กรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิก

ชื่อสามัญ Alpha-lipoic acid

ประเภทและข้อแตกต่างกรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid,ALA) หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ กรดไทออคติก (thioctic acid) โดยเป็นสารประกบ organosulfur กรดไขมัน octanoic acid มีสูตรโมเลกุล คือ C8H14O2S2 มวลโมเลกุลเท่ากับ 206.326 g/mol มีคุณสมบัติทางเคมีละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน โดยมีค่าการละลายในน้ำเท่ากับ 127 มิลลิกรัมต่อลิตร (ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส) ค่าคงที่การแตกตัว (pKa) เท่ากับ 4.52 (กรดแก่) และมีค่า ประสิทธิ์การแบ่งผ่าน (log P) เท่ากับ 2.1 สำหรับประเภทของกรดอัลฟาไลโปอิก นั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid,ALA) (รูปออกซิไดซ์) และ กรดไดไฮโดรไลโปอิค (dihydrolipoic acid; DHLA) (รูปรีดิวซ์) ซึ่งเริ่มจากโมเลกุลของกรดไลโปอิก (LA) มีอะตอมของกำมะถัน 2 อะตอม ที่พร้อมจะถูกออกซิไดซ์ หรือ รีคิวซ์ (แย่งอิเล็กตรอนหรือเติมอิเล็กตรอน) และเมื่อถูกเติมอิเล็กตรอน โมเลกุลจะมีอีกชื่อหนึ่งว่า ไดฮัยโตรไลโปอิกเอซิค (Dihydrolipoic acid-DHLA) แต่ถ้าถูกแย่งอิเล็กตรอนจะเรียกว่ากรดอัลฟาไลโปอิกแอซิค (alpha-Lipoic acid)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มากรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิกเป็นสารที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทั้งในพืชและสัตว์รวมในมนุษย์ด้วย ซึ่งภายในร่างกายเราเองก็มีการสังเคราะห์กรดไลโปอิกนี้ขึ้นมาแล้วไปจับกับโปรตีนเฉพาะ กลายเป็นสารที่ทำหน้าที่เป็นโคแฟ็กเตอร์ของ Mitochondrial α-keto acid dehydrogenase ซึ่งเป็นสารที่คอยเร่งการทำงานของเอนไซม์ในไมโตคอนเตรีย (mitochondria) หรือ แหล่งผลิตพลังงานในเซลล์ทุกๆ เซลล์ แต่อย่างไรก็ตามร่างกายจะสามารถสังเคราะห์กรดอัลฟาไลโปอิก ขึ้นเองได้ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการช่วยไมโตคอนเดรีย (mitochondria) เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงานเท่านั้น และเมื่ออายุมากขึ้นหรือร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ร่างกายจะผลิต กรดอัลฟาไลโปอิกน้อยลง จึงทำให้ปริมาณของสารดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความต้องการช่วยในระบบไมโตคอนเตรียและการส่งเสริมสุขภาพในด้านอื่นๆ
           ดังนั้นร่างกายจึงมีความต้องการกรดอัลฟาไลโปอิกจากแหล่งอาหารอื่นๆ ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของสารดังกล่าวได้แก่ เนื้อแดง และอวัยวะภายในของสัตว์ เช่น ตับ หัวใจ ไต และเครื่องในต่างๆ นอกจากนี้ยังพบได้ในพืช เช่น ผักโขม ผักปวยเล้ง รำข้าว มะเขือเทศ บล็อกโคลี่ มันฝรั่ง รวมถึง ยีสต์เป็นตัน

