมควิโนนมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ทั้งในรูปแบบผง (สีน้ำตาลเหลือง/น้ำตาล) และรูปแบบน้ำมันระเหยง่าย (black cumin seedoil) อีกด้วย

สารไทโมควิโนน

ปริมาณที่ควรได้รับไดออสไพรอล ไดกลูโคไซด์

สำหรับขนาดและปริมาณของสารไทโมควิโนน (thymoquinone) ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวันนั้น ในปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ของขนาดและปริมาณการใช้สารดังกล่าวขึ้นมา แต่ในต่างประเทศได้มีการสกัดเอาสารไทโมควิโนนมาใช้ประโยชน์โดยมีขนาดและปริมาณในการใช้ตามที่สถาบันองค์การอาหารและยาของแต่ละประเทศกำหนดขึ้นภายในประเทศนั้นๆ สำหรับประเทศไทยมีการใช้สารไทโมควิโนนผ่านการใช้เทียนดำในรูปแบบสมุนไพรเดี่ยวและแบบสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมในตำรับยา อาทิเช่น ยาประสะไพล, ยาหอมเทพจิตร, ยาพรหาพักตร์, พิกัดเทียนทั้ง 5, 7 และ 9 เป็นต้น ซึ่งขนาดการใช้ในแต่ละตำรับก็จะขึ้นอยู่กับตำรับยาแต่ละชนิด

ประโยชน์และโทษไดออสไพรอล ไดกลูโคไซด์

ในต่างประเทศมีการนำสารไทโมควิโนน มาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานทางเภสัชวิทยาที่สำคัญหลายประการ อาทิ เช่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ป้องกันตับ ลดระดับไขมันในเลือด หรือขับเสมหะ ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL และเพิ่มระดับของ HDL ลดความดันโลหิต ต้านออกซิเดชั่น ลดน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์ขับลม แก้อาหารไม่ย่อย และต้านการปวด เป็นต้น

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องไดออสไพรอล ไดกลูโคไซด์

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยต้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารไทโมควิโนน อยู่หลายงานวิจัยดังนี้

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ: มีการศึกษาวิจับพบว่าสาร thymoquinone ในน้ำมันจากเมล็ด สามารถยับยั้งการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบหลายชนิด เช่น thromboxane B2, leucotrein B4, cyclooxygenase, lipoxygenase เป็นต้น

           ฤทธิ์ปกป้องตับ และไต: มีการศึกษาวิจับพบว่า สาร thymoquinone สามารถป้องกันตับจากสารพิษคาร์บอนเตตราคลอไรด์ และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation และป้องกันไตจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) โดยการจับกับ superoxide และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ได้

           ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวาน มีการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร thymoquinone (TQ) จากเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa ) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร streptozotocin (STZ) ขนาด 60 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้อง พบว่าการป้อนสาร TQ วันละ 50 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสาร TQ และผลจากการตรวจวิเคราะห์เซลล์ไตด้วยเทคนิค immunohistochemical พบว่าสาร TQ มีฤทธิ์ยับยั้งความเสียหายของเซลล์ไตในหนูที่เป็นเบาหวาน และมีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่บ่งชี้ถึงการเกิดความเสียหายของเซลล์ไต ได้แก่ fibroblast-specific protein 1 (Fsp1), desmin, matrix metalloproteinase-17 (MMP-17) และ ZO-1 ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาร TQ จากเมล็ดเทียนดำมีฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานได้

           ฤทธิ์ต้านมะเร็ง: มีการศึกษาวิจัยพบว่าสาร thymoquinone และ dithymoquinone จากเมล็ดเทียนดำมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ตับอ่อน มดลูก เต้านม รังไข่ และลำไส้ในหลอดทดลองได้

           ฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีการศึกษาฤทธิ์ของสาร thymoquinone ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa L.) ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์เพศชายและปรับปรุงคุณภาพอสุจิในหนูที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารไขมันสูง โดยการทดลองแบ่งหนูแรทออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หนูปกติ (NC) หนูอ้วน (OC) หนูปกติที่ได้รับ thymoquinone (NT) และหนูอ้วนที่ได้รับ thymoquinone (OT) ในระยะแรกจะทำการป้อนอาหารปกติ หรืออาหารไขมันสูงให้แก่หนูแรทเป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ (63 วัน) และตั้งแต่วันที่ 64 ของการทดลอง ทำการการฉีด thymoquinone ขนาด 10 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน ให้แก่หนูกลุ่ม NT และ OT ทุกวัน ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ พบว่า thymoquinone ช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศผู้ในหนูแรทที่เกิดภาวะอ้วน โดยมีผลเพิ่มขนาดอัณฑะ หลอดสร้างอสุจิ จำนวนเซลล์ที่สร้างอสุจิและจำนวน Laydig cell (เซลล์ที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย) ที่ลดลงจากการได้รับอาหารไขมันสูง นอกจากนี้ thymoquinone ยังช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิที่แข็งแรงและลดจำนวนอสุจิที่มีลักษณะผิดปกติได้ทั้งในหนูปกติและหนูอ้วน แสดงให้เห็นว่าสาร thymoquinone จากเมล็ดเทียนดำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์เพศชาย โดยเพิ่มจำนวนและป้องกันความผิดปกติของอสุจิ

           ฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน: มีการศึกษาวิจัยพบว่าสาร thymoquinone ที่สกัดจากเทียนดำมีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation ส่วนสาร trans-anethole, carvacrol, 4-terpineol ออกฤทธิ์ดีในการจับ superoxide anion อีกทั้งยังมีรายงานว่าน้ำมันหอมระเหย thymoquinone มีผลต่อระบบฮอร์โมนซึ่งมีผลต่อการมีประจำเดือนและขับน้ำนมในสตรีได้อีกด้วย

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางพิษวิทยา ระบุว่า สาร thymoquinone และ thymohydroquinone เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนู พบว่ามีขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และน้ำมันหอมระเหยของเทียนดำที่มีสาร thymoquinone ทำให้เกิดการระคายเคือง และเกิดผื่นแพ้สัมผัสที่ผิวหนังได้

โครงสร้างสารไทโมควิโนน

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ในการใช้สารไทโมควิโนน ทุกๆ รูปแบบควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สารสกัดจากสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่พอเหมาะไม่ใช้ในปริมารที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้  สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีในนมบุตร ไม่ควรใช้สารดังกล่าวเพราะยังไม่มีรายงานการศึกษาด้านความปลอดภัยรองรับ ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ก่อนใช้สารไทโมควิโนน ควรปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้เสมอ

 

เอกสารอ้างอิง ไทโมควิโนน
  1. นวลจันทร์ ใจอารีย์. การแพทย์แผนไทย และสมุนไพรเพื่อลดปวดประจำเดือน.ธรรมศาสตร์เวชสารปีที่ 12.ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2555.หน้า 782-792
  2. กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2555. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ; 2556.
  3. ฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์เพศชายของ thymoquinone จากเทียนดำ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. คู่มือมาตรฐานการใช้ยาสมุนไพรจังหวัดนครศรีธรรมราช. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงสาธารณสุข. 47 หน้า
  5. ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร thymoquinone จากเมล็ดเทียนดำ. ข่าวความเคลื่อนไหวสหมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. เทียนดำ. ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.Thymoquinone.com/main.php?action=viewpage&pid=68
  1. Burnham TH. The Review of natural product. Missouri: Facts and Comparisons; 2001.
  2. Mahmoudb MR, El-Abhara HS, Saleha S. The effect of Nigella sativa oil against the liver damage induced by Schistosoma mansoni infection in mice. J Ethnopharmacol 2002;79:1–11.
  3. Gali-Muhtasib H, El-Najjar N, Schneider-Stock R. The medicinal potential of black seed (Nigella sativa) and its components. InM.T.H. Khan and A. Ather (eds.) Lead  Molecules from Natural Products. Elsevier B.V.,2006.
  4. Demir H, Kanter M, Coshun O, Uz YH, Koc A. Effect of black cumin (Nigella sativa) on heart rate. some hematological values and pancreatic beta–cell damage in cadmium – treated rats. Biol Trace Elem Res 2006;110:151-62.
  5. Iddamaldeniya SS, Thabrew MI, Wickramasinghe SM, Ratnatunge N, Thammitiyagodage MG. A long-term investigation of the anti-hepatocarcinogenic potential of an indigenous medicine comprised of Nigella sativa, Hemidesmus indicus and Smilax glabra. J Carcinog 2006;5:11.