กรดอัลฟาไลโปอิก

ปริมาณที่ควรได้รับกรดอัลฟาไลโปอิก

สำหรับปริมาณของกรดอัลฟาไลโปอิก ที่ควรได้รับในแต่ละวันนั้น ในปัจจุบันองค์การอาหารและยา (FDA) ยังไม่มีการอนุมัติใช้ กรดอัลฟาไลโปอิก ในการใช้ทางการแพทย์แต่มีการนำไปใช้ในกรณีศึกษาและงานวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่ กรดอัลฟาไลโปอิก อาจจะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการหรือเงื่อนไขของโรคต่างๆ ได้แก่ การรับประทาน ALA ขนาด 300 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2-8 สัปดาห์ 1 ครั้ง ก่อนและหลังการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) จะช่วยลดขนาดของแผลได้ การรับประทาน ALA ขนาด 1,800 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 20 สัปดาห์ อาจจะช่วยลดน้ำหนักในผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน (BMI≥25) ได้ ส่วนที่มีการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นจาการสังเกตุฉลากข้างขวดนั้นพบว่าขนาดรับประทานนั้นมีการแล่งตามวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อความงามและต้านอนุมูลอิสระ มีการแนะนำให้รับประทาน ขนาด 50-100 มก./วัน แต่หากเพื่อเพิ่มความไวต่ออินซูลินและโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน มีการแนะนำให้รับประทาน ขนาด 300-600 มก./วัน ขนาดที่มีและสำหรับการใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ทาผิวหนังคือร้อยละ 0.25 ถึง 5 แต่ที่นิยมคือร้อยละ 1 ถึง 3 แต่อย่างไรตาม กรดอัลฟาไลโปอิก มีความคงตัวไม่ดี จึงต้องอาจต้องทาซ้ำบ่อยๆ

ประโยชน์และโทษกรดอัลฟาไลโปอิก

ประโยชน์ของกรดอัลฟาไลโปอิก ด้านความงาม คือ ช่วยบำรุงผิวในผู้สูงอายุ ช่วยรักษาบาดแผลชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว ลดริ้วรอย และความแห้งกร้าน ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส อย่างเป็นธรรมชาติ  ลดการอักเสบและการเกิดสิว ส่วนในด้านสุขภาพนั้นก็มีประโยชน์ เช่น ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสียหาย ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและให้พลังงานกับอวัยวะต่างๆ  ช่วยรักษาอาการเส้นประสาทอักเสบจากเบาหวาน เป็นสารช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ โดยสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้สูงและสามารถดูดซึม แทรกซึมเข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกายตลอดจนผ่านแนวกั้นในสมอง (blood brain barrier) อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมหรือซ่อมสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น เช่น วิตามินซี วิตามินอี กลูต้าไธโอน โคเอนไซม์ คิว10 ให้กลับมาใช้งานซ้ำได้ หรือ เป็นสารทดแทนกรณีต้านอนุมูลอิสระใดขาดแคลน และยังมีบทบาทหลักในการย่อยเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน โดยมีคุณสมบัติเสริมการออกฤทธิ์กับอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน และทำลายอนุมูลอิสระที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสภายในเซลล์ จึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี และอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคเกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบ อาการชาตามปลายมือ-ปลายเท้า ต้อกระจก

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกรดอัลฟาไลโปอิก

มีผลการศึกษาวิจัยถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่ผิวหนังของกรดอัลฟาไลโปอิกพบว่ามีอยู่ 4 กลไก คือ
           กรดอัลฟาไลโปอิกและกรดไดไฮโดรไลโปอิกช่วย ลดปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่มออกซิเจนที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา หรือ ROS ได้ในหลอดทดลองแต่ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดใน สัตว์ทดลอง อีกทั้งกรดอัลฟาไลโปอิกและกรดไดไฮโดรไลโปอิก ทำหน้าที่เป็นสารคีเลต และทำปฏิกิริยากับทองแดง และธาตุเหล็ก ได้ ทั้งในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง โดยกรดไดไฮโดรไลโปอิก ช่วยเพิ่มจำนวนสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินซี วิตามินอี โคเอนไซม์คิวเทน และกลูตาไธโอน แต่ยังไม่ทราบ กลไกที่แน่ชัดในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้กรดอัลฟาไลโปอิกยังไปช่วยเพิ่มการ สังเคราะห์กลูตาไธโอนได้อีกด้วย และยังมีผลการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของกรดอัลฟาไลโปอิก ดังนี้
           Alpha lipoic acid (ALA) ได้รับการระบุให้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถต่อสู้กับ oxidative stress โดยการจัดการอนุมูลอิสระ Reactive oxygen species (ROS) ได้ในหลายปฏิกิริยา เนื่องจากโมเลกุลนี้สามารถละลายได้ทั้งในส่วนที่เป็นของเหลว และไขมันของเซลล์ ฟังก์ชันทางชีวภาพจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สภาพแวดล้อมเดียว นอกเหนือจากการกวาดล้าง ROS แล้ว alpha lipoic acid ยังได้แสดงให้เห็นว่ายังมีส่วนร่วมในการรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในร่างกายรวมทั้งวิตามิน C E และกลูตาไธโอน นอกจากนี้ยังมีรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับคุณสมบัติการปรับระดับไขมันในเลือดลดระดับ LDL และการปรับความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงเป็นสารที่ป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ได้
           โดยมีงานวิจัยในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 31 คน เข้าร่วมในการศึกษาแบบ randomized parallel test ALA ที่ 600 มก./วัน หรือ AT (Alpha-tocopheral) ที่ 400 IU/d เป็นเวลา 2 เดือน ตามด้วยการรวมกันของอาหารเสริมทั้ง 2 รายการต่อวันผงการวิจัยพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่า BMI หรือ lipid เมื่อวัดความเครียดออกซิเดชันถูกวิเคราะห์ ALA ลด carbonyls ในพลาสมาในขณะที่ AT ไม่มีผลงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดอัตราของการเกิด LDL oxidation กับ lipid peroxide จึงมีการสรุปว่า ALA ช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงก่อนวัยอันควรด้วยผลต้านอนุมูลอิสระ และยังมีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California USA) พบว่า การรับประทานกรดอัลฟาไลโปอิก ในปริมาณ 25 mg/kg ยังสามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ถึง 60%  ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งได้มีการสังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของ HDL-C และการลด LDL-C ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วย ALA 400 mg เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังมีการศึกษาพบว่าการรับประทาน โคเอนไซด์ Q10 (CoQ10) 200 mg/วัน (ALA) 200 mg/วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน พบว่าประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบสูงขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ส่งเสริมกันในด้าน mitochondrial production ซึ่ง ALA เองยังพบว่าสามารถ recycle สารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นและช่วยลดควบคุมสัดส่วนของ Ubiquinone:Ubiqrinol ratio ในร่างกายได้อีกด้วย ทำให้การออกฤทธิ์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกด้วย
          นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างผงการวิจัยอีกหลายฉบับที่พัฒนาขึ้นเพื่อความคุมการปลดปล่อยกรดอัลฟาไลโปอิก ในรูปแบบนาโนเทคโนโลยีหลาย ชนิด เช่น NE, SLN, NLC พบว่า SLN และ NLC โดยสามารถ ควบคุมการปลดปล่อยกรดอัลฟาไลโปอิกให้ยาวนานกว่า NE และพบว่าระบบนาโนเทคโนโลยีช่วยให้การกักเก็บตัวยา ความคงตัวและประสิทธิภาพของกรดอัลฟาไลโปอิกดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบดั้งเดิม รวมถึงกรดอัลฟาไลโปอิกที่กักเก็บในรูปแบบไมโครอิมัลชัน และลิโพโซม ซึ่งพบข้อสังเกตว่า การผสมสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ ร่วมกับกรดอัลฟาไลโปอิกจะช่วยเพิ่มความคงตัว การซึม ผ่านผิวหนัง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอสิระของกรดอลัฟาไลโปอกิได้ ตัวยาร่วมที่พบในงานวิจัยนี้ได้แก่ วิตามินอี โคเอนไซม์คิวเทน

กรดอัลฟาไลโปอิก

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติกรดอัลฟาไลโปอิก

⦁ ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้อัลฟาไลโปอิก เพราะสารดังกล่าวอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินกว่าระดับปกติ
⦁ ไม่ควรใช้กรดอัลฟาไลโปอิก กับเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร เพราะยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้
⦁ การใช้อัลฟาไลโปอิกอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ มีอาการบวมที่ใบหญ้า ริมฝิปาก ลิ้น ลำคอ หายใจลำบาก ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เหงือออกมาก หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย สับสน รู้สึกจะเป็นลม
           จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศมีการแนะนำให้รับประทานกรดอัลฟาไลโปอิก ก่อนอาหาร 30-60 นาที หรือ อย่างน้อย 120 นาที หลังอาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายดูดซึมสารดังกล่าวได้มากที่สุด

เอกสารอ้างอิง อัลฟาไลโปอิก

⦁ สุรีวัลย์ ดวงจิตต์, กรกนก สุวรรณราช, กุลภัสสร์ กิตติพินิจนันท์ และคณะ บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติสำหรับประยุกต์ใช้ทางผิวหนัง. คุณสมบัติ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และระบบนำส่งรูปแบบใหม่.วารสารเภสัชศาสตร์อีสานปีที่ 15. ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562.หน้า 21-48
⦁ พลวัฒน์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล.การศึกษาผลของโคเอนไซม์คิว 10 และกรดอัลฟาไลโปอิก ต่อระดับออกวิไดซ์แอลดีแอล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟู สุขภาพ วิทยาลัยแทพย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2562. 59 หน้า
⦁ ALA (กรดอัลฟาไลโปอิก), พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.podpad.com
⦁ Souto EB, Müller RH, Gohla S. A novel approach based on lipid nanoparticles (SLN®) for topical delivery of α-lipoic acid. J Microencapsul 2005; 22(6): 581- 592.
⦁ Gianturco V.Bellomo A,D’Lttavio E,Formosa V,iori A,Mancinella Mancinella M Troisi G,& Marigliano V.(2009).lmpact of therapy with alpha-lipoic (ALA) on the oxidative stress in the controlled NIDDM: a possible preventive way against the organ dysfunction? Arch Gerontol Geriatr.49 Suppl l,129-133.
⦁ Ruktanonchai U, Bejrapha P, Sakulkhu U, Opanasopit P, Bunyapraphatsara N, Junyaprasert V, Puttipipatkhachorn S. Physicochemical characteristics, cytotoxicity, and antioxidant activity of three lipid nanoparticulate formulations of alpha-lipoic acid. AAPS PharmSciTech 2009; 10(1): 227-234.
⦁ Marangon K.Devaraj S, Tirosh O,Packer L& Jialal I.(1996).Comparison of the effect of alpha-lipoic acid and alpha-tocopherol supplementation on meacures of oxidative stress Free Radic Biol Med ,27(9-10),1114-1121.
⦁ Zhao GD, Sun R, Ni SL, Xia Q. Development and characterisation of a novel chitosan-coated antioxidant liposome containing both coenzyme Q10 and alpha-lipoic acid. J Microencapsul 2015; 32(2): 157-165
⦁ Sonia Silvestri. Patrick Oriando. Tatiana Armeni Lucia Padella Francesca Bruge Giovanna Seddaiu Fian Paolo Littarrul & Luca Tinnol (2015) Coenzyme Q10 and α-lipoic acid antioxidant and pro-oxidant effects in plasma and peripheral blood lymphocytes of supplemented subjects J Clin Biochem Nutr 57(1),21-26.
⦁ Thomas S, Vieira CS, Hass MA, Lopes LB. Stability, cutaneous delivery, and antioxidant potential of a lipoic acid and alpha-tocopherol codrug incorporated in microemulsions. J Pharm Sci 2014; 103(8): 2530-2538